Skip to main content
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ ในเมื่อผู้คนล้วนผ่านประสบการณ์มาไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ของใครบางคนอาจจะช่วยสอนสิ่งที่ดีกับเราได้ แต่กับบางคนอาจจะไม่ สิ่งที่เลวร้ายสำหรับฉันคือการยัดเยียดสิ่งต่างๆ ให้พวกเราโดยอ้างความเป็น ‘ผู้ใหญ่มีประสบการณ์' โดยที่ไม่เคยถามเราเลยว่า เราคิดอย่างไร"Don't do this and don't do thatWhat are they tryin' to do ?Make a good boy of you,Do they know where it's at?Don't criticise they're ols and wiseDo as they tell you to,Don't want the devil to,Come and pull out your eyes.""อย่าทำอย่างนั้น อย่าทำอย่างนี้พวกเขาพยายามจะทำอะไรกันแน่ปั้นให้เธอกลายเป็นเด็กดีพวกเขารู้หรือไม่ว่ามันอยู่หนใดอย่าได้วิจารณ์ เพราะพวกนั้นแก่และมีประสบการณ์ทำตามที่พวกเขาสั่งซะเถอะเธอคงไม่อยากให้ปีศาจมาควักลูกตาเธอ"- Schoolวง Art rock ยุค 70's ที่ชื่อ Supertramp เคยเขียนเพลงเกี่ยวกับระบบการศึกษาไว้สองเพลงคือ School กับ The Logical Song เพลง School นั้นพูดถึงการถูกสอนให้เชื่อฟัง ‘ผู้ใหญ่' เพื่อที่จะเติบโตไปเป็นแบบเดียว พิมพ์เดียวกับพวกเขา ผลิตซ้ำมนุษย์รูปแบบเดิม ๆ ไม่ให้สังคมหันหน้าไปสู่ทิศทางอื่น นอกจากทิศทางที่ถูกครอบงำมาแล้วเท่านั้นฉันได้เจออะไรพวกนี้บ้างในห้องเรียน ฉันยอมรับว่าผู้ใหญ่บางคนก็ใจกว้างพอจะเปิดรับอะไร ๆ ที่ไม่ตรงกับทัศนะของเขา แต่ ‘ผู้ใหญ่' อีกกลุ่มหนึ่งที่ทำให้ฉันระอามาตั้งแต่เริ่มมหาวิทยาลัยมาจนบัดนี้ อย่าให้ฉันได้บอกเลย พวกเขาคือ ‘ผู้ใหญ่' ตัวจริงที่มีอำนาจควบคุมมหาวิทยาลัย (และเผลอ ๆ จะรู้วิธีสืบทอดอำนาจเสียด้วย)คนพวกนี้คิดว่ามหาวิทยาลัยเป็นแค่ของพวกเขาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ใช่ ๆ พวกเขาทำทีเป็นเรียกตัวแทนนักศึกษา (2-3 คนหรืออาจจะมากกว่านี้อีกไม่เกินหลักหน่วย) ไปหาข้อตกลงเวลาจะทำอะไร แต่จริง ๆ แล้วพวกเขามีพรรคนักศึกษาบางพรรคไว้ในอุ้งมือ นักศึกษาบางคนแม้จะไม่เห็นด้วยกับพวกเขาขนาดไหนก็ไม่มีสิทธิมีเสียงจะคัดค้านอะไรมาก เหมือนแค่ไปรับฟังอะไร ๆ แล้วยอมรับมันเท่านั้นนี่คือสิ่งที่ฉันเรียนรู้มาสำหรับความตอหลดตอแหลของ ‘ผู้ใหญ่' บางกลุ่ม แล้วพวกเขาก็รักษาความตอหลดตอแหลนี้มาจนถึงบัดนี้ ในช่วงเวลาที่ฉันได้แต่คอยมองน้อง ๆ ต่อสู้กับอะไรแบบเดียวกัน ฉันเองก็จนปัญญา บางครั้งฉันเห็นน้องพวกนี้เสียกำลังใจ พวกเขาแปลกแยก อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีใครเข้าใจ เป็นกลุ่มคนที่มีความคิดเป็นของตัวเองแต่กลับเสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นพวกหัวรุนแรง ไอ่คำว่า ‘หัวรุนแรง' นี้เองเป็นคำที่พวกบ้าอำนาจใช้อ้างความชอบธรรมในการข่มเหงคนที่คิดต่างมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ขณะที่คนที่เชื่อง ยอมเชื่อฟังและคล้อยตาม จะได้ชื่อว่าเป็น ‘คนน่านับถือ'"Now watch what you say or they'll be calling you a radical, liberal, fanatical, criminal.Won't you sign up your name, we'd like to feel you'reacceptable, respectable, presentable, a vegetable""ระวังหากเธอจะเอ่ยสิ่งใด ไม่อย่างนั้นพวกเขาจะเรียกเธอว่า พวกหัวรุนแรง, เอาแต่ใจ, บ้าคลั่ง, อาชญากรเธอจะไม่เลือกมาสักชื่อหนึ่งหรือ แต่พวกเราน่ะ อยากให้เธอเป็นที่ยอมรับ, น่านับถือ, ไม่อายใคร และเหมือนเป็นเพียงผักปลา"- Logical Songและเรื่องที่เป็นประเด็นมายาวนานจนมาบูมอีกครั้งไม่นานมานี้คือเรื่องที่มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบ ซึ่งพวกผู้ใหญ่ได้ทำสิ่งที่น่าสงสัยมากคือการพยายามผลักดันให้ร่างกฏหมายฉบับที่จะทำให้เกิดการแปรรูปมหาวิทยาลัยให้ผ่านร่างทั้งสามวาระก่อนจะถึงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาฯ ผู้ใหญ่บางคนอ้างว่าเขาพยายามดันเรื่องนี้ 10 ปีมาแล้วแต่ไม่ว่าจะ 10 ปีหรือ 10 นาที การลักลอบกระทำกันในแต่พวกเบื้องบน ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่รับไม่ได้สำหรับสังคมประชาธิปไตย และที่น่าสงสัยไปกว่านั้นคือการที่ผู้ใหญ่บางคนมีที่นั่งอยู่ในสภานิติบัญญัติฯ ซึ่งหมายความว่า เขาจะทำการร่างเอง ให้ผ่านเอง ชงเอง กินเอง เสร็จสรรพ ซึ่งไม่ว่าเขาจะอ้างความชอบธรรมมาจากการแต่งตั้งยังไงก็ตาม แบบนี้พอได้รู้แล้วมันชวนให้คลื่นเหียนไหมสิ่งที่พวกเขาอ้างกันมาตลอดก็คือเรื่องของคุณภาพอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งมันเป็นคำลอยๆ จับต้องไม่ได้ ไม่มีอะไรมารับประกัน เรื่องค่าเล่าเรียนก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่ได้มีข้อบังคับใดๆ ที่จะรับประกันว่าค่าเล่าเรียนจะไม่ขึ้นเกินเท่านี้ๆ ในกฏหมายที่พวกเขาร่างเลย และพอฉันถามเขาถึงเรื่องหลักประกัน เขาก็ไล่ให้ฉันไปทำประกันชีวิตเสียอีก บ้าหรือเปล่า! ผู้ใหญ่ที่ตอบคำถามอย่างเด็กอมมือเยี่ยงนี้มีความน่านับถืออยู่หรือไม่นอกจากเรื่องค่าเล่าเรียนที่พูดกันปาวๆ ไม่รู้จบแล้ว สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าแต่น้อยคนจะได้รับรู้เพราะเป็น agenda แอบซ่อนของเหล่าผู้บริหารคือ การที่พวกเขาจะกลายเป็นผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จตรวจสอบไม่ได้ เอาแค่อยู่ในระบบมันก็แอบซุกแอบซ่อน ทำนั่นทำนี่กันโดยไม่เคยถามนักศึกษา (มีแต่ถามตัวแทนนักศึกษาบางพรรคที่เป็นขี้ข้ามัน) พอมีปัญหาขึ้นมาก็จะออกมาตอบวกวนแบบขอไปที แทบจะนึกไม่ออกเลยว่า พอออกนอกระบบไปแล้ว สภาพมหาวิทยาลัยที่กลายเป็นเหมือนรัฐเผด็จการคณาธิปไตยขนาดย่อมจะน่ากลัวแค่ไหนหรือจริงๆ แล้วพวกผู้บริหารมันไม่เคยเห็นนักศึกษาเป็นคน พวกนี้อาจจะเห็นนักศึกษาเป็นชิ้นส่วนการผลิตบางอย่างที่ไม่ควรจะมีสิทธิมีเสียง พร้อมที่จะประกอบแปรรูปชิ้นส่วนเหล่านี้ให้เข้าไปสู่ระบบที่ใหญ่กว่า (เผลอๆ จะไม่มีอะไรรับประกันพวกเขาด้วยว่า พวกเขาจะสามารถยอมเข้าไปเป็นชิ้นส่วนเหล่านั้นเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองได้จริงๆ) โดยไม่ได้เห็นเลยว่านักศึกษามีเจตจำนงค์อิสระ มีมิติชีวิตในด้านอื่นๆ นอกจากการศึกษาตามตำรา มีความหลากหลายทางความเชื่อ ทัศนคติและวิถีชีวิตสภาพแบบนี้ทำให้ฉันนึกถึงมิวสิควีดิโอ Another brick in the wall ที่ตัดมาจากภาพยนตร์ "Pink Floyd - The Wall" (เป็นเพลง The happiest day of our life กับ Another Brick in the Wall (Part 2) ต่อกัน) มิวสิควีดิโอฉายภาพระบบการศึกษาแบบเปรียบเปรยว่า นักเรียนเป็นเสมือนชิ้นส่วนการผลิตที่ค่อย ๆ ถูกลำเลียงลงไปสู่เบ้าหลอมเดิม ๆ ครูอาจารย์ (อยากรวมผู้บริหารไปด้วย) กลายเป็นผู้มีอำนาจ ผู้คุมปัจจัยในการผลิตมนุษย์ เพลงที่ติดหูที่สุดในอัลบั้ม The Wall เพลงนี้ ก็มีเนื้อเพลงประท้วงระบบการศึกษาที่ไร้เสรีภาพอย่างชัดเจน อำนาจในการควบคุมระบบการศึกษากลายเป็นอิฐอีกก้อนบนกำแพง"We don't need no educationWe dont need no thought controlNo dark sarcasm in the classroomTeachers leave them kids aloneHey! Teachers! Leave them kids alone!All in all it's just another brick in the wall.All in all you're just another brick in the wall.""พวกเราไม่ต้องการให้การศึกษามาบีบเค้นเราพวกเราไม่ต้องการการครอบงำทางความคิดไม่อยากให้มีคำเย้ยหยันหม่นมืดในห้องเรียนผู้บริหารทั้งหลาย อย่าได้มาจุ้นจ้าน!เฮ้ย! ได้ยินไหม! บอกว่าอย่าจุ้นจ้าน!ทั้งหมดทั้งมวลแล้ว มันก็แค่อิฐอีกก้อนบนกำแพงทั้งหมดทั้งมวลแล้ว พวกคุณก็แค่อิฐอีกก้อนบนกำแพง"- Another Brick in the Wall (Part 2)คิดต่อไปอีกว่า หลังจากที่พวกท่านทั้งหลายได้อำนาจเบ็ดเสร็จตรวจสอบไม่ได้ แทรกแซงไม่ได้ ไปแล้วนั้น หลักสูตรการศึกษาจะเป็นเช่นไร คงจะกลายเป็นเพียงเครื่องมือที่เขาใช้ประกอบชิ้นส่วนพวกเรา ละเลยความเป็นมนุษย์ ความหลากหลาย มิติชีวิตด้านอื่นๆ ของพวกเรา ตัวเรียนในสายสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา คงจะกลายเป็นส่วนเกินสำหรับพวกผู้ใหญ่ใจแคบเหล่านี้ ไม่พักต้องพูดถึงกิจกรรมที่มีแต่การสนับสนุนกิจกรรมสร้างภาพให้มหาวิทยาลัยและตัวพวกผู้บริหารเองเท่านั้น องค์กรนักศึกษาก็เหมือนเพียงทำงานตามใบสั่ง ไม่อาจให้ความเป็นธรรมแก่นักกิจกรรม หรือแม้กระทั่งนักศึกษาทั่วไปได้ไม่พักต้องพูดถึงการตัดขาดจากสังคมภายนอก จริงอยู่ที่ภาพของนักศึกษาในปัจจุบันนี้ก็เหมือนเป็นอภิสิทธิชนผู้ตัดขาดตัวเองจากปัญหาของสังคม แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น นักศึกษาที่ยังไม่ตัดขาดตัวเองออกจากสังคมโดยสิ้นเชิงก็ยังมีอยู่ แต่พวกเขาจะหลงเหลือพื้นที่ให้ได้ออกมาเรียกร้องอะไรเพื่อสังคมที่เขาอาศัยอยู่อีกหรือไม่ ในเมื่อขนาดเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของพวกเขาเอง ไอ่พวกผู้บริหารใจแคบก็รับฟังไปเพียงผ่านๆ หูการพัฒนาเป็นสิ่งที่ดี แต่การพัฒนาไปด้วยการขับเคลื่อนของกลุ่มผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จจำนวนไม่กี่คนนั้น มันไม่คับแคบไปหน่อยหรือ พวกท่านจะรับประกันได้อย่างไรว่าจะไม่ละเลยความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ละเลยมิติชีวิตด้านอื่นๆ ไม่ละเลยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไม่ละเลยผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา ฯลฯถ้าหากพวกท่านยังคงอยากเดินดุ่มต่อไป ผมก็จะเลิกพูดกับคนหูทวนลมเช่นพวกท่าน แล้วหันมาให้กำลังใจน้องๆ ทั้งหลายว่า"ไปเถิด ไปยืดอำนาจจากพวกผู้ใหญ่ใจแคบเหล่านี้แย่งชิงไป กลับมาคืนให้กับพวกเราทุกคน!""The present curriculumI put my fist in ‘emEurocentric every last one of ‘emSee right through the red, white and blue disguiseWith lecture I puncture the structure of liesInstalled in our minds and attemptingTo hold us backWe've got to take it backHoles in our spirit causin' tears and fearsOne-sided stories for years and years and yearsI'm inferior? Who's inferior?Yeah, we need to check the interiorOf the system that cares about only one cultureAnd that is whyWe gotta take the power back""หลักสูตรในทุกวันนี้ฉันสอยหมัดใส่พวกมันพวกมันเผยความรู้แบบรวมศูนย์ทั้งนั้นมองผ่านเส้นสีลวงๆ ของพวกมันได้เลยด้วยการเรียนรู้ฉันทิ่มแทงโครงสร้างแห่งความโป้ปดที่ติดตั้งเข้าไปในความคิดพวกเรา แล้วก็คอยดึงพวกเรากลับหลังพวกเราจะต้องนำมันกลับคืนมารูโหว่ในจิตวิญญาณของพวกเรานำมาซึ่งน้ำตาและความกลัวรับรู้เรื่องราวจากความข้างเดียว มาเป็นปี หลายปี หลายๆ ปีฉันคือชนที่ด้อยกว่าหรือ? ใครกันที่ด้อยกว่าใคร?ใช้เราต้องคอยดูเรื่องความด้อยกว่าของระบบที่สนใจแค่วัฒนธรรมหนึ่งเดียวเท่านั้นและนั้นคือสาเหตุว่าทำไมเราถึงต้องยืดอำนาจกลับคืนมา"- Take the Power BackTake the Power Back เป็นหนึ่งในเพลงประท้วงระบบการศึกษา มาจากวง Rage against the Machine วงที่นำเอา Rap Rock มาผสมกับดนตรี Alternative Metal เนื้อเพลงนี้พูดถึงการครอบงำเนื้อหาในระบบการศึกษา ที่สร้างวาทกรรมครอบงำจากฝ่ายผู้มีอำนาจ ไม่สนใจวัฒนธรรมหรือแนวคิดอื่นที่แตกต่าง ฝังหัวให้ผู้คนเชื่อในอะไรบางอย่าง ที่จะไม่เป็นอันตรายต่อการสืบทอดอำนาจของพวกเขาเองหมายเหตุ (1) : เขียนจากประสบการณ์ร่วมเกี่ยวกับสถานการณ์ ม.นอกระบบ ในมหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ (ไม่รู้เล้ยยย) ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันหมายเหตุ (2) : การแปลเนื้อเพลงในครั้งนี้จงใจดัดแปลงให้เข้ากับเหตุการณ์ ยุคสมัย และบริบททางสังคม
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก โดยเจือความเป็น Metal เข้าไปผสมได้อย่างกลมกลืนอัลบั้มล่าสุดของพวกเขาคือ Fear of a Blank Planet ก็ยังคงรักษาความหลอนล่องลอย มืดมน เอาไว้ได้เหมือนเดิมโดยไม่ได้ถูกท่วงทำนองกีต้าร์หนัก ๆ ทำลายไป ซึ่งต้องขอบคุณมือคีย์บอร์ดอย่าง Richard Barbieri ผู้สร้างเสียงสังเคราะห์เป็นพื้นผิว (Texture) ของดนตรีได้อย่างเยี่ยมยอดและความหม่นครึมที่แทรกอยู่แทบทุกอณูของอัลบั้มนี้ ก็ช่างเหมาะเจาะไปกันได้กับคอนเซปต์เนื้อหาของมันเหลือเกินSteve Wilson มือกีต้าร์และนักร้องนำของวง เป็นผู้วางคอนเซปต์อัลบั้มนี้ เขาบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากอะไรหลาย ๆ อย่างอย่างแรกซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในอัลบั้มนี้เลยคือเรื่องของการที่คนเราเมื่ออายุมากขึ้นเริ่มรู้สึกแปลกแยกกับเด็กในยุคปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าช่องว่างระหว่างวัยเป็นปกติธรรมดาซึ่งอาจจะมาพร้อมกับช่องว่างระหว่างยุคสมัย แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าช่วงเปลี่ยนผ่านของ Generation มันหดสั้นลงกว่าเดิม จนอาจทำให้คนที่อายุมากกว่าอาจจะรู้สึกแปลกแยกแบบนี้กับเด็กอายุห่างกันสองสามปีได้เลยทีเดียวแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกอย่างซึ่งเจ้าตัวได้เปิดเผยออกมาเองคือนิยายเรื่อง Lunar Park ของ Bret Easton Ellis คนเดียวกับที่เขียนเรื่อง American Psycho (ซึ่งถูกทำเป็นภาพยนตร์ในเวลาต่อมา) สะท้อนภาพความเหลวไหลไร้สาระของ Yuppie อเมริกันชนยุค 80's ภายใต้เรื่องแนวเขย่าขวัญขอโน๊ตไว้อีกว่าถ้าใครจำได้อัลบั้ม Weekend in the City ของวง Bloc Party เองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายอีกเรื่องของ Bret Easton Ellis เช่นกัน คงเป็นธรรมดาที่หนังสือของนายคนนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินหลายวง เพราะเนื้อเรื่อง จากนิยายของเขาเหมือนจะสามารถทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของยุคสมัยแสนว่างเปล่าผ่านผันมาได้จนถึงยุคปัจจุบันLunar Park เป็นนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของตัว Ellis เอง ซึ่งเรื่องในนิยายจะถูกเล่าจากมุมมองของตัวละครผู้เป็นพ่อ ที่มีชื่อว่า Ellis เหมือนกัน ขณะที่ในอัลบั้ม Fear of a Blank Planet จะเปลี่ยนมาเล่าจากมุมมองของ Robby ผู้เป็นลูกแทน เว้นแต่ในเพลง My Ashes เพลงเดียว ที่เล่าผ่านมุมมองของ EllisFear of a Blank Planet จึงเป็นเหมือนบทบอกเล่าจากเด็กชาย Robby และก็เป็นเหมือนเรื่องราวจากสายตาของเหล่าวัยรุ่นผู้ "หวาดกลัวดาวเคราะห์อันแสนว่างเปล่า" ในขณะเดียวกันความประทับใจของผมอย่างหนึ่งที่มีต่อวงนี้ คือการที่พวกเขาพยายามทำอัลบั้มที่มีคอนเซปต์โดยอาศัยมุมมองจากผู้อื่นนอกจากตัวพวกเขาเอง ซึ่งหลายเพลงทำได้ลึกซึ้งทีเดียว แน่นอนว่านี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่วง Porcupine Tree ทำคอนเซปต์แบบนี้ออกมา ในปี 2001 พวกเขาก็มีอัลบั้ม In Absentia ที่แทบทุกเพลง สื่อให้เห็นการมองโลกโดยใช้มุมมองของผู้คนที่ถูกสังคมเรียกว่า "ฆาตกรโรคจิต" ซึ่งไม่ได้เล่าอย่างตัดสินพิพากษาขณะเดียวกันก็ไม่ได้เชิดชู เว้นช่องว่างไว้ให้ผู้ฟังจะได้ตัดสินดีเลวด้วยตนเองแต่ขณะที่ In Absentia เป็นอัลบั้มที่หนักและสามารถสร้างความประทับใจได้เพียงแรกสดับ Fear of a Blank Planet กลับเป็นอัลบั้มที่ต้องยิ่งฟังมากครั้ง ถึงยิ่งรู้สึกถึงความลึกซึ้งของมัน อาจจะไม่ใช่เพราะเนื้อหาของมันอย่างเดียว (ซึ่งจะว่าไปเนื้อหาส่วนมากก็เป็นเชิงแสดงความรู้สึก ไม่ได้ตีความยากอะไร) แต่เป็นตัวดนตรีด้วยที่นักวิจารณ์บางคนถึงขั้นบอกว่า เจ้าพวกนี้พยายามจะทำ "Dark side of the Moon" (หนึ่งในอัลบั้มมาสเตอร์พีชของ Pink Floyd) แห่งสมัยปัจจุบันกาลขึ้นมาเพลง Fear of a Blank Planet ที่เป็นไตเติ้ลแทรกเปิดอัลบั้มและเพลงยาวเหยียดอย่าง Anesthetize บอกเล่าชีวิต ความคิดอ่าน และความรู้สึกผ่านสายตาของวัยรุ่นผู้อยู่ในโลกแสนว่างเปล่า ไร้ความหมาย ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยสิ่งที่กระตุ้นเร้าต่างๆ นานา แต่เนื้อเพลงมันก็ไม่ได้ชวนให้จมกับความเศร้าอะไร ในบางช่วงมันฟังดูฮาดีด้วยซ้ำ (เป็นตลกร้ายที่บางคนอาจจะไม่ฮาด้วยก็เป็นได้)I'm stoned in the mall againTerminally boredShuffling around the storesAnd shoplifting is getting so last year's thingXbox is a god to meA finger on the switchMy mother is a bitchMy father gave up ever trying to talk to meฉันมึนงงอยู่ในห้างอีกแล้วเกิดเบื่อขึ้นมาเฉย ๆเลยหมุนผลัดไปตามร้านค้าแล้วก็ฉกเอาไอ่ของที่ออกเมื่อปีที่แล้วมาเอ็กบอกซ์เป็นพระเจ้าสำหรับฉันเลยจิ้มนิ้วลงไปบนปุ่มสิแม่ฉันมันก็แค่นังตัวดีพ่อฉันเลิกพยายามที่จะพูดกับฉันไปนานแล้ว- Fear of a Blank Planet -Fear of a Blank Planet เป็นเพลงจังหวะเร็ว มีการร้องแบบรีบเร่ง ขณะเดียวกันก็มีการสับจังหวะในบางจุด ซึ่งตรงนี้ช่วยขับความรู้สึกจากเนื้อเพลงที่พูดโลกที่ฉาบฉวย พร้อมจะทิ้งอะไรไปได้ทุกวินาทีออกมาได้เป็นอย่างดี ขณะที่เพลง Anesthetize ได้ Alex Lifeson (วง Rush) มาโซโล่กีต้าร์ โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่าเพลงนี้มันยาวเกินความจำเป็นไปนิด ขณะที่ดนตรีในบางส่วนฟังดูซ้ำๆ ซากๆ แต่ถ้ามองในอีกแง่ ดนตรีซ้ำๆ ซากๆ มันช่วยสร้างความรู้สึกร่วมกับเนื้อเพลงที่พูดถึงชีวิตอันไร้ความหมายวนเวียนไปไม่รู้จบ ก่อนดนตรีจะคลี่คลายในช่วงท้ายเหมือนพบทางออก ...แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่แน่ใจว่านั่นเป็นทางออกที่แท้จริงหรือเปล่าThe water so warm that dayI was counting out the wavesAnd I followed their short lifeAs they broke on the shorelineI could see youBut I couldn't hear you ในวันนั้นห้วงน้ำช่างแสนอุ่นฉันกำลังนั่งนับกระแสคลื่นและได้ลอยตามชีวิตอันแสนสั้นของมันไปเช่นเดียวกับที่มันได้แตกซัดตามแนวหาดฉันเห็นคุณแต่ไม่ได้ยินคุณ-  Anesthetize (ช่วงสุดท้าย)ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดีนอกจากนั้นอัลบั้มนี้ก็ไม่ได้สื่อแต่ด้านความว่างเปล่าของโลกจากสายตาวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว เพลงอย่าง Sentimental ก็เปลี่ยนอารมณ์กลับมาสู่การครุ่นคิดและทบทวนความรู้สึก ซึ่งถึงมันจะเป็นการทบทวนที่ไม่ลึกซึ้งมาก แต่ก็ทำให้เห็นแง่มุมใหม่ๆ ที่น่าจะทำให้เข้าใจความรู้สึกกันมากขึ้น เมื่อพวกเขาบอกว่าสับสนกับวัยและยุคสมัย ขณะเดียวกันก็ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่มากไปกว่านี้ เสียงคอร์ดของเปียโนที่เล่นคลอในเพลงช้าๆ เพลงนี้ ทำให้บรรยากาศความหม่นมีความละมุนเจืออยู่บางๆI never want to be oldAnd I don't want dependantsIt's no fun to be toldThat you can't blame your parents anymoreฉันไม่อยากจะเป็นผู้ใหญ่ไปกว่านี้และขณะเดียวกันก็ไม่อยากเป็นภาระใครมันไม่สนุกเลยที่จะมีคนมาบอกว่าจะไม่สามารถโทษพ่อโทษแม่ได้เช่นเดิมอีกแล้ว- Sentimental -เพลงที่ใช้เสียงเปียโนได้อย่างเข้าท่าอีกเพลงหนึ่งคือ My Ashes ที่เป็นบัลลาดพลิ้วๆ และประดับด้วยเสียงเครื่องสายออเครสตร้าอย่างงดงาม เนิ้อเพลงเป็นมุมมองของตัวละครผู้เป็นพ่อ ที่แม้ตายไปแล้วเถ้าถ่านของตัวเองก็ยังคงตามดูความเป็นไปต่างๆ อยู่ ซึ่งเพลงนี้นับว่าใช้ภาษาได้สวยมากAnd my ashes drift beneath the silver skyWhere a boy rides on a bike and never smilesAnd my ashes fall over all the things we've saidOn a box of photographs under the bed- My Ashesบรรเลงมาจนถึงบทเพลงโกรธเศร้าอย่าง Way out of here ที่ได้ Robert Fripp แห่งวง King Crimson มาช่วยสร้าง Soundscapes เนื้อเพลงพูดถึงการหาทางออกท่ามกลางโลกที่ว่างเปล่า หลายต่อหลายคนพากันบอกว่าเพลงนี้พูดถึงการฆ่าตัวตาย ซึ่งถ่ายทอดผ่านไปถึงเพลงสุดท้ายคือ Sleep Together ที่ดนตรีออกเป็นอิเล็กโทรนิคแอมเบี้ยนเวิ้งๆ ชวนให้นึกถึงนักบินอวกาศที่กำลังเข้าสู่สภาวะจำศีล (Hibernation) ขณะที่กำลังเดินทาง (หนี) ออกจากโลกนี้ไปI can't take the staringAnd the sympathyAnd I don't like the questions,"How do you feel?How's it going in school?Do you want to talk about it?"ฉันทนไม่ได้กับการถูกจ้องมองกับการที่คนอื่นเห็นอกเห็นใจแล้วฉันก็ไม่ชอบคำถามจำพวก"รู้สึกยังไงบ้างเจออะไรที่โรงเรียนมาบ้างต้องการพูดถึงมันไหม"- Way Out of Here -ชื่อเพลง Sleep Together ถ้าเป็นในบ้านเรามันคงต้องมีใครออกมาบอกว่าสองแง่สามง่ามสิบเ-ยน อะไรก็ว่าไป แต่ตามความเห็นของผู้ฟังส่วนใหญ่แล้ว กลับบอกว่ามันพูดถึงการฆ่าตัวตายที่ถ่ายทอดต่อมาจาก Way Out of Here อีกทีหนึ่งต่างหาก มีบางส่วนเท่านั้นที่บอกว่ามันพูดถึงเรื่องการมีเซ็กส์เพื่อหนีโลกความจริง และอีกส่วนก็ตีความว่ามันไม่ได้มีนัยแฝงอะไร ก็แค่พูดถึงการนอนหลับกันธรรมดาๆ เพื่อหนีเข้าไปในโลกความฝันนั่นแหละความเห็นที่แตกต่างหลากหลายนี้แหละคือเสน่ห์ของศิลปะ! น่าเศร้าที่ในบ้านเรายังคงมัวเอาแต่เป็นห่วงสถาบันนั่นนู่นนี้โน่น แล้วสั่งตรวจสอบ สั่งเก็บ สั่งแบน สั่งเซ็นเซอร์ หรือใช้วิธีใดๆ ก็ตามที่จะกำจัด สิ่งที่พวก "ท่าน" ไม่พึงปรารถนา ด้วยข้ออ้างเดิมๆ เรื่องสร้างความแตกแยกบ้าง พูดถึงแต่ในด้านร้ายๆ บ้าง (สันดานนกกระจอกเทศจริงๆ) ฯลฯ แทนที่จะทำให้คนในสังคมได้ทำความเข้าใจมัน ได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมหรือปฏิเสธมันโดยไม่กระทบกับคนที่เห็นต่างตราบใดที่ท่านทั้งหลายยังคงเห็นว่าคนในสังคมเป็นแค่ "เด็กโง่" ที่ต้องฟูมฟักแบบไข่ในหิน  คอยปิดบัง (สิ่งที่พวกท่านคิดว่าเป็น) ความเลวร้ายทั้งหลาย จนเมื่อความจริงกระแทกโครมเข้ามา มันคงยิ่งกว่าเจ็บปวด ยังไม่นับว่าความคิดแบบนี้ของท่านทั้งหลาย มันจะนำไปสู่การทำให้ให้เด็กๆ ในวันพรุ่งนี้เผชิญกับความมืดมิดตามลำพัง โดยไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ (สิ่งที่พวกท่านคิดว่าเป็น) อันตรายร่วมกันเลยแม้แต่น้อยทางออกของเด็ก ๆ ที่นอกเหนือจากการ "นอนหลับ(หลับนอน)ร่วมกัน" (เพื่อหนีโลกออกไป) นั้นมันถูกพวกท่านขวางกั้นอยู่นั่นแหละ ! (ชื่อเต็มๆ ของเอนทรีนี้ - Fear of a Blank Planet โลกจากสายตาหนุ่มสาว ผู้หวาดกลัวดาวเคราะห์อันแสนว่างเปล่า)