คนไม่มีอะไร
เคยส่งสัยไหมว่าทำไมหิ่งห้อยชอบอยู่แถวบริเวณต้นลำพู แล้วข้างๆ ต้นลำพูต้องมีต้นโกงกาง มีเรื่องเล่ามายาวนานว่า ต้นลำพูเคยเป็นผู้ชายมาก่อน แล้วไปลงรักนางหิ่งห้อยชวนหนีไปด้วยกัน แต่นางโกงกางก็มีใจให้นายลำพู จึงไม่ยอมให้หนีเลยเอารากตัวเองยึดนายลำพูไว้ นางหิ่งห้อยเลยจำเป็นบินเฝ้าต้นลำพูในยามค่ำคืน เมื่อวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้จัดประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งที่2 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับชุมชน (CHIA) ณ บ้านทิพย์ สวนทอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งนี้ทางสช. ได้จัดวันลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้ชุมชนบนวิถีท้องถิ่นแม่กลอง ไปเรียนรู้ 2 ชุมชน ชุมชนแรกเป็นชุมชนแพรกนามแดงซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการน้ำ ชุมชนที่สองเป็นชุมชนบ้านลมทวนได้รับผลกระทบจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวดูหิ่งห้อยจากการลงพื้นที่ชุมชนบ้านลมทวนเชื่อว่าใครหลายๆ คนเคยไปสัมผัสบรรยากาศของหมู่บ้านแห่งนี้ เวลายามเย็นกับการล่องเรือเที่ยวตลาดน้ำ ส่วนยามค่ำคืนนั่งเรือพายชมหิ่งห้อยนับล้านตัว บนวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย รักสงบแบบดังเดิมของชาวบ้านสวนริมคลอง บอกตามตรงเป็นบรรยากาศที่น่าถนุถนอมเก็บรักษาสืบทอดเป็นมรดกให้ลูกหลานชาวแม่กลองต่อไปแต่ในปัจจุบันชาวบ้านชุมชนบ้านลมทวนต้องเจอกับปัญหาอย่างหนักที่มาพร้อมกับการท่องเที่ยว เนื่องจากได้มีผู้ประกอบการใช้เรือหางยาวในการพานักท่องเที่ยวชมหิ่งห้อย จากเดิมในหมู่บ้านมีเรือหางยาววิ่งแค่ 3 ลำ แต่ตอนมีประมาณ 160-170 ลำ มาจากผู้ประกอบการในตัวอำเภออัมพวา ชาวบ้านต้องเจอภาวะเสียงดังในยามค่ำคืนรบกวนเวลาพักผ่อน ปัญหากัดเซาะของชายฝั่งที่เกิดจากลูกคลื่นเวลาเรือหางยาววิ่ง ชาวบ้านในพื้นที่ยังใช้เรือพายและเรือแจวจุดนี้เองที่ทำให้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับวิถีชีวิติของทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ และพืช ที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ที่เห็นอย่างเจน1.มลภาวะทางเสียงเครื่องยนต์โดยเฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ชาวบ้านไม่ต้องหลับนอนกันได้ยินแต่เครื่องยนต์เกิดความรำคาญกับชุมชนในยามวิกา,2.มลภาวะทางอากาศ ควันพิษจากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ทำให้หิ่งห้อยไม่สามารถใช้ชีวิตตามริมฝั่งแม่น้ำได้ ต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ที่มีสภาพอากาศที่กว่า วงจรชีวิตของหิ่งห้อยในชุมชนต้องสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย3. ผลกระทบที่มากับลูกคลื่นที่เกิดจากเรือยนต์ แรงกะแทกของคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาของชายฝั่งอย่างรุแรง ต้นลำพูและต้นไม้ชายฝั่งอยู่ในภาวะเสียหายอย่างหนัก เพราะดินชายฝั่งถูกกระแทก รากของต้นไม้ไม่มีดินสำหรับเกาะยึด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ป่าชายเลนที่มีหิ่งห้อยมากที่สุดถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง และที่สำคญมากไปกว่านี้ไข่ของหิ่งห้อยก็โดนคลื่นกระแทกออกไป ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเชื่อว่าหิ่งห้อยที่หมู่บ้านแห่งนี้จะศูนย์พันธุ์ไปที่ในที่สุด4. ผลกระทบกับวิถีชีวิตของชุมชน ในอดีคนในชุมชนหมู่ที่ 6, 7, 8 และหมู่ที่ 11 ของตำบลบ้านปรกดำเนินชีวิตด้วยความสงบสุข มีแหล่งอาหารจากป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ยามค่ำคืนสามารถพักผ่อนนอนหลับได้ตามปรกติ แต่ในสภาพปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วจากการท่องเที่ยวดูหิ่งห้อย เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้ เลยอยากบอกส่งสารหิ่งห้อยมาก เพราะว่ามันไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร แล้วทำไมคนจำนวนมากต้องไปทำลาย และทำร้ายมันด้วย4 เสือ ก่อนลงเรือไปดูหิ่งห้อยจุดหมายเดียวกันเราจะไปหานายลำพูกับนางหิ่งห้อยสวยไมคะ นี้แค่ถ่ายเล่นๆ ยังไม่เอาจริงนะเนี๊ยสิ่งที่ชาวบ้านลมทวนฝากมาคณะท่องเที่ยวจากใต้จ้ากำลังจะไปหาจุดหมายเหมื่อนกันหลายๆ คนอาจส่งสัยว่าทำไมไม่มีรูปของนางหิ่งห้อย นางหิ่งห้อยตั้งเสียใจร้องไห้กับนายลำพูมายาวนาน จนถึงทุกวันนี้ สายตาของนางหิ่งห้อยจะรับแสงอย่างอื่นๆไม่ได้เลย นอกจากแสงดวงจันทร์เท่านั้น ถ้าสายตาของนางหิ่งห้อยต้องเจอกับแสงแฟลตส์ของกล้องถ่ายมันก็จะตายในทันที ในส่วนกลางวันมันจะแอบแถวๆ บริเวณเดียวกันกับนายลำพู สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ตำบลปรก อำเภอเมือ จังหวัดสมุทรสงคราม ขอขอบคุณชาวบ้านชุมชนลมทวน