<p><font size="2" color="#ff00ff"><strong>มองแล้วยิ้ม</strong></font></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">การมีตัวเองเพียงลำพัง </span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">ไม่ว่าเดินทางเพียงลำพัง อยู่ลำพัง</span><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma"> </span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">มักทำให้เรามองสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้วครุ่นคิด</span><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma"> </span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">มองโน่นมองนี่ มองโน่นมองนี่ </span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">มอง... มองแล้วก็ยิ้ม </span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">มอง... มองแล้วก็ถอนใจ</span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">เพราะภาพที่ผ่านมาสู่สายตา </span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">มีเรื่องราว มีแง่มุม ชวนมอง และชวนคิด </span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">ฉันเก็บภาพผ่านเหล่านั้นมาเล่า </span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">ทีแรกตั้งชื่อว่า </span><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">&ldquo;<span>แต่ละวันมีเรื่องเล่า ทุกๆ คนมีเรื่องราว</span>&rdquo;</span></font></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">แต่แล้วเปลี่ยนใจตั้งชื่อใหม่ว่า </span><strong><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">&ldquo;<span>มองแล้วยิ้ม</span>&rdquo;</span></strong></font></p> <p><font size="2" color="#ff00ff"><strong><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma">เพราะอยากให้คนอ่านยิ้ม</span></strong></font><strong><font size="2" color="#ff00ff"><span style="font-size: 10pt; font-family: Tahoma"> เมื่ออ่านจบมากกว่า</span></font></strong> </p><p><font size="2" color="#808000"><strong>สร้อยแก้ว&nbsp; คำมาลา<br /></strong><br />บ้านเกิดที่แม่ฮ่องสอน <br />จบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />มีการงานอาชีพคือ เป็นลูกจ้าง <br />เขียนหนังสือ เป็นงานแห่งชีวิต <br />นอนมองใบไม้ ฟังเสียงลม ปั่นจักรยานไล่ตามก้อนเมฆ ฯลฯ เป็นงานอดิเรก <br />ผลของงานที่ผ่านมา เรื่องสั้น &ldquo;เดียวดาย&rdquo; ได้รับการประดับช่อการะเกด ปี 2542 งานรวมเล่มพ๊อกเกตบุ๊ค เรื่องสั้น &ldquo;ยังมีความรักหนึ่ง&rdquo; &ldquo;ความอ่อนไหวของชีวิต&rdquo; &ldquo;ประตูสายรุ้ง&rdquo; และบันทึกความเรียง &ldquo;หอมกลิ่นภูเขา&rdquo; </font><br />&nbsp;</p>

บล็อกของ soikaew

เยือนถิ่นอีสาน..เหล้าขาวและกรองทิพย์

  

ฉันได้แต่อมยิ้มเมื่อได้ยินเสียงดุๆ ของคนขายของชำที่มีต่อเด็กหญิงตัวเล็กๆ คะเนอายุเธอน่าจะประมาณสามขวบ

คนขายของถามเด็กหญิงว่า "เอาอะไร"

เด็กหญิงตอบอ้อมแอ้ม น้ำเสียงลังเล "เอา...เอา... เอานม!"

เยือนถิ่นอีสาน..ดอกไม้ของเด็กหญิง

ช่วงปิดเทอม ดาวใจกับไพจิตรได้เข้ามาที่ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านเกือบทุกวันเพราะพ่อแม่ของเธอมารับจ้างสับมัน (มันสำปะหลัง) กับสหกรณ์ปากมูล (สหกรณ์ปากมูลและศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านอยู่ติดกัน) บางครั้งดาวใจก็รับจ้างด้วย เพราะเธอโตแล้ว อายุสิบสี่ปีกว่า เธอทำงานแบบนี้ได้สบายมาก ส่วนไพจิตรยังคงเป็นเด็กหญิงซนๆ วิ่งไปวิ่งมา ทำงานตามแต่คำบัญชาการของพ่อแม่

เยือนถิ่นอีสาน..ผูกพัน

  

.

ผูกพัน เป็นชื่อเพลงเพลงหนึ่ง

ไม่บ่อยนักที่ฉันจะได้ฟังเพลงสักเพลงแล้วมันตรึงเราให้อยู่นิ่งๆ ตั้งอกตั้งใจฟัง

จำได้ว่า วันนั้นฉันนอนเปลที่ผูกเข้ากับเสาอาคารและต้นไม้ข้างศูนย์ฯ มีกิจกรรมค่ายของน้องๆ วัยมัธยมและมหาวิทยาลัยราวสี่สิบคน บรรดาพี่เลี้ยงเป็นคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่แต่ละคนล้วนฝีมือฉกาจฉกรรจ์ โดยเฉพาะ แคน และน้องผู้ชายอีกคนจำชื่อไม่ได้ (มาจากแก่งเสือเต้น) ดำเนินกิจกรรมให้กับเด็กๆ ได้อย่างมีสาระและสนุกสนาน เรียกว่าเอาอยู่ เก่งมากๆ

เยือนถิ่นอีสาน..ดอกไม้ยามแล้ง

 

หน้าบ้าน

ดอกโมกบานก่อนเพื่อน

ดอกมะลิตามมา

ดอกคูนเริ่มผลิไสว

ลั่นทมสี่ต้นที่เคยปลูกเองกับมือก็ผลิดอกให้ชมเร็วทันใจ

ปีที่แล้วนี้เอง, ตอนนั้นเอามาปลูกกับเด็กหญิงไพจิตร

พายุคะนองทำให้กิ่งก้านใหญ่ของลั่นทมหน้าศูนย์ฯ หัก

ฉันแบ่งออกเป็นสี่กิ่ง

ปลูกรอบบ้านดิน

ไม่คิดว่าวันหนึ่งจะได้มาอยู่บ้านหลังนี้

ลั่นทมกลิ่นหอม ชอบเด็ดมาดม

ดอกพุก ไม้ยืนต้นก็บานแล้วสีขาว

ดอกยอกขี้หมาส่งกลิ่นหอมจากคืนถึงเช้า

มันเป็นดอกที่ชื่อกับตัวไม่เข้ากันเลย

ยอกขี้หมาสีขาวร่วงหล่นบนพื้นสีขาวเกลื่อนทางเดินดูสวยดี

ยามเช้าตื่นมาเดินเล่น สูดดมกลิ่นหอมของดอกไม้แสนสดชื่น

เย็นวันนี้ ได้เห็นดอกไม้อีกชนิดหนึ่งในบึงน้ำ

ดอกบัวตูมสีชมพู

แดดร้อนดินแล้ง

น้ำในบึงแห้งขอดไปมาก

แต่กอบัวยังแข็งแรงอดทนดี

ดอกบัวหนึ่งดอกจึงผลิช่อตูม

หัวใจดวงน้อยก็เบิกบานตามแม้ยามแล้ง

กล้วยสุกอีกแล้วคาต้น

เด็ดมากินแสนอร่อย

อ้อยดำก็ฉ่ำหวาน

พืชผักพื้นบ้านขึ้นรอบศูนย์ฯ มีให้เก็บกินมากมาย

ไม้หนึ่ง ก.กุนที กวีเสื้อแดง

แม้ม็อบเสื้อสีๆ จะซาลงไปแล้ว (ซาแต่นามภาพ-รูปธรรม แต่ในความรู้สึกนั้นยังคงไหลแรง) แต่ฉันก็ยังเชื่อว่าคนที่เข้าร่วมแต่ละกลุ่มย่อมมีความคิด มีทัศนคติที่ชัดเจนของตนเอง

อย่างที่ทิ้งท้ายไว้ในตอนที่แล้วว่าฉันจะนำความคิดของ ไม้หนึ่ง ก.กุนที มานำเสนอ เพราะเห็นว่าวิธีคิดของเขาน่าสนใจมาก ซึ่งแม้ปัจจุบันฉันจะยังอยู่ขอบปลายชายแดนอีสาน ไม่มีโอกาสได้เจอหรือพูดคุยกับตัวตนจริงๆ ของเขา และบทสัมภาษณ์ที่คัดลอกมาฝากนี้ก็เคยผ่านหน้านิตยสารมาบางส่วนแล้ว แต่ฉันก็ยังอยากให้ใครอีกหลายๆ ที่อาจยังไม่ได้ผ่านตากับความเห็นเหล่านี้ได้ลองอ่านเล่นๆ ดูบ้าง

สถาปนาสถาบันประชาชน


ไม้หนึ่ง ก. กุนที - เป็นใคร?

สำหรับคนที่ไม่ได้สนใจงานเขียนประเภทกวีนิพนธ์หรืองานวรรณกรรม ก็มีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะตั้งคำถามนี้ แต่สำหรับแวดวงนักเขียนหรือคนที่สนใจงานวรรณกรรม ย่อมรู้จักเขาดีว่าเขาคือหนึ่งในกวีหัวก้าวหน้าที่มีความสามารถสูงในด้านฉันทลักษณ์จนก้าวพ้นกรอบกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ไปได้อย่างสง่างามและพยายามที่จะให้ฉันทลักษณ์รับใช้ศิลปะ มีชีวิตชีวา มากกว่าเพียงแค่ถ้อยคำไพเราะเพราะพริ้ง

เยือนถิ่นอีสาน..แมนยูฯ ในศูนย์ฯ

แมนยูฯ คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ศูนย์ฯ คือ ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูน

ฉันย้ายจากบ้านเช่าในเมืองโขงเจียมมาอยู่บ้านดินของศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้านปากมูน ได้ ๑ เดือนเต็มๆ แล้ว

และนับตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ภายในบ้านที่มีโทรทัศน์ใส่กล่องกระดาษตั้งอยู่ มันก็มีหน้าที่เป็นพนักพิงยามเขียนหนังสือ (กับโต๊ะญี่ปุ่น) ให้เท่านั้น ฉันขอความร่วมมือจากคนร่วมชายคาบ้านว่าหากอยากดูข่าวสารจากโทรทัศน์ก็ช่วยออกแรงเดินสักร้อยกว่าเมตรไปดูในห้องทำงานของศูนย์ฯ เถอะนะ ซึ่งที่นั่นจะมีน้องชายอ้วนดูอยู่เป็นประจำ (และนอนที่นี่) คนอาศัยชายคาเดียวกันก็นับว่ามีน้ำใจยิ่ง ให้ความร่วมมือกับคนเรื่องมากอย่างฉันโดยดี

เยือนถิ่นอีสาน..แมวกับเขาเหมือนกัน

ไม่ได้ตั้งใจจะเลี้ยงเล้ยยยยย... จริงๆ พับเผื่อยซิ

วันประชุมสมัชชาคนจน ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อน ได้มาประชุมปรึกษาหารือกันที่ศูนย์ภูมิปัญญาไทบ้าน เจ้าแมวตัวนี้นอนซุกอยู่ในรองเท้าเจ้าอ้วน - เด็กอ้วนแห่งรายการวิทยุชุมชน เด็กๆ แถวนี้บอกว่าพี่น้องมันตายไปหมดแล้ว หมาฟัดเรียบ

ฉันได้แต่ฟังเขาพูด ไม่ได้ขึ้นไปฟังเขาประชุมด้วย เลยไม่รับรู้ต่อการมีอยู่ของมัน

แต่ว่าพอบ่ายแก่ๆ ก็มีมือดีจับใส่กระเป๋าเสื้อเดินมาให้ที่บ้านดิน

"อยู่ที่นี่ดีกว่านะ ไม่งั้นเดี๋ยวมันจะถูกหมาฟัดตาย"

เจ้าของเสียงดึงมันออกมา ตัวเล็กๆ อยู่ในอุ้งมือเดียวเท่านั้นของชายหนุ่ม

ฉันมองแล้วทั้งยิ้มทั้งถอนใจ


เยือนถิ่นอีสาน..มีตู้เย็นดีไหม

ร้อนๆ อย่างนี้ ซื้อน้ำแข็งกินทีไร ก็อดคิดถึงตู้เย็นไม่ได้ทุกที ถ้ามีตู้เย็นฉันคงจะซื้อน้ำแข็งกินไม่เปลืองเท่านี้ เพราะกินเท่าที่ต้องการ เหลือก็ใส่ตู้เย็น หรือบางทีก็ทำน้ำแข็งกินเองก็ได้ ส่วนของสดหรืออาหารที่กินเหลือก็แช่ตู้เย็นไว้ได้ หิวเมื่อไหร่ก็นำมากินได้อีก ไม่เปลือง

อืมม์! คิดทีไรก็อยากกลับไปเอาตู้เย็นที่กรุงเทพฯ ทุกที แต่ก็ติดตรงที่ฉันไม่เคยแน่ใจสักทีว่าจะปักหลักที่ไหน การเคลื่อนย้ายบ่อยจึงไม่เหมาะที่จะมีสัมภาระอะไรมาก นี่ขนาดว่าไม่มาก ฉันก็ยังซื้อโทรทัศน์ (ไว้ดูข่าวสารบ้านเมือง) เครื่องซักผ้า (แก่แล้ว นั่งซักปวดหลัง) หนังสืออีกหนึ่งเข่งและข้าวของจิปาถะอีกสองเข่งกับอีกสองลังเสื้อผ้า จนหลายคนสงสัยว่า นี่เธอมาอยู่ปีเดียวเองหรือ มันมากกว่าคนอยู่สิบปีที่นี่อีกนะ ฉันได้แต่หัวเราะ

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ soikaew