Skip to main content
Hit & Run
  พืชผักผลไม้ในท้องตลาด เสี่ยงต่อการมีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างจากการผลิตแบบเกษตรเชิงพาณิชย์ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ทั้งผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตดังนั้นจึงมีเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งแสวงหาทางเลือกใหม่ หนึ่งในทางเลือกนั้นคือการทำ ‘เกษตรอินทรีย์'พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) และสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) จัดกิจกรรมผู้บริโภคสัญจรไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ ที่ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พบกับเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์ สร้างความเข้าใจร่วมกันถึงกระบวนการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ดังกล่าวหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์ที่ได้ไปเยี่ยมเยียนกันคือ สิงห์แก้ว แสนเทชัย หรือพะตี ‘ชีแนะ' ชาวบ้านปกาเกอะญอ หมู่ 4 ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่พี่ชีแนะ เล่าให้ฟังว่า ทำสวนตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา เคยปลูกพืชผักเมืองหนาวมาหลายอย่าง ทั้งกาแฟ ถั่วแดง สตรอเบอรี่ โดยมีนายทุนจากเพชรบุรีเอาพันธุ์ เอาปุ๋ยเคมี เอายากำจัดศัตรูพืชมาให้ แต่ต้องขายพืชผลให้กับเขาเท่านั้น บางปีได้ผลผลิตมาก บางปีได้ผลผลิตน้อย บางปีเป็นโรค ขายได้ราคาดีบ้างไม่ดีบ้าง ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมีมากขึ้น และอันตรายขึ้น ทำมา 20 ปี เป็นหนี้สะสมกว่า 150,000 บาทพี่ชีแนะบอกว่ากระบวนการเพาะปลูกพืชปัจจุบัน ทั้งผู้ปลูก ผู้บริโภคต่างมีโอกาสได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทั้งนั้น"ถึงชาวบ้านไม่ปลูกสตรอเบอรี่เอง ก็ไปรับจ้างเก็บสตรอเบอรี่ ถางหญ้า ยังไงก็ต้องสัมผัสสารเคมี เพราะท้องร่องสวนเขาพ่นยาฆ่าหญ้าตลอด เวลาเข้าสวนต้องสวมรองเท้าบูท เดินเท้าเปล่าไม่ได้""พ่นวันนี้ พรุ่งนี้เก็บก็มี พ่นวันนี้ เย็นวันนี้เก็บก็มี อันตรายมาก"วันหนึ่ง พี่ชีแนะเจ็บป่วย ต้องผ่าท้อง หมอบอกว่าถ้ายังใช้สารเคมี หมอรักษาให้ไม่ได้แล้ว"ผมเลยอยากหาทางออกที่ยั่งยืน"วันหนึ่งหลังจากมีโอกาสอบรมเรื่องทำเกษตรอินทรีย์ที่ ต.แม่ทา กิ่ง อ.แม่ทา จ.เชียงใหม่ พี่ชีแนะจึงเริ่ม ลด ละ เลิก ใช้เวลาปรับเปลี่ยนกว่า 5 ปี จากการทำเกษตรที่ใช้สารเคมี หันมาเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ด้วยวิธีโบราณแบบที่คนรุ่นพ่อทำโดยปี 2550 นี้ เป็นปีแรกของการเริ่มปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์เต็มรูปแบบของพี่ชีแนะ พร้อมกับเพื่อนบ้านอีก 1 หลัง ทำให้เป็นบ้าน 2 ครอบครัวแรก จากทั้งหมด 20 หลังคาเรือน ที่เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรใหม่ด้วยเกษตรอินทรีย์"เริ่มแรกก็มีปัญหา ก่อนหน้านี้ลูกเมียไม่เชื่อ ผมเลยบอกว่าใช้ยาแล้วไม่ดี" พี่ชีแนะพูดถึงอุปสรรคแรกของการปลูกสตรอเบอรี่แบบเกษตรอินทรีย์จาก ‘ทางบ้าน' แต่ก็ผ่านไปได้ เพราะหลังๆ มาครอบครัวเริ่มเข้าใจ000พี่ชีแนะกับไร่สตรอเบอร์รี่อินทรีย์จากบ้านพี่ชีแนะ พวกเราเดินทางขึ้นเขาลงห้วย ทั้งทางรถทางคน ก็มาถึงไร่สตรอเบอรี่ของพี่ชินะ เป็นเนินอยู่ริมลำธารเล็กๆ กลางหุบเขา พื้นที่ประมาณ 2 งาน สภาพเหมือนแปลงสตรอเบอรี่ทั่วไป ผิดกันตรงที่แทนที่จะใช้ยาฆ่าหญ้ากำจัดวัชพืชที่คลุมแปลงสตรอเบอรี่ ไร่สตรอเบอรี่แห่งนี้เลือกใช้ใบตองตึงมาเรียงๆ กันแทนเพื่อคลุมคันดินกันวัชพืช ใช้ปุ๋ยหมักที่ผสมวัสดุเอง ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งดอก เร่งผล และไม่ใช้ยากำจัดศัตรูพืชใดๆพี่ชีแนะ เชิญชวนผู้บริโภคจากเมืองใหญ่ที่มาเยือนไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ของเขา ให้หยิบชะลอม แล้วไปเลือกเก็บสตรอเบอรี่ตามอัธยาศัยหนาวนี้พี่ชีแนะ เริ่มปลูกสตรอเบอรี่ตั้งแต่เดือนตุลาคม เมื่อปลูกสตรอเบอรี่จนได้อายุ 60 วัน ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม ไปจนถึงปลายเดือนมีนาคมหรืออาจถึงต้นเดือนเมษายนจึงจะหมดรุ่น โดยผลสตรอเบอรี่จะค่อยๆ ออกผลมาเรื่อยๆ ไม่พร้อมกันพี่ชีแนะจะเก็บผลสตรอเบอรี่ 1 ครั้งต่อสามวันไปเรื่อยๆ เมื่อเก็บแล้วจะฝากรถสองแถวสายสะเมิง - เชียงใหม่ ลงมาขายที่ตลาดนัดและคลังเกษตรอินทรีย์ในเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นร้านกระจายสินค้าเจ้าประจำ และก็มีบางเที่ยวของการเดินทางที่สตรอเบอรี่จากสวนพี่ชีแนะเดินทางไปถึงร้านค้าเกษตรอินทรีย์ที่กรุงเทพฯสวนของพี่ชีแนะเก็บสตรอเบอรี่ได้ครั้งละ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าให้ผลผลิตต่อเนื้อที่น้อยลงเมื่อเทียบกับไร่สตรอเบอรี่ที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่สตรอเบอรี่อินทรีย์ก็ให้ราคาดีถึงกิโลกรัมละ 150 บาท ผลเล็กผลใหญ่ไม่แยกเกรด กิโลกรัมละ 150 บาทเท่ากันหมด ราคาดีกว่าสตรอเบอรี่ทั่วไปถึงเท่าตัว ยิ่งกว่านั้นราคาสตรอเบอรี่สวนอื่นยังขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลางกำหนด หรือกำหนดราคามาแล้วจากนายทุนที่มาจ้างปลูก ตั้งแต่ผลสตรอเบอรี่ยังไม่ออก000แขกจากเมืองใหญได้สตรอเบอรี่มาคนละชะลอม สองชะลอม ระหว่างนั้นก็ถ่ายรูปกับไร่สตรอเบอรี่ กับเจ้าของไร่สตรอเบอรี่ บ้างลองชิมสตรอเบอรี่สดที่เพิ่งเด็ดมา พี่ชีแนะให้ความเชื่อมั่นว่าสตรอเบอรี่สวนของเขาไม่มีสารเคมีแน่นอน"ถ้าเป็นสตรอเบอรี่ที่ใช้ยา กินดูก็รู้จะขมลิ้นขมปากไปหมด" พี่ชีแนะเปรียบเทียบที่จริงผลสตรอเบอรี่ของสวนพี่ชีแนะ ก็มีผลผลิตบางส่วนที่ยังไม่สวยนัก บางผลที่เด็ดมาที่ผิวมีจุดสีดำๆ ทำให้สีของผลสตรอเบอรี่คล้ำ นี่คือผลที่เป็นโรค ‘ไรดำ'"ให้น้ำน้อยจะทำให้สตรอเบอรี่เจอไรดำ แต่ถ้าให้น้ำมากไปผลสตรอเบอรี่จะเน่า นอกจากนี้หากในไร่สตรอเบอรี่ยังปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือปลูกแต่สตรอเบอรี่ โอกาสที่จะเจอศัตรูพืชก็มีมาก ต้องปลูกพืชให้หลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกแมลงทำลายพืชผล" แสงทิพย์ เข็มราช ผู้จัดการคลังเกษตรอินทรีย์ สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (ISAC) สะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาโรคพืชในสวนของพี่ชีแนะ"ไรด่าง ไรแดง ไรต่างๆ ยังแก้ไม่ได้ แต่จะใช้วิธีที่อุ๊ยสอนคือไปหาสมุนไพรในป่า" พี่ชีแนะคิดหาทางแก้ปัญหา"ลองชิมดู อร่อยดี" อาจารย์กนกวรรณ อุโฆษกิจ เจ้าหน้าที่องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) แนะนำว่าให้ลองเอาผลที่เป็นไรดำมาชิม น่าแปลกที่สตรอเบอรี่ผลนี้กลับหวานกว่าสตรอเบอรี่ผลที่ไม่เป็นโรคแสงทิพย์ เข็มราช สะท้อนอุปสรรคของการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ว่ามีสองประการ คือ ความมั่นใจของชาวบ้าน และแรงกดดันของเพื่อนบ้าน"หนึ่ง ชาวบ้านเองยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าทำเกษตรอินทรีย์จะสามารถลดหนี้ได้ไหม ผลผลิตออกมาจะสวยไหม ถ้ามันไม่สวยจะไปขายที่ไหน จะขายได้ไหมในตลาด เพราะตอนใช้สารเคมีต้องสวยๆ พ่อค้าถึงจะรับ แต่กับเกษตรอินทรีย์ คลังเกษตรอินทรีย์มีนโยบายให้ชาวบ้านทำตลาดเอง ไม่พยายามสร้างความสัมพันธ์อีกชั้นหนึ่ง พยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคให้มากที่สุดสองคือ ภาวะแรงกดดันของเพื่อนบ้าน เพราะในหมู่บ้านมีคนทำเกษตรอินทรีย์ไม่เยอะ ชาวบ้านที่หันมาทำ จะถูกหาว่าเป็นบ้าหรือเปล่า คิดอะไรไม่เหมือนคนอื่น ทำเกษตรอินทรีย์จะไหวหรือ จะรอดไหมหนอ เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จะเจอแรงกดดันของเพื่อนบ้าน พวกบริษัทขายสารเคมีก็กดดัน เพราะเขาเข้ามาในหมู่บ้านพยายามขายสารเคมีให้ได้ บอกชาวบ้านว่าเกษตรอินทรีย์มันไปไม่ได้... ร้านขายสารเคมีอยู่ใกล้เขามาก ชาวบ้านจะไปหาได้เร็ว ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมไม่เกาะติดพื้นที่ เราต้องใช้เวลา ส่งเสริมสารพัดวิธีให้ชาวบ้านเชื่อมั่นว่าเกษตรอินทรีย์ไปได้มีทางรอด" แสงทิพย์ กล่าวแต่พี่ชีแนะยังมั่นอกมั่นใจว่าจะฝากชีวิตไว้กับไร่สตรอเบอรี่อินทรีย์ที่กำลังให้ผลผลิตสม่ำเสมอ พี่ชีแนะคิดว่าพืชผลจากเกษตรอินทรีย์จะอยู่รอดก็ด้วย"ถ้ามีชาวหมู่มาช่วยซื้อมากๆ ผมคงทำเรื่อยๆ คนซื้อ คนกิน คนขายถ้าไม่ช่วยกัน คนปลูกก็ได้รับผลกระทบ คนกินก็ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าใครก็ไม่รอด"และ "ที่สำคัญต้องทำในระดับนโยบาย ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ต้องแนะนำชาวบ้านหาทางออกด้วยการปลูกเกษตรอินทรีย์ แต่ตอนนี้ยังไม่ตื่นตัว ยังใส่ยา ใส่ปุ๋ยกันอยู่"000แขกเหรื่อที่มาเยี่ยมสวนพี่ชีแนะ ได้สตรอเบอรี่ติดไม้ติดมือจำนวนมากแล้ว ตอนนี้ได้เวลาร่ำลากัน"เอาไว้มาเยี่ยมกันใหม่" พี่ชีแนะบอกกับคณะที่กำลังจะกลับ"ขอให้โชคดี ขอบคุณพี่มากสำหรับทางเลือกก้าวแรกๆ ที่จะทำให้สังคมได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย" ผมกล่าวในใจ ข่าวประชาไทที่เกี่ยวข้องรายงาน วัฒนเสวนา : เกษตรอินทรีย์ และธนาคารเมล็ดพันธุ์ ‘ของขวัญแห่งชีวิต', โดย ฐาปนา พึ่งละออ, ประชาไท, 3 พ.ค. 2550