Skip to main content
Hit & Run
  [^_^]/ระเบิด (bomb) [n.] คือวัตถุที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' จะบรรจุ ‘วัตถุระเบิด' หรือสารที่ทำให้เกิด ‘การระเบิด' ไว้ภายใน00025 เมษายน 2551 เวลา 6.30 น.วัดแสนฝาง ถนนท่าแพ จ.เชียงใหม่นายนที อนันทปัญญสุทธิ์ อายุ 45 ปี พ่อค้าขายเสื้อผ้า กำลังรถไปจอดภายในบริเวณวัดแสนฝาง เขาพบกล่องพัสดุสีขาวไม่ระบุชื่อผู้รับ วางอยู่หน้าทางขึ้นศาลาวัด  นายนทีหยิบกล่องนั้นขึ้นมารู้ว่ามีน้ำหนัก คิดว่าเป็นของมีค่าอยู่ภายในจึงได้แกะดูพร้อมกับเดินไปตามถนนเพื่อเข้ามาเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่ตลาดวโรรสหรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า ‘กาดหลวง'แต่พอใกล้ถึงร้านเขาเปิดฝากล่องออกมาดูพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องจริงๆ มีสายพันและแบตเตอรี่ขนาด 9 โวลต์พ่วงสายออกมา เขาตกใจมาก โยนกล่องนั้นทิ้งลงถังขยะที่ตรงมุมถนนท่าแพ ปากทางเข้ากาดหลวงด้านตรอกเล่าโจ๊ว เยื้องกับห้างตันตราภัณฑ์เก่า และรีบไปแจ้งตำรวจสายตรวจที่ผ่านมาพอดีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรแจ้งกับ พ.ต.ต.วิสูตร วงศ์ใหญ่ สารวัตรเวร สภ.เมืองเชียงใหม่ ให้เดินทางมาทำการตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยดังกล่ว เมื่อถึงที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้กันผู้คนที่อยู่ใกล้บริเวณดังกล่าวออกนอกพื้นที่เกรงจะระเบิดจนได้รับความเสียหายจากนั้นจึงได้ประสานไปยังชุดเก็บกู้ระเบิดจาก ตชด.ที่ 33 อ.สันทราย จ.เชียงใหม่เบื้องต้น เจ้าหน้าที่พบว่า วัตถุต้องสงสัยดังกล่าวเป็นกระป๋องสีสเปรย์สีขาวน้ำเงินขูดยี่ห้อข้างกระป๋องออกจนหมด และตัดหัวออก มีการต่อสายวงจรไฟฟ้าและใช้แบตเตอรี่เป็นตัวจุดชนวน25 เมษายน 2551 เวลา 9.00 น.ถนนท่าแพ ปากทางตรอกเล่าโจ๊ว จ.เชียงใหม่เวลานี้รถติดไปทั้งเมือง เพราะถนนท่าแพซึ่งเป็นถนนสายหลักเข้าสู่กลางเมืองเชียงใหม่และย่านธุรกิจ ย่านพาณิชยกรรมเป็นอัมพาต มีเจ้าหน้าที่ตำรวจปิดหัวปิดท้ายถนนสายนี้เกือบทั้งสาย ใครที่ข้ามสะพานนวรัฐเพื่อจะเข้าเมือง แทนที่จะตรงไปเหมือนเคย ก็ต้องเลี่ยงเลี้ยวซ้ายไปทางถนนช้างคลาน แถวไนท์บาร์ซาร์อันเป็นย่านการค้าสำคัญของเมืองแทนร้านรวงพากันปิดไปหมดช่วงที่มีการกู้ระเบิด ธุรกิจในย่านนั้นหยุดชะงักไปหมดราวกับฝากผลประกอบการไว้กับระเบิด และเจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ที่ต่างแข่งกันว่าใครจะทำงานสำเร็จก่อนกัน ระเบิด หรือ เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิดหากอย่างแรกทำงานสำเร็จ ไม่ต้องนึกถึงความสูญเสียชีวิต ความเสียหายทางเศรษฐกิจ ความมั่นใจต่อการลงทุนและบรรยากาศท่องเที่ยวใน จ.เชียงใหม่ คงจะพังพาบไปพร้อมกับความสำเร็จของระเบิดลูกนั้นระหว่างที่รอว่าใครจะทำงานสำเร็จก่อนกันอย่างใจจดจ่อประกอบกับแดดระอุบนถนน ทำให้ผมนึกถึงหนังสือบางเล่ม ... ซึ่งแม้จะไม่เกี่ยวกัน แต่ก็พอจะเทียบเคียงกัน... เมื่อกลับไปพลิกอ่านรีวิวของ ประจักษ์ ก้องกีรติ กับหนังสือที่มีชื่อว่า ยานยนต์ของนายบุดา: ประวัติศาสตร์ย่อของคาร์บอมบ์ (Buda's Wagon: A Brief History of the Car Bomb) เขียนโดย ไมค์ เดวิส (Mike Davis) ศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังแห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เออร์วิน ตีพิมพ์ในปี 2550 ไมค์ สรุปคุณลักษณะพื้นฐานของคาร์บอมบ์คือ มันเป็นอาวุธในการก่อร้ายในพื้นที่เขตเมือง วัตถุประสงค์หลักๆ ของการใช้คาร์บอมบ์มีอยู่สี่ประการ คือ การสังหารชีวิตศัตรู การทำลายวิถีชีวิตประจำวันอันเป็นปรกติสุขของผู้คนในสังคม สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ และสุดท้ายเพื่อโฆษณาหลักการหรือข้อเรียกร้องของขบวนการให้สาธารณชนรับรู้ในวงกว้างในฐานะการเป็นอาวุธในการก่อการร้าย คาร์บอมบ์มีคุณลักษณะพิเศษอยู่ 7 ประการที่ทำให้มันแตกต่างจากยุทธวิธีอื่นๆ บางประการจาก 7 ข้อนั้น เช่น ต้นทุนของมันถูกอย่างน่าใจหายเมื่อเทียบกับความเสียหายที่มันสร้างขึ้น มันทำงานดุจเครื่องบินทิ้งระเบิดเพราะเป็นอาวุธที่ไม่แยกแยะเป้าการสังหารระหว่างศัตรูกับพลเรือนผู้บริสุทธิ์ทั่วไป จึงมักถูกใช้เป็นเครื่องมือในกรณีที่กลุ่มก่อการเล็งพลเรือนเป็นเป้าหมาย ต้องการสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในวงกว้าง และทำให้สังคมที่ตกเป็นเหยื่อของการระเบิดเกิดอาการขวัญเสียและคาร์บอมยังเป็นอาวุธที่เพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับขบวนการต่อสู้ทางการเมืองที่ด้อยอำนาจทั้งหลาย เพราะแม้แต่กลุ่มที่สมาชิกเพียงไม่กี่คน มีงบประมาณจำกัด หรือขาดฐานมวลชนอันกว้างขวางสนับสนุนก็สามารถสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจการเมืองอันมหาศาลในสังคมหนึ่งๆ ได้ องค์กรที่กระจัดกระจายไร้ฐานมวลชนของกลุ่มเซลล์ย่อยๆ ทั้งหลาย ที่มีคาร์บอมบ์โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนทเป็นโครงสร้างพื้นฐาน จึงไม่จำเป็นต้องการมีการจัดตั้งองค์กรอย่างเข้มแข็งหรือมีโครงสร้างการบังคับบัญชาที่ชัดเจนอีกต่อไปแบบยุคปฏิวัติมวลชน เป็นต้น25 เมษายน 2551 เวลา 11.00 น.ถนนท่าแพ ปากทางตรอกเล่าโจ๊ว จ.เชียงใหม่ผ่านแนวรั้วกันรถราของตำรวจมาที่ถนนท่าแพ บัดนี้กลายเป็นถนนปลอดยานยนต์ไปเกือบทั้งเส้น มีคนที่ทำงานในย่านเศรษฐกิจนั้นออกมามุงบริเวณที่มีวัตถุต้องสงสัยเป็นจำนวนมาก บ้างเอากล้องถ่ายรูป กล้องติดโทรศัพท์มือถือบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นที่สนุกสนาน ระคนไปกับความไม่มั่นใจว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าหากเป็นระเบิดและระเบิดขึ้นมาขณะนั้นจะเกิดความสูญเสียอย่างไรเวลายิ่งผ่านไปนานเข้าคนที่รู้ข่าวกู้ระเบิดกลางเมืองยิ่งมากันมากเข้าๆต่อมา ร.ต.อ.สมศักดิ์ ศิริเวช หัวหน้ากลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิด กก.ตชด.33 ตัดสินใจนำหุ่นยนต์เข้าเก็บกู้วัตถุต้องสงสัย แต่เนื่องจากจุดทำลายตั้งอยู่ในย่านชุมชนและร้านค้า หากยิงทำลายในที่ดังกล่าวเกรงว่าบ้านเรือน และทรัพย์สินของประชาชนจะได้รับความเสียหาย ดังนั้นตำรวจชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดจึงตัดสินใจใช้วิธียิงตัดสายชนวนระเบิดออก แล้วนำระเบิดไปกำจัดที่อื่นตำรวจเริ่มไล่ไทยมุงให้ออกห่าง ตามมาด้วยการประกาศ"ยิงทำลายวัตถุระเบิด เข้าที่กำบัง สาม... สอง... หนึ่ง...""ปุ๋ง"...... เสียงอัดอากาศดัง ‘ปุ๋ง' เล็กๆ ทำเอาคนที่มุงแถวนั้นตื่นเต้นกันใหญ่ ตอนนี้ยังไม่มีการระเบิดใดๆ เป็นเพียงการปลดชนวนระเบิด แต่ตำรวจ ตชด. ในชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดสภาพคล้ายมนุษย์ต่างดาว ยังก้มๆ เงยๆ อยู่ตรงจุดเกิดเหตุ โดยเขาหยิบกระป๋องเหล็กที่คาดว่าจะเป็นวัตถุระเบิดขึ้นรถย้ายไปทำลายที่ข่วงประตูท่าแพ ซึ่งห่างจากบริเวณเก็บกู้ 500 เมตรการยิงทำลายวัตถุต้องสงสัยเกิดขึ้นที่ประตูท่าแพ ซึ่งมีบริเวณกว้างและปลอดคนกว่าย่านเศรษฐกิจอย่าง ถ.ท่าแพ คราวนี้เสียง ‘ตูม' จริงๆ แน่นๆ ก็ดังขึ้น แต่ไม่มีใครเป็นอะไร เพราะนี่เป็นขั้นตอนกำจัดวัตถุระเบิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบก็พบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่อง วัตถุระเบิดหนัก 500 กรัม อยู่ในกระป๋องดีดีที ภายในบรรจุดินเทา มีเศษขวดแก้วเป็นสะเก็ดระเบิด และใช้ใส้ในของหลอดไฟ 2 ตัวสำหรับเป็นตัวจุดชนวนโดยระเบิดดังกล่าวแม้มีอำนาจทำลายล้างต่ำ (Low - Explosive) มีคลื่นกระแทก (shock wave) ที่เกิดจากการระเบิด มีความเร็วในการแล่นผ่านตัววัตถุระเบิดน้อยกว่า 1,000 เมตรต่อวินาที แต่ถ้าหากเกิดระเบิดขึ้นจริงจะมีรัศมีทำลายล้างโดยรอบในวงกว้างไม่ต่ำกว่า 300 เมตร!ร.ต.อ.สมศักดิ์ ศิริเวช หัวหน้ากลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิด กก.ตชด.33 เปิดเผยว่า ระเบิดที่พบครั้งนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับที่คนร้ายนำมาวางไว้สำหรับปล้นแบงก์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยถนนราชดำเนินเมื่อเดือนก่อน แต่ครั้งนี้มีความซับซ้อนกว่า และเป็นระบบไฟฟ้า หากกดรีโมทก็จะทำงานทันที เชื่อว่าจะเป็นฝีมือของมืออาชีพที่มีความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดีระเบิดดังกล่าวนับเป็นลูกที่ 2 ในรอบเดือนนี้ของเชียงใหม่โดยเมื่อวันที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา มีเหตุชายสวมแว่นดำ สวมเสื้อยีนส์และกางเกงยีนส์ คล้องกระเป๋าเป้สะพายสีดำ บุกปล้นธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยท่าแพ ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ โดยใช้ปืนจี้และขู่พนักงานธนาคารว่าในกระเป๋ามีระเบิด ให้พนักงานส่งเงินให้รวม 1.5 แสนบาท ก่อนทิ้งกระเป๋าเป้และหลบหนีไป เมื่อเจ้าหน้าที่นำกระเป๋าออกมาทำลายด้านนอกโดยใช้ปืนแรงดันน้ำยิงทำลาย ซึ่งเกิดระเบิดเสียงดังสนั่น โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจพบเป็นระเบิดแสวงเครื่อง รัศมีทำลาย 15 เมตรส่วนคนร้ายก็ขับจักรยานยนต์หลบหนีไป และจนบัดนี้มีการตั้งรางวัลนำจับ 50,000 บาท แต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้ตัวคนร้ายเช่นเดียวกับที่หามือระเบิดลูกล่าสุดยังไม่พบ!000แม้เหตุวางระเบิดที่เชียงใหม่จะไม่เกิดขึ้นบ่อย แต่ก็เป็นภาพจำลองเหตุการณ์ระเบิดแทบจะรายวันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดีคงทำให้คนที่อยู่ทางเหนือ นึกถึงหัวอกคนทางใต้ที่ต้องใช้ชีวิตประจำวันแบบไม่รู้ชะตากรรมชีวิตของตัวเองเป็นอย่างดี คงนึกถึงสิ่งที่รบกวนปรกติสุขของชีวิตที่ชื่อว่า ‘ความกลัว' ภายใต้เคอร์ฟิวส์ ภายใต้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นและคงพอนึกถึงหัวอกคนอิรัก ที่ต้องเผชิญสงครามอันเนื่องมาจากการเข้าไปทำในสิ่งที่สหรัฐอเมริกาเรียกว่าเป็นการ ‘ปลดปล่อย' และ ‘คาร์บอม' รายวันในประเทศของตนเอง ได้บ้าง!ย้อนกลับไปที่งานรีวิวประวัติศาสตร์คาร์บอมของประจักษ์ ซึ่งตบท้ายการสู้กับคาร์บอมไว้ว่า ... "เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสในไอร์แลนด์เหนือคนหนึ่งซึ่งรับมือกับคาร์บอมบ์มาอย่างหนักหน่วงโชกโชนมากกว่าใครๆ  ตอบคำถามนี้ไว้อย่างน่าสนใจตั้งแต่ 12 ปีที่แล้วว่า คาร์บอมบ์ "ไม่ใช่ประเด็นทางการทหาร มันเป็นประเด็นทางการเมือง ความเสียหายและความตายส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น... มาจากระเบิดซึ่งคนที่มีความรู้ทางเคมีแค่ระดับประถมก็สามารถผลิตได้ คนสองคนกับเครื่องมือง่ายๆ ก็สามารถผลิตระเบิดขนาด 500 กิโลกรัมได้สบายๆ... เราไม่มีความสามารถที่จะไปสู้กับอาวุธแบบนี้ได้หรอก การปลดชนวนความคิดและจิตใจของผู้ก่อการต่างหากที่ควรเป็นเป้าหมายของเรา"  หากจะเอาชนะกับการก่อการร้ายที่มีคาร์บอมบ์เป็นอาวุธ หนทางทางการทหารจึงไม่ใช่คำตอบ มีแต่การปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจ บวกกับจินตนาการใหม่เกี่ยวกับโครงสร้างสถาบันทางการเมืองเท่านั้นที่จะหยุดยั้งอาวุธมีชีวิตที่ไร้หัวใจนี้ได้"ก็ไม่รู้ว่าเชียงใหม่ ภาคใต้ หรือที่ไหนก็ตามในโลกจะพบกับระเบิด คาร์บอม ลูกสุดท้ายเมื่อไหร่ คำถามนี้ราวค้นหาแสงสว่างในปลายอุโมงค์อ่านประกอบประจักษ์ ก้องกีรติ, รีวิวหนังสือโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ : ว่าด้วย ‘คาร์บอมบ์': อาวุธมีชีวิต, ประชาไท, 21/3/2551