Skip to main content
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศีลธรรมก็เพราะผู้เยาว์ยังไม่พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจรวมไปถึงวิจารณญาณในการตัดสินใจ เข้าใจว่าคงมีฝรั่งป่วยโรคนี้เป็นจำนวนมากจึงเดินทางมายังประเทศโลกที่ 3  เพื่อมาเสพสุขกับเด็กทั้งชายและหญิงรวมไปถึงการถ่ายทำภาพโป๊จากเด็กเหล่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดใจที่ว่าผู้ปกครองของเด็กรู้เห็นเป็นใจด้วยเพราะอยากได้เงิน ส่วนกฏหมายก็ดูเหมือนจะเป็นอัมพาตไปเสียนี่ (นานๆ ตำรวจจะจับได้เสียทีแล้วก็ลงข่าวเสียใหญ่โต) ดังนั้นพระเอกในหนังเรื่องโลลิต้าจึงมีลักษณะแอนตี้ฮีโร่แตกต่างจากพระเอกทั่วไปในหนังฮอลลีวูดกระแสหลักเพราะบังเอิญป่วยเป็นโรคจิตแบบนี้ ในขณะที่ตัวเองมีหน้ามีตาในสังคมเป็นถึงศาสตราจารย์ทางด้านภาษาเชียว ก่อนที่เราจะพูดถึงหนังเรื่องนี้ในเวอร์ชั่นปี 1962 ฝีมือการกำกับของผู้กำกับอัจฉริยะ Stanley Kubrick เราควรจะพูดถึงหนังสือซึ่งอื้อฉาวยิ่งกว่าตัวภาพยนตร์เสียก่อน
 
ผู้เขียนนวนิยายเรื่อง Lolita คือ Vladimir Vladimirovich Nabokov (1899-1977) นักเขียนนามอุโฆษชาวรัสเซียผู้ซึ่งครอบครัวต้องลี้ภัยจากรัสเซียในช่วงปฏิวัติปี 1917 มาตั้งรกรากอยู่ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ นาบาคอฟมีความรู้ในภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เพราะที่บ้านสอนให้เขาพูดภาษานี้ก่อนภาษารัสเซียเสียอีก ซึ่งเป็นพื้นฐานให้งานเขียนชื่อดังของเขาเป็นร้อยแก้วภาษาอังกฤษ กระนั้นงานเขียนที่นำเขาไปสู่ชื่อเสียงก็คือ Lolita ที่ตีพิมพ์ในปี 1955 ตอนแรกเขาต้องการให้ตีพิมพ์ในอเมริกาแต่ถูกปฏิเสธเพราะเนื้อหามันล่อแหลมเกิน ดังนั้นจึงย้ายไปที่ตีพิมพ์ที่กรุงปารีส ซึ่งการตีพิมพ์ครั้งแรกจำนวนห้าพันเล่มได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดีจนขายหมดโปรดสังเกตว่าหนังสือที่ล่อแหลมต่อศีลธรรมและเข้าขั้นติดเรตมักจะได้รับความสนใจจากสาธารณชนมากกว่าหนังสือธรรมะหลายเท่าตัว แต่ปรากฏว่าไม่มีใครกล้าเขียนบทวิจารณ์หรือรีวิวให้กับหนังสือของเขา (ซึ่งสำคัญมากเพราะรีวิวหากเป็นเชิงบวกก็จะทำให้คนสนใจมากขึ้น)
 
หลายปีหลังจากนั้นทางการของทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษก็ตีตราว่าโลลิต้าเป็นหนังสือต้องห้ามและยึดหนังสือจากร้านค้าและสำนักพิมพ์ไป อันเป็นประเพณีว่าหนังสือเรตเอ็กซ์ที่สาธารณชนชื่นชอบมักจะเป็นที่เกลียดชังของทางการ (ที่ลึกๆ เองพวกข้าราชการระดับสูงยันไปถึงนายกฯหรือประธานาธิบดีก็ชอบหรือพฤติกรรมอาจะเหมือนในหนังสือแต่เพื่อความมั่นคงของชาติก็ต้องทำอะไรที่ฝืนใจตัวเอง ไม่มีใครรู้ว่าหนังสือที่ถูกยึดนั้นก่อนจะถูกทำลายมีตำรวจหรือข้าราชการแอบขโมยไปอ่านพร้อมภรรยาที่บ้านสักกี่เล่ม)เนื้อหาของมันนั้นเราจะไปพูดกันในหนังเพราะนี่เป็นบทความเกี่ยวกับหนัง งานชิ้นนี้ในภายหลังถือเป็นงานระดับคลาสสิกของโลกและอื้อฉาวที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าหนังสือที่สามารถพรรณนาพฤติกรรมทางเพศที่แหกกรอบศีลธรรมอย่างเพริดพริ้งหลายเล่มได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือคลาสสิกอย่างเช่น Anna Karenina ของ Leo Tolstoy , Madame Bovary ของ Gustave Flaubert รวมไปถึง Death in Venice ของ Thomas Mann
 
 
 
                                            
 
                                             ภาพจาก www.towntopics.com
 
ภาพยนตร์เรื่อง Lolita เป็นชีวิตของศาสตราจารย์วัยกลางคนชาวอังกฤษผู้ผ่านการหย่าร้างนามว่า Humbert  ซึ่งได้เดินทางมาพำนักอยู่ในเมืองเล็ก ๆ ของอเมริกาเพื่อมาสอนหนังสือ (จึงไม่ต้องสงสัยว่าเขาคืออวตารของนาโบคอฟผู้เขียนนั่นเองเพราะ นาโบคอฟก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเหมือนกัน) ฮัมเบิร์ตได้มาเช่าหัองในบ้านของแม่หม่ายผู้อะร้าอร่ามนามว่า Charlotte Haze ซึ่งมีลูกสาวสุดแสนจะน่ารักคือ Dolores 'Lolita' Haze กระนั้นดูเหมือนกามเทพจะไม่ค่อยใยดีต่อศีลธรรมเท่าไรนัก ฮัมเบิร์ตจึงได้แอบมีจิตปฏิพัทธ์ต่อโลลิต้าผู้มีอายุน่าจะอ่อนกว่าลูกสาวเขาเสียด้วยซ้ำ ในหนังไม่ได้บอกเพราะอะไรแต่ในหนังสือบอกว่าเพราะโลลิต้าทำให้เขานึกถึงเด็กสาวที่เขาเคยรักแบบหัวปักหัวปำในวัยเยาว์ แต่เธอต้องเสียชีวิตไปด้วยโรคไทฟอยด์ สิ่งนี่ได้จุดประกายให้เขาเป็นโรค"รักเด็ก"มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ฮัมเบิรต์จึงพยายามอยู่ใกล้ชิดกับโลลิต้าให้มากที่สุด แต่กลับเป็นชาร์ล็อตต์ที่หลงรักเขา จนในที่สุดก็ยื่นคำขาดว่าถ้าไม่แต่งงานกับเธอก็ขอให้ออกไปจากบ้านหลังนี้ ฮัมเบิร์ตจึงยอมแต่งงานกับชาร์ล็อตต์คนที่เขาไม่เคยนึกชอบเลยเพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิดกับเด็กสาวที่เขาลุ่มหลง แต่แล้วก็ต้องเสียใจเพราะโลลิต้าถูกส่งไปโรงเรียนประจำ 
 
หลังจากไปฮันนีมูนฮัมเบิร์ตถึงกลับคิดวางแผนว่าจะฆาตกรรมผู้เป็นภรรยาเพื่อจะได้ครอบครองลูกเลี้ยงสาว และแล้วราวกับฟ้าจะเป็นใจให้ชาร์ล็อตบังเอิญไปพบเจอไดอารี่ที่สามีเขียนบรรยายความสิเน่หาที่มีต่อตัวโลลิต้า จึงหอบผ้าหอบผ่อนหนีออกจากบ้านท่ามกลางฝนที่กระหน่ำลงมา แต่ก็ถูกรถชนเสียชีวิตเสียก่อน ฮัมเบิร์ตจึงเดินทางไปรับเอาโลลิต้ามาจากโรงเรียนประจำเพื่ออยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยา ส่วนโลลิต้าก็ยินดีเพราะเธออ้างว้างโดดเดี่ยวไม่มีใคร แต่กาลเวลาก็พิสูจน์ให้เห็นว่าความรู้สึกของเธอที่มีต่อพ่อเลี้ยงคือความหลงมากกว่าความรัก ซ้ำด้วยวัยที่ห่างไกลกันมากทำให้เกิดปัญหาคือ เธอเริ่มเบื่อหน่ายกับฮัมเบิร์ตซึ่งเป็นตาแก่จอมหึงหวงที่กีดกันเธอไม่ให้ไปข้องแวะกับพวกเด็กหนุ่ม อันเป็นสาเหตุให้เขาพาเธอเดินทางตะลอนๆ ไปตามเมืองต่างๆ ในอเมริกาภายใต้ความสัมพันธ์ที่สังคมรู้จักว่าเป็น"พ่อเลี้ยงและลูกเลี้ยง"เพื่อไม่ให้โลลิต้าข้องแวะกับใคร แต่แล้วฮัมเบิร์ตก็พบว่าใครบางคนกำลังสะกดรอยตามเขาอยู่....
 
 
                          
 
                               ภาพจาก www.theredlist.com
 
Stanely Kubrick ควรจะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กำกับที่ใจกล้าชอบแหกรีตฉีกรอยไปหาพล็อตเรื่องที่ไม่เหมือนใคร และไม่ซ้ำรูปแบบของหนังก่อนๆของตัวเองมาทำเป็นภาพยนตร์ ดังในโลลิต้านี้เป็นหนังเรื่องที่ 6  ภายหลังหนังเรื่อง Spartacus (1960) ซึ่งเป็นหนังประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผู้นำของชนเผ่าสปาร์ตาคัสที่อาจหาญต่อสู้กับพวกโรมันประสบความสำเร็จอย่างดี และโลลิต้าเป็นหนังเรื่องแรกที่เขาถ่ายทำเมื่อย้ายไปอยู่ที่อังกฤษเต็มตัว เมื่อหนังออกฉายครั้งแรกในกรุงนิวยอร์กโดยการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ไม่มากอาศัยปากต่อปากก็ได้รับความสำเร็จพอประมาณ มีนักวิจารณ์จำนวนหนึ่งเขียนเชียร์แต่อีกจำนวนไม่น้อยที่เขียนด่า แน่นอนว่าองค์การทางศาสนาเช่นนิกายแคทอลิกย่อมเป็นตัวตั้งตัวตีในการโจมตี แต่หนังเรื่องนี้ก็อื้อฉาวจากประเด็นเรื่อง "รักเด็ก" ซึ่งเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับไม่ได้ โลลิต้าจึงรับเอาเรท "เฉพาะผู้ใหญ่"มาไว้ประดับจอแต่โดยดี เช่นเดียวกับตอนก่อนสร้างหนัง บทของฮัมเบิร์ตซึ่งมีดาราชายชื่อดังเป็นจำนวนมากไม่ว่า Laurence Olivier หรือ David Niven ได้รับการทาบทาม ทว่าอาจเพราะคนเหล่านั้นกลัวภาพพจน์ของตัวเองจะเสีย เช่นเดียวกับบทของโลลิต้าที่ดาราเด็กสาวจำนวนหนึ่งก็ปฏิเสธ น่าตลกที่ว่าลิองผู้แสดงเป็นโลลิต้าไม่ได้รับอนุญาตให้มาดูหนังรอบพิเศษเพราะเธออายุต่ำเกินกำหนด
 
ปี 1972 คิวบริกได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารรายสัปดาห์ Newsweek ว่าหากเขารู้ว่าแผนกเซ็นเซอร์ของรัฐมีความเข้มงวดขนาดนี้ เขาคงจะไม่ทำหนังเรื่องนี้เป็นอันขาด เขาจำต้องเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่างจากนวนิยายเช่นเพิ่มอายุของโลลิต้าจากเดิม 12 เป็น 14 ปี รวมไปถึงไม่กล้าแสดงฉากเข้าพระเข้านางระหว่างฮัมเบิร์ตกับโลลิต้าให้ซาบซึ้งเหมือนกับนวนิยาย จนทำให้นาโบคอฟซึ่งเคยอนุญาตให้คิวบริกนำนวนิยายมาดัดแปลงตามใจชอบบ่นว่าหนังช่างราบเรียบเป็นอย่างยิ่ง ฉากอันแสนจะอื้อฉาวของหนังเรื่องนี้ก็คือตอนที่ฮัมเบิร์ตกำลังพรอดรักกับชาร์ล็อตด้วยความจำใจ ในขณะที่เขาโอบกอดเธออยู่นั้นตาก็ชำเหลืองมองไปที่ภาพของโลลิต้าบนหัวเตียงอยู่นานมาก อันเป็นฉากที่ส่อราวกับผู้ชายกำลังมองภาพโป๊ของเด็กและสำเร็จความใคร่ให้ตัวเอง ทำให้แผนกเซ็นเซอร์สั่งให้ตัดออกไป โชคดีของคนรุ่นหลังที่ได้ดูเวอร์ชั่นของดีวีดีที่เอาฉากนี้กลับเข้าไปเหมือนเดิม
 
 
ภาพยนตร์เรื่องโลลิต้าถูกเสนอเข้าชิงรางวัลออสก้าเพียงสาขาเดียวคือ สาขา Best Writing, Screenplay Based on Material from Another Medium โดยนาโบคอฟแต่ก็พลาดไป น่าชื่นใจนิดหน่อยที่ลิองผู้แสดงเป็นโลลิต้าได้รับรางวัลลูกโลกทองคำในฐานะดาราดาวรุ่งร่วมกับดาราสาวอีก 2 คน หนังเรื่องนี้จัดได้ว่าเป็นหนังระดับกลางๆ ของคิวบริกที่แฟน ๆ ให้เครดิตต่ำกว่าหนังคลาสสิกของเขาหลายเรื่อง ในปี 1997 ก็ได้มีคนสร้างภาพยนตร์โลลิต้าขึ้นมาอีกแต่ไม่ใช่การรีเม็คหรือเอามาทำใหม่เพียงแต่อาศัยนวนิยายเล่มเดียวกัน โดยมี Jeremy Irons แสดงเป็นฮัมเบิร์ต แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับการต้อนรับเหมือนกับหนังขาวดำที่ยังแฝงด้วยอารมณ์ตลกร้ายของคิวบริกเรื่องนี้เท่าไรนักแม้ว่าสังคมจะเปิดกว้างในเรื่องทางเพศมากกว่าเดิม ในปี 1964 คิวบริกก็ได้สร้างหนังชื่อเรื่องยาวจนน่าใจหายและที่มีเนื้อหาคนละเรื่องกับโลลิต้าคือ Dr. Strangelove or: How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb ซึ่งเป็นหนังตลกล้อเลียนสงครามเย็นในช่วงที่ชาวโลกทั้งหลายกำลังคิดว่าพวกเขาสามารถจะตายหมู่ทั้งโลกได้ในวินาทีใดวินาทีหนึ่งจากอาวุธนิวเคลียร์ อันแสดงให้เห็นว่าคิวบริกนั้นเป็นยอดผู้กำกับที่มีความคิดสร้างสรรค์แบบที่ผู้กำกับคนไหนในโลกนี้ไม่สามารถเลียนแบบได้
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น