yukti mukdawijitra's picture
แฮดดอนผู้บุกเบิกการวิจัยภาคสนามเรียกนักมานุษยวิทยาก่อนหน้าว่าเป็น armchair anthropologists ส่วนมาลินอฟสกีผู้ทำให้การวิจัยภาคสนามเป็นแบรนด์ของมานุษยวิทยา บอกให้ค้นหา native’s point of view แต่ข้อเขียนสั้นๆ ของผมเป็นได้เพียง armchair’s point of view

เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธ์ุนิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี

แต่ในปลายศตวรรษที่ 19 นักมานุษยวิทยาเริ่มไม่ไว้ใจข้อมูลจากคนที่ไม่ได้รับการศึกษาทางทฤษฎีมาก่อน จึงเริ่มพัฒนาการวิจัยภาคสนาม จนเกิดขนบการศึกษาทางมานุษยวิทยาแบบใหม่ขึ้นมา นั่นคือนักมานุษยวิทยาจะต้องเป็นทั้งผู้วิเคราะห์ทางทฤษฎีและผู้เก็บข้อมูลภาคสนามไปพร้อมๆ กัน

แต่ผู้บุกเบิกการวิจัยภาคสนามไม่ใช่นักมานุษยวิทยา กลับเป็นนักสัตววิทยาชื่ออัลเฟรด แฮดดอน (Alfred C Haddon, 1855-1940) เขานำเอาหลักการศึกษาสัตว์อย่างมีส่วนร่วมในสนามมาเสนอให้นักมานุษยวิทยาใช้ แฮดดอนเปรียบนักมานุษยวิทยารุ่นก่อนหน้าเขาว่าเป็น armchair anthropologists "นักมานุษยวิทยาเก้าอี้นั่งเล่น" เนื่องจากพวกนั้นไม่เคยทำงานภาคสนามเลย

ต่อมาบรอนิสลอว์ มาลินอฟสกี (Bronislaw Malinowski, 1884-1942) ผู้ทำให้การศึกษาภาคสนามกลายเป็นแบรนด์ของมานุษยวิทยา บอกว่า เราต้องค้นหา native's point of view "มุมมองของชนพื้นเมือง"

แต่ข้อเขียนสั้นๆ ของผม มันก็เป็นแค่ armchair's point of view "มุมมองจาก (นักมานุษยวิทยา) เก้าอี้นั่งเล่น"

บล็อกของ yukti mukdawijitra

ยุกติ มุกดาวิจิตร: รัฐเข้มแข็ง

หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 

ยุกติ มุกดาวิจิตร: พิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัย

เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 

ยุกติ มุกดาวิจิตร: สามวันที่บอสตัน

ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่

ยุกติ มุกดาวิจิตร: กลไกทางสังคมของการเลือกตั้ง

แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 

ยุกติ มุกดาวิจิตร: นี่หรือธรรม...

ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ความสุข อาวุธอวกาศ สงครามลับ แคปิตะลิสม์

วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ถิ่นกำเนิดคนไท(ย)

เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ความรักของประชาชน

รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ

ยุกติ มุกดาวิจิตร: สำเนียงส่ออำนาจ

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 

ยุกติ มุกดาวิจิตร: สาส์นจากนักศึกษาธรรมศาสตร์

ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ yukti mukdawijitra