ภัยธรรมชาติถี่ขึ้น เพราะโลกร้อนขึ้น : คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย

15 November, 2010 - 10:33 -- prasart
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 
1. คำนำ

ภายในระยะเวลาไม่ถึง 30 วันของปลายปี 2553 ภัยพิบัติจากธรรมชาติได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยกว่าครึ่งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมภาคอีสาน ภาคกลาง รวมทั้งพายุและดินถล่มในภาคใต้ และถ้าเราสังเกตให้ดีจะพบว่าในระหว่างที่คนไทยกำลังประสบภัยพิบัติอยู่ ในบางประเทศก็กำลังผจญกับภัยธรรมชาติอีกแบบหนึ่งคือภูเขาไฟระเบิด

บทความนี้จะไม่ขอพรรณนาถึงความเสียหายในภาพรวมที่เกิดขึ้น เพราะท่านผู้อ่านคงได้รับทราบจากสื่อต่างๆเรียบร้อยแล้ว แต่จะขอนำผลการวิจัยทั้งของนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย เพื่อที่จะอธิบายว่า (1) ทำไมภัยธรรมชาติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพายุขนาดใหญ่) จึงเกิดถี่และดุร้ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก และ (2) บริษัทประกันภัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกได้ศึกษาเรื่องค่าเสียหายจากการประกันภัยในอนาคตว่าอย่างไร
 
2. ประวัติพายุในประเทศไทย

ในช่วง 50 ปีมานี้ ประเทศไทยเราได้ประสบกับภัยจากพายุหรือวาตภัยครั้งใหญ่ ๆ จำนวน 4 ครั้ง นับตั้งแต่ (1) พายุโซนร้อน
“แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2505  (2) อีก 27 ปีต่อมา พายุไต้ฝุ่น “เกย์” พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร ปี 2532 (3) อีก 8 ปีถัดมาอีกพายุไต้ฝุ่น “ลินดา”  พฤศจิกายน 2540 ใน 11 จังหวัดภาคใต้และภาคตะวันออก  และล่าสุด (4) พายุดีเปรสชัน เมื่อ วันที่ 1  พฤศจิกายน 2553 โดยเริ่มขึ้นฝั่งที่จังหวัดปัตตานีด้วยความเร็ว 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าสงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ตรัง และออกจากกระบี่เวลา 13.00 น. ของวันรุ่งขึ้นด้วยความเร็วลม  45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  

ผมเองมีประสบการณ์ตรงถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกและสองครั้งหลัง โดยเฉพาะครั้งแรกผมอยู่ห่างจากแหลมตะลุมพุกที่มีคนเสียชีวิตและสูญหายประมาณหนึ่งพันคนเพียง 4 กิโลเมตร เกือบเอาชีวิตไม่รอดได้เห็นศพไม่น้อยกว่า 5 ศพและยังจำภาพติดตามาถึงทุกวันนี้

แม้ความเร็วลมในครั้งหลังสุดจะน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ได้สร้างความเสียหายในทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก อาจจะมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาหลายเท่าตัว
           
3. ผลการวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ 

จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร
“Nature” (3 กันยายน 2008) พาดหัวว่า “พายุเกิดถี่ขึ้นเพราะปัญหาโลกร้อน” พร้อมเสริมว่า “ความเร็วสูงสุดของพายุโซนร้อนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา”  

ข้อโต้เถียงกันว่า ความแรงของลมพายุ ความถี่ในการเกิด และระยะเวลาในการเกิดพายุมีความสัมพันธ์กับภูมิอากาศของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นหรือไม่ จากความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์และการศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่า   น้ำในมหาสมุทร์ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีพลังงานมากขึ้น แล้วพลังงานนี้จะแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานลม

รายงานฉบับนี้ยังบอกอีกว่า
“อุณหภูมิของน้ำที่ผิวบนของทะเลที่สูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส จะทำให้ความถี่ในเกิดพายุ (ชนิดความเร็วระดับสูงสุดและรองสูงสุด) ถึง 31%  คือจะเพิ่มขึ้นจากปีละ 13 ครั้งเป็น 17 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ในปี  ค.ศ. 2100  หรืออีก 90 ปี อุณหภูมิของน้ำทะเลจะเพิ่มเป็น 2 องศาเซียลเซียส”

ด้วยข้อมูลดังกล่าว เราคงคาดการณ์ได้เองว่า ความถี่จะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน ประวัติของพายุในประเทศไทยที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ 2 คงพอจะเป็นพยานได้ดีถึงแนวโน้วดังกล่าว
 
4. คำเตือนจากบริษัทประกันภัย

ปัจจุบัน ภัยธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ ๆ ได้เกิดขึ้นมากและบ่อยกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้วถึง 3 เท่าตัว และถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้  บริษัทประกันภัยที่ชื่อย่อว่า
CGNU ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลกและใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า “ความสูญเสียจากภัยธรรมชาติทั่วโลกในปี พ.ศ. 2608  จะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลกรวมกัน”

เฉพาะพายุเฮอริเคน
“Katrina” เพียงครั้งเดียวในปี 2548 ที่รัฐนิวออร์ลีน สหรัฐอเมริกา บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายสูงถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2 ล้านล้านบาทหรืองบประมาณของรัฐบาลไทยปี 2553) แต่ความเสียหายที่เจ้าของทรัพย์ต้องเสียไปจะมากกว่านี้ประมาณ 3- 4  เท่าตัว  

รายงานอีกฉบับหนึ่งกล่าวว่า
“ในประเทศยากจนหรือประเทศกำลังพัฒนา คนส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญญาจะทำประกันภัย มีเพียงน้อยกว่าร้อยละ 10 ของทรัพย์สินส่วนบุคคลเท่านั้นที่ได้ทำประกันภัย”

เจ้าของร้านขายคอมพิวเตอร์ร้านหนึ่งในหาดใหญ่บอกผมว่า
“ปกติร้านเราจะทำประกันภัยรวมทั้งน้ำท่วมทุกปี แต่มาถึงตอนต่อสัญญาปีนี้ทางบริษัทประกันได้ตัดเงื่อนไขน้ำท่วมออกไป โดยไม่บอกให้ทางร้านรู้เลย ราวกับบริษัทเป็นนกรู้แฮะ เพื่อน ๆ ร้านอื่นก็โดนแบบนี้เหมือนกัน”
 
5. ทัศนะของนักการเมืองกับโลกร้อน

สำหรับสาเหตุของโลกร้อนที่ทำให้เกิดพายุบ่อยและแรงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกได้สรุปตรงกันว่า มาจากการใช้พลังงานหลัก 3 ชนิด คือ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติรวมกันถึง 70% ของสาเหตุทั้งหมดที่มนุษย์ก่อขึ้น แต่ผู้นำทั้งระดับโลกและระดับประเทศไม่สนใจจะแก้ไขอย่างจริงยัง ทั้ง ๆ ที่มีทางเลือกจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล เป็นต้น

ในเดือนมกราคม 2548 ประธานองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (
IPCC) ได้กล่าวในที่ประชุม 114 ประเทศว่า “ชาวโลกได้มาถึงระดับที่อันตรายเรียบร้อยแล้วเพราะระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันตราย” พร้อมกับเรียกร้องให้ทั่วโลกช่วยกันลด “ในทันที” แต่ไม่มีอะไรเป็นมรรคเป็นผล   แม้กระทั่งการประชุมระดับโลกที่กรุงโคเปนเฮเกนเมื่อปลายปี 2552 ก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
 
6. สรุป

จากที่ได้กล่าวมาแล้ว ภัยธรรมชาติเป็นผลมาจากปัญหาโลกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุระดับโลกเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่นได้ร่วมกันก่อขึ้นมา  เช่น ทิศทางการพัฒนาที่มุ่งแต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี โดยไม่คำนึงถึงสมดุลของระบบนิเวศน์  การสนใจแต่ภาคการส่งออกของกลุ่มทุนต่างชาติและนายทุนชาติส่วนน้อย ไม่สนใจปัญหาของประชาชนส่วนใหญ่ เป็นต้น

เมื่อสองภัยนี้มาประสาน คนส่วนใหญ่ก็เดือดร้อนอย่างที่ทราบกันแล้วและจะยิ่งรุนแรงกว่าเดิม จนสักวันหนึ่งแม้รัฐบาลและระบบทุนเองก็จะประสบกับภัยพิบัติเช่นกัน

แต่คราวนี้อาจจะไม่ใช่ภัยธรรมชาติแล้วนะครับ แต่จะเป็น “ภัยสังคม” ในความหมายของจริงที่เราเริ่มเห็นลางๆ กันบ้างแล้วนั่นเอง. 

 

 

ความเห็น

Submitted by น้ำลัด on

ความล่มสลายของระบบทุนนิยมมัน
น่าจะสัมพันธ์กันกับความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่มากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ปัญหาความขัดแย้งในการจัดสรรทรัพยากรก็ต้องเพิ่มมากขึ้น
ระบบทุนนิยมอาจจะไม่ใช่วิธีการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมอีกต่อไป

อาจจะมีวิธีการจัดสรรทรัพยากรแบบใหม่เกิดขึ้น
หรืออาจจะต้องกลับไปใช้วิธีก้อนหินทุบหัวแบบยุคแรกเริ่ม

Submitted by แสงดาว ศรัทธามั่น on

อาจารย์ประสาทฯ คับแล้พวกมนุษย์อวิชชาทุนนิยมโลกาินาศสุโต่งเขาจะเชื่อไหมเนี่ย ขอบคุณอาจารย์ที่บอกให้คนได้รับรู้ รำลึกถึงอาจารย์เสมอคับ ขอให้อาจารย์นักวิชาการของประชาชน ของสังคม ของโลกชีิิวิต มีสุขภาพแข็งแรง คาระรำลึก คับ

“คดีโลกร้อน” กับ “เทวดาท่าจะบ๊องส์”

 

 

“คดีโลกร้อน”
เป็นชื่อที่ใช้เรียกคดีที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นโจทก์ฟ้องผู้บุกรุกป่า ผู้บุกรุกต้องชดใช้ค่าเสียหาย 

ที่ผ่านมามีเกษตรกรถูกฟ้องดำเนินคดีไปแล้วหลายสิบรายทั่วประเทศ ในช่วงปี 2549-52 ในจังหวัดตรังและพัทลุงมีราษฎรถูกดำเนินคดีไปแล้ว 13 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว 7 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินคดี 6 ราย กรมอุทยานฯ ได้เรียกค่าเสียหาย 20.306 ล้านบาท แต่ศาลพิพากษาให้จ่าย 14.76 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี

ใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงได้ประโยชน์จากรัฐบาล “ประชานิยม”

22 December, 2010 - 12:08 -- prasart
 
 
ขณะนี้รัฐบาลกำลังคิดค้นโครงการประชานิยมหลายอย่าง คาดว่าจะประกาศรายละเอียดภายในต้นปี 2554   ทั้งนี้เพื่อรองรับการเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี

ทำไปทำมานโยบายประชานิยมที่เริ่มต้นอย่างประปรายตั้งแต่รัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช (2518) และเริ่มเข้มข้นมากขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จะเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้เสียแล้ว

บทความนี้จะกล่าวถึงนโยบายประชานิยมในเรื่องค่าไฟฟ้าสำหรับผู้อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้ารายย่อยไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน โครงการนี้เกิดในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (2551) และใช้ต่อกันมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันและในอนาคตด้วย

ผมได้มีโอกาสคุยกับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในชนบท สองราย พบว่าแต่ละรายใช้ไฟฟ้าเกิน 90 หน่วยไปเพียงเล็กน้อย  เมื่อเป็นดังนี้ ผู้ใช้ต้องจ่ายทั้งหมด เช่น ใช้ไป 112 หน่วย ก็ต้องจ่ายทั้งหมด 112 หน่วย ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เกินจาก 90 หน่วยเท่านั้น

ค่าไฟฟ้าสำหรับ 112 หน่วย คิดเป็นเงิน 350 บาท (ในจำนวนนี้เป็นค่าเอฟทีหน่วยละ 92 สตางค์หรือ 103.04 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.89 บาท หมายเหตุ ในเดือนตุลาคม 2550 ค่าเอฟทีหน่วยละ 66 สตางค์) ผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งสองต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า “เงิน 350 บาทนี้ไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 500 บาทต่อเดือน”

จากการพูดคุยดังกล่าวจึงเกิดเป็นโจทย์ให้ต้องขบคิดว่า “จะต้องใช้ไฟฟ้าอย่างไร จึงไม่เกิน 90 หน่วย” เราจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าและกำลังของแต่ละชนิด        

เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ได้แก่ หลอดไฟฟ้า (หลอดละ

18 วัตต์) หม้อหุงข้าว (750 วัตต์) โทรทัศน์สี (120 วัตต์) พัดลมตั้งโต๊ะ (50 วัตต์) ตู้เย็น (125 วัตต์ ขนาด 7 คิว ใช้ไฟฟ้าเดือนละ 37 หน่วย) เครื่องซักผ้า (330 วัตต์) เตารีดผ้า (1,200 วัตต์) กระติกต้มน้ำ (750 วัตต์) และเครื่องบดเครื่องแกง (140 วัตต์)

ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ: ภาคกิจการไฟฟ้า

25 November, 2010 - 12:48 -- prasart

 

 

คำนำ

เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้สังคมไทยเรากำลังมีความขัดแย้งรุนแรงครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จนรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้นมาหลายชุด หนึ่งในนั้นคือ คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยมีคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน

เมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นขึ้น โดยขึ้นคำขวัญซึ่งสะท้อนแนวคิดรวบยอดของการปฏิรูปประเทศไทยว่า 
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ”

ผมเองได้ติดตามชมการถ่ายทอดโทรทัศน์จากรายการนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการรับฟังความคิดเห็น ได้ชมวีดิทัศน์ที่บอกถึง
“ความเหลื่อมล้ำ” ทางการกระจายรายได้ และการถือครองที่ดิน ฯลฯ นอกจากนี้ ผมได้ติดตามแถลงการณ์ของ “กลุ่มเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายอีก 37 องค์กร”  พบว่าไม่มีประเด็นที่บทความนี้จะกล่าวถึงแต่อย่างใด

การจะ
“ลดอำนาจรัฐ ขจัดความเหลื่อมล้ำ” ได้ เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจในกลไกการใช้อำนาจรัฐ และที่มาของความเหลื่อมล้ำกันก่อน
 

ภัยธรรมชาติถี่ขึ้น เพราะโลกร้อนขึ้น : คำเตือนจากนักวิทยาศาสตร์และบริษัทประกันภัย

15 November, 2010 - 10:33 -- prasart
 

“...ถ้าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้น 1 องศาเซียลเซียส ความถี่ที่จะเกิดพายุชนิดรุนแรงจะเพิ่มขึ้นอีก 31% ... ในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 2 องศา”  

“ผลการวิจัยพบว่า ค่าความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะมากกว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของคนทั้งโลก ทั้งนี้ภายในก่อนปี พ.ศ. 2608”
 

โรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร: โหมเราเอาพรื่อ หรือว่าเรา “เต้นตามจังหวะกลองที่เขาตี”?

28 October, 2010 - 13:02 -- prasart
ขณะนี้ทางรัฐบาลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (หรือ กฟผ.) กำลังเสนอให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 700 เมกกะวัตต์ 

ชาวหัวไทรที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องนี้อาจเกิดความสงสัยหลายอย่าง เป็นต้นว่า

1.โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกกะวัตต์นั้น มันใหญ่เท่าใด ไฟฟ้าที่ผลิตมาได้จะใช้ได้สักกี่ครอบครัวหรือกี่จังหวัด