นายหมูแดงอวกาศ
.... สัมพันธ์ เรารักกัน สายใยผูกพันธ์ แน่นเหนียว
หวังช่วยคนจน คนยากจน เด็ดเดี่ยว สามัคคีกลมเดียวใจเดียวกับชุมชน...
เนื้อหาที่ผมนำมาเกริ่นเป็นท่อนต้นของเพลงประจำสถาบัน และครั้งนี้เป็นการอบรมรับเจ้าหน้าที่ใหม่จากหลายส่วน ครั้งที่ 5 โดยหวังเป็นหนึ่งเดียวเรื่องการทำงานรับใช้ชุมชนฐานรากและการทำงานที่เป็นทีมเป็นหนึ่งเดียวในการพัฒนา แต่เอาเข้าจริงๆ วันที่เขาเดินทางผมเองกับไม่ได้มาพร้อมกัน เพราะผมติดนำเสนองานงานหนึ่งอยู่ จึงต้องตามมาอีกวันหนึ่ง ซึ่งบรรดาเพื่อพี่น้องก็ได้ปีนเขาก่อนหน้าไปเสียแล้ว ซึ่งยอมรับว่าตัวเองมีความเสียดายมาก (แต่ก็แอบดีใจเพราะหากไปคงปวดขาไปหลายวันเลยทีเดียวที่ต้องเดินเขา) จึงมานั่งรอเพื่อนที่โรงเรียนบ้านพุเข็ม ณ ที่นั้นผมพบอัธยาศัยพี่น้องชาวบ้านที่เจรจาพาที และพาไปนั่งที่ home stay ของเขาครับ เชื่อไหมาครับวิวสวยงามมากๆ เพชรบุรีนอกจากมีดีเรื่องขนมขับขานแล้ว ยังมีดีที่บ้านพุเตย เขื่อนแก่งกระจานแห่งนี้อีกด้วย
ประมาณบ่าย 2 เพื่อนๆ ต่างเดินทะยอยลงมาด้วยเสียงกระจองงองแง ปวดขาโอ้ย หิว ... อื่นๆอีกสุดแท้แต่จะทราบได้ เพราะต่อจากนี้ไปยังไม่หมดเท่านั้นเพราะผมเองก็ต้องไป ผจญด้วยนั่นก็คือ การทำงานอาหาร สังเกตนะครับ เมนูส่วนใหญ่ที่นี่เน้นปลา เพราะอุดมด้วยปลามาหมายเสียเหลือเกิน ต่างคนต่างประชันแบ่งหน้าที่กันทำอาหาร กลุ่มผมทำ ปลาราดพริก ต้มโคล้ง และก็ปลาทอดเฉยๆ จิ้มกับน้ำปลา (อยากจะนินทาเล็กๆว่าการทำอาหารบ่งบอกนิสัยคน บางคนทำอาหารต้องเครื่องครบเท่านั้นไม่งั้นทำไม่ได้ แสดงว่าระเบียบจัด บางคนก็ทำไปกินไปเถอะนะนี่ก็ง่ายๆสบายบางทีอาจขี้เกียจ แสดงถึงเพื่อนเราที่หลากหลาย แต่ต่างคนก็ต่างทำอาหารออกมาอย่างอร่อย จนเกิดเป็นอาหารเย็นของหัวค่ำวันที่ 2 ของเรา (แต่ผมตื่นเต้นมากว่าเพราะเขาตกปลาได้ตัวใหญ่มากๆ แย่งกะเด็กตัวเล็กเล่นเอาผมฮือฮา เขื่อนนี้ข่างอุดมสมบูรณ์สมคำในน้ำมีปลา ในนามีข้าวจริงๆ)
พอกินข้าวเสร็จ ผมยังจำได้เลยนะครับ เราพากันล้อมวงต่อ เสวนาพาแลงดังชื่อ เพราะทุกคนต่างร่วมกันกินอาหาร ดีดสีตีเป่า จังหวะดนตรีที่ใครใคร่ร้องก็ร้อง ใคร่ฟังก็ฟัง หลากหลายเพลง เป็นเพลงที่เราแซวกันเล่นๆ ว่าเพลงสายแข็ง อาทิ เพลงคนกับควาย เพลงจิตรภูมิศักด์ เป็นต้น และผมเองก็ชอบเพลงเหล่านั้นเข้าไปเสียด้วยสิ นี่แหละมั้งครับ inner การหลั่งไหลซึมซับเข้าไปในร่างกาย "แต่ช่วงเสวนานั้นเราแลกเปลี่ยนกันเกี่ยวกับประเด็นเขื่อน เขื่อนมีทั้งประโยชน์และโทษหากมองดีๆ หลายคนบอกว่าเขื่อนเก็บน้ำมีโทษได้อย่างไร แต่สิ่งที่ผมมาคิดคือการที่ชาวบ้านพุเตยบอกว่าที่ดินนี้ที่จมอยู่ใต้น้ำเนี่ย เมื่อก่อนเคยเป็นที่เขา" แล้วจะให้ผมรู้สึกอย่างไร ผมรู้สึกเป็น 2 อย่างนะ อย่างหนึ่งคือ ทำไมเขาต้องสละที่เขา เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง หรือ น้ำท่วมให้คนบางกลุ่ม ทั้งที่เขาเป็นเจ้าของ แต่อีกมุมหนึ่งเขาก็เสียสละเพื่อคนส่วนรวม (ใคร) เป็นต้น คำถามนี้ผมเองก็คงไม่หาคำตอบต่อไป แต่ผมเองก็เฝ้าคิดจนเข้านอนไปเหมือนกัน
รุ่งเช้าวันสุดท้ายที่เราต้องออกเดินทางไปจากบ้านพุเข็ม ผมได้รีบอาบน้ำที่เย็นให้สดใส สูดอากาศให้เต็มที่และที่สำคัญรีบไปถ้ายรูปตอนพระอาทิตย์ขึ้นจากขอบแผ่นน้ำและภูเขา มันเป็นสีทอง สะท้อนทาบจากขอบฟ้าลงมาบนแผ่นน้ำ เป็นรางวัลของผมในการรอมัน ก่อนที่ผมจะออกเดินทางไปต้นน้ำของเขื่อน ที่ ณ ที่นั้นผมเห็นวิถีชีวิตชาวบ้านตามขอบเขื่อนที่ให้ชีวิตเรียบง่าย หรือแม้กระทั่งมัคคุเทศน์หนุ่มน้องพัช ที่ผมแซวเล่นๆว่าทำไมพัชไม่ไปทำงานข้างนอกละ "พัชตอบผมว่า : พี่ไปทำไมทำงานที่นี่สบายใจกว่าเยอะ เพราะเราไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร เป็นเจ้านายตัวเองได้ดูแลพ่อกับแม่ด้วย" ประโยคนี้ทำผมอึ้งไปเลยเพราะผมเองยังไม่สามารถเป็นเจ้านายตนเองได้อย่างพัช เกร็ดเล็กน้อยไม่น่าเชื่อ ว่าเราจะเก็บมาได้จากการพาลพบและพบพากัน ขณะเดียวกันเราเองยังต้องไปอีกที่คือ บ้านมั่นคงท่ายาง บ้านของคนจนเพื่อคนจน และคนจนทำได้....ไว้ตอนหน้าครับ