Skip to main content
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ เสาร์ที่ผ่านมา มีงานประชุมชื่อ Barcamp Bangkok จัดขึ้นที่ร้าน Indus สุขุมวิท 26 งานนี้ งานนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นงานที่มีผู้จัดมากที่สุดก็ว่าได้ เพราะผู้ร่วมงานหลายคนมากันแต่เช้าเพื่อช่วยจัดโต๊ะเก้าอี้ แปะป้าย บางคนทำสมุดทำมือมาแจก หลายคนเตรียมหัวข้อพร้อมสไลด์มาพูดในงาน ------------------------------------- http://www.flickr.com/photos/poakpong http://www.flickr.com/photos/plynoi ทันทีที่งานเริ่ม กระดาษแผ่นแล้วแผ่นแล้ว ถูกทยอยนำไปแปะบนกระจกของร้าน ว่ากันว่า หัวข้อที่พูดกันในงาน มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเว็บแอพพลิเคชันใหม่ๆ เทคโนโลยีโอเพนซอร์ส ความสัมพันธ์ภายในชุมชนออนไลน์ และการเก็บข้อมูลแบบมาตรฐานเปิด[1] แต่แน่นอนว่า การที่ถูกนิยามว่า เป็นงานสัมมนานอกกรอบ[2] คงต้องมีอะไรมากกว่านั้น นั่นคือการที่งานนี้ไม่ได้จำกัดหัวข้อเรื่องที่พูดว่าต้องเป็นเรื่องอะไร ใครจะพูด หรือควรพูดอย่างไร ดังนั้น เราจึงได้เห็นหัวข้อตั้งแต่ที่เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ เว็บแอพพลิเคชั่น จนไปถึงเรื่องเฉพาะทาง (จริงๆ ทุกเรื่องก็เฉพาะทางหมดน่ะแหละ) อย่างคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยเรื่องชีววิทยา การปีนเขา การขี่จักรยานเสือภูเขา หรือวัฒนธรรมของภาพยนต์ น่าเสียดาย ที่เวลามีจำกัด ประกอบกับหัวข้อที่มีเยอะเอามากๆ ทำให้ต้องมีการโหวตกัน หลังจากนั้นจึงมีการนำหัวข้อที่มีผู้โหวตจำนวนมาก มาจัดเรียงเข้าไปในตารางเวลา หัวข้อที่เป็นที่กล่าวขวัญกันมากคือ เรื่อง AV Development Life Cycle ที่เจ้าตัวย่อ AV ที่ว่า คือ adult video ซึ่งมีผู้เข้าฟังและร่วมแลกเปลี่ยนกันอย่างล้นหลาม เนื้อหาเป็นอย่างไร ต้องยอมรับตามตรงว่า ผู้เขียนเข้าไปไม่ทันฟัง เพราะมัวแต่เดินเข้าห้องนั้นออกห้องนี้ จึงขอข้ามเรื่องนี้ไป ;P ที่น่าสนใจอีกห้อง เรียกกันว่า “ห้องคนอกหัก” ซึ่งรวมคนที่หัวข้อที่เสนอได้รับคะแนนน้อย แต่ก็เตรียมตัวมาแล้ว และห้องก็ว่าง จึงช่วยกันจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อนำเสนอสิ่งที่แต่ละคนเตรียมมา[3] หัวข้อในห้องนี้ อาทิ FON ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายที่ช่วยกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต โดยคุณกานต์และคุณโดม ซึ่งมาจากแนวคิดเรื่องเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตที่ถูกปิดกั้น ทำให้ต้องมีการสร้างเครือข่ายขึ้น เพื่อช่วยกระจายสัญญาณไวเลส เพื่อให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต หรืออีกหัวข้อหนึ่งที่ทำให้จากคนฟังไม่กี่คนในตอนแรก เพิ่มมากขึ้นในตอนท้าย นั่นคือ เรื่องที่ว่าด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมโดจินชิของญี่ปุ่น ซึ่งอาจารย์ประมุข ขันเงินแห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้บรรยาย ได้เล่าถึง วัฒนธรรมเสรีอันเกิดจากโดจินชิ ซึ่งคือ การที่คนอ่านหรือดูการ์ตูน นำเอาตัวการ์ตูนที่ตัวเองชอบ มาทำใหม่ในแบบของตัวเอง ไม่ว่าจะวาดใหม่ เล่าเรื่องใหม่ ใส่เสียงใหม่ ทำซับใหม่ หรือสร้างเป็นเกมใหม่ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่ญี่ปุ่นไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ กลับเป็นการพึ่งพิงกันระหว่างเจ้าของและคนทางบ้านมากกว่า http://www.flickr.com/photos/pigtheday นอกจากนี้ ยังได้พูดถึงเว็บ nico nico dougu http://www.nicovideo.jp ซึ่งคล้ายกับ http://youtube.com ที่ช่วยเผยแพร่งาน แต่ความต่างอยู่ที่ความเห็นที่ผู้ดูคลิปโพสต์เข้าไป จะปรากฎอยู่บนคลิปที่ดูทันที ทำให้มีการแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างไวอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เนื้อหาน่าสนใจแบบนี้ คงเกิดขึ้นไม่ได้ ... ถ้าไม่มีพื้นที่ว่าง ถ้าปล่อยห้องว่างนั้นให้ว่างต่อไป ถ้าไม่มีคนแปะกระดาษเพื่อวางคิวพูด ถ้าคนที่อกหักถอดใจไปซะก่อน ถ้าไม่มีคนพูด ถ้าไม่มีคนฟัง ถ้าไม่มีคนเติมหัวข้อลงไป ถ้าไม่มีคนยกเก้าอี้มา ถ้าไม่มีคนที่ปีนขึ้นไปบนเก้าอี้เพื่อเช็คเครื่องโปรเจ็คเตอร์ ถ้าไม่มีคนช่วยจับยึดเก้าอี้ไว้ ถ้าไม่มีคนเดินไปหารีโมท   ดูเพิ่มเติม blog tag สไลด์ รูป [1] press release http://www.barcampbangkok.org/event/1/press [2] http://www.barcampbangkok.org/what-is-barcamp [3] ตอนหลังเพิ่งทราบว่า ดูเหมือนทางผู้จัดคาดการณ์ไว้ว่า ต้องได้ใช้ จึงเผื่อห้องเอาไว้ --ดูความเห็นที่ 1 http://www.pittaya.com/2008/01/27/barcamp-bangkok-2008/#comments