อิคคิวซัง วรรณกรรมกับการตอบโต้อำนาจ

 

เนตรชนก แดงชาติ

ใน ช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมานี้การไหล่บ่าของกระแส J-POP ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนกรรมการเสพสื่อของบ้านเรา และแน่นอนว่าย่อมหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึง “การ์ตูนญี่ปุ่น” ที่ซึมลึกอยู่ในวงการสื่อบ้านเรารวมถึงเด็ก ๆ (ตลอดถึงคนที่เคยเป็นเด็ก) ไปไม่ได้

หลายท่านคงจำ ทั้งโดราเอมอน ดราก้อนบอล เซเลอร์มูน กันได้ และที่จะมาชวนท่านผู้อ่านคุยวันนี้เป็นหนึ่งในอมตะการ์ตูนแห่งช่อง 3 คือเรื่อง “อิคคิวซัง” หรือ “เณรน้อยเจ้าปัญญา” การ์ตูนที่มาจากบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริงในช่วงประวัติศาสตร์

“อิค คิวซัง”  จากเรื่องเล่าที่นำมาเขียนเป็นนิยายภาพ จากนั้น ฮิซาชิ ซาคากุจิ (Hisashi Sakaguchi) ได้นำมาแต่งเป็นมังงะ (การ์ตูนเล่ม) และอนิเมชัน เรื่องราวของลูกชายพระจักรพรรดิกับพระชายาฝ่ายใต้ในสมัย มุโรมาจิ (ประมาณ พศ. 1338 - 1573)  ซึ่งเป็นยุคที่ชนชั้นนักรบมีอำนาจเหนือชนชั้นอื่น ๆ ในสังคม ได้แก่ ชนชั้นชาวนา และชนชั้นพ่อค้า ตลอดจนได้หลอมรวมตัวเองเข้ากับชนชั้นปกครอง (ฝ่ายพระจักรพรรดิและราชสำนัก) ทำให้เกิดระบบศักดินาและเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมซามุไร   เช่น การตั้งรัฐบาลทหาร หรือ “บาคุฟุ” ที่มี “โชกุน” เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง “ไดเมียว” หรือ เจ้าเมืองแคว้นต่าง ๆ ไปจนถึงการเผยแพร่ศาสนาพุทธ นิกายเซนอันเป็นหนึ่งในวิถีของชนชั้นนักรบ ในการสืบทอดอำนาจตกอยู่ในตระกูล อะชิคางะ

อย่างไรก็ตามที่มาของอำนาจทางการเมืองของฝ่ายจักรพรรดิและฝ่ายโชกุนมีจุดที่ แตกต่างกันก็คือ ฝ่ายจักรพรรดิสืบเชื้อสายมาจากตระกูลยามาโตะ สมัย โคฟุน (ค.ศ. 250–538)  ที่มีความเชื่อว่าได้สืบเชื้อสายมาจากเทพีพระอาทิตย์  (Amaterasu – omikami) ซึ่งเป็นเทพผู้ให้กำเนิดชาวญี่ปุ่น จากนั้นได้แต่งบันทึกประวัติ- ศาสตร์ “โคจิกิ” (Kojiki) และ “นิฮงโชกิ” (Nihonshoki) ในยุค นาระ (ค.ศ. 710 – 794) เกี่ยวกับการให้กำเนิดโลกและเกาะญี่ปุ่น  ความเชื่อในศาสนาชินโต  รวมไปถึงการให้กำเนิดและเชื้อสายของผู้ที่สืบทอดสายเลือดของเทพีพระอาทิตย์  อันหมายถึงตระกูลของพระจักรพรรดิ   อาจกล่าวได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นจึงมีอำนาจในปกครองดูแลลูกหลาน ซึ่งสอดคล้องกับลัทธิขงจื้อที่รับมาจากจีนในยุคต่อมา แตกต่างจากการได้มาซึ่งอำนาจของโชกุนที่มาจากการทำสงครามและกำลังทหาร

แต่ด้วยความที่ฝ่ายจักรพรรดิมีความผูกพันและชอบธรรมทางศาสนา (ชินโต) และวัฒนธรรมมายาวนาน จึงเป็นเหตุที่ชนชั้นเหล่าซามุไรและโชกุนไม่สามารถล้มล้างได้ง่ายนัก แม้จะสามารถทำให้ชาวนาและพ่อค้าหมอบราบคาบแก้วได้แล้วก็ตาม การมีอยู่ของจักรพรรดิเริ่มจะอยู่ในสถานะ “สัญลักษณ์ของสังคม” มากกว่าการปกครองประเทศ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเข้าใจระบบการปกครองเบื้องต้นในยุคที่เรื่อง อิคคิวซังดำเนินเรื่องอยู่ขอรับ ซึ่งประเด็นที่อยากชวนท่านผู้อ่านคุยนั้นก็คงเกี่ยวกับตัวละครที่ขาดไม่ได้ ในเรื่องนี้เลยคือท่านโชกุน “อาชิคางะ โยชิมิสึ”

การพบกันครั้งแรกระหว่างท่านโชกุนและอิคคิวซังเกิดขึ้นเมื่อเมื่อเสียงของ อิคคิวซังเลื่องลือไปทั่วเมืองจนถึงหูของท่านโชกุน จึงมีความคิดที่จะนิมนต์เณรน้อยอิคคิวมาจับเสือที่อยู่ในม่านไม้ แต่ก็เสียท่าให้ในที่สุด ด้วยการที่อิคคิวซังขอให้ฝ่ายท่านโชกุนไล่เสือออกมาให้ตนจับนั่นเอง

เรื่องราวต่อจากนั้นก็ล้วนเกี่ยวพันทั้งกันระหว่างตัวละครทั้งสองไม่ว่าจะ เป็นความขี้เล่นรักสนุกที่ช่างสรรหาเรื่องปวดสมอง (ทั้งคิดขึ้นเอง ทั้งร่วมมือกับคิเคียวยะซัง เจ้าของร้านค้าจอมงก) หรือเรื่องเดือดร้อนของประชาชนที่ถ้าไม่มาจากท่านโชกุนก็จากคิเคียวยะซัง จนชาวเมืองต้องไปขอความช่วยเหลือจากอิคคิวซังอยู่เสมอ

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Ikkyu)

 

เรื่อง ในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับวีรกรรมของท่านโชกุนจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ และส่วนใหญ่เรื่องราวที่เกี่ยวกับท่าน “อิคคิว โชจุน” ที่มีตัวตนอยู่จริงนั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับความเถรตรงและการเป็นปฏิปักษ์ต่อขุนนางและพระเถระที่มือ ถือสากปากถือศีล จึงขอชวนท่านผู้อ่านมองเรื่องอิกคิวซังในฐานะเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งแล้วกัน นะ
ขอรับ

ท่านผู้อ่านรู้สึกเหมือนกันหรือเปล่าว่าการ์ตูนเรื่องนี้ได้นำ “โชกุน” มาเป็นตัวละครที่มีบทบาทในทางขำขันหรือเป็นตัวสร้างปัญหาของเรื่อง จนบางครั้งผู้เขียนนึกในใจว่า “วัน ๆ หนึ่ง คนเป็นไม่ทำงานทำการอะไรเลยหรืออย่างไร” หรือแม้แต่คิเคียวยะซังเองก็ตระหนี่ถี่เหนียวเสียจนมีอารมณ์ร่วมไปกับอิคคิว ซังอย่างไม่น่าเชื่อ จึงน่าสังเกตว่าการ์ตูนเรื่องนี้ได้นำ “ผู้ทรงอำนาจ” ในประวัติศาสตร์มาล้อเลียนหรือล้อเล่น แม้ว่าผู้แต่งจะเกิดคนละยุคสมัยกันก็ตาม

การล้อเลียนหรือล้อเล่นบุคคลผู้มีอำนาจเป็นลักษณะของการตอบโต้ทางสังคมอย่าง หนึ่งที่พัฒนามาจากการนินทาที่เป็นกลไกการลงโทษสมาชิกในสังคมรูปแบบหนึ่ง การได้นินทาใครสักคนนอกจากจะช่วยลดความตึงเครียดแล้วผู้ได้นินทาผู้อื่นนั้น จะมีความรู้สึกต่อผู้ที่ถูกนินทาว่า “กูดีกว่ามึง” ยิ่งเป็นการนินทาผู้มีโอกาสทางสังคมหรือมีสถานะทางสังคมที่สูงกว่าตนเองแล้ว ด้วยยิ่งมีบทบาทในการลดค่าอำนาจ หรือ ลดคุณค่าของผู้มีอำนาจที่สูงกว่าตน เพราะในสภาพสังคมจริง ๆ คงไม่มีใครออกมาวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจในสมัยนั้นเป็นแน่ ดีไม่ดีอาจได้นอนในคุกแก้เซ็งไปจนถึงโดนตัดหัว แม้แต่สมัยนี้ที่มีการเปิดกว้างในการสื่อสารหรือมีสิทธิเสรีภาพตามหลัก ประชาธิปไตยที่ใครต่อใครเชื่อว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีแล้วนั้น การนินทาหรือการล้อเลียนผู้มีอำนาจยังเสี่ยงต่อการกระทำผิดตามกฎหมายหรือการ ใช้กำลังเข้าไปจัดการทั้งแบบเปิดเผยและแบบลับ ๆ

การล้อเลียนผู้มีอำนาจในประวัติศาสตร์ไม่เพียงพบในเรื่องอิคคิวซังอันเป็น เรื่องเล่าที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตเท่านั้น ยังพบเรื่องเล่าเหล่านี้ในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลก แม้แต่ในประเทศไทย เรื่องเล่าประเภทนี้ที่รู้จักกันดีอย่าง “ศรีธนญชัย” เองก็มีลักษณะที่คล้ายกับเรื่องอิคคิวซัง เช่น ความสมองไว และการเอาตัวรอดได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ (แม้ว่าบางตอนของศรีธนญชัยอาจจะ “ฮาร์ดคอร์” กว่า เช่น การคว้านท้องน้องของตัวเองก็ตาม) นอกจากนิทานพื้นบ้านเรื่องยาวอย่างศรีธนญชัยแล้ว ยังมีเรื่องเล่าตลกขำขันในชุมชนที่ไม่มีมีแบบแผนหรือมีผู้แต่งที่แน่ชัด อย่างเช่นการ “เล่าเจี๊ยะ” หรือ “เจียะก้อม” ของล้านนา เนื้อหาก็ต่างพัวพันอยู่กับตัวแทนของสถาบันที่มีอำนาจทางสังคม เช่น เจ้าเมือง พระ พ่อค้าคหบดี เหมือนกันอย่างมิได้นัดหมาย

เมื่อมองกลับมาในปัจจุบัน ผู้ที่ตกเป็นเป้าของการล้อเลียนส่วนใหญ่จะเป็นนักการเมืองหรือดารา ส่วนสถาบันศาสนานาน ๆ จะมีการล้อเลียนเกิดขึ้นสักครั้ง แต่ก็ต้องเป็นพระระดับเซเลปที่กระทำความผิดทั้งทางกฎหมายจนเป็นข่าวใหญ่โต เช่น “พระยันตระ” หรือ มีบทบาทในสื่อมาก ๆ เช่น “พระพยอม”  อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ทราบได้ว่า เพราะความเข้มแข็งเรื่องบาปกรรมจากการล้อเลียนพระมีผลในสังคมสมัยนี้ หรือ ความห่างเหินกันระว่างคนกับพระกันแน่ ที่ทำให้การล้อเลียนสถาบันศาสนาลดลงเหลือเพียงแค่การนินทาพระที่ประพฤติตน ไม่เหมาะสมตามหมู่บ้านในชนบท ส่วนการล้อเลียนเศรษฐีที่เราเห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นคุณ “ทักษิณ ชินวัตร” ในการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

แต่บางครั้งเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดก็เกิดจากการล้อเลียน เช่น การที่นักศึกษาเล่นละครล้อเลียน ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อาจเป็นเพราะว่าตัวละครที่นำมาล้อเลียนนั้นได้ล้มหายตายจากไปหลายร้อยปี   หรือว่าระบบบาคุฟุและวัฒนธรรมซามุไรได้ถูกปฏิวัติไปตั้งแต่สมัยเมจิ หรือว่า ความแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นเรื่องแต่ง อะไรเป็นเรื่องจริง หรือว่าผู้แต่งไม่ไปแตะ “กล่องดวงใจ” ของชาวญี่ปุ่น คงไม่สำคัญเท่า ความ “เซนซิทีฟ” ของบุคคลที่ “ถูกล้อเลียน” หรือ “ถูกนินทา” ที่กลัวว่าผู้เสพสารจะเชื่อว่าเป็นจริงตามที่โดนล้อหรือเปล่า

จะจริงหรือไม่จริงก็ตามมันก็ห้ามคนนินทาได้ยากยากดั่งการห้ามไฟไม่ให้มีควันนั่นแหละขอรับ

ความเห็น

Submitted by Divine arrow on

ชอบเพลงตอนจบมันมากเลย ฟังแล้วน้ำตาจะไหล

Submitted by น้ำลัด on

หากโชกุนคิดได้สักนิด ชีวิตเราคงดีขึ้นอีกแยะ

Submitted by เกรียนสาด ชามะนาว on

ไหว้สาคอลัมน์ใหม่ สุดสัปดนการ์ตูน รักมะเหมี๊ยะ มากมายด์

Submitted by ท่านโอยาชิโร่ (... on

ู^
^
มันกลับมาแล้ววว!!!

Submitted by punk on

ผมได้อ่านบทความเนตรชนกนี้ และบทความในเวทีวิจัยมนุษย์ศาสตร์ไทย ข้า ค่า ฆ่า ฯลฯ ซึ่งนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เขียนเรื่องเกี่ยวกับปมจิตวิทยาความรุนแรง:มุมมองจากผู้ปฎิบัติ ซึ่งเขียนถึงปัญญาจากการ์ตูนเซ็กซ์และความรุนแรง โดยบอกว่าการตูน์ดีๆ ที่มีผลแก่สังคมไทยและสะท้อนเรื่องทางเพศ คือ โดเรมอนตอนชิสูกะอาบน้ำ ด็อกเตอร์สลัมป์กับอาราเล่ และชินจัง เป็นต้น

ซึ่งตั้งคำถามว่า เรายอมรับให้เด็กดูโดยไม่เซ็นเซอร์ได้หรือยัง กรณีหมัดเทพเจ้าดาวเหนือนั้น ตอนฉายทางทีวี ปี2530 ก็ต้องทำให้มันถูกเซ็นเซอร์ มัวๆไป เลิกได้แล้ว

ทั้งนี้ ถ้าเรามองในแง่ความรุนแรง ของหมัดเทพเจ้าดาวเหนือ ย่อมตรงกันข้ามกับอิกคิวซัง ที่ออกทางทีวี เพราะสะท้อนการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีโดยปัญญา แต่ว่าขีดจำกัดของอิกคิว ในการตอบโต้อำนาจ นั้น มันย่อมสะท้อนว่า หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ จะตอบโต้อำนาจได้มากกว่าอิกคิวซัง หรือเปล่า ในที่สุดแล้ว ผมชอบหมัดเทพเจ้าดาวเหนือ มากกว่าอิกคิวซัง เพราะอิกคิวซังตลกล้อเลียน เป็นเด็กมากกว่า หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ ในสมัยวัยรุ่น ก็เร้าใจกว่ามาต่อยกันดีกว่า แล้วก็หัวเราะ 555(ตัวโกง 555)

Submitted by punk on

-คนเขียนอิกคิวซัง ดีครับ(คราวหน้าขออีโรติค น่ะ ครับ) และแล้วผมoKจัง555

Submitted by RPS. LuciuZ on

โชกุนที่แสดงถึงอำนาจผู้ชนชั้นนำถูกนำมาล้อเลียน ซึ่งไม่ต่างอะไรกับละครลิเกที่มีการเสียดสีถึงความโฉดเขลาของเหล่าชั้นขุนนางที่มี เป็นการเสียดสีในทางอ้อมให้ความรู้สึก "สะใจ" ในสิ่งที่คอยมาควบคุมชาวบ้านอยู่ก็เป็นได้

ข้าน้อยคิดว่างั้นงับ

Submitted by หมะเมียะ on

ตอบเม้นต์ท่าน kenshiro

ไว้รัฐประหารคราวหน้า อัญเชิญท่านเคนชิโรมาถีบรถถังได้ไหมเจ้าคะ

อิอิ

Submitted by punk on

ผมมาปั่นกระทู้ต่อ
หมะเมี่ยะ
ย้าก!หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ!!!
โดยเคนชิโร่นั้น(ส่งไปสู้ถีบรถถัง ตอนรัฐประหาร ป้องกันพวกขุนนางอำมาตย์แล้วกัน) เวลาของขึ้นต้องไม่ปราณีใคร 555(ส่วนผมไม่เกี่ยวข้องใคร ค้าบ)
หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ เป็นการ์ตูน เหตุการณ์หลังยุคสงครามนิวเคลียร์

ต่างจากอิกคิวซัง อ้างอิงประวัติศาสตร์
ที่มีตัวตนจริงๆ สำหรับเคนชิโร่ ผู้เป็นชายหนุ่มอมทุกข์ กับบาดแผลเป็นยากเกินเยียวยา
7 แห่งบนร่างกายตน และสืบติดตามหาหญิงคนรักที่หายไป
ซึ่งทนทรมาน กว่าอิกคิวซัง ที่มีความน่ารักของเด็กหญิงเป็นกำลังใจ อยู่รอบวัด 555

Submitted by นานาจิตตัง -_-!! on

เช้าหน้าร้อนแล้ว ไปขอตุ๊กตาไล่ฝนมาดีกว่า

ยิ่งช่วงนี้อากาศแปรปรวนด้วยภัยธรรมชาติอยู่

ส่วนมุมมองด้านการนินทานั้น มีหลากหลายแง่มุมนัก
จึงขอยกตัวอย่างหนึ่ง เฉกเช่น คนซื่อสัตย์ชนิดขวานผ่าซาก
เวลาทำงานสุจริต ก็มีผู้อื่นอิจฉา และถูกนินทาว่าร้าย
การนินทาในที่นี้คือ การกล่าวผิดแก่ผู้บริสุทธิ์ เป็นต้น
หรือแม้แต่ คนโฉด หากต้องการโด่งดัง หรือสร้างกระแส
หรือน้อมน้าวจิตใจผู้อื่น ก็นิยมเอาหลักการบอกต่อ และการนินทานี่แหละ เป็นเครื่องมือ

ดังนั้น หากแม้นจะรับฟังข่าวสารใดใดแล้ว ย่อมควรตรองและตรองอย่างรอบคอบเสียก่อน
และไม่ควรฟังความข้างเดียว อันเป็นเหตุแก่การนินทาได้เช่นกัน

จิตมนุษย์สุดลึกล้ำล้วนหลากหลายยากหยั่งถึง

นานาจิตตัง -_-!!

Submitted by punk on

นี่ผมมาปั่นกระทู้ต่อ

ผมคิดว่า กรณีการนินทา ก็เป็นเรื่องความจริง ผสมเรื่องแต่ง อาจจะเป็นการจินตนาการไปเอง ด้วยซ้ำ แต่ว่าสิ่งที่ผมสนใจ คือ จินตนาการของหมัดเทพเจ้าดาวเหนือ มากกว่าการนินทา ล้อเลียน ครับ ถ้าเราคิดว่า การต่อสู้ในชีวิตประจำวัน กรณีแรงงานนินทาเจ้านาย นายจ้าง ลูกพี่ หรือว่า การแก้ปัญหาของอิคคิวซัง ไปไกลถึงใช้ส(ห)มองๆ แล้วก็ตาม แต่ว่า เราจะสู้! โดยปัญญาแบบไม่อ่อนแอ และเข้มแข็ง ส่วนความจริงของประวัติพระอิคคิวซัง หรืออิกคิว โซจุน และเริ่มออกธุดงค์

เมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ ท่านได้พบกับชินจิชะ หญิงศิลปินขอทานตาบอด ซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยา

Submitted by เกรียนสาด ชามะนาว on

ถ้าเอาฟรอยด์มาจับ หัวกลมๆ ของท่านอิคคิ้วนี่หมายถึงควยใช่ไหมครับ แล้วเด็กจะมีอารมไหมครับ

Submitted by mewcobain on

ป้าคนเขียนเจ้า เอาการ์ตูนโป๊ เรืองราวของนางวันทองสองใจ ได้ก่อเจ้า บ่อั้นก่อเอาแบ๊วๆอย่างโปงโปงจังไปเรยอยากอ่านๆๆๆ

Submitted by ครูเก่ง on

เจ๋งมากจ้ะ จะมาตามอ่านเป็นระยะ ระยะ

เอาไปรวมเล่มทำหนังสือดิ
จะซื้อไปแจกคนอื่น

ครูเก่งเอง