ปฏิรูปประเทศไทย: ถ้าไม่ปฏิรูปนโยบายพลังงาน ไม่สำเร็จ!

1. คำนำ

ชื่อบทความนี้อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกว่าเป็นการทอนพลังของการปฏิรูป ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ แต่ผมขอเรียนว่า ไม่ใช่การทอนพลังครับ แต่เป็นการทำให้การปฏิรูปมีประเด็นที่เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้ง่าย รวดเร็ว  เมื่อเทียบกับการปฏิรูปมหาวิทยาลัย ปฏิรูปการศึกษาที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล

ผมได้ตรวจสอบประเด็นของการปฏิรูปของคณะกรรมการชุดที่คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธานแล้วพบว่า ไม่มีประเด็นเรื่องนโยบายพลังงานเลย

บทความนี้จะนำเสนอให้เห็นว่า (1) ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที  (2) จะปฏิรูปไปสู่อะไร และ (3) ทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหนก่อน  
 
2. ทำไมจะต้องปฏิรูปนโยบายพลังงานในทันที

เรื่องนโยบายพลังงานไม่ใช่เป็นเดียวโดด ๆ ทีจำเป็นสำหรับกิจกรรมมนุษย์ยุคปัจจุบัน  แต่มันเกี่ยวข้องกับปัญหาความยากจน คนว่างงาน การทำลายแหล่งทำมาหากินของชาวชนบท รวมทั้งปัญหาโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาแก้ไม่ตกของคนทั้งโลก

เพื่อความกระจ่างขึ้น ผมขอขยายความเป็นข้อ ๆ ดังนี้  
(1) ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของคนไทยเรามีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับรายได้ประชาติ ในปี 2536 คนไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่าเพียง 11% ของรายได้ประชาติ แต่เพียง 15 ปีผ่านไป รายจ่ายด้านพลังงานกลับเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 19% ในปี 2551  

ข้อมูลนี้ไม่เพียงแต่ชี้ให้เห็นถึงขนาดของปัญหาเท่านั้น แต่ได้ชี้ให้เห็นว่า ความรุนแรงของปัญหาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย   

(2) แหล่งพลังงานฟอสซิลที่รวมศูนย์ (ซึ่งได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน) ทำให้คนตกงานจำนวนมาก เฉพาะกิจการน้ำมันและกิจการไฟฟ้า (ที่มีขนาดถึง 11.1% และ 4.3% ของรายได้ประชาติ) พบว่ามีการจ้างแรงงานรวมกันไม่ถึง 1% ของแรงงานทั้งประเทศ ตัวเลขนี้ได้คิดรวมเด็กที่ทำงานตามปั๊มน้ำมันทั่วประเทศประมาณ 2 แสนคนเข้าไปแล้ว

(3) พลังงานไม่เพียงแต่เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างประเทศ เช่น สหรัฐบุกอิรัก เท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับชุมชนของแต่ละประเทศอีกด้วย ระหว่างชุมชนด้วยกันเอง  เช่น เขื่อนปากมูลเพื่อการผลิตไฟฟ้าได้ทำให้ประชาชนต้องอพยพกว่า 1
,700 ครอบครัว  ผลผลิตการประมงลดลง 80% นอกจากนี้ชาวแม่เมาะ  มาบตาพุด ชาวระยอง และ ชาวจะนะ จังหวัดสงขลา ก็กำลังได้รับผลกระทบทางระบบหายใจ มะเร็ง ดังที่เป็นข่าวอยู่บ่อย ๆ  คงไม่ต่างกันมากนักกับสงครามที่ใช้อาวุธที่มองเห็น

ปัจจุบันนี้ ทางรัฐบาลกำลังมีแผนการจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นมาใหม่ถึง 6 โรง  ทั้ง ๆ องค์กร กรีนพีช พบว่า ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ก็ชี้ชัดลงไปแล้วว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในบรรดากิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์

(4) พลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานที่พ่อค้าจำนวนน้อยรายสามารถผูกขาดได้  นอกจากจะทำให้ราคาสูงขึ้นอย่างไร้เหตุผลแล้ว ยังก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชนท้องถิ่นจำนวนมาก  เป็นการขยายช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมากขึ้น

จากรายงานการศึกษาของ
UNDP หน่วยงานเพื่อการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ พบว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยที่สุด 20 % แรกกับคนจนที่สุด 20% ล่างสุดของประเทศไทยห่างกันถึง 13-15 เท่า  ในขณะที่ของประเทศเพื่อนบ้านอยู่ระหว่าง 9-11 เท่า (ญี่ปุ่นและสแกนดิเนเวียร์ เพียง 3-4 เท่า)

จากบทความเรื่อง
The Battle for Thailand ของ Warren Bello พบว่า เพียงช่วง 30 ปีของการพัฒนา (ในทศวรรษที่ 1960 ถึง 1990) ได้ทำให้รายได้ของคนในภาคการเกษตรลดลงจาก 1 ใน 6 เหลือเพียง 1 ใน 12 ของภาคส่วนอื่น

เว็บไซต์
nationmaster.com ที่อ้างถึงงานศึกษาจาก 141 ประเทศทั่วโลกพบว่า แหล่งน้ำจืดในประเทศไทยมีค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำเฉลี่ยต่ำที่สุดในโลก คืออยู่ในระดับที่ทำให้ปลารู้สึกเครียด   นั่นแปลว่า ทั้งแหล่งอาหารโปรตีนและแหล่งรายได้ของชาวชนบทต้องอัตคัดขัดสนตามไปด้วย

แม้ว่าสาเหตุของปัญหาค่าออกซิเจนละลายในน้ำต่ำจะมาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคคนในเมืองด้วย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคพลังงานก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก

(5) การรวมศูนย์กิจการพลังงานที่มีลักษณะผูกขาด ย่อมเพิ่มความเสี่ยงต่อโอกาสในการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดโครงการใหม่ การหวังค่านายหน้าที่ดิน การวางแผนที่ไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ  รวมถึงการกำหนดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นที่ประชาชนไม่มีอำนาจใดๆ ไปต่อรอง ย่อมส่งผลต่อความไม่เป็นธรรมในสังคมที่สามารถสัมผัสได้

(6) การจ้างคนให้มาทำงานเพื่อการประหยัดพลังงานก็เป็นอีกประเด็นที่คุ้มค่าการจัดหาพลังงาน 

นี่คือเหตุผล 6 ประการที่เชื่อมโยงถึงกันหมดดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ที่อยากจะเรียนย้ำอีกครั้งก็คือว่า มันมีขนาดใหญ่มากและเป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้จริง
 
3. จะปฏิรูปไปสู่อะไร

ถ้าเราใคร่ครวญทั้ง 6 ข้อที่กล่าวมาแล้ว เราก็สามารถทราบได้ทันทีว่า  เราต้องหาแหล่งพลังงานอื่นที่มีคุณสมบัติตรงกันข้ามกับที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ (1) ไม่สามารถผูกขาด (2) ไม่ก่อมลพิษทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลก (3) มีการว่าจ้างแรงงานให้คนได้ทำกันเยอะๆ  และ (4) ไม่ยั่วน้ำลายของผู้ที่จ้องจะหากินกับโครงการขนาดใหญ่

แหล่งพลังงานที่ว่านี้คือ พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล รวมทั้งการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยราชการ

หลายท่านอาจจะแย้งผมว่า
“พูดแต่ทฤษฎี”   ผมขอยกเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นจริงดังนี้ครับ

ในช่วงปี 2545 ถึง 2552 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเขามีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้ไม้ฟืน น้ำเสียขนาดเล็ก 1 เมกกะวัตต์เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว และมีเป้าหมายให้ถึง 1 หมื่นเมกกะวัตต์ (มากกว่า 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตที่ประเทศไทยใช้) ภายในปี 2556

คำถามก็คือ ประเทศไทยเรามีศักยภาพที่จะมีเชื้อเพลิงชีวมวลน้อยกว่าประเทศในยุโรปหรือ?

คำตอบคือไม่ ประเทศเรามีนาร้างจำนวนมหาศาล เฉพาะภาคใต้อย่างเดียวก็มีถึง 5 แสนไร่  นอกจากนี้ยังมีต้อตอของยางพาราที่ต้องโค่นทิ้ง ๆ ทุก ๆ  20 ปีอีก 13 ล้านไร่

ผมประเมินอย่างคร่าว ๆ ว่า ทั้งอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราชที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพียง 6-7 เมกกะวัตต์เท่านั้น ถ้าใช้เชื้อเพลิงที่ชาวบ้านผลิตเองได้ในท้องถิ่น รายได้ก็จะตกเป็นของชาวบ้านประมาณหนึ่งร้อยล้านบาทต่อปี

ดีกว่าเอาถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะนอกจะเงินจะไหลไปต่างประเทศแล้ว ยังทำให้คนไม่มีงานทำ และทิ้งมลพิษไว้บ้านเราอีก

สำหรับกังหันลมทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงปีละ 31% แต่ประเทศไทยเรายังไม่มีเนื้อมีหนังเลย ส่วนพลังงานโซลาร์เซลทั้งเทคโนโลยีก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในขณะเดียวกันต้นทุนถูกลงมากและกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน  ข่าวจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์บอกว่ากำลังจะมาลงที่ประจวบคีรีขันธ์ แทนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ชาวบ้านคัดค้าน

ก็ถือว่าเป็นข่าวดีนะครับ
 
4. จะทำอย่างไร เริ่มต้นที่ไหน  

ง่ายที่สุดและขอให้เป็นจุดเริ่มต้นด้วยคือ ขอโอกาสให้กลุ่มคนที่ทำงานในเรื่องพลังงานที่ผมเสนอ(ซึ่งก็มีหลายกลุ่ม)ได้มีโอกาสใช้สื่อของรัฐเท่าเทียมกับกลุ่มพ่อค้าพลังงานที่โฆษณาอยู่ทุกวันว่า
“ถ่านหิน...พลังงานสะอาด” หลังจากนั้นสังคมจะเป็นผู้ตัดสินเองว่าจะเดินไปทางไหน อย่างไร
 
5. สรุป

ผมเห็นด้วยครับว่า การปฏิรูปประเทศไทยต้องทำพร้อมกันหลายด้าน และต้องไม่ทอนพลังกันเอง  แต่ถ้าละเลยเรื่องนโยบายพลังงานซึ่งเป็นเรื่องใหญ่โต เร่งด่วน และเป็นรูปธรรมสัมผัสได้ชัดเจน แล้วผมไม่คิดว่าการปฏิรูปจะไปถูกทาง แถมอาจจะเป็นการเสียเวลาเปล่าอย่างที่บางฝ่ายกล่าวถึง   

ขออภัยที่ต้องขอสรุปอย่างตรง ๆ เช่นนี้ครับ

 

ความเห็น

Submitted by น้ำลัด on

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ

ในอนาคตอำนาจสูงสุดคือผู้ที่กำพลังงานไว้ในมือ
เราต้องเร่งคิดแก้ปัญหาพลังงานให้เร็วที่สุด
ไม่เช่นนั้นบ้านเราจะเป็นทาสพลังงานตลอดกาล

อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล แต่เราใช้ประโยชน์น้อยเหลือเกิน
ใครต่อใครมักจะมองไปที่ "Solar Cell"กันเท่านั้นซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตและต้นทุนสูง
อันที่จริง "ฟืน" นี่แหละก็คือผลผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์เช่นกัน
เพียงแต่ "Solar Cell" แปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า
แต่ "ฟืน" คือผลจากการสังเคราะห์แสงของพืช เป็นการแปลงพลังงานแสงมาเก็บไว้ในรูปของพันธเคมี
และสามารถปลดปล่อยพลังงานกลับมาด้วยการเผาไหม้
เรามีโรงไฟฟ้าพลังงานแกลบ แล้วเราก็ควรมีโรงไฟฟ้าพลังงานฟืนบ้าง
ที่ว่างเปล่าเรามีเยอะแยะ เพียงปลูกต้นไม้โตเร็วแค่2-3ปีก็มีฟืนมหาศาลมาผลิตไฟฟ้า

คนเรามักจะมองหาแต่นวัตกรรมใหม่ๆ จนลืมที่จะทำการพัฒนาปรับปรุงสิ่งใกล้ตัวเองที่สุด

เราต้องยกย่องคนยุโรปในเรื่องนี้ เขาพัฒนาปรับปรุงแหล่งพลังงานทุกรูปแบบ
จนมีความก้าวหน้าในการผลิตพลังงานในทุกๆมิติ เป็นเรื่องที่น่ายกย่องเขาจริงๆครับ

Submitted by psu student on

อดีต ลูกจ้าง ประชาชน คณะวิดยา มอ หาดใหญ่

อดีต สอนหนังสือ ที่ มอ หาดใหญ่

โครงการ จะนะ ว่าไง

"คนเรามักจะมองหาแต่นวัตกรรมใหม่ๆ จนลืมที่จะทำการพัฒนาปรับปรุงสิ่งใกล้ตัวเองที่สุด"

ใช่ รวมถึง วิธีการ สอนหนังสือ ใน อดีต ด้วย

อย่าลืม คุณมีรายได้ จากภาษี ของ ประชาชน ทั้งชีวิต

Submitted by ประสาท on

ขอบคุณคุณน้ำลัดมากครับ

มีเรื่องอยากให้คุณช่วยศึกษาเยอะมาก
มาใช่วยกันทำ ช่วยกันค้น
ช่วยกันเผยแพร่

ข้อเสียของบ้านเราคือคนไม่ค่อยอ่าน
เชื่อแต่สิ่งที่คนอื่นกำหนด

มะ มาช่วยกันลากอวน ล้อมหมู่ปลา ...เสียงเพลงเพื่อชีวิตเพลงหนึ่งแว่วขึ้นมาในหัวทันที

Submitted by Tharatorn Supasiti on

I agree with you on the need for energy independency. I notice that you mention solar PV cell, and I would like to suggest another alternative "solar energy". It is solar thermal. The benefit of this system is that it can run 24 hours a day. In effect, it can provide the "base" load we need. It is a proven technology on a large commercial scale. Spain will have 2.5 GW of solar thermal power connected to the grid by 2013. Not to mention a number of projects across North Africa and Europe. I think that what we need is a concrete plan for the energy sector. There are a number of these initiatives in Australia and the UK. Here is the link to one for Australia: http://beyondzeroemissions.org/zero-carbon-australia-2020

Submitted by ประสาท on

ขอบคุณ คุณธาราธร มากครับ

ผมเข้าไปดู กรณีของออสเตรเลีย น่าสนใจมาก ผมไม่เคยทราบมาก่อน
นี่แหละคือพลังงของการสื่อสารยุคใหม่
ที่ใครเจออะไรดี ๆ ก็บอกต่อกัน
เข้าตามทฤษฏี six degree of separation
ถ้าเราใช้ให้เป็นประโยชน์ ก็จะเข้าสูง Tipping point
"สิ่งเล็ก ๆ ก็อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้"

ผมเคยทราบกรณี ยุโรป และ อัฟริกาตอนเหนือ ที่ริเริ่มโดย The Club of Rome
สโมสรของนักวิชากลุ่มเล็ก ๆ เหมือนกัน

คุณธราธร มีอะไรดี ๆ ก็บอกผมบ้างนะครับ
ผมมี facebook ในชื่อภาษาไทย

ผมยังงง ๆ อยู่กับ คนที่ใช้ชื่อว่า psu student ว่าอะไรทำให้เขาเขียนมาอย่างนั้น

ประสาท

Submitted by Tharatorn Supasiti on

I happened to go to their launch of the report, and I thought to myself that given that Thailand has a lot of sun and we get fairly story SW wind during monsoon, there is no excuse to why we still rely heavily on fossil fuel.

I should point out that this initiative is inspired by Al Gore's own version in USA. Unfortunately, I don't have the link.

Another point is that those who wrote the report are common people. They are not all experts. The whole project was initiated from grass root level. Experts in the University of Melbourne and SKM (engineering consultant) were brought in later for modelling. So, there is a scope for similar one in Thailand. I believe that we should also do soon too. The crude oil price is expected to reach $100/barrel in 2013 and stay there. That will gravely affect significant part of population.

Submitted by วันชัย มีศิริ on

การปฏิรูปด้านพลังงานคงทำได้ยาก พอๆกับปฏิรูปด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา สังคม การเมือง คงเป็นเรื่องปรกติ ที่เกิดกับประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย (ถ้าปฏิรูปสำเร็จ ก็คงไม่ด้อยพัฒนา)

ในเวลานี้พลังงานทางเลือกที่เป็นไปได้และดีที่สุด คือ เอทานอล (พลังงานทางเลือกชนิดอื่นๆ รัฐจะส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพราะแข่งขันเรื่องราคาไม่ได้ เอกชนทำไปก็ขาดทุน) ข้อดี ของเอทานอล คือ

1) ราคาถูกกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง (ลิตรละประมาณ 15-16 บาท)
2) ผลิตจากอ้อยและมันสัมปะหลัง ซึ่งปลูกได้มากจนเหลือล้น
3) เป็นพลังงานชีวภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สะอาดกว่า
4) สร้างงานให้เกษตรกรมากกว่าสิบล้านคน

ข้อเสีย คือ

1) ทดแทนน้ำมันเบนซิน ซึ่งโรงกลั่นน้ำมัน ผลิตออกมาเกินที่จะใช้ในประเทศอยู่แล้ว
2) มีมากเกินไป สามารถทดแทนการใช้น้ำมันเบนซินได้ทั้งหมด
3) ถ้าปล่อยให้เกิดอย่างอิสระ จะสามารถทำลายธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ซึ่งมีการลงทุนหลายแสนล้านแล้วก่อนหน้านี้

Submitted by ธรรมเทพ on

อาจารย์ครับ
มหาวิทยาลัยวันศุกร์ยังอยู่ไหมครับ
และอาจารย์จะไปนำเสนออะไรใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน พลังงานทางเลือก หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นอะไรบ้างครับ
พอดีผมทำนิตยสารโลกทัศน์ชาวบ้าน จิตวิญญาณชุมชนอยู่กับพรรคพวกอยู่ที่หาดใหญ่
อยากจะไปเก็บประเด็นมานำเสนอน่ะครับ

Submitted by อนัตตา on

ปฏิรูปประเทศไทย: ถ้าไม่ปฏิรูปที่ใจตัวเราเอง ไม่สำเร็จ!

“คดีโลกร้อน” กับ “เทวดาท่าจะบ๊องส์”

 

 

“คดีโลกร้อน”
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย 

ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงได้ประโยชน์จากรัฐบาล “ประชานิยม”

22 December, 2010 - 12:08 -- prasart
 
 
ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี

ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว

บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย

ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท สองราย พบว่าแต่ละรายใช้ไฟฟ้าเกิน 90 หน่วยไปเพียงเล็กน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ใช้ไป 112 หน่วย ก็ต้องจ่ายทั้งหมด 112 หน่วย ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกินจาก 90 หน่วยเท่านั้น

ค่าไฟฟ้าสำหรับ 112 หน่วย คิดเป็นเงิน 350 บาท (ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีหน่วยละ 92 สตางค์หรือ 103.04 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.89 บาท หมายเหตุ ในเดือนตุลาคม 2550 ค่าเอฟทีหน่วยละ 66 สตางค์) ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เงิน 350 บาทนี้ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน”

จากการพูดคุยดังกล่าวจึงเกิดเป็นโจทย์ให้ต้องขบคิดว่า “จะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงไม่เกิน 90 หน่วย” เราจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและกำลังของแต่ละชนิด        

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ได้แก่ หลอดไฟฟ้า (หลอดละ

18 วัตต์) หม้อหุงข้าว (750 วัตต์) โทรทัศน์สี (120 วัตต์) พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์) ตู้เย็น (125 วัตต์ ขนาด 7 คิว ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 37 หน่วย) เครื่องซักผ้า (330 วัตต์) เตารีดผ้า (1,200 วัตต์) กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์) และเครื่องบดเครื่องแกง (140 วัตต์)

ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ: ภาคกิจการไฟฟ้า

25 November, 2010 - 12:48 -- prasart

 

 

คำนำ

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า 
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง
“ความเหลื่อมล้ำ” ทางการกระจายรายได้ และการถือครองที่ดิน ฯลฯ นอกจากนี้ ผมได้ติดตามแถลงการณ์ของ “กลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายอีก 37 องค์กร”  พบว่าไม่มีประเด็นที่บทความนี้จะกล่าวถึงแต่อย่างใด

การจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ได้ เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในกลไกการใช้อำนาจรัฐ และที่มาของความเหลื่อมล้ำกันก่อน
 

ภัยธรรมชาติถี่ขึ้น เพราะโลกร้อนขึ้น : คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย

15 November, 2010 - 10:33 -- prasart
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 

โรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร: โหมเราเอาพรื่อ หรือว่าเรา “เต้นตามจังหวะกลองที่เขาตี”?

28 October, 2010 - 13:02 -- prasart
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์ 

ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า

1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด