Skip to main content
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ภาพจากประชาไทภาพจากวิกิพีเดีย คนสองคนจากต่างดินแดน แต่ “หัวใจ” คล้ายคลึงกัน ยึดมั่นในอุดมการณ์ สร้างความยุติธรรมแก่สังคม ต่อสู้เพื่อคนจนและผู้ด้อยโอกาส ต่อสู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นึกถึงคนจนและความยุติธรรมอันดับแรก ห่วงใยและคำนึงถึงตนเองเป็นสิ่งสุดท้ายที่กระทำ มด/ วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์เกิด     2498บ้านเกิด  กรุงเทพฯการศึกษา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครอบครัวเกิดในครอบครัวคนจีนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะ แต่เป็นลูกที่แตกต่าง มีวิญญาณขบถตั้งแต่ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย เข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาชนในยุค 14 ตุลา ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนมัธยม ซึบซับวิญญาณการต่อสู้ หลังจาก 6 ตุลา ต้องหลบหนีภัยการเมืองเข้าป่าเกือบ 4 ปีกิจกรรม ทำกิจกรรมด้านสังคมตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาสภาหน้าโดม วงดนตรีกรรมาชน สนใจเรื่องปัญหาชนชั้นกรรมาชีพ ตั้งแต่ยังศึกษาที่ธรรมศาสตร์ เข้าไปคลุกคลีช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ จากนายทุนเจ้าของโรงงาน และมีชื่อเสียงจากการเป็นผู้นำการต่อสู้ ของคนงานโรงงานฮาร่า ยืนหยัดต่อสู่อย่างมั่นคง กระทั่งคนงานสามารถยึดโรงงาน ผลิตสินค้าออกมาขายเองได้ งานยืนอยู่เคียงข้างประชาชนคนยากไร้ทุกกลุ่ม ทุกเครือข่ายมาโดยตลอด  ขบวนการประชาชน ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนค่อนข้างมาก ในรอบสิบปีมานี้ คือ ขบวนการสมัชชาคนจน ซึ่งมีเครือข่ายคนจนทุกกลุ่มเข้าร่วมเป็นสมาชิก และการต่อสู้เรื่องเขื่อนปากมูนอย่างยาวนาน มีความมั่นคงในอุดมการณ์การต่อสู้ ระหว่างการต่อสู้ ขบวนการประชาชนเกิดการเรียนรู้ และก่อให้เกิดการยอมรับภูมิปัญญาชาวบ้าน เกิดงานวิจัยโดยชาวบ้าน กลายเป็นองค์ความรู้ที่ยอมรับในวงวิชาการ ชีวิต มด-วนิดาเป็นคนอยู่ง่าย กินง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย ชีวิตเรียบง่าย ติดดินทำงานกับชาวบ้านได้อย่างกลมกลืน ทำงานหนักตลอดชีวิตของการทำงานเพื่อปวงชน ดูแลตนเองน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ควรค่าแก่การคารวะยิ่ง อย่างไรก็ตามเธอมีความเข้มแข็งอย่างที่สุด เมื่อสามารถยืนหยัดอยู่กับมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง โดยไม่ยอมปริปากให้ใครเป็นห่วงนานนับปี กระทั่งยอมรับการรักษาทางการแพทย์ และโรคร้ายก็คร่าชีวิตนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ของคนจนเมื่อ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา  Munir Said Thalib เกิด 2508บ้านเกิด สุราบายา อินโดนีเซียการศึกษา กฎหมาย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบาวิจายา เมืองมารัง จังหวัดชวาตะวันออกครอบครัวเกิดในครอบครัวอาหรับ อินโดนีเซีย ซึ่งปกติชาวอาหรับมีความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจการค้า เป็นชนชาติที่ค่อนข้างร่ำรวยในอินโดนีเซีย ไม่เชี่ยวชาญและยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ครอบครัวมูเน่ก็เช่นเดียวกัน มุ่งในเรื่องของธุรกิจในครอบครัว คิดแต่เรื่องสร้างฐานะให้เป็นปึกแผ่น แต่มูเน่กบฏต่อครอบครัว ไม่ยอมทำตามกฎเหมือนครอบครัวอาหรับทั่วๆ ไป ตั้งแต่เข้าเป็นนักศึกษาก็เลือกเรียนกฎหมาย และสนใจการทำกิจกรรมเพื่อช่วยคนจนคนด้อยโอกาสมากกว่า ซึ่งแทบจะหานักกิจกรรมชาวอาหรับ-อินโดนีเซียได้น้อยมาก ในรั้วมหาวิทยาลัย และในสังคมอินโดนีเซีย กิจกรรมเป็นนักกิจกรรมตัวยง เป็นประธานสภานักศึกษาของมหาวิทยาลัย สนใจปัญหาแรงงาน การกดขี่ค่าแรงในเมืองสุราบายา เข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือด้านแรงงานที่ถูกกดขี่ เอารัดเอาเปรียบจากนายทุน กระทั่งได้แต่งงานกับผู้นำกรรมกรหญิงชื่อ ซูซีวาติ ซึ่งต่อสู้เคียงข้างกันเพื่อคนด้อยโอกาส และเพื่อสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอดงาน จากสุราบายา และหลังจากซูฮาร์โตลงจากอำนาจในปี 2541 เขาเดินทางสู่กรุงจาการ์ตา และก่อตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ชื่อว่า KONTRAS หรือ Committee Against Disappearances and Torture ในยุคซูฮาร์โต 32 ปีที่ครองอำนาจ มีผู้คนเสียชีวิต ถูกจับ และสูญหายในยุคนั้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงปราบปรามคอมมิวนิสต์ มีผู้คนล้มตายมากกว่าสองล้านคน เหยื่อการเมือง และบ้าอำนาจของซูฮาร์โตส่วนใหญ่กระทำการต่อต้าน วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลซูฮาร์โต ซึ่งมูเน่และองค์กร ได้ยกประเด็นผู้สูญหายทั้งหมดในยุคนั้น ขึ้นมาเป็นประเด็นเชิงสังคมที่รัฐบาลในยุคนั้นต้องตอบคำถาม และค้นความจริงของการสูญหาย เสียชีวิต และถูกจับในยุคนั้น ทำให้ทหาร และผู้มีอำนาจในยุคนั้นแค้นเคืองมูเน่ ที่กัดไม่ปล่อยในปัญหาดังกล่าว ชีวิตวิถีชีวิตกับอุดมการณ์ของมูเน่ สอดคล้องกันอย่างควรค่าแก่การคารวะ เขาไม่สนใจสร้างฐานะในแบบครอบครัวอาหรับ เขาใช้ชีวิตเรียบง่าย มีเพียงมอเตอร์ไซต์หนึ่งคันสำหรับเดินทางไปไหนต่อไหน งานของเขาเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก เพราะมีผู้อำนาจหลายคนเสียผลประโยชน์จากการต่อสู้ของเขา เขาเสียชีวิตจากการวางยาพิษเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ขณะนั่งเครื่องบนไปเรียนต่อที่อัมสเตอร์ดัม จนกระทั่งปัจจุบันทางการยังไม่สามารถจับผู้ร้ายได้ อย่างไรก็ตาม เขาเป็นนักสู้แถวหน้าของเอ็นจีโอ อินโดนีเซีย การตายของเขาเป็นจุดร่วมและกระตุ้นให้ประเด็นสิทธิมนุษยชน ในอินโดเซียเป็นประเด็นที่ทั่วโลกติดตามขอคารวะแก่ จิตวิญญาณของสองผู้ยิ่งใหญ่ของคนจน: ไทย-อินโดนีเซีย ในแง่อุดมการณ์ที่แน่วแน่มั่นคง  Note*: ขอบคุณ Mr.Heru Suseto, Deputy Dean Department of Law Society and Development Faculty of Law University of Indonesia ที่ให้ข้อมูลมูเน่