พูดเรื่องเพศ: ความชอบธรรม (ทำ) โดยรูปแบบ

“เรื่องโจ๊ก เรื่องเจี้ย”  ซึ่งมีลักษณะสองแง่สองง่ามเกี่ยวข้องกับ “เรื่องทางเพศ” ที่เราๆ ท่านๆ นำมาเล่า เอามาบอกต่อ หรือนำมาแบ่งปันกันในที่ทำงาน ในงานแต่งงาน ในงานวันเกิด ในงานขึ้นบ้านใหม่หรืองานอะไรก็แล้วแต่นั้น  ยิ่งถ้าเรื่องเล่าทางเพศเหล่านั้นเจือปนด้วยความดุเด็ด เผ็ดมัน ขำขัน ตลกโปกฮา สนุกสนานมากเท่าไหร่ ผู้คนในสังคมก็ดูเหมือนจะเปิดใจ อ้าแขนรับ มีอารมณ์สนุกสนานคล้อยตาม และเปิดพื้นที่ให้เกิดการพูดคุยเรื่องเพศนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่โดยมิได้ฉุกคิด ตั้งข้อสังเกต และแม้กระทั่งตั้งคำถามด้านผลกระทบต่อความเสื่อมทางศีลธรรมจริยธรรมของสังคม หรือความกังวลว่าจะเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อเด็กและเยาวชนแต่อย่างใด

เราคงไม่ปฏิเสธว่า ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราในแต่ละวันนั้น เรามีเรื่องเล่าเรื่องตลกขำขันที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ...มากมายและหลากหลายรูปแบบตามยุคสมัยและวัฒนธรรมการบริโภคของผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะมาในรูปแบบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ซีดี/วีซีดีการแสดงของคณะตลก  เพลงไม่ว่าจะเป็นเพลงแรพ เพลงป้อบ หรือลูกทุ่ง ภาพวาดล้อเลียน  ริงโทนโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

เมื่อไม่นานมานี้ประมาณต้นปี ๒๕๕๐ ผู้เขียนมีโอกาสได้ยินริงโทนโทรศัพท์มือถือของเพื่อนผู้เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่องเพศภาวะ เพาวิถีและสุขภาพทางเพศสำหรับไทย-ลาว ครั้งที่ ๓  ตอนที่ได้ยินผ่านหูครั้งแรกก็ถึงกับทำให้ต้องหูผึ่งและหันขวับมาถาม “เฮ้ย! มันพูดว่าไงนะ ขอฟังอีกทีได้ไม๊?”  

ผู้เขียนยังจำอารมณ์ ณ ขณะได้ฟังได้ยินริงโทนนั้นในครั้งแรกได้อย่างชัดเจนว่า ผู้เขียนเริ่มด้วยอาการตั้งอกตั้งใจฟังมากๆ เริ่มอมยิ้ม และยิ้ม เริ่มยิ้มกว้างขึ้น เริ่มมีเสียงหัวเราะคิกคักเบาๆ  และจากนั้นผู้เขียนก็เก็บกดอารมณ์ไม่ไหว จึงปล่อยเสียงหัวเราะดังลั่นด้วยความที่เนื้อหาของริงโทนมันช่าง “โดน (ใจ)” มากๆ เสี่ยนี่กระไร ทั้งๆ ที่ท่วงทำนองของริงโทนก็ธรรมดาเอามากๆ เหมือนการท่องจำแบบอาขยานอย่างไรอย่างนั้น ไม่ได้มีความโดดเด่นทางท่วงทำนองเลยสักนิด แต่ “เนื้อหา/ข้อความ” ของริงโทนเวอร์ชั่นนี้กลับไม่ธรรมดาเอาซะเลยสำหรับผู้เขียน (สำหรับคนอื่นๆ ที่มีริงโทนซึ่งเด็ดกว่านี้อาจจะคิดอยู่ในใจว่า “แค่นี้ จิ๊บ จิ๊บ”)

ริงโทนโทรศัพท์มือถือเวิอร์ชั่นเด็ดๆ ที่ผู้เขียนพูดถึงนั้นมีเนื้อหาสาระหลักๆ ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมและการปฏิบัติทางเพศ ซึ่งมีใจความว่า

“โอ้นวลน้องโปรดถอดเสื้อใน    ถอดไวไวพี่จะไซ้นมก่อน
โอ้ความรักสุดแสนนิรันดร         ปิดประตูใส่กลอนและก็นอนเย็ดกัน
น้องอยู่ข้างล่างพี่อยู่ข้างบน     ผลัดกันอมและก็ผลัดกันเลีย
ทำกันผัวๆ เมียๆ             ผลัดกันเลียและก็ผลัดกันอม
รูน้องเล็กพี่เย็ดไม่ทัน        รูน้องตันพี่ดันไม่ไหว
รูน้องเล็กพี่เย็ดเข้าไป         พี่ทนไม่ไหวน้ำแตกคารู”

ผู้เขียนอยากจะชวนคิดวิเคราะห์เนื้อหาของริงโทนโทรศัพท์มือถือที่ปรากฏอยู่ข้างบนนี้ ซึ่งได้รับความสนอกสนใจของผู้ที่ได้ยินริงโทนโทรศัพท์มือถือนี้ว่าได้สะท้อนเรื่องราวทางเพศอะไรบ้างในสังคมไทย? และได้บอกเล่า/สะท้อนเรื่องทางเพศด้วยมุมมองอย่างไรบ้าง?

ผู้เขียนมองว่าริงโทนนี้เป็นกระจกส่องให้เราได้เห็นและเรียนรู้เรื่องเพศของคนในสังคมไทยว่าพอนึกถึงเรื่องเพศ (Sexuality) ผู้คนโดยทั่วไปก็มองเห็นแต่เพียงกิจกรรมทางเพศ (sexual act) พฤติกรรมทางเพศ (sexual behavior) ความสุขทางเพศ (sexual pleasure) เท่านั้น

นอกจากนั้นผู้คนในสังคมไทยดูเหมือนว่าได้ถูกหล่อหลอมให้คิดและเชื่อถือตามๆ กันไปว่า “ปฏิบัติกิจทางเพศนั้นต้องริเริ่มและกระทำโดยผู้ชายและผู้หญิงเป็นฝ่ายยอมตาม รอคอยความสุขที่ผู้ชายจะเป็นฝ่ายหยิบยื่นให้ เพศสัมพันธ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ เป็นที่ยอมรับและถือว่าเหมาะสมต้องอยู่ภายในกรอบความสัมพันธ์แบบคู่สามีภรรยาและกระทำการเพราะเหตุแห่งรักเท่านั้น กิจกรรมทางเพศนั้นเกิดขึ้นระหว่างคู่ความสัมพันธ์หญิงชาย และกิจกรรมทางเพศที่ถูกพูดถึงนั้นมิใช่เพียงแต่การสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากซึ่งทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชายที่เป็นคู่ความสัมพันธ์ทางเพศต่างกระทำให้กันและกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งสับสน เพราะยังตอกย้ำความสำคัญของช่องคลอดและสัญลักษณ์ของการบรรลุถึงซึ่งความสุขทางเพศนั้นคือ การหลั่งน้ำอสุจิของฝ่ายชายและความสุขที่เกิดจากเพศสัมพันธ์นั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่ความสุขทางเพศของผู้ชาย”

เนื้อหาของริงโทนโทรศัพท์มือถือ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่เป็นรูปธรรมของปฏิบัติการณ์ในสังคมของการส่งผ่านและจรรโลงระบบความคิดความเชื่อและความหมายเรื่องเพศที่กลุ่มคนส่วนใหญ่ยึดถือ

ในหลายๆ ครั้งเรื่องตลกโปกฮาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศซึ่งบางทีอาจต้องใช้เงินจับจ่ายซื้อหามานั้น สามารถทำให้เราได้หัวเราะท้องคัดท้องแข็ง น้ำหูน้ำตาร่วง ได้รับความสุขและความเบิกบาน จนร่างกายได้หลั่งสารความสุขออกมานั้น มันจะล้อเลียน  ผลิตซ้ำมายาคติทางเพศ สร้างภาพตัวแทนความเป็นหญิงเป็นชายที่เกี่ยวโยงกับเรื่องทางเพศ ตอกย้ำภาพเชิงลบ หรือแม้กระทั่งกดทับความเป็นคนที่ต่ำต้อยกว่าของคนบางกลุ่มบางพวกในสังคม เช่น กะเทย สาวประเภทสอง ผู้หญิงอายุมากที่ยังไม่แต่งงาน  แม่ชี ชาวเขาชาวดอย (พี่น้องชนเผ่า) พี่น้องแรงงานข้ามชาติ ฯลฯ  แต่ด้วยอารมณ์สนุกสนานแบบบรรยากาศพาไปมันได้บดบังมิติทางสังคมเหล่านั้น จนหลายๆ ครั้งเรา (รวมทั้งผู้เขียนในบางคราว) อาจจะขาดความละเอียดอ่อนและลืมตั้งคำถามหลายๆ คำถามกับตนเองว่า

* เรากลายเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติที่ขาดความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนของผู้อื่นหรือไม่?
* เรากำลังตอกย้ำและผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม ความเหนือกว่า/ด้อยกว่าของผู้คนในสังคมผ่านเรื่องเล่า “ขำๆ” ของเราหรือไม่?  
* การแบ่งปันความสุขด้วยการเล่าเรื่องตลกโปกฮาและหาความสุขจากการได้ยินได้ฟังเรื่องโจ๊กของเรา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประกอบสร้างค่านิยมและความเชื่อเรื่องเพศบางอย่างหรือไม่?
* เรากำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่ว่า “เรื่องทางเพศเป็นเรื่องของฝ่ายชาย/ผู้สวมบทความเป็นชาย มิใช่เรื่องผู้หญิง/ผู้ที่สวมทับความเป็นหญิงหรือไม่?

ผู้เขียนมิได้จะส่งเสริมการกำกับควบคุมการพูดเรื่องเพศของคนในสังคมแต่อย่างใด เพราะ ผู้เขียนเชื่อมั่นในหลักการด้านสิทธิในการพูดในการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามแต่ เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่เราพึงมีพึงได้ เพียงแต่อยากจะกระตุ้น ชวนคิด ย้ำเตือนว่า ถ้าเราสามารถเรียนรู้เรื่องเพศผ่านเรื่องราวใกล้ๆ ตัวและได้มีเวลาวิเคราะห์วิพากษ์เรื่องราวเหล่านั้นบ้าง ศักยภาพของเราในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมความคิดความเชื่อเรื่องเพศบางอย่างที่ลดทอนความเป็นคนของกันและกัน  เราน่าจะลดระดับความไม่เท่าเทียมในสังคมได้มากขึ้นจากเรื่องที่เราได้พูด ได้เล่า และได้ฟัง

ความเห็น

Submitted by แสงพูไช on

นา
ดีใจหลายที่สามาตเข้ามาเยี่ยม
เธอเดีนถูกทางแล้ว....เดีนต่อไปน๋ะ
เป็นกำลังใจให้

Submitted by หนูนา on

อ้ายแสงเจ้า

ขอเอิ้นไปยังเมืองเวียงจันทน์ว่า ผู้หญิงนอกกรอบ เขียนกันหลายคน ในนามของกลุ่มคณะทำงานเรื่องผู้หญิงในงานเอดส์ เจ้า มีหนูนา และพี่แพท มลฤดี เจ้า ส่วนใหญ่จะเจอหนูนาเจ้าประจำกว่าคนอื่น เพราะว่างงานเจ้า ฮิ้ววววว

นอกนั้นก็มีคนอื่นๆ ร่วมเขียนประปราย เช่น สีแดง, นางสิงห์ไฟ ฯลฯ

Submitted by อ้ายแสงดาวฯ on

หันตวยเจ้า... เพศ เรื่อง เซกส์ มิใช่เรื่องของฝายชายอย่างเดียว ทั้ง ชาย และหญิง ล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน พูดก้อพูดเหอะ คำว่าชาย หญิง เป็นเพียงเรื่องเป็นศัพย์สมมติเท่านั้นเอง

.... ทุกเพศสมมติ ล้วนก้อคือคน คือ มนุษย์ (เหมียนกัน) แต่ทว่าไอ้ที่เรียกว่าผู้ชาย เพศผู้นี่แหละ ขอใช้คำว่า มีการกดขี่เพศสมมุติที่เรียกว่า เพศหญิง มานานแสนนานนับตั้งแต่ยุคสมัยเผด็จการทราชศักดินาในอดีต ที่มีเมียมาก เห็นลูกชาวบ้านใครเมื่อกระสันต์เงื่อนก้อเอามาแก้เงื่อน... มาบัดนี้ก้อเพศชายอักนั่นแหละก็ยังคิดว่าตะเองเหนือกว่าเพศหญิงซะอีก ผู้ชายมีเมียมาก ก็คิดว่าตัวเองเก่ง ทำอะไรไม่ผิด แต่ถ้าผู้หญิง หรือเมียของตัวเองไปมีเพศสัมพันธุ์กับชายอื่น (จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ฯลฯ) ก็ก่นด่าประนาฌ สังคมประนาณ หยั่งงี้มันยุติธรรมหรือไม่ (มิได้หมายความว่าส่งเสริมให้ผู้หญิงเป็นแบบนี้ ... ผู้ชายด้วย)

ส่วนเรื่องโจ๊ก เรื่องเจี้ย นั้นในเรื่องที่คิดว่าลามก อ้ายว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ถือว่าเป็นมุขปาถะ หรือ ภุมิปํญญาชาวบ้าน (ฮา) อ้ายก้อชอบเล่า เพียงแต่ว่า ณ เพลาที่เล่า ถ้ามีเด็กฟั

Submitted by อ้ายแสงดาวฯ on

ขอสูมาตวย ขอต่ออีกนิ๊ด เพราะหมดโควต้าเปิ้น ....

... เพียงแต่ว่า ณ เพลาที่เล่า ถ้ามีเด็กๆ ก้ออย่าเพิ่งเล่าก้อ แล้วกัลลลล์... อาเมน สาธุ

Submitted by มัน on

ดีครับ คุยๆ กันบ้างจาได้ไม่เก็บกด

ย่างก้าวของความสำเร็จของสารป้องกันการติดเชื้อ-ไมโครบิไซด์

นับเป็นครั้งแรกที่การวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) รายงานผลความสำเร็จถึงประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของคู่เพศสัมพันธ์หญิงชาย

แม้ว่าการนำเสนอผลการวิจัยสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ที่ชื่อ โปร 2000 (PRO 2000) ต่อสาธารณะจะออกมาล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม แต่นักรณรงค์เคลื่อนไหวเรื่องสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ต่างขานรับอย่างยินดีถึงผลการวิจัยโปร 2000 (PRO 2000) ที่เผยแพร่ออกมา เพราะมีนัยยะสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการพัฒนาสารป้องกันการติดเชื้อ (ไมโครบิไซด์) ในลำดับต่อไป

เซ็กส์เพื่อขายและกลายเป็น 'การบริการ'

เมื่อความคิดความเชื่อและความเข้าใจต่องานบริการทางเพศในสังคม มักถูกนำเสนออยู่อย่างซ้ำๆ และอย่างต่อเนื่องว่าเป็น “อาชญากรรม และ ผิดศีลธรรม” เราคงไม่อาจปฏิเสธถึงการธำรงอยู่ของ “การตีราคา ตัดสินคุณค่า” คนทำอาชีพบริการทางเพศนี้ได้

เหตุผลที่ว่า “งานบริการทางเพศ” เป็นธุรกิจที่เต็มไปด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ก็เป็นชุดเหตุและผลหลักที่มีอำนาจต่อความคิดความรู้สึกของผู้คน หากเราก็เคยได้ยินเรื่องเล่าที่แตกต่างหลากหลายเกี่ยวกับบริการทางเพศทั้งจากสื่อกระแสหลัก จากบทเรียนการทำงานขององค์กรและเครือข่ายคนทำงาน และจากคำบอกเล่าของพนักงานบริการทางเพศว่า

พูดเรื่องเพศ: ความชอบธรรม (ทำ) โดยรูปแบบ

“เรื่องโจ๊ก เรื่องเจี้ย”  ซึ่งมีลักษณะสองแง่สองง่ามเกี่ยวข้องกับ “เรื่องทางเพศ” ที่เราๆ ท่านๆ นำมาเล่า เอามาบอกต่อ หรือนำมาแบ่งปันกันในที่ทำงาน ในงานแต่งงาน ในงานวันเกิด ในงานขึ้นบ้านใหม่หรืองานอะไรก็แล้วแต่นั้น  ยิ่งถ้าเรื่องเล่าทางเพศเหล่านั้นเจือปนด้วยความดุเด็ด เผ็ดมัน ขำขัน ตลกโปกฮา สนุกสนานมากเท่าไหร่ ผู้คนในสังคมก็ดูเหมือนจะเปิดใจ อ้าแขนรับ มีอารมณ์สนุกสนานคล้อยตาม และเปิดพื้นที่ให้เกิดการพูดคุยเรื่องเพศนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่โดยมิได้ฉุกคิด ตั้งข้อสังเกต และแม้กระทั่งตั้งคำถามด้านผลกระทบต่อความเสื่อมทางศีลธรรมจริยธรรมของสังคม หรือความกังวลว่าจะเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีต่อเด็กและเยาวชนแต่อย่างใด

เราคงไม่ปฏิเสธว่า ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราในแต่ละวันนั้น เรามีเรื่องเล่าเรื่องตลกขำขันที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ...มากมายและหลากหลายรูปแบบตามยุคสมัยและวัฒนธรรมการบริโภคของผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะมาในรูปแบบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ซีดี/วีซีดีการแสดงของคณะตลก  เพลงไม่ว่าจะเป็นเพลงแรพ เพลงป้อบ หรือลูกทุ่ง ภาพวาดล้อเลียน  ริงโทนโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

เมื่อไม่นานมานี้ประมาณต้นปี ๒๕๕๐ ผู้เขียนมีโอกาสได้ยินริงโทนโทรศัพท์มือถือของเพื่อนผู้เข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่องเพศภาวะ เพาวิถีและสุขภาพทางเพศสำหรับไทย-ลาว ครั้งที่ ๓  ตอนที่ได้ยินผ่านหูครั้งแรกก็ถึงกับทำให้ต้องหูผึ่งและหันขวับมาถาม “เฮ้ย! มันพูดว่าไงนะ ขอฟังอีกทีได้ไม๊?”  

ผู้เขียนยังจำอารมณ์ ณ ขณะได้ฟังได้ยินริงโทนนั้นในครั้งแรกได้อย่างชัดเจนว่า ผู้เขียนเริ่มด้วยอาการตั้งอกตั้งใจฟังมากๆ เริ่มอมยิ้ม และยิ้ม เริ่มยิ้มกว้างขึ้น เริ่มมีเสียงหัวเราะคิกคักเบาๆ  และจากนั้นผู้เขียนก็เก็บกดอารมณ์ไม่ไหว จึงปล่อยเสียงหัวเราะดังลั่นด้วยความที่เนื้อหาของริงโทนมันช่าง “โดน (ใจ)” มากๆ เสี่ยนี่กระไร ทั้งๆ ที่ท่วงทำนองของริงโทนก็ธรรมดาเอามากๆ เหมือนการท่องจำแบบอาขยานอย่างไรอย่างนั้น ไม่ได้มีความโดดเด่นทางท่วงทำนองเลยสักนิด แต่ “เนื้อหา/ข้อความ” ของริงโทนเวอร์ชั่นนี้กลับไม่ธรรมดาเอาซะเลยสำหรับผู้เขียน (สำหรับคนอื่นๆ ที่มีริงโทนซึ่งเด็ดกว่านี้อาจจะคิดอยู่ในใจว่า “แค่นี้ จิ๊บ จิ๊บ”)

ริงโทนโทรศัพท์มือถือเวิอร์ชั่นเด็ดๆ ที่ผู้เขียนพูดถึงนั้นมีเนื้อหาสาระหลักๆ ที่ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมและการปฏิบัติทางเพศ ซึ่งมีใจความว่า

“โอ้นวลน้องโปรดถอดเสื้อใน    ถอดไวไวพี่จะไซ้นมก่อน
โอ้ความรักสุดแสนนิรันดร         ปิดประตูใส่กลอนและก็นอนเย็ดกัน
น้องอยู่ข้างล่างพี่อยู่ข้างบน     ผลัดกันอมและก็ผลัดกันเลีย
ทำกันผัวๆ เมียๆ             ผลัดกันเลียและก็ผลัดกันอม
รูน้องเล็กพี่เย็ดไม่ทัน        รูน้องตันพี่ดันไม่ไหว
รูน้องเล็กพี่เย็ดเข้าไป         พี่ทนไม่ไหวน้ำแตกคารู”

ผู้เขียนอยากจะชวนคิดวิเคราะห์เนื้อหาของริงโทนโทรศัพท์มือถือที่ปรากฏอยู่ข้างบนนี้ ซึ่งได้รับความสนอกสนใจของผู้ที่ได้ยินริงโทนโทรศัพท์มือถือนี้ว่าได้สะท้อนเรื่องราวทางเพศอะไรบ้างในสังคมไทย? และได้บอกเล่า/สะท้อนเรื่องทางเพศด้วยมุมมองอย่างไรบ้าง?

ผู้เขียนมองว่าริงโทนนี้เป็นกระจกส่องให้เราได้เห็นและเรียนรู้เรื่องเพศของคนในสังคมไทยว่าพอนึกถึงเรื่องเพศ (Sexuality) ผู้คนโดยทั่วไปก็มองเห็นแต่เพียงกิจกรรมทางเพศ (sexual act) พฤติกรรมทางเพศ (sexual behavior) ความสุขทางเพศ (sexual pleasure) เท่านั้น

นอกจากนั้นผู้คนในสังคมไทยดูเหมือนว่าได้ถูกหล่อหลอมให้คิดและเชื่อถือตามๆ กันไปว่า “ปฏิบัติกิจทางเพศนั้นต้องริเริ่มและกระทำโดยผู้ชายและผู้หญิงเป็นฝ่ายยอมตาม รอคอยความสุขที่ผู้ชายจะเป็นฝ่ายหยิบยื่นให้ เพศสัมพันธ์นั้นจะเกิดขึ้นได้ เป็นที่ยอมรับและถือว่าเหมาะสมต้องอยู่ภายในกรอบความสัมพันธ์แบบคู่สามีภรรยาและกระทำการเพราะเหตุแห่งรักเท่านั้น กิจกรรมทางเพศนั้นเกิดขึ้นระหว่างคู่ความสัมพันธ์หญิงชาย และกิจกรรมทางเพศที่ถูกพูดถึงนั้นมิใช่เพียงแต่การสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากซึ่งทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชายที่เป็นคู่ความสัมพันธ์ทางเพศต่างกระทำให้กันและกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งสับสน เพราะยังตอกย้ำความสำคัญของช่องคลอดและสัญลักษณ์ของการบรรลุถึงซึ่งความสุขทางเพศนั้นคือ การหลั่งน้ำอสุจิของฝ่ายชายและความสุขที่เกิดจากเพศสัมพันธ์นั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่ความสุขทางเพศของผู้ชาย”

เนื้อหาของริงโทนโทรศัพท์มือถือ เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่เป็นรูปธรรมของปฏิบัติการณ์ในสังคมของการส่งผ่านและจรรโลงระบบความคิดความเชื่อและความหมายเรื่องเพศที่กลุ่มคนส่วนใหญ่ยึดถือ

ในหลายๆ ครั้งเรื่องตลกโปกฮาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศซึ่งบางทีอาจต้องใช้เงินจับจ่ายซื้อหามานั้น สามารถทำให้เราได้หัวเราะท้องคัดท้องแข็ง น้ำหูน้ำตาร่วง ได้รับความสุขและความเบิกบาน จนร่างกายได้หลั่งสารความสุขออกมานั้น มันจะล้อเลียน  ผลิตซ้ำมายาคติทางเพศ สร้างภาพตัวแทนความเป็นหญิงเป็นชายที่เกี่ยวโยงกับเรื่องทางเพศ ตอกย้ำภาพเชิงลบ หรือแม้กระทั่งกดทับความเป็นคนที่ต่ำต้อยกว่าของคนบางกลุ่มบางพวกในสังคม เช่น กะเทย สาวประเภทสอง ผู้หญิงอายุมากที่ยังไม่แต่งงาน  แม่ชี ชาวเขาชาวดอย (พี่น้องชนเผ่า) พี่น้องแรงงานข้ามชาติ ฯลฯ  แต่ด้วยอารมณ์สนุกสนานแบบบรรยากาศพาไปมันได้บดบังมิติทางสังคมเหล่านั้น จนหลายๆ ครั้งเรา (รวมทั้งผู้เขียนในบางคราว) อาจจะขาดความละเอียดอ่อนและลืมตั้งคำถามหลายๆ คำถามกับตนเองว่า

* เรากลายเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติที่ขาดความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นคนของผู้อื่นหรือไม่?
* เรากำลังตอกย้ำและผลิตซ้ำความไม่เท่าเทียม ความเหนือกว่า/ด้อยกว่าของผู้คนในสังคมผ่านเรื่องเล่า “ขำๆ” ของเราหรือไม่?  
* การแบ่งปันความสุขด้วยการเล่าเรื่องตลกโปกฮาและหาความสุขจากการได้ยินได้ฟังเรื่องโจ๊กของเรา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประกอบสร้างค่านิยมและความเชื่อเรื่องเพศบางอย่างหรือไม่?
* เรากำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่ว่า “เรื่องทางเพศเป็นเรื่องของฝ่ายชาย/ผู้สวมบทความเป็นชาย มิใช่เรื่องผู้หญิง/ผู้ที่สวมทับความเป็นหญิงหรือไม่?

ผู้เขียนมิได้จะส่งเสริมการกำกับควบคุมการพูดเรื่องเพศของคนในสังคมแต่อย่างใด เพราะ ผู้เขียนเชื่อมั่นในหลักการด้านสิทธิในการพูดในการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามแต่ เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่เราพึงมีพึงได้ เพียงแต่อยากจะกระตุ้น ชวนคิด ย้ำเตือนว่า ถ้าเราสามารถเรียนรู้เรื่องเพศผ่านเรื่องราวใกล้ๆ ตัวและได้มีเวลาวิเคราะห์วิพากษ์เรื่องราวเหล่านั้นบ้าง ศักยภาพของเราในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมความคิดความเชื่อเรื่องเพศบางอย่างที่ลดทอนความเป็นคนของกันและกัน  เราน่าจะลดระดับความไม่เท่าเทียมในสังคมได้มากขึ้นจากเรื่องที่เราได้พูด ได้เล่า และได้ฟัง