yukti mukdawijitra's picture
แฮดดอนผู้บุกเบิกการวิจัยภาคสนามเรียกนักมานุษยวิทยาก่อนหน้าว่าเป็น armchair anthropologists ส่วนมาลินอฟสกีผู้ทำให้การวิจัยภาคสนามเป็นแบรนด์ของมานุษยวิทยา บอกให้ค้นหา native’s point of view แต่ข้อเขียนสั้นๆ ของผมเป็นได้เพียง armchair’s point of view

เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธ์ุนิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี

แต่ในปลายศตวรรษที่ 19 นักมานุษยวิทยาเริ่มไม่ไว้ใจข้อมูลจากคนที่ไม่ได้รับการศึกษาทางทฤษฎีมาก่อน จึงเริ่มพัฒนาการวิจัยภาคสนาม จนเกิดขนบการศึกษาทางมานุษยวิทยาแบบใหม่ขึ้นมา นั่นคือนักมานุษยวิทยาจะต้องเป็นทั้งผู้วิเคราะห์ทางทฤษฎีและผู้เก็บข้อมูลภาคสนามไปพร้อมๆ กัน

แต่ผู้บุกเบิกการวิจัยภาคสนามไม่ใช่นักมานุษยวิทยา กลับเป็นนักสัตววิทยาชื่ออัลเฟรด แฮดดอน (Alfred C Haddon, 1855-1940) เขานำเอาหลักการศึกษาสัตว์อย่างมีส่วนร่วมในสนามมาเสนอให้นักมานุษยวิทยาใช้ แฮดดอนเปรียบนักมานุษยวิทยารุ่นก่อนหน้าเขาว่าเป็น armchair anthropologists "นักมานุษยวิทยาเก้าอี้นั่งเล่น" เนื่องจากพวกนั้นไม่เคยทำงานภาคสนามเลย

ต่อมาบรอนิสลอว์ มาลินอฟสกี (Bronislaw Malinowski, 1884-1942) ผู้ทำให้การศึกษาภาคสนามกลายเป็นแบรนด์ของมานุษยวิทยา บอกว่า เราต้องค้นหา native's point of view "มุมมองของชนพื้นเมือง"

แต่ข้อเขียนสั้นๆ ของผม มันก็เป็นแค่ armchair's point of view "มุมมองจาก (นักมานุษยวิทยา) เก้าอี้นั่งเล่น"

บล็อกของ yukti mukdawijitra

armchair’s point of view "มุมมองจาก (นักมานุษยวิทยา) เก้าอี้นั่งเล่น"

เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ yukti mukdawijitra