'สื่อ' ที่เสนอให้จำกัดเสรีภาพ?

 

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

ดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อน

แม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตาม

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน

เราอาจจะไม่สามารถเหมารวมได้ทันที ว่าผู้ที่เข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย จะมีความเห็นที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่เสนอไปหรือไม่  เพราะการเข้าชื่อเป็นเพียงกระบวนการขั้นแรกที่ทำให้กฎหมายได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาถกเถียงเพื่อแก้ไขต่อไป ซึ่งจะเห็นต่างหรืออยากแก้ไขอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของ สนช. 'ที่เหลือ' ที่จะแปรญัตติ

เมื่อจำนวนเพียง 25 ชื่อ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการเปิดพื้นที่ให้กฎหมายสักฉบับเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาแต่งตั้ง แต่โดยธรรมเนียมของสภาที่ผ่านๆ มา หากเป็นกฎหมายสำคัญๆ จำนวนของรายชื่อ ก็มีนัยยะที่สื่อสารกับสังคมได้เช่นกัน ยิ่งมากก็ยิ่งเห็นดีกรีที่สภาแสดงออกถึงความจำเป็น ความเร่งด่วนในการผลักดัน แล้วก็ไม่ค่อยจะมีใครที่ลงนามในกฎหมายที่ตนไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้ขาดสิทธิในการแปรญัตติ

จำนวนมากกว่า 60 รายนาม จึงมีนัยยะสำคัญที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกเอาไว้แล้ว การแก้ไข ป.อาญา มี สนช.แต่งตั้งเข้าชื่อถึง 64 รายชื่อ ส่วนป.วิอาญา มีสนช.แต่งตั้งร่วมเข้าชื่อถึง 61 รายชื่อ

สาระของการเสนอแก้ไข ประเด็นแรก คือ การเพิ่มเติมความคุ้มครอง ในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไปถึงพระราชโอรส พระราชธิดา ประธานองคมนตรี องคมนตรี หรือผู้แทนพระองค์ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง เรื่องนี้ นายพรเพชร วิชิตชลชัย สนช. ผู้เสนอ ให้เหตุผลของการแก้เนื้อหาไว้ว่า เพราะที่ผ่านมา "บางท่านกลายเป็นหยื่อทางการเมือง"

การแก้ไขแบบนี้ มีผู้วิพากษ์วิจารณ์หนาหู ถึงการวางให้คณะองคมนตรีอยู่ในฐานะพิเศษเหนือปุถุชนสามัญ และคณะองคมนตรีก็แสดงความไม่สบายใจ จนท้ายที่สุด นายพรเพชร ก็ตัดสินใจถอนการแก้ไขกฎหมายออกไป

การเสนอแก้ไขอีกฉบับหนึ่งนั้น เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 14/1 ของ ป.วิอาญา ซึ่งมีสาระว่า ในระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความผิดต่อองค์พระ มหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีเห็นสมควร พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือคู่ความ อาจยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้สั่งห้ามมิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าสื่อประเภทใด และหากศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว เห็นว่ามีเหตุอันสมควรเพื่อการคุ้มครองปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ศาลสั่งอนุญาตตามคำร้องและอาจกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามคำสั่งห้ามของศาลดังกล่าวได้

อย่างไรก็ตาม การเสนอแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ก็ถูกถอนตามไปด้วย โดยนายพรเพชรให้เหตุผลว่า เมื่อถอนก็ต้องถอนทั้งสองฉบับ เพราะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน

มาตรา 14/1 ที่แก้ไขนั้น เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องเสรีภาพสื่อมวลชน ซึ่งปรากฏว่า มีสื่อที่แสดงท่าทีชัดเจนต่อเรื่องนี้ ตัวอย่างหนึ่งคือ บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม 2550 หรือ 2 วันหลังการถอนการแก้กฎหมาย และอาจเพราะเป็นธรรมเนียมของ 'รูปแบบ' บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ อันเป็นพื้นที่แสดงจุดยืนของหนังสือพิมพ์นั้นๆ งานชิ้นนี้จึงไม่ระบุชื่อผู้เขียน

ขออนุญาตคัดบางส่วนที่น่าสนใจของบทบรรณาธิการชิ้นนี้...

            "เป็นที่เข้าใจได้ว่า สำนักข่าวต่างประเทศจำนวนไม่น้อย ขาดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับคนไทย อันเนื่องมาจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงการก่อกำเนิดของชาติที่ต่างกัน จึงนำเสนอข่าวสารคัดค้านในแง่มุมของตะวันตก

            น่าตระหนกที่ สาระตามมาตรา 14/1 กลับถูกสื่อมวลชนไทยจำนวนหนึ่ง และนักสิทธิมนุษยชนบางคน พยายามเคลื่อนไหวคัดค้าน กล่าวประณาม สนช.กลุ่มที่นำเสนอร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เพราะตีความว่า มาตรานี้เป็นการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อในการนำเสนอข่าวสาร ทำให้ศาลมีอำนาจสั่งห้าม มิให้โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีไม่ว่าสื่อประเภทใด

            ในฐานะสื่อมวลชนไทยเช่นกัน จำเป็นต้องสอบถามถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพต่อการแสดงท่าทีดังกล่าวด้วยความเคารพว่า ท่านต้องการเสรีภาพ โฆษณาข้อเท็จจริง พฤติการณ์ต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นเกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องในความ ผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จริงๆ น่ะหรือ

            หากเป็นเช่นนั้น ก็สมควรที่เข้าชื่อเปิดเผยตัวตนต่อประชาชน เพื่อบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ของความเป็นนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพให้ประจักษ์

            เสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารล้วนเป็นที่หมายปองของคนในวิชาชีพสื่อสารมวลชนทุกผู้คน หากแต่เสรีภาพนั้นย่อมมีขอบเขตข้อจำกัดด้วยจารีต ประเพณี หน้าที่ของพลเมืองในแต่ละสังคม

            หน้าที่ของคนไทย คือ ทำนุบำรุง ปกป้อง รักษาซึ่งสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หากเสรีภาพจะได้มาด้วยการสูญเสียซึ่งสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสามสิ่งนี้

            เราขอยืนหยัดคัดค้านอย่างสุดกำลัง"

แม้ท้ายที่สุด สนช. จะ 'หยุดชะงัก' การแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับไปแล้วก็ตาม แต่ใช่ว่าจะลบล้างเรื่องทั้งหมดได้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น และกระแสที่ตามมา ได้สะท้อนเรื่องราวหลายอย่าง และเป็นคุณประโยชน์ต่อหลายๆ แวดวงในเมืองไทย โดยเฉพาะสถาบันวิชาชีพและสถาบันการศึกษา ด้าน 'สื่อมวลชน'

ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยเสื้อเหลืองแบบนี้ ความกังวลใจของ 'เขา' ไม่ได้อยู่ที่คุ้มครองใคร แต่ตรงกันข้าม สิ่งที่ 'เขา' เกรงกลัว น่าจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินคดีหมิ่น และมูลเหตุของคดีหมิ่น

นั่นคือ การแก้ไขกฎหมายเพื่อระบุว่า ห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่น มีความสำคัญที่เป็นอันตราย ยิ่งกว่าการให้สถานะอภิสิทธิ์ชนเป็นไหนๆ

สังคมไทยมีบรรยากาศของความเงียบ ที่ปกคลุมความรู้สึกสงสัยแบบตรงไปตรงมาอันมีต่อสถาบันกษัตริย์ เรื่องนี้ไม่เป็นผลดีไม่ว่ากับฝ่ายใด แม้แต่กับชาวเสื้อเหลืองแห่งสยามประเทศ เพราะไม่เพียงแต่สถาบันอันเป็นที่รักของชาวเสื้อเหลืองจะไม่มีผู้ใดตรวจสอบได้เท่านั้น แต่ยิ่งเปิดช่องให้สถาบันอันเป็นที่รัก ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ผ่านความศรัทธาของชาวเสื้อเหลืองเอง (ไม่แน่ใจว่า บทบรรณาธิการของโพสต์ทูเดย์คิดกับเรื่องนี้อย่างไร)

 

เรื่องนี้ น่าจะเป็นคำถามท้าทาย ให้คนแวดวงสื่อ และแวดวงวิชาการสื่อสารมวลชน ว่าจะอยู่ภายใต้ฟ้าเหลืองอย่างเท่าทันได้อย่างไร

อย่างไรก็ดี ไม่เคยมีตำราทางนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์ที่สอนว่า มีเรื่องประเภทใดที่ห้ามหรือไม่ควรเอ่ยถึงในสื่อมวลชน สิ่งที่เป็นข้อห้าม จะมีก็แต่การห้ามละเมิดหรือเหยียดในสีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา กล่าวความเท็จให้ผู้อื่นเสียหาย

ตรงกันข้าม สิ่งใดยิ่งมีความสำคัญมาก ยิ่งต้องพูดถึง วิจารณ์มาก เปิดพื้นที่ให้เห็นความคิดที่หลากหลายให้มาก เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อสิ่งสำคัญนั้นๆ

โดยไม่มีข้อยกเว้นสำหรับการตรวจสอบ ไม่ว่าเรื่องใด

เรื่องนี้อาจจะไม่แปลกหรือไม่มีนัยยะสำคัญ หากผู้พูดไม่ได้มาในนามของสื่อ และสิ่งที่เกิดขึ้นคือ สื่อมวลชนเสนอตัวในการประกาศเรื่องความจำเป็นในการจำกัดเสรีภาพเสียเอง

บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ แสดงอาการยินยอมอย่างเต็มที่ หากศาลจะวินิจฉัยมิให้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหา ฟ้องร้อง ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พร้อมทั้งประกาศความเชื่อด้วยว่า การมีเสรีภาพภายใต้ขอบเขตที่จำกัดด้วยจารีตประเพณี หน้าที่พลเมือง จะเป็นทางหนึ่งที่จะทำนุบำรุง ปกป้อง รักษา ซึ่งสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ได้

หลายคนคงรู้ดีว่า การถูกรัก ด้วย 'วิธีรัก' ในบางรูปแบบ เป็นอันตราย และการทำให้เรื่องสำคัญที่ยากตรวจสอบได้ถูกตรวจสอบ ว่าไปก็เป็นเรื่องจรรโลง สร้างสรรค์ มากกว่าเพื่อหวังจะเอาใจชั่วครู่ชั่วยาม

ในฐานะที่ไม่ใช่นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ แต่เชื่อมั่นว่า หากประชาชนไทยมีพื้นที่ให้ได้รับรู้ เข้าถึงข้อเท็จจริง มีโอกาสและมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับคดีที่มีการกล่าวหาหรือฟ้องร้องในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จะเป็นผลดีต่อทุกๆ สถาบันและทุกๆ อุดมการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

ค่ะ ...ดิฉันชื่อ  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา

 

 

ความเห็น

Submitted by อรพิณคลับ on

อรพิณสู้ๆ อรพิณสู้ตาย อรพิณไว้ลาย สู้ตายสู้ๆ

Submitted by ไทยเลย on

สื่อหลายชนิดพร้อมที่จะรับใช้เผ็ดจการ...นสพ.หลายฉบับ(มติชน,แนวหน้า,ข่าวสด,คม ชัด ลึก,เดลินิวส์,สยามรัฐ,โพสต์ทูเดย์,ผู้จัดการ,เนชั่น ฯลฯ....TV หลายช่อง(3,5,7,9,11และจะตามขบวนไป คือ TITV)....วิทยุ ร้องละ 90 พร้อมรับใช้เผด็จการ
ที่ผ่านมาสื่อเรียกร้องหาความ "อิสระ" ไม่ต้องการถูกครอบงำ หรือถูก "แทรกแซง"....แต่ปัจจุบัน สื่อ ต้องการเข้า "ดักแด้" หรือ "กรงขัง" เสียเอง...และพร้อมที่จะรับใช้"พวกเผด็จการ"
ที่ผ่านมา "สื่อ" เสแสร้ง ปิดบังประชาชนว่า "จะสู้เพื่อความจริง ความเป็นธรรมของสังคม"...แต่จริง ๆ แล้ว ส่วนใหญ่..ทำเพื่อตนเอง ทำเพื่อความอยู่รอด ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง...????
....สงสารสื่อเพียงส่วนน้อยที่ต้องการ "ความอิสระ" ไม่ต้องการถูก "ครอบงำ" จากรัฐหรือผู้มีอิทธิพลทางการเมือง...สุดท้ายตายไปมากแล้ว...จะหาคนที่ "มีอุดมการณ์"ที่กล้าทำ กล้าสู้ (ในสิ่งที่ถูกต้อง) เพื่อประชาชน สักกี่คน...???

Submitted by ตติกานต์ เดชชพงศ on

เห็นด้วยกับอรพิณทุกประการ

Submitted by สุดหล่อ on

ที่กล่าวมาถูกทุกประการ ความหวังของพวกนี้ คือ อาศัย และ เก็บเกี่ยวผลประโยชน์และขจัดบุคคลที่พวกเขาเห็นว่าไม่ดี เป็นอันตรายและพึงกำจัดโดยการอ้างเอาสถาบันมาเป็นเครื่องมือซึ่ง มองกันชัดเจน และเห็นๆ อยู่แล้วว่ามีกรณีใดบ้าง และในอนาคตถ้าพวกเขาผ่านร่างนี้ได้สำเร็จ จะมีประชาชนสักเท่าไหร่กันที่จะพินาศย่อยยับเพราะข้อหาและ กฏหมายฉบับนี้ ช่างเป็นกม.ที่อัปยศ ที่เสนอโดยคนที่แสนจะไร้ยางอาย สิ้นดี

Submitted by mk (อรพิณคลับ v2) on

"ชาวเสื้อเหลืองแห่งสยามประเทศ" เจ๋ง

ผมเห็นด้วยกับบทความนี้อย่างยิ่งครับ

และขอนุญาตนำไปตั้งกระทู้ที่เวบบอร์ดฟ้าเดียวกัน
http://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=174

ขอบคุณครับ
กานต์ ณ กานท์
(กานต์ ทัศนภักดิ์)

Submitted by เดอะคีย์เมคเกอร์ on

ขอบคุณสำหรับหนึ่งเสียงแห่งความคิดเห็นฮะ
ที่เต็มไปด้วยความกล้าหาญ และชัดเจน

Submitted by ค่ะ ดิฉันชื่อ ภฤศ on

นึกไม่ออกจริง ๆ ว่าจะหาเรื่องไม่เห็นด้วยยังไงดี...

Submitted by จิรนันท์ หาญธำร... on

ตามนั้น

Submitted by หลักสองฯ on

เบื่อพวกอ้างสถาบันกษัตริย์มาใช้เป็นเครื่องมือเหลือเกิน....บอกว่ารักแต่พฤติกรรมตรงข้ามกันเหลือเกิน

งานเขียนของคุณอรพิณเป็นประโยชน์มากครับ สังคมต้องทบทวนกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้มาก สื่อต้องยืนให้ถูกที่ ทำหน้าทีของตัวเองให้เต็มกำลังความสามารถ สังคมไทยจะได้เดินหน้าต่อด้วยการตัดสินใจจากข้อมูลที่รอบด้านสักที

ผมจะรอวันนั้น...วันนี้สื่อมวลชนเดินตามรอย กุหลาบ สายประดิษฐ์

Submitted by la luna on

เห็นด้วยกับตติกานต์ทุกประการ ^^

เมื่อรวมเรื่องนี้
เข้ากับเรื่องที่อัยการยังไม่ยื่นฟ้องสองพลเมืองอินเทอร์เน็ต
‘พระยาพิชัย’ และ ‘ท่อนจัน’
ที่**ถูกกล่าวหาว่า**โพสต์ข้อความหมิ่นฯ
(ข่าว: http://prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=989... )

ก็ยิ่งให้สงสัยว่า เขาคงจะรอให้กฎหมายห้ามเสนอข่าวคดีหมิ่นพระบรมฯ ออกมาก่อน
แล้วค่อยยื่นฟ้อง เรื่องมันจะได้เป็นข่าวไม่ได้ เหตุการณ์ สำนวน หลักฐาน พยานอะไรใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ สาธารณชนก็จะได้ไม่ทราบ

เรื่องของฟ้า เอ็งพวกไพร่ จะรู้ไปทำไม ?

ฮูเร

ประเทศไทยไชโย

Submitted by ธีร์ อันมัย on

ขอเอาบทความไปให้นักศึกษาอ่านเพื่อการรู้เท่าทันจริยธรรมสื่อหน่อยนะครับ

Submitted by แสงดาว ศรัทธามั่น on

อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา
^
เห็น ด้วยกับคุณ มินับถ้วน % .... เมืองไทยสมมุตินี้ มันมิมีความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงดอก มันเป็นประเภทที่ น้า " สุจิตต์ วงษ์เทศ " ว่า "ล้าหลัง - คลี่นั่นง่ะ

ข้าพระพุทธเจ้าคิดว่า มนุษย์ทุกคน ก้อ เป็น คนธรรมดานี่แหละ เป็นมนุษย์ตีนติดดิน มีศีรษะตั้งฉาก กะ ท้องฟ้า โถ พี่น้องเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก เอ๋ย .... อย่ายึดมั่นถือมั่น

มิมีผู้ใดล่องลอยมาเกิดจากฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟากฟ้าสุราลัยดอก

สื่อบางไฟลัมน์ บางท่าน ก้อ ล้าหลังคลั่งชาติ เฉกกัน

โอ้ องค์อัลลอฮ์ โอ้ เจซัสไคร้ซ์ โอ้ พระพุทธเจ้า ..... ข้าพระธรรมชาติ ... ข้าพระเจ้า เองนั้น มิได้คิดว่าตัวเองเป็นคนชาติไหน ดอก เราเป็นคน ชา ติ โ ล ก เ ดี ย ว กั น ท่าวน้านเอง

...... NO BODER NO COUNTRY NO RACE etc

WE ARE THE WORLD

WE LOVE YOU

ขอแสดงความเห็นด้วยกับผู้เีขียน (คุณอรพิณ)
แม้ว่าผมจะมิใช่สื่อมวลชนโดยอาชีพ
ดังที่บทบรรณาธิการโพสต์ทูเดย์ได้เอ่ยถามถึง

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
รักเกินรัก มักทำลาย

Submitted by บังวิน on

พวกนี้มันคงประเภทสื่อมวลสัตว์มากกว่าครับ

เพิ่งเห็นบทความนี้

เห็นด้วยว่า เท่ และ ตั้งคำถามได้ตรงประเด็นมากๆ

แค่ผัวเมียทะเลาะกัน...ครับ

 
โจว ชิงหมาเกิด
 
 
ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)
 
 

ด้วยรักและไว้อาลัยแด่การสอบโอเน็ต (และบทสัมภาษณ์ 'ติ่งหู' กับ 'ผู้ไม่เชี่ยวชาญ')

เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน

ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน”

หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ไปจนถึงผู้บริหารสถานศึกษาก็ต่างลุ้นตัวโก่งกับผลการเข้ามหาวิทยาลัยในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ….ช่างเป็นช่วงชีวิตที่ลืมไม่ลง เสียจริง ๆ

รักเทอซะให้เข็ด ..แม่เจ็ดสาวลีโอ

ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง

เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ เป็นส่วนหนึ่งในการฟาดฟันต่อสู้กับค่ายช้างจนทำให้เบียร์ลีโอเป็นเบียร์อันดับหนึ่งของประเทศ โดยกลยุทธการตลาดที่สำคัญนั้นก็คือการขายความเซ็กซี่และมีระดับกว่าช้างมาหน่อย

ขออนุญาต "ไม่แปล"

สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน