Skip to main content

กะลาแลนด์.....

อนาคตอันใกล้

หลังจาก 30 องค์กรสื่อและไม่รู้อีกกี่สมาคมสื่อต่อต้านกฎหมายปฏิรูปสื่อของสภาตรายางเผด็จการทหารไม่สำเร็จ คนไทยทุกคนที่อยากประกอบอาชีพนักข่าวก็ต้องสอบผ่านข้อสอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

ใครจะไปรู้ คำถามอาจคล้ายสิ่งที่เห็นข้างล่างนี้


1. หน้าที่หลักของสื่อคืออะไร ?

ก. รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมาและตั้งคำถามกับผู้มีอิทธิพล ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่

ข. รับใช้ประชาชนและให้ข้อมูลเท่าทันเหตุการณ์ต่างๆ

ค. รับฟังคำสั่งจากรัฐและช่วยเป็นพีอาร์ให้รัฐในทุกเรื่อง

ง. รับใช้บริษัทและเขียนข่าวกึ่งพีอาร์ให้ผู้ลงโฆษณา


2. หากเกิดรัฐประหารอีก นักข่าวควรปฏิบัติตัวเช่นไร ?

ก. รายงานอย่างตรงไปตรงมาและเป็นธรรม รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ที่ถูกยึดอำนาจ และความเห็นนานาชาติ

ข. เขียนคอลัมน์หรือบทบรรณาธิการ ประณามการยึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญ

ค. รอคำสั่งคณะรัฐประหารว่าควรทำเช่นไรต่อ

ง. กดดันให้นักข่าวที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารออกจากองค์กร เพื่อองค์กรจะได้ไม่เดือดร้อน


3. หากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของไทยขโมยของในต่างประเทศระหว่างไปประชุม และสำนักข่าวต่างประเทศรายงาน คุณควรทำอย่างไร ?

ก. รายงานตามความเป็นจริงและขยายประเด็นว่าทำไมเขาถึงทำเช่นนั้น

ข. ตรวจสอบกับรัฐบาลว่าควรรายงานข่าวนี้หรือไม่

ค. ปกป้องข้าราชการผู้นั้น มันย่อมชัดเจนว่านี่เป็นผลงานของต่างประเทศที่ต้องการทำให้ประเทศไทยเสื่อมเสียชื่อเสียง

ง. ไม่รายงานและฟันธงได้เลยว่าเป็นข่าวปลอม เพราะคนไทยทุกคนเป็นคนดีมีศีลธรรม


4. สื่อต่างประเทศองค์กรไหนน่าเชื่อถือ ?

ก. The Guardian แห่งลอนดอน

ข. New Light of Myanmar

ค. CCTV ของรัฐบาลจีน

ง. KCNA (สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ)


5. คุณคิดอย่างไรกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ม 112)?

ก. เป็นกฎหมายล้าหลังที่ขัดกับเสรีภาพการแสดงออกขั้นพื้นฐาน สมควรแก้ไขหรือยกเลิก

ข. หนึ่งในกฎหมายที่ดีที่สุดในโลก สามารถประกันได้ว่าจะมีการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างสมบูรณ์และผู้ที่อยากพูดจะมีอาการหวาดกลัว

ค. ข้าพเจ้าอาจไม่เห็นด้วย แต่เรามีทางเลือกด้วยหรือ

ง.สามารถทำให้กฎหมายดีกว่านี้ได้ พวกที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดกฎหมายนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวหรือนักการทูตควรจะถูกประหารชีวิต


6.คุณคิดอย่างไรกับ พ.ร.บ.คอมฯ?

ก. ชักไม่แน่ใจว่าหมายถึง พรบ.คอมมิวนิสต์หรือคอมพิวเตอร์

ข. ไม่มีอะไรที่ต้องกังวล ตราบใดที่คุณเป็นพลเมืองดีเชื่อฟังกฎหมาย

ค. ลองถามพลเอกประยุทธ์ดู

ง. ลองถามประยุทธ์ซ้ำ ถ้าถามรอบแรกแล้วอธิบายไม่เข้าใจ หรือไม่ก็ถามผู้ช่วยประยุทธ์หลังจากนั้น


7.ควรจัดการอย่างไรกับองค์กรสื่อและนักข่าวที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ (ร่าง)พ.ร.บ.สื่อฯ โดยกล่าวว่า พ.ร.บ.นี้จำกัดเสรีภาพสื่อ?

ก. ไม่ต้องทำอะไร เพราะนั่นเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต

ข. เพิกถอนใบอนุญาต 6 เดือนเพื่อทำโทษ

ค.พวกเขาทำให้สังคมเข้าใจผิด ต้องปรับทัศนคติคนเหล่านี้ เพื่อให้พวกเขาจะได้มีความเป็นไทยมากกว่านี้

ง. พวกเขาควรถูกสอบสวนว่ารับเงินจากทักษิณหรือไม่


8. นักข่าวควรเชื่อฟังผู้ใด?

ก. ฟังมโนสำนึกของตัวเอง

ข. เชื่อฟังบรรณาธิการ

ค. เชื่อฟังเจ้าของสื่อ

ง. เชื่อฟังรัฐบาล เพราะหากไม่เชื่อฟัง คุณอาจไม่ได้รับการต่อใบอนุญาตสื่อ

9. หากรัฐบาลต่างชาติและกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างชาติวิพากษ์วิจารณ์ พ.ร.บ.สื่อว่าจำกัดสิทธิ,เสรีภาพสื่อ โดยการให้สื่อมวลชนต้องสอบใบอนุญาตและมีกรรมการที่ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ดูแล คุณจะว่าอย่างไร ?

ก. เขาก็พูดถูกต้องแล้วมิใช่หรือ

ข. บอกพวกเขาไปว่า พวกเขาไม่เข้าใจประเทศไทยและสื่อไทย

ค. บอกพวกเขาไปว่า พวกเรากำลังคืนความสุขภายใต้การชี้นำระยะยาวววววว ของท่านผู้นำ

ง. บอกพวกเขาไปอย่างสุภาพว่า กรุณาอย่าเสือก


10. หากคุณสอบตกไม่ได้ใบอนุญาต คุณจะทำอย่างไรต่อ ?

ก. สรุปว่าตนเองไม่เหมาะที่จะเป็นนักข่าวในกะลาแลนด์

ข. ไปหาศาลเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์กว่านี้ และบนบานพร้อมทั้งสาบานว่าจะแก้บนให้หนักขึ้น

ค. ลองติดสินบนกรรมการสื่อหรือใช้บริการเส้นสาย

ง. ลองเข้าสอบและโกง หรือจะให้ดีกว่านั้น จ้างคนที่มีทัศนคติ “ที่ถูกต้อง” ไปเข้าสอบแทน

 

ปล.บทความนี้ถอดความจากคอลัมน์ในข่าวสดอิงลิช Khaosod English “ARE YOU QUALIFIED TO PRACTICE JOURNALISM IN JUNTALAND? ”  วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560

บล็อกของ ประวิตร โรจนพฤกษ์

ประวิตร โรจนพฤกษ์
 ลึกๆในจิตใต้สำนึกของบรรดาผู้นำเผด็จการทหาร พวกเขาคงตระหนักว่าเขาปราศจากความชอบธรรมใดๆ พวกเขาจึงออกอาการวิตกจริตและปราบปรามการขัดขืนทุกรูปแบบ ไม่ว่าในโลกเสมือนจริงของอินเทอร์เน็ตหรือในโลกแห่งความเป็นจริงประจำวัน
ประวิตร โรจนพฤกษ์
การรับร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหารรังแต่จะเป็นการสนับสนุนให้มีการก่อรัฐประหารปล้นอำนาจประชาชนซ้ำๆจนชั่วลูกชั่วหลาน วันที่ 31 กรกฎา ผมจะเป็นหนึ่งเสียงในการพยายามยุติวัฐจักรอุบาทว์ปล้นอำนาจประชาชนผ่านรัฐประหารโดยการโหวตโน
ประวิตร โรจนพฤกษ์
การปรับทัศนคติ: คําสวยหรูที่ใช้โดยเผด็จการทหาร คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ในการจัดการกับผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดที่แสดงความเห็นไม่ยอมรับรัฐประหาร หรือตั้งคําถามถึงความชอบธรรม หรือความไร้ความชอบธรรมของการก่อรัฐประหารยึดอํานาจฉีกรัฐธรรมนูญ
ประวิตร โรจนพฤกษ์
ข่าวที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับเมืองไทยในหมู่ผู้สื่อข่าวต่างชาติในไทยในปัจจุบันได้แก่การที่พวกเขาจำนวนหนึ่งรู้สึกว่าการขอวีซ่าทำงานในฐานะนักข่าวในไทยนั้นยากมากขึ้นตั้งแต่เกิดรัฐประหารปี 2557