Skip to main content


กรณีหมุดคณะราษฎรที่ผ่านมาผมโพสต์เฟซบุ๊กเล่นๆ แบบฮาๆ แต่ก็เริ่มรู้สึกว่ามันอาจเป็นปัญหาได้เหมือนกัน

ในเฟซบุ๊ก หลายคนเปรยว่า ที่ผ่านมาหลักฐานวัตถุทางประวัติศาสตร์ในยุคของคณะราษฎรได้ถูกเคลื่อนย้าย ทุบทำลาย หรือลดทอนความหมายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลงไปหลายสิ่งอย่างแล้ว จะฟูมฟายอะไรนักหนา

ผู้รู้ประวัติศาสตร์บางท่านยังกระหน่ำซ้ำว่าบรรดาพวกที่ฟูมฟาย จะเป็นจะตายกับหมุดคณะราษฎร แต่มีความรู้ทางประวัติศาสตร์อ่อนด้วยจำตัวละครทางประวัติศาสตร์หรือวันเดือนปี พศ.ไม่ได้ สรุปง่ายๆ ว่า กาก!

พูดตรงๆ ว่าผมเห็นใจคนที่แสดงออกทั้งในเรื่องเหตุผลและความรู้สึกที่มีต่อการหายไปของหมุดคณะราษฎร

ประเด็นแรกเลยก็คือ มันไม่ได้มีคนจำนวนมากนักที่ออกมาแสดงความคิดเห็นเดือดร้อนในเรื่องนี้ ประเด็นที่สองก็คือ ขณะที่โวยวายกันอยู่ เกิดหัวขโมยไม่พอใจวกกลับมาปล้นหรือทำร้ายเจ้าทรัพย์อีกรอบ มันก็แย่ไปอีก

หนำซ้ำนอกจากที่จะโต้เถียงอะไรกับฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ซึ่งมันก็มีเพดานความเสี่ยงที่จะโดนข้อหาร้ายแรงต่ำมากแล้ว ดันมาโดนแซะด่า หาว่าตื้นเขิน ฟูมฟาย ฯลฯ

ถึงไม่ได้ลุ่มลึกมากนัก แต่ผมก็ชอบนะกับการวิพากษ์วิจารณ์ การรื้อถอนนี่ก็ชอบ แต่ที่ผมรู้ตัวก็คือเราจะรื้อถอนมันไปทุกเรื่องไม่ได้

ขณะที่คนตัวใหญ่ คนมีกำลังพร้อมสรรพกำลังทำร้ายคนที่ตัวเล็ก อ่อนด้อยกว่าด้วยประการทั้งมวล ซึ่งในความขัดแย้งอาจเดิมพันด้วยชีวิตหรืออิสรภาพของพวกเขา เราก็ไม่ควรที่จะไปรื้อถอนฝ่ายที่เสียเปรียบ

เราควรยืนอยู่ข้างฝ่ายที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถ้ากลัว ยืนดูเฉยๆ ก็ยังดี

กลับมาประเด็นเรื่องการหายไปของหมุดคณะราษฎร ผมคิดว่ามันมีความต่างกว่ากรณีอนุสาวรีย์ปราบกบฎหรือกรณีทุบทำลายอาคารศาลฎีกา

เปรียบเทียบอย่างง่ายที่สุดเลยก็คือทั้งสองกรณีข้างต้น อย่างน้อยมันก็มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ มันการรับรู้ในทางสาธารณะ และก็ยังมีเหตุผลในการอธิบายซึ่งอาจจะฟังไม่ค่อยเข้าหูนัก แต่อย่างน้อยมันก็ยังมีคำอธิบาย

นี่คือความต่างอย่างเห็นได้ชัด และถ้าระบบเหตุผลทั้งในระดับบุคคลและในระดับสังคมไม่รวนมากนัก และแม้ว่าเราไม่ได้ให้ค่าต่อหมุดคณะราษฎรแต่อย่างไร แต่เราควรที่จะต้องออกมาหาข้อเท็จจริงและเหตุผลในการหายไปของมัน



บทความแนะนำ:

ชาตรี ประกิตนนทการ : ความทรงจำ และ อำนาจ บนถนนราชดำเนิน


เผยแพร่ครั้งแรกใน: Facebook Sarayut Tangprasert

 

บล็อกของ gadfly

gadfly
ฟันธง กกต.แค่ปราม หรือให้ลึกกว่านั้นคือรักษาหน้าแสดงอำนาจเหนือชัชชาติแล้วก็จบ 
gadfly
ผมอ่านวรรณกรรมไทยแนวสะท้อนสังคมไม่เยอะนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันมันไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผม  ในช่วงวัยแห่งการแสวงหา (ใช้คำว่าแสวงหาแล้วอยากจะอ้วก ถ้าไม่มีเงินค่าอยู่กิน เล่าเรียนจากพ่อและแม่ ก็คงไม่มีโอกาสได้แสวงหาหรอก) มีนักเขียนสองคนที่ผมตามอ่า
gadfly
 ประยุทธ์บอกให้ประชาชนเลี้ยงไก่สองตัวเพื่อกินไข่ แต่สงสัยว่าประยุทธ์เคยเลี้ยงไก่รึเปล่า ไก่ใช่ไก่ทุกตัวที่จะออกไข่ได้ ต้องเป็นไก่แม่สาวที่อายุสี่เดือนขึ้นไปเท่านั้นที่จะสามารถออกไข่ และจะออกไปได้จนอายุประมาณสองปีหรือกว่านั้นเล็กน้อย 
gadfly
 โจน จันได ปราชญ์ชาวบ้าน ต้นแบบการรณรงค์ใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียงสุดฮิป ขวัญใจไอดอลของคนชั้นกลาง คนเมืองกลุ่มใหญ่ ถูกพูดถึงอีกครั้งเมื่ออพยพย้ายรกรากลี้ภัยโควิดไปอยู่ศูนย์กลางประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา พูดถึงโจน จันได ก็ต้องพูดถึงบ้านดิน ที่โจนใช้ในการสร้างชื่อใ
gadfly
 พฤษภา 53 เขตอภัยทาน ได้ถูกนักศาสนา นักสันติวิธีผลักดันให้มีขึ้น 4 จุด คือ วัดปทุมฯ บ้านเซเวียร์ สำนักงานกลาง นร.คริสเตียน แล้วก็ รร.
gadfly
เสาร์อาทิตย์ ตั้งใจจะต่อเติมบ้านส่วนที่ทำค้างไว้ให้แล้วเสร็จ ต้องจ้างช่างชาวบ้านและลูกมือเป็น นร ม ปลายมาทำ เพราะงานปูนทำเองไม่ไหวแล้วช่างไม่มา ส่วนลูกมือไปเฝ้าเบ็ดตกปลาที่อ่างเก็บน้ำ เสียเวลารอ เสียหัวสองวันเต็มๆ วันหยุดด้วย
gadfly
กรณีหมุดคณะราษฎรที่ผ่านมาผมโพสต์เฟซบุ๊กเล่นๆ แบบฮาๆ แต่ก็เริ่มรู้สึกว่ามันอาจเป็นปัญหาได้เหมือนกันในเฟซบุ๊ก หลายคนเปรยว่า ที่ผ่านมาหลักฐานวัตถุทางประวัติศาสตร์ในยุคของคณะราษฎรได้ถูกเคลื่อนย้าย ทุบทำลาย หรือลดทอนความหมายคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลงไปหลายสิ่งอย่างแล้ว จะฟูมฟายอะไรนักหนา
gadfly
============================ ปากหมาหาเรื่อง บ่นบ้า (อย่าถือสาหาสาระ) ============================