“สภาการศึกษาทางเลือก”: ไฟต์บังคับของภาคประชาชน

20 September, 2010 - 12:39 -- prasart
 
 
คำว่า “ไฟต์บังคับ” เป็นภาษาในวงการมวย  หมายความว่าเมื่อนักมวยคนหนึ่ง(มักจะเป็นแชมป์) ถูกกำหนดโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องว่า ครั้งต่อไปนักมวยคนนี้จะต้องชกกับใคร จะเลี่ยงไปเลือกชกกับคนอื่นที่ตนคิดว่าได้เปรียบกว่าไม่ได้

การเกิดขึ้นของ “สภาการศึกษาทางเลือก” ก็ทำนองคล้าย ๆ กัน คือถูกสถานการณ์บังคับว่า สภาฯนี้จะต้องทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ หนุนช่วย รวมทั้งผลักดันนโยบายในระดับรัฐ ตลอดจนทำความเข้าใจกับสังคมว่า ผู้ที่ไม่พอใจกับระบบการศึกษาที่รัฐกำลังดำเนินการอยู่ หรือผู้ที่ลูกของตนไม่ยอมไปโรงเรียนนั้น พวกเหล่านี้มีทางออก และสามารถจัดการศึกษาตามความต้องการของตนเองได้

คำว่า
“การศึกษาทางเลือก” เป็นคำที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่ขณะนี้สภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้ออกกฎหมายมารองรับแต่อย่างใด

สภาการศึกษาทางเลือกจึงเกิดขี้นชนิดที่เป็น
“ไฟต์บังคับ”  ดังที่กล่าวแล้ว
เมื่อ 31 สิงหาคม 53   ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม “สภาการศึกษาทางเลือก ครั้งที่ 1”  ซึ่งจัดโดยเครือข่ายคนทำงานด้านการศึกษาทางเลือกทั่วประเทศ  มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่าหนึ่งร้อยคน ผมเองไม่ได้มีตำแหน่งใดสภาการศึกษาทางเลือก แต่เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรเล็ก ๆ ในเครือข่ายที่ชื่อว่า “ศูนย์พลเมืองเด็กสงขลา” จึงขอถือโอกาสนี้นำเรื่องราวมาเล่าให้ท่านผู้อ่าน “ประชาไท” ดังนี้

ท่านผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยว่า
“การศึกษาทางเลือก” คืออะไร  ผมขอเรียนว่า นอกจากจะเป็นคำถามที่ตอบยากในเนื้อที่อันจำกัดแล้ว ในที่ประชุมเองก็กำลังครุ่นคิด ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันในเรื่องนิยามนี่แหละครับ

ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนหนึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่สังคมไทยรู้จักกันดี เช่น คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา (วัยกว่า
80 ปี) แห่งโรงเรียนดรุณสิขาลัย  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา แห่งโรงเรียนสัตยาไสย  รศ. ประภาภัทร นิยม  ผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ  คุณครูรัชนี ธงไชย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กเมื่อ 30 ปีมาแล้ว เป็นต้น

ดร.อาจอง กล่าวว่า
“ระบบการศึกษาไทยล้มเหลวมาตลอด เพราะเน้นการสร้างคนเก่ง เน้นการแข่งขันเพื่อเอาชนะ มีการกวดวิชากันมาก แต่คนเก่งก็สร้างปัญหาเพื่อเอาชนะคนอื่นให้ได้ ปัญหาของประเทศนี้มาจากคนเก่ง ความจริงเด็กทุกคนมีศักยภาพ ถ้าเราพัฒนาเขาถูกต้อง  แต่ถ้าเราให้เขาศึกษาตามที่เราชอบ เขาก็จะไม่รู้จักตนเอง”

รศ.ประภาภัทร กล่าวว่า
“เพราะกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างนี้ จึงได้ผลักให้พวกเราต้องมาอยู่ในที่ประชุมแห่งนี้ เราต้องมาจัดการศึกษาทางเลือกของพวกเราเอง”          

หากพิจารณาในภาพรวม จากรายงานสภาวะการศึกษาไทยปี
2551/2552     ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง บทบาทการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม  โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล  ได้สรุปไว้อย่างชัดเจนว่า  
 
“การจัดการศึกษาของไทยเท่าที่ผ่านมายังไม่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากพอที่จะไปแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศใเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนได้”

ข้อมูลเหล่านี้คงมีเหตุผลพอที่จะทำให้คนจำนวนหนึ่งต้องลุกขึ้นมาจัดการศึกษากันเอง และบางส่วนได้ทำมาอย่างยาวนานแล้วด้วย

ข้อมูลล่าสุดที่ผมได้รับ พบว่า คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของเด็ก ม
.6 ทั่วประเทศ เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมาเฉลี่ยอยู่ที่ 18%  ทำนองเดียวกัน ภาควิชาที่ผมทำงานอยู่ได้จัดทดสอบความรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นให้กับนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง(ที่สอบเข้ามาได้แล้ว) ก็สอบเป็นการวัดความรู้เบื้องต้นจริง ๆ แค่บวก ลบเศษส่วน การกระจายวงเล็บและแทนค่าฟังก์ชัน ผลการทดสอบพบว่า มีนักศึกษาผ่านระดับ 50% เพียงแค่ร้อยละ 19 จากทั้งหมดประมาณ 600 คน

เท่าที่ผมทราบจำนวนครอบครัวที่ไม่ยอมส่งลูกไปโรงเรียนและเปิดสอนด้วยตนเอง ที่บ้าน (
homeschooling)  นั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ   ในสหรัฐอเมริกาเองก็มีจำนวนถึงกว่า 2  ล้านคนหรือกว่า 2.7% ของเด็กทั้งหมด

สิ่งที่ผมประทับใจมากและนำมาเล่าในที่นี้ก็คือ เหตุการณ์ระหว่างพักการประชุม
  ผู้จัดได้นำวิดีโอซึ่งเป็นหนังสารคดีสั้น ๆ ออกมาฉาย คือเรื่อง  Children Full of Life  ซึ่งผมขอแปลว่า  “โรงเรียนชีวิตของเด็กญี่ปุ่น”  ท่านผู้อ่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนตได้ที่ (http://www.arsomsilp.ac.th/?p=3298) ซึ่งเป็นความกรุณาของสถาบันอาศรมศิลป์  โดยมูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ  พร้อมด้วยคำบรรยายสั้น ๆ พอเข้าใจด้วยอักษรไทย

ผมตัดสินใจนำเรื่องนี้มาเขียนก็เพราะต้องการขยายผลครับ
  สิ่งดี ๆ เราต้องช่วยกันขยายครับ

เหตุเกิดกับชั้นเรียนชั้น ป
4/1 โรงเรียนแห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว  ถ่ายทำเมื่อปี 2546  ผู้ถ่ายได้นำกล้องไปติดไว้ในชั้นเรียนตลอดทั้งปี  ดังนั้นท่าทางการแสดงออกของเด็ก 10 ขวบจึงออกมาอย่างเป็นธรรมชาติมาก  ไม่ใช่การแสดง แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง  สารคดีชิ้นนี้ผลิตโดย NHK และได้รับรางวัล Global Television Grand Prize

ครูประจำชั้นได้ตั้งเป้าหมายพื้นฐานไว้ว่า ในชั้นเรียนผู้เรียนต้องมีความสุขและเราจะร่วมกันดูแลคนอื่นได้อย่างไร
วิธีการของครูประจำชั้น (ครูโตชิโร คานาโมริ) ก็คือ ให้เด็กทุกคนเขียนบันทึกทุกวัน แล้วนำมาอ่านดัง ๆ หน้าชั้นเรียนให้เพื่อนฟัง กติกาก็คือต้องเขียนเรื่องจริงที่เป็นความรู้สึกจริง ๆ มาจากภายในของตนเอง

ด้วยกระบวนการเช่นนี้เด็ก ๆ ได้เริ่มต้นเพื่อทำให้เห็นจริงถึงความสำคัญของการเอาใจใส่ผู้อื่น
  ครูคานาโมริบอกว่า “ความรู้สึกที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก”

ผมจดคำพูดนี้มาได้ตั้งแต่การชมครั้งแรก
  ผมพูดในเวทีการศึกษาทางเลือกว่า ประโยคที่ว่านี้ไม่สามารถสอนกันได้ด้วยตำราเล่มใดในโลก นอกจากการเผชิญกับประสบการณ์จริง

เด็กคนหนึ่งพูดถึงความตายของย่าของตน
  ส่งผลให้เด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งต้องสูญเสียพ่อของเธอ แต่เธอไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง เธอเก็บความทุกข์มาครึ่งชีวิตเพราะเกรงว่าเพื่อนจะรู้ว่าตนไม่มีพ่อเหมือนเพื่อน ๆ คนอื่น  แต่หลังจากนั้นเธอก็กล้าพูดถึงพ่อของเธออย่างภูมิใจและมีความสุข  กระบวนการเปลี่ยนแปลงตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมากๆ

มีอยู่ตอนหนึ่ง
  เด็ก ๆ ตื่นเต้นมากที่จะได้ล่องแพที่พวกเขาร่วมกันทำมันขึ้นมาเอง  หลายคนสมัครใจมาโรงเรียนเช้ากว่าปกติเพื่อมาทำกิจกรรมทำแพ

แต่มีเรื่องที่คิดไม่ถึงเกิดขึ้น เมื่อเด็กคนหนึ่งถูกครูทำโทษไม่ให้ล่องแพเพราะชอบคุยในชั้นเรียน ครูเตือนแล้วก็ไม่ฟัง ปรากฎว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของครู

“มันเป็นเรื่องอันตรายมากที่ จะลุกขึ้นมาท้าทายกับอำนาจ” 
แต่เพื่อน ๆ ก็มีความกล้าที่จะแสดงเหตุผลกับครู
“รุนแรงเกินไป ก็แค่คุยในห้องเรียนเท่านั้น”  “มันไม่ใช่แพของครู”  “การคุยในชั้นเรียนกับการทำแพมันเป็นคนละเรื่องคนละเหตุการณ์” และอื่น ๆ อีกเยอะที่เป็นเหตุผลของเด็ก ๆ  พวกเขาจะไม่ยอมล่องแพ หากว่าเพื่อนคนนี้ต้องยืนรอริมฝั่ง ในที่สุดครูประจำชั้นก็เห็นด้วยกับเหตุผลของเด็ก และอนุญาตให้เพื่อนคนนั้นล่องแพได้

สารคดีชุดนี้มี
5 ตอน แต่ละตอนยาวไม่ถึง 10 นาที แม้บางตอนผมได้ชมมา 3 ครั้งแล้ว แต่ก็ยังอยากดูอีก เพราะยังเก็บรายละเอียดที่สำคัญได้ไม่หมด แต่สิ่งหนึ่งที่ผมจับมาได้ก็คือ ในชั้นเรียนเด็ก ๆ นั่งกันตามสบาย บางคนวางเท้าบนเก้าอี้ ครูก็ไม่ว่าอะไร

อย่าลืมนะครับ ติดตามชมสารคดีรางวัลระดับโลกกันแล้วจะเกิดแง่คิดทางปัญญาที่ลึกซึ้งของชีวิตสำหรับคนทุกคนทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะกับเด็กเท่านั้น
 
 

 

ความเห็น

Submitted by น้ำลัด on

การศึกษาของไทยกำลังมุ่งไปสู่วิถีการแก่งแย่งแข่งขันกันอย่างรุนแรง
เป็นการบ่มเพาะนิสัยการแก่งแย่งแข่งขัน ไปสู่ในอาชีพการงานและวิถีชีวิตประจำวัน
ผู้สอนก็ไร้จรรยาบรรณมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมสอนในห้องเรียนปรกติ
เป็นการบังคับเด็กทางอ้อมให้ไปติว ให้ไปเรียนพิเศษ จนกลายเป็นธุรกิจพันล้านหมื่นล้านไปแล้ว

สังคมไทยที่เคยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในอดีตจึงถูกทำลายไปเรื่อยๆ
เราโทษใครไม่ได้เลยครับ เราทำให้มันเป็นอย่างนั้นกันเอง

ขอบคุณสำหรับการนำเสนอแนวคิดการศึกษาที่ดูเป็นธรรมชาติ และน่าจะสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นครับ

Submitted by ประสาน on

เรียนท่านอาจารย์ประสาทที่นับถือ....ผมได้รับชมเว็ปที่ท่านแนะนำแล้ว...มีความซาบซึ้งและเห็นคล้อยกับความเห็นของท่าน และผมได้ส่งเว็ปนี้ให้เพื่อนครูของผมได้รับชมด้วย...ผมขอให้ผลแห่งความดีงามที่เกิดแก่ผู้ชม..นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา ผมขอให้ความดีนี้จงประสบแด่ท่านอาจารย์ตลอดไป และผมขอนำไปสอนนักศึกษาต่อด้วยนะครับ

Submitted by wijcha on

คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา (วัยกว่า 80 ปี) แห่งโรงเรียนดรุณสิขาลัย

ผมได้พูดคุยกับท่านอย่างใกล้ชิด ท่านบอกว่า การศึกษาเพื่อพัฒนาเด็ก ครูต้อง "อัตตาต่ำ" ในโรงเรียนของท่านจะไม่ใช้ครู เพราะครูชอบสอน

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา แห่งโรงเรียนสัตยาไสย

ผมเคยฟังท่านบรรยาย ท่านใช้ความรักความเมตตา

รศ. ประภาภัทร นิยม ผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ

ผมคยกับท่านอย่างใกล้ชิด ท่านเน้น กัลยาณมิตร ให้เด็กเกิด โยนิโสมนสิการ

คุณครูรัชนี ธงไชย ผู้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านเด็กเมื่อ 30 ปีมาแล้ว เป็นต้น

ผมคุยกับคุณครูหมู่บ้านเด็ก เน้น Maslow

ชอบ และ ประทับใจมากครับ

Submitted by กีรติ on

ขอบคุณอาจารย์ประสาทที่นำสิ่งดีๆ มานำเสนอแก่สังคม
หากเราดูวิวัฒนาการของการศึกษาไทยก็พอจะรู้ว่าเส้นกราฟไม่ได้ขึ้นสูง
การมุ่งเน้นแต่คะแนนและผลการศึกษาจะมีประโยชน์อะไรกับชีวิตเด็ก
คงมีหลายคนและหลายองค์กรพยายามช่วยคิด ช่วยทำ เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาไทย
แต่ยิ่งทำกลับยิ่งตกเหว....ถ้ามีสถานภาพเป็นพ่อแม่เด็กสักคนหนึ่งในปัจจุบัน คงต้องคิดหนัก
สงสารผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่ไม่มีทางเลือก เมื่อมองย้อนกลับไปสมัยที่พ่อแม่เรายังเป็นเด็ก
แม้การศึกษาไทยจะธรรมดาๆ แต่เห็นว่า พ่อแม่เราท่านฉลาดและเอาตัวรอดในสังคมได้มากกว่าเด็กสมัยนี้
เพราะอะไร....ช่วยหาคำตอบที

“คดีโลกร้อน” กับ “เทวดาท่าจะบ๊องส์”

 

 

“คดีโลกร้อน”
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย 

ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงได้ประโยชน์จากรัฐบาล “ประชานิยม”

22 December, 2010 - 12:08 -- prasart
 
 
ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี

ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว

บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย

ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท สองราย พบว่าแต่ละรายใช้ไฟฟ้าเกิน 90 หน่วยไปเพียงเล็กน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ใช้ไป 112 หน่วย ก็ต้องจ่ายทั้งหมด 112 หน่วย ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกินจาก 90 หน่วยเท่านั้น

ค่าไฟฟ้าสำหรับ 112 หน่วย คิดเป็นเงิน 350 บาท (ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีหน่วยละ 92 สตางค์หรือ 103.04 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.89 บาท หมายเหตุ ในเดือนตุลาคม 2550 ค่าเอฟทีหน่วยละ 66 สตางค์) ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เงิน 350 บาทนี้ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน”

จากการพูดคุยดังกล่าวจึงเกิดเป็นโจทย์ให้ต้องขบคิดว่า “จะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงไม่เกิน 90 หน่วย” เราจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและกำลังของแต่ละชนิด        

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ได้แก่ หลอดไฟฟ้า (หลอดละ

18 วัตต์) หม้อหุงข้าว (750 วัตต์) โทรทัศน์สี (120 วัตต์) พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์) ตู้เย็น (125 วัตต์ ขนาด 7 คิว ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 37 หน่วย) เครื่องซักผ้า (330 วัตต์) เตารีดผ้า (1,200 วัตต์) กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์) และเครื่องบดเครื่องแกง (140 วัตต์)

ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ: ภาคกิจการไฟฟ้า

25 November, 2010 - 12:48 -- prasart

 

 

คำนำ

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า 
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง
“ความเหลื่อมล้ำ” ทางการกระจายรายได้ และการถือครองที่ดิน ฯลฯ นอกจากนี้ ผมได้ติดตามแถลงการณ์ของ “กลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายอีก 37 องค์กร”  พบว่าไม่มีประเด็นที่บทความนี้จะกล่าวถึงแต่อย่างใด

การจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ได้ เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในกลไกการใช้อำนาจรัฐ และที่มาของความเหลื่อมล้ำกันก่อน
 

ภัยธรรมชาติถี่ขึ้น เพราะโลกร้อนขึ้น : คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย

15 November, 2010 - 10:33 -- prasart
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 

โรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร: โหมเราเอาพรื่อ หรือว่าเรา “เต้นตามจังหวะกลองที่เขาตี”?

28 October, 2010 - 13:02 -- prasart
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์ 

ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า

1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด