Skip to main content

ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"

แต่ผมอยากคิดเลยไปอีกนิดว่า การด่ากันคือการจัดลำดับความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นการต่อสู้ทางสังคมอย่างหนึ่งด้วยระบบสัญลักษณ์ เพียงแต่คนที่ใช้ระบบสัญลัษณ์แบบนี้ แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อมั่นในระบบสังคมแบบหนึ่งที่รองรับระบบสัญลักษณ์แบบนี้อยู่
 
ใครๆ ก็รู้ดีว่า คำด่าไม่ได้ทำให้คนต่างวัฒนธรรม ต่างภาษาเข้าใจและเจ็บใจได้เหมือนกันหมด เมื่อวาน ผมเพิ่งคุยกับหลานเรื่องคำด่า เธอเล่าว่าแม่ของเธอซึ่งเป็นคนแม่สาย มักพูดคำเมืองในบ้าน และด่าเป็นคำเมือง สำหรับเธอและพ่อเธอซึ่งโตมาในภาษากรุงเทพฯ คำด่าเมืองไม่ได้ทำให้เธอกับพ่อโกรธหรือเจ็บใจอะไร ซ้ำเธอและพ่อยังรู้สึกตลกและชอบฟังแม่ด่าหรือบ่นเป็นคำเมือง
 
นักมานุษยวิทยาอย่างเอ็ดมันด์ ลีชเคยพยายามอธิบายคำด่า ด้วยการจับชุดคำด่ามาวิเคราะห์โครงสร้าง ว่าทำไมคำบางคำจึงหยาบคายในภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่มันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น เช่นคำว่า "หมาตัวเมีย" (bitch) "ลูกแมว" (pussy) "หมู" (pig) "กระต่าย" (bunny) จึงกลายเป็นคำด่าหรือสัตว์ที่ต้องห้ามแต่ยั่วยวน สิ่งต้องห้ามมักเป็นที่ยั่วยวนของมนุษย์ แต่ขณะเดียวกันมันก็น่ากลัว อันตราย และกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 
 
ลีชวิเคราะห์ว่า สำหรับคนอังกฤษ สัตว์เหล่านี้อยู่ตรงกลางระหว่างพื้นที่ที่ไม่ไกลเกินไปแต่ก็ไม่ใกล้เกินไป สัตว์เหล่านี้จึงกินเป็นอาหารไม่ได้ bitch กับ pussy เป็นสัตว์เลี้ยง อยู่ในบ้าน มีฐานะเหมือนพี่น้องท้องเดียวกัน ซึ่งแต่งงานกันไม่ได้ หมากับแมวจึงเป็นสัตว์ต้องห้าม ส่วน pig กับ bunny อยู่ระหว่าง "สัตว์ในคอก" (cattle) กับ "สัตว์ป่า" (wild) แม้จะกินได้ แต่ก็ไม่สะดวกใจ คำเรียกสัตว์เหล่านี้จึงกลายเป็นคำต้องห้ามไปด้วย 
 
เราจะเอาหลักเดียวกันนี้มาวิเคราะห์ "หมา" "เหี้ย" กับ "ควาย" ได้แค่ไหน ผมยังไม่แน่ใจเหมือนกัน แม้ว่ามันก็ดูเข้าเค้าอยู่ แต่สำหรับคนไทย บางทีมันอาจจะง่ายกว่านั้น เพราะโครงสร้างสังคมไทยมักวางอยู่บนลำดับชั้นสูงต่ำ เมื่อใครหรือสัตว์ใดถูกจัดให้อยู่ในลำดับขั้นที่ต่ำกว่า ก็จะกลายมาเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่อยากแตะต้อง และกลายเป็นคำด่า 
 
หมา เหี้ย ควายอยู่ในฐานะที่ต่ำต้อยนั้น กรณีควายถ้าเทียบกับวัว วัวดูจะมีฐานะสูงกว่า เพราะดื้อกว่าควาย ควายจึงต่ำกว่าคนอย่างเห็นได้ชัดกว่า ส่วนหมานั้นต่ำกว่่าแมวเพราะฝึกง่ายกว่า แมวไม่เชื่อคนเท่าหมา ส่วนเหี้ย คงมีฐานะต่ำเพราะกินอาหารเลว กินซากสัตว์เน่่าเหม็น เหมือนผี ต่างจากสัตว์อื่นที่ไม่กินสุกไปเลยหรือก็กินดิบสดไปเลย เหี้ยก็เลยกลายเป็นสัตว์ต้องห้าม ที่จริงคำว่า "สัตว์" ในภาษาไทยก็สื่อความเชิงชนชั้นชัดเจนอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษ คงไม่มีใครด่ากันด้วยคำนี้ เพราะจักรวาลวิทยาเขาต่างกับเรา
 
อวัยวะของร่างกายก็มีลำดับชั้นเช่นกัน อวัยวะเพศกับ "ส้นตีน" อยู่ในลำดับขั้นต่ำของภาษาไทย คำอธิบายแบบนี้น่าจะใช้กับคำเรียกคนได้ด้วย คำว่า "กะหรี่" อยู่ในฐานเดียวกับหรืออาจจะต่ำกว่า "บ้านนอก" "ขอทาน" "คนใช้" สังคมไทยเคยใช้คำว่า "ไพร่" ด่ากัน คำเรียกชาติพันธ์ุ เช่น "ลาว" "เจ๊ก" ก็ถูกนำมาใช้ดูถูกกันเพราะคนไทยจัดความสัมพันธ์ตามลำดับสูง-ต่ำดังกล่าว ในสังคมไทย การด่าจึงเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นเพียงการเปล่งเสียง แต่ยังเป็นการจัดตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมระหว่างผู้ด่ากับผู้ถูกด่า การใช้คำด่าจึงผลักให้อีกฝ่ายหนึ่งต่ำลงด้วยสัญลักษณ์
 
คำด่าอยู่ในลำดับชั้นต่ำสุดของภาษาไทย ระหว่างคู่สนทนาที่ไม่เท่าเทียมกัน คนที่อยู่สูงกว่าพูดไปด่าไปกับคนที่อยู่ต่ำกว่าได้ แต่คนที่อยู่ต่ำกว่าไม่สามารถทำอย่างเดียวกันกับคนที่อยู่สูงกว่าได้ หรืออาจจะต้องใช้ภาษาอีกภาษาหนึ่ง เช่นราชาศัพท์ สนทนากับผู้ที่อยู่สูงกว่า 
 
แต่สำหรับคู่ขัดแย้งที่อยู่ในฐานะเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่จนแต้ม ไม่สามารถทำให้คู่ขัดแย้งยอมรับนับถือตนเองได้ด้วยการหว่านล้อมด้วยมธุรสวาจา ไม่สามารถอธิบายโต้แย้งด้วยเหตุด้วยผลได้ พวกจนคำพูดไร้สติปัญญาก็จะใช้คำด่าแทน คำด่าของพวกเขาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า พวกเขาไม่ใช่นักคิด ไม่ใช่นักประชาธิปไตยอะไรที่ไหน ก็แค่นักอนุรักษ์วัฒนธรรมลำดับชั้น ยึดมั่นกับวัฒนธรรมเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสังคมไทยคนหนึ่งเท่านั้นเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ