Skip to main content

กระแสการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ออกจากสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด การเรียกร้องดังกล่าวมีมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง จนนำไปสู่การลงประชามติในปี 2014 แม้ผลจะออกมาว่า ประชาชนร้อยละ 55 ยังคงเลือกที่จะอยู่รวมกับสหราชอาณาจักรต่อไป  แต่ที่เหลือกว่าร้อยละ 45 นั้นต้องการเอกราชซี่งเป็นเสียงที่ไม่อาจมองข้ามเช่นกัน กว่าสองปีที่ที่ชาตินิยมสกอตแลนด์ไม่ได้ถูกปลดปล่อย ผนวกกับความเห็นต่างในประเด็นการออกจากสหภาพยุโรป (BREXIT) ที่ชาวสกอตแลนด์กว่าร้อยละ 67 เลือกที่จะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซี่งขัดกับผลประชามติของสหราชอาณาจักรในปี 2016 ทำให้รัฐสภาแห่งสกอตแลนด์เดินหน้าเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชอีกครั้ง ฉะนั้นบทความเรื่อง ‘ก่อนสกอตแลนด์จะมีอธิปไตย’ จึงขอสรุปข้อมูลพื้นฐานบางประการเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับดินแดนแห่งนี้

ขอเริ่มต้นด้วยการให้คำจำกัดความ สกอตแลนด์นั้นถือเป็นประเทศ (Country) แต่ไม่ใช่รัฐ (State) เนื่องจากสกอตแลนด์ได้มอบอำนาจอธิปไตยให้แก่รัฐบาลกลางแห่งสหราชอาณาจักร (สหราชอาณาจักรนั้น ประกอบด้วย 4 ประเทศ อันได้แก่ อังกฤษ เวลลส์ ไอร์แลนด์เหนือ และสกอตแลนด์) ฉะนั้นรัฐบาลกลางของสหราชอาณาจักรจึงมีอำนาจในการตัดสินประเด็นต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ การต่างประเทศ การกลาโหม การคลัง นโยบายเศรษฐกิจและการเงิน แทนชาวสกอตแลนด์

อนี่ง ด้วยกระแสการกระจายอำนาจ รัฐสภาของสกอตแลนด์ได้ถูกจัดตั้งขี้นในปี 1999 มีอำนาจในการออกกฏหมายในพื้นที่สกอตแลนด์ ครอบคลุม  ด้านสาธารณสุข, การศึกษา, การรักษาความยุติธรรม การพัฒนาชนบท การพัฒนาเศรษฐกิจ และการขนส่ง ทั้งนี้สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้งทุกๆ 4 ปี โดยหัวหน้ารัฐบาลของสกอตแลนด์ เรียกว่า First Minister of Scotland ซี่งในไทยมักแปลว่า นายกรัฐมนตรีแห่งสกอตแลนด์  แต่ผู้เขียนขอใช้คำว่า ‘มุขมนตรี’ (ซี่งเป็นตำแหน่งเช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี แต่มีอำนาจบริหารในเขตการปกครองเทียบเท่าระดับชาติหรือต่ำกว่า)  โดยปัจจุบัน มุขมนตรีแห่งสกอตแลนด์ (นายกรัฐมนตรี) คือนางนิโคลา สเตอร์เจียน (Nicola Sturgeon)  ผู้นำพรรคชาตินิยมสกอตแลนด์ (Scottish National Party) ทั้งนี้ในคณะรัฐมนตรีจะประกอบด้วย รองมุขมนตรี รัฐมนตรีอีก 8 ตำแหน่ง และรัฐมนตรีช่วยว่าการอีก 13 กระทรวง แต่ต้องไม่เกิน 21 ตำแหน่ง ดูแลด้านเศรษฐกิจ แรงงาน การศึกษา การสาธารณสุขและกีฬา สิทธิ ความยุติธรรม การพัฒนาชนบท อาหารและสิ่งแวดล้อม รวมถึงด้านวัฒนธรรม ยุโรปและการต่างประเทศ เป็นต้น[1]

สกอตแลนด์มีพื้นที่ 78,772 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 5.2 ล้านคน เมืองหลวงของสกอตแลนด์คือเอดินบะระ (Edinburgh) แต่เมืองใหญ่ที่สุดคือกลาสโกว์ (Glasgow) ภาษาทางการที่ใช้ประกอบไปด้วย ภาษาอังกฤษ (English) ภาษาสกอตส์ (Scots) และภาษาแกลิค (Gaelic)[2] อนี่งแม้สกอตแลนด์จะใช้เงินปอนด์ (Pound Stering) ร่วมกับสหราชอาณาจักร แต่ธนาคารแห่งสกอตแลนด์มักพิมพ์ธนบัตรปอนด์ใช้ในท้องถิ่นของตนเอง (ซี่งหลายกรณีธนบัตรจากสกอตแลนด์อาจถูกปฏิเสธในพื้นที่อื่นๆของสหราชอาณาจักร หรือแม้แต่ร้านรับแลกธนบัตรในประเทศไทย)

แม้จะอยู่ร่วมกับสหราชอาณาจักร แต่พบว่าสกอตแลนด์มีระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและถูกลงคะแนนให้เป็น ดินแดนยุโรปเพื่ออนาคต (European Region of the Future) เนื่องจากมีเศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงวัฒนธรรมผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง สินค้าและบริการที่ส่งออกหลักประกอบไปด้วย 1) บริการด้านการเงินและธุรกิจ ซี่งมีชื่อเสียงยาวนานกว่า 300 ปี และเป็นศูนย์บริการสินทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของยุโรป 2) อุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกของสกอตแลนด์มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป และผลิตพลังงานลมมากกว่าร้อยละ 60 ให้กับสหราชอาณาจักร 3) ในด้านการศึกษา 19 มหาวิทยาลัยชั้นนำของสกอตแลนด์ อาทิ St Andrews, Edinburgh, และ Glasgow เป็นต้น สร้างรายได้ต่อปีกว่า 7.2 พันล้านปอนด์ นอกจากนี้ในเชิงชีววิทยา สกอตแลนด์เป็นผู้นำด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ซี่งสร้างรายได้และการจ้างงานในพื้นที่อย่างมหาศาล 4) สกอตแลนด์สามารถผลิตน้ำมันและก๊าซ รวมถึงมีปริมาณสำรองสูงสุดในยุโรป โดยเฉพาะเมืองอเบอร์ดีนได้รับการยอมรับว่าเป็น นครหลวงน้ำมันแห่งสหภาพยุโรป (Oil Capital of Europe)  5) อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสกี้ได้รับการยอมรับในระดับสากล และสกอตแลนด์ยังเป็นหนี่งในผู้ส่งออกแซลมอนรายใหญ่ของสหภาพยุโรปอีกด้วย 6) นอกเหนือจากอุตสาหกรรมข้างต้นแล้ว การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ยังช่วยสร้างความมั่งคั่งให้แก่ดินแดนแห่งนี้[3] แต่ผลประโยชน์โดยมากเมื่อถูกจัดสรรผ่านทางรัฐบาลกลาง จึงทำให้หลายครั้งเกิดความไม่พึงพอใจ และท้ายที่สุดนำไปสู่การเรียกร้องเอกราช

อนี่ง เรื่องราวการมีเอกราชของสกอตแลนด์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะสกอตแลนด์เคยมีเอกราชและมีอำนาจอธิปไตยของตนเองมาก่อน สกอตแลนด์มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2000 ปี ย้อนหลังนับแต่ศตวรรษที่ 1-3 เมื่อกองทัพโรมันบุกเกาะอังกฤษ (Island of Britain) เหลือเพียงพื้นที่ทางตอนเหนือที่อยู่นอกกำแพงโรมัน ซี่งคือสกอตแลนด์ในปัจจุบัน ในช่วงศตวรรษที่ 5-8 เกิดการต่อสู้ภายในพื้นที่ จนกระทั่งชาวสกอตและเผ่าอื่นๆ สามารถสถาปนาราชอาณาจักรสกอตแลนด์ได้เป็นผลสำเร็จในช่วงศวรรษที่ 9 ก่อนที่จะถูกผนวกรวมภายใต้กษัตริย์อังกฤษในช่วงคริสตวรรษที่ 12 ภายหลังสกอตแลนด์ชนะสงคราม จึงได้ประกาศเอกราชและคงไว้ซี่งอำนาจอธิปไตยในช่วงศตวรรษต่อมา  อย่างไรก็ตามนับแต่ศตวรรษที่  16 สกอตแลนด์ค่อยๆกลายเป็นส่วนหนี่งของการควบรวมราชอาณาจักรต่างๆในหมู่เกาะอังกฤษ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 1603 กษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ถูกอัญเชิญให้ขึ้นเป็นกษัตรย์แห่งสหราชอาณาจักร (Union of the Crowns) นำมาสู่การลงนามเพื่อก่อตั้งสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ในปี 1707 แม้ระยะแรกนั้นสกอตแลนด์ยังสงวนอำนาจเชิงกฏหมายและการศึกษาของตนไว้อยู่ แต่ภายหลังก็ถูกหลอมรวมภายใต้รัฐบาลเดียวกัน จนกระทั่งในช่วง 1900s สกอตแลนด์เริ่มมีพรรคการเมืองเป็นของตนเองเพื่อต่อรองอำนาจรัฐ (1934) นำมาสู่ความพยายามในการลงประชามติเพื่อแยกตัวในปี 1979 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ กระแสการเรียกร้องเอกราชก่อตัวอีกครั้งในช่วงปี 1989 เนื่องจากรัฐบาลกลางขึ้นอัตราภาษีที่ไม่เป็นธรรมต่อชาวสกอตแลนด์  อนี่งแม้ความรู้สึกชาตินิยมสกอตแลนด์จะประทุเรื่อยมา แต่ระดับความชัดเจนเริ่มปรากฏขึ้นภายหลังการกระจายอำนาจออกจากส่วนกลางในปี 1999 มีผลให้ รัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ถูกจัดตั้งขึ้น ณ กรุงเอดินบะระ ซี่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ด้วยการมีรัฐสภาและรัฐบาลของตนเองจึงทำให้สกอตแลนด์สามารถเสนอความต้องการการแยกตนเป็นเอกราชในช่วงปี 2012 นำมาสู่การลงประชามติในปี 2014[4] แม้ชาวสกอตแลนด์กี่งหนี่งยังประสงค์จะอยู่กับสหราชอาณาจักร แต่ความเห็นต่างในประเด็นการออกจากสหภาพยุโรปนั้น ทำให้พรรคชาตินิยมสกอตแลนด์ระดมเสียงสนับสนุนเพื่อให้เกิดการลงประชามติเป็นครั้งที่ 2 ในช่วงปี 2018-2019[5].

จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ผนวกกับรูปแบบการเมืองการปกครองในปัจจุบัน และขีดความสามารถทางเศรษฐกิจที่จะดูแลตนเองได้ในอนาคต คำถามสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ชาวสกอตแลนด์จะลงมติแยกตัวจากสหราชอาณาจักรหรือไม่ เพราะพัฒนาการ(การมีและและการสูญเสีย)อธิปไตยในดินแดนแห่งนี้ ค่อยๆให้คำตอบไปอย่างแนบเนียน แต่กลับเป็นประชาคมโลกที่ต้องหันมาตอบคำถามแล้วว่า หากสกอตแลนด์มีเอกราชอีกครั้ง จะจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสกอตแลนด์อย่างไร และจะทำอย่างไรหากดินแดนภายในของตนเรียกร้องเอกราชเหมือนอย่างสกอตแลนด์


ผู้เขียน: ปิยณัฐ สร้อยคำ
นักศึกษาปริญญาเอก คณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ สกอตแลนด์ 

 

บล็อกของ ปิยณัฐ สร้อยคำ

ปิยณัฐ สร้อยคำ
กระแสการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ออกจากสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด การเรียกร้องดังกล่าวมีมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง จนนำไปสู่การลงประชามติในปี 2014 แม้ผลจะออกมาว่า ประชาชนร้อยละ 55 ยังคงเลือกที่จะอยู่รวมกับสหราชอาณาจักรต่อไป  แต่ที่เหลือกว่าร้อยละ 45 นั้นต้องก
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ผมไม่ใช่คอการเมืองอเมริกา แต่ก็พอรู้ว่าประธานาธิบดีของประเทศนี้ชื่อบารัก โอบามา และแม้ผมไม่ได้ติดตามการเลือกตั้งอเมริกาอย่างใกล้ชิด แต่ก็พอรู้ว่าวาระ 2 สมัย ใน 8 ปีข
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ดาลิต หรือ จัณฑาลนั้น มิได้ถูกทำให้หยุดนิ่งในฐานะกลุ่มชนที่ถูกกดขี่ทางสังคมและไร้ซี่งพัฒนาการแต่เพียงภาพเดียวเท่านั้น แต่ภายใต้การคุ้มครองโดยรัฐ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้สิทธิ์ของตนเอง ทำให้ดาลิตค่อยๆก้าวข้ามโชคชะตาที่ถูกเขียนไว้โดยบรรทัดฐานของสังคมผ่านการสร้างอัตลักษณ์และการตระหนักรู้ร่วม ฉะนั้นอนาคตของดาลิตย่อมเปลี่ยนแปลงและมีพลวัตที่น่าติดตามศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพื่ออย่างน้อยที่สุด กลุ่มคนที่ได้รับการกดขี่และละเมิดในสังคมต่างๆ รวมถึงประเทศไทย จะได้มีแรงเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์ของตนเอง
ปิยณัฐ สร้อยคำ
เราพูดคุยกันเป็นอย่างมากถึงการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนในฐานะองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค แต่ในขั้นตอนการนำนโยบายมาปฏิบัติในแต่ละประเทศนั้น หน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับกระทรวง มีบทบาทสำคัญและเป็นตัวแสดงหลักในการประสานงานดังกล่าว นอกจากนี้การพิจารณาโครงสร้างของแต่ละรัฐผ่านการมีอยู่ของกระทรวงต่างๆนั้น ทำให้เห็นว่าบรรดาชาติสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง จนนำมาสู่การจัดแบ่งองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐบาลกลางของแต่ละรัฐ นำมาสู่การจัดทำสังเขปหน่วยงานระดับกระทรวงของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
ปิยณัฐ สร้อยคำ
ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าใดนัก แต่ที่ผมทราบคือเมื่อผมเข้าไปเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของอินเดีย ผมแทบจะไม่เห็นพิธีกรรมการรั
ปิยณัฐ สร้อยคำ
เรื่องราวของการอพยพ การพลัดถิ่น มิใช่เรื่องใหม่และไม่ได้เกิดขึ้นในระดับโลก หรือภูมิภาคเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นประเด็