Skip to main content

ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"

แต่ผมอยากคิดเลยไปอีกนิดว่า การด่ากันคือการจัดลำดับความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นการต่อสู้ทางสังคมอย่างหนึ่งด้วยระบบสัญลักษณ์ เพียงแต่คนที่ใช้ระบบสัญลัษณ์แบบนี้ แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเชื่อมั่นในระบบสังคมแบบหนึ่งที่รองรับระบบสัญลักษณ์แบบนี้อยู่
 
ใครๆ ก็รู้ดีว่า คำด่าไม่ได้ทำให้คนต่างวัฒนธรรม ต่างภาษาเข้าใจและเจ็บใจได้เหมือนกันหมด เมื่อวาน ผมเพิ่งคุยกับหลานเรื่องคำด่า เธอเล่าว่าแม่ของเธอซึ่งเป็นคนแม่สาย มักพูดคำเมืองในบ้าน และด่าเป็นคำเมือง สำหรับเธอและพ่อเธอซึ่งโตมาในภาษากรุงเทพฯ คำด่าเมืองไม่ได้ทำให้เธอกับพ่อโกรธหรือเจ็บใจอะไร ซ้ำเธอและพ่อยังรู้สึกตลกและชอบฟังแม่ด่าหรือบ่นเป็นคำเมือง
 
นักมานุษยวิทยาอย่างเอ็ดมันด์ ลีชเคยพยายามอธิบายคำด่า ด้วยการจับชุดคำด่ามาวิเคราะห์โครงสร้าง ว่าทำไมคำบางคำจึงหยาบคายในภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่มันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น เช่นคำว่า "หมาตัวเมีย" (bitch) "ลูกแมว" (pussy) "หมู" (pig) "กระต่าย" (bunny) จึงกลายเป็นคำด่าหรือสัตว์ที่ต้องห้ามแต่ยั่วยวน สิ่งต้องห้ามมักเป็นที่ยั่วยวนของมนุษย์ แต่ขณะเดียวกันมันก็น่ากลัว อันตราย และกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 
 
ลีชวิเคราะห์ว่า สำหรับคนอังกฤษ สัตว์เหล่านี้อยู่ตรงกลางระหว่างพื้นที่ที่ไม่ไกลเกินไปแต่ก็ไม่ใกล้เกินไป สัตว์เหล่านี้จึงกินเป็นอาหารไม่ได้ bitch กับ pussy เป็นสัตว์เลี้ยง อยู่ในบ้าน มีฐานะเหมือนพี่น้องท้องเดียวกัน ซึ่งแต่งงานกันไม่ได้ หมากับแมวจึงเป็นสัตว์ต้องห้าม ส่วน pig กับ bunny อยู่ระหว่าง "สัตว์ในคอก" (cattle) กับ "สัตว์ป่า" (wild) แม้จะกินได้ แต่ก็ไม่สะดวกใจ คำเรียกสัตว์เหล่านี้จึงกลายเป็นคำต้องห้ามไปด้วย 
 
เราจะเอาหลักเดียวกันนี้มาวิเคราะห์ "หมา" "เหี้ย" กับ "ควาย" ได้แค่ไหน ผมยังไม่แน่ใจเหมือนกัน แม้ว่ามันก็ดูเข้าเค้าอยู่ แต่สำหรับคนไทย บางทีมันอาจจะง่ายกว่านั้น เพราะโครงสร้างสังคมไทยมักวางอยู่บนลำดับชั้นสูงต่ำ เมื่อใครหรือสัตว์ใดถูกจัดให้อยู่ในลำดับขั้นที่ต่ำกว่า ก็จะกลายมาเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่อยากแตะต้อง และกลายเป็นคำด่า 
 
หมา เหี้ย ควายอยู่ในฐานะที่ต่ำต้อยนั้น กรณีควายถ้าเทียบกับวัว วัวดูจะมีฐานะสูงกว่า เพราะดื้อกว่าควาย ควายจึงต่ำกว่าคนอย่างเห็นได้ชัดกว่า ส่วนหมานั้นต่ำกว่่าแมวเพราะฝึกง่ายกว่า แมวไม่เชื่อคนเท่าหมา ส่วนเหี้ย คงมีฐานะต่ำเพราะกินอาหารเลว กินซากสัตว์เน่่าเหม็น เหมือนผี ต่างจากสัตว์อื่นที่ไม่กินสุกไปเลยหรือก็กินดิบสดไปเลย เหี้ยก็เลยกลายเป็นสัตว์ต้องห้าม ที่จริงคำว่า "สัตว์" ในภาษาไทยก็สื่อความเชิงชนชั้นชัดเจนอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษ คงไม่มีใครด่ากันด้วยคำนี้ เพราะจักรวาลวิทยาเขาต่างกับเรา
 
อวัยวะของร่างกายก็มีลำดับชั้นเช่นกัน อวัยวะเพศกับ "ส้นตีน" อยู่ในลำดับขั้นต่ำของภาษาไทย คำอธิบายแบบนี้น่าจะใช้กับคำเรียกคนได้ด้วย คำว่า "กะหรี่" อยู่ในฐานเดียวกับหรืออาจจะต่ำกว่า "บ้านนอก" "ขอทาน" "คนใช้" สังคมไทยเคยใช้คำว่า "ไพร่" ด่ากัน คำเรียกชาติพันธ์ุ เช่น "ลาว" "เจ๊ก" ก็ถูกนำมาใช้ดูถูกกันเพราะคนไทยจัดความสัมพันธ์ตามลำดับสูง-ต่ำดังกล่าว ในสังคมไทย การด่าจึงเป็นการกระทำที่ไม่ใช่เป็นเพียงการเปล่งเสียง แต่ยังเป็นการจัดตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมระหว่างผู้ด่ากับผู้ถูกด่า การใช้คำด่าจึงผลักให้อีกฝ่ายหนึ่งต่ำลงด้วยสัญลักษณ์
 
คำด่าอยู่ในลำดับชั้นต่ำสุดของภาษาไทย ระหว่างคู่สนทนาที่ไม่เท่าเทียมกัน คนที่อยู่สูงกว่าพูดไปด่าไปกับคนที่อยู่ต่ำกว่าได้ แต่คนที่อยู่ต่ำกว่าไม่สามารถทำอย่างเดียวกันกับคนที่อยู่สูงกว่าได้ หรืออาจจะต้องใช้ภาษาอีกภาษาหนึ่ง เช่นราชาศัพท์ สนทนากับผู้ที่อยู่สูงกว่า 
 
แต่สำหรับคู่ขัดแย้งที่อยู่ในฐานะเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่จนแต้ม ไม่สามารถทำให้คู่ขัดแย้งยอมรับนับถือตนเองได้ด้วยการหว่านล้อมด้วยมธุรสวาจา ไม่สามารถอธิบายโต้แย้งด้วยเหตุด้วยผลได้ พวกจนคำพูดไร้สติปัญญาก็จะใช้คำด่าแทน คำด่าของพวกเขาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า พวกเขาไม่ใช่นักคิด ไม่ใช่นักประชาธิปไตยอะไรที่ไหน ก็แค่นักอนุรักษ์วัฒนธรรมลำดับชั้น ยึดมั่นกับวัฒนธรรมเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสังคมไทยคนหนึ่งเท่านั้นเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้