เมื่อ ไทย- กัมพูชา หันหน้ากันคนละทาง สร้างดาวกันคนละดวง

 

เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด ที่น่าเศร้าคือปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่นั้นไม่ได้ถูกสร้างโดยคนในพื้นที่และคนในพื้นที่เองไม่ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา>

ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ หากพูดด้วยใจเป็นธรรมแล้วสามารถเรียกได้ว่า ขิงก็ราข่าก็แรงทั้งสองฝ่าย กล่าวคือทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาต่างยึดจุดยืนของตนเองโดยไม่ได้เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ปัญหาถูกโยงไปด้วยเรื่องทางการเมืองของทั้งสองประเทศ เริ่มตั้งแต่ที่นายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น ของกัมพูชาที่ต้องการแสดงแสนยานุภาพให้เทียบเท่ากษัตริย์สีหนุ ผู้เคยสามารถทำให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้การครอบครองของกัมพูชาได้สำเร็จ โดยฮุน เซ็นดำเนินการต่อด้วยการพยายามนำปราสาทพระวิหารไปจดทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว แม้ว่าพื้นที่รอบๆปราสาทประวิหารนั้นก็ยังไม่ได้รับการปักปันเขตแดนกันอย่างชัดเจน โดยการบริหารจัดการมรดกโลกนั้นจะต้องหมายรวมถึงพื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหารด้วย จึงเป็นเหตุว่าไทยไม่สามารถให้กัมพูชาบริหารจัดการฝ่ายเดียวได้ เพราะยืนยันว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นอาณาเขตของไทย

การเจรจาภายใต้ข้อตกลงระดับทวิภาคีจึงเกิดขึ้น ทว่า ในขณะเดียวกันฝ่ายไทยเอง ก็มีกลุ่มการเมืองที่เชื่อว่าการเจรจาและข้อตกลงระหว่างสองประเทศที่รู้จักกันดีในชื่อย่อว่า  MOU 43  นั้นฝ่ายไทยจะเสียเปรียบและอาจต้องเสียพื้นที่ทับซ้อนนั้นให้กับกัมพูชาไปทั้งหมด กลุ่มการเมืองกลุ่มนี้จึงสร้างกระแสรักชาติโดยอ้างวาทกรรม “ไม่ยอมเสียดินแดนแม้ตารางนิ้วเดียว” และใครก็ตามที่ทำให้เสียดินแดนก็กลายเป็น “คนขายชาติ” ไม่สมควรมีหน้าอยู่ในประเทศนี้ฐานที่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตย ฝ่ายรัฐบาลเอง เพื่อรักษาสถานภาพทางการเมืองและเพื่อแสดงให้เห็นรัฐบาลชุดปัจจุบันนั้นมีศักยภาพจึงไปติดกับดักวาทกรรมดังกล่าวโดยย้ำว่า “ไม่ยอมทำให้เราต้องเสียดินแดนเด็ดขาด” จึงทำให้การเจรจาในแต่ละครั้งล้มเหลวมาโดยตลอด เพราะเป้าหมายที่วางไว้นั้นอยู่คนละจุดกัน ทั้งที่จริงๆ แล้วดินแดนของใครอยู่ตรงไหนกันแน่ก็ยังไม่แน่ชัดเพราะต่างก็รู้กันว่าการปักปันเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ ครั้นจะอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็คงยิ่งจะสับสนว่าจะให้อ้างไปถึงยุคไหน พ.ศ.ใด และต่างฝ่ายก็ถือหลักฐานทางประวัติศาสตร์คนละชุดกันในการเจรจา

ความตึงเครียดเกิดขึ้นหนักจนถึงขั้นต้องใช้กำลังทหาร ที่ฝ่ายไทยนั้นใช้คำว่า “การปะทะตามแนวชายแดน” เพื่อให้เห็นว่านี่เป็นเรื่องการกระทบกระทั่งกันเพียงเล้กน้อย แต่กัมพูชายกระดับโดยใช้คำว่า “เป็นสงครามระหว่างไทยกับกัมพูชา”  ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่าการจัดการกันเองโดยการเจรจานั้นเป็นไปไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยกองกำลังสหประชาชาติเข้ามาดูแลพื้นที่เพื่อความสงบสุขของประชาชนในพื้นที่ และที่เหนือกว่านั้นสิ่งที่รับรู้กันภายในก็คือ เป็นการเสริมบารมีให้กับบุตรชายของนายกรัฐมนตรีฮุน เซ็นเองที่ผู้เป็นพ่อเพิ่งแต่งตั้งให้ไปเป็นผู้บัญชาการทหาร โดยการก้าวข้ามลำดับอาวุโสของอีกหลายๆ คนไป การรบก็จะถือเป็นการประกาศศักดาได้ระดับหนึ่ง

ทั้งนี้  ในการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องเขตแดนนั้นเกิดมาแล้วทั่วโลกและแม้กระทั่งของไทยเองกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่การแก้ไขปัญหานั้นยุติได้โดยไม่มีการรบด้วยอาวุธ เพราะเป็นที่รู้กันอยู่ว่า ในโลกยุคใหม่นั้นการสู้รบกันจนสามารถไปยึดดินแดนกันได้นั้นเป็นไปได้น้อยมาก การสู้รบจะนำมาซึ่งการสูญเสียของทั้งสองฝ่าย ทั้งในเรื่องของงบประมาณ ทรัพยากร กำลังคน ความเสียหายทางเศรษฐกิจและที่สำคัญที่สุดคือ ภาวะทางจิตใจของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สู้รบ ที่อาจต้องใช้เวลานานในการเยียวยา

ดังนั้น การแก้ปัญหาในแนวทางอย่างประเทศในยุโรปหลังสงครามโลกนั้นก็มีหลายประเทศที่มีปัญหาเรื่องเขตแดนกันอยู่ อย่างเช่น เยอรมันกับฝรั่งเศสที่สู้รบกันมายาวนานเช่นกัน แต่ในที่สุดการเกิดขึ้นของสหภาพยุโรปก้าวพ้นเรื่องปัญหาทางการเมือง เน้นให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจ หาทางสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน ทำการค้าร่วมกัน เมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกัน สงครามก็ไม่เกิดอีก ในขณะเดียวกันกรณีปัญหาไทยกับมาเลเซียในอดีตก็เคยใช้การแลกที่ศาลเจ้ากับมัสยิดซึ่งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ ประชาชนทั้งสองฝั่งก็มีความสุขดี และสามารถปักปันเขตแดนกันได้ชัดเจนกันไปว่าส่วนไหนเป็นของใคร  หรือในยุคใหม่ปัจจุบันที่มีพื้นที่ทับซ้อนกันเมื่อมองเห็นประโยชน์ร่วมกันเป็นที่ตั้งก็ใช้วิธีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas–JDS) มาดูแลร่วมกัน

ในกรณีพื้นที่พระวิหารนั้นหากยืนอยู่ในความเป็นปัจจุบันและมุ่งไปยังอนาคตโดยมองเอาประโยชน์ระยะยาวของทั้งสองประเทศ และความสงบสุขของประชาชนเป็นที่ตั้งแล้ว แนวทางที่จะทำได้นั้นก็เป็นได้ทั้ง 3 แนวทาง ในแนวทางของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งปัจจุบันเราก็มี ชุมชน ASEAN  ที่ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่าภายในปี 2015 หรือ อีก 4 ปีต่อจากนี้ไปเราก็จะเป็นชุมชนเดียวกัน “One ASEAN, One Community”  ที่ประชาชนชาวอาเซียนนั้นสามารถไปมาหาสู่หรือทำมาหากินร่วมกันในฐานะคนในชุมชนเดียวกันอยู่แล้ว ดังนั้นควรจะหันมาสร้างความมั่งคั่งด้วยกันแทนที่จะรบหรือเอาชนะคะคานกันด้วยกำลังทหาร  สร้างจิตใจที่ผูกพันเป็นหนึ่งเดียว “Spirit of ASEAN” เช่นเดียวกับชุมชน EU  

ทว่า ในกรณีที่มองว่า จะอย่างไรเสีย เรายังไม่สามารถไปถึงขั้นเดียวกับ EU ได้และ spirit of ASEAN ไม่มีจริง ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาของ 2 ประเทศที่จะต้องแก้กันเองนั้น จะใช้วิธีการแลกดินแดนกันแบบไทย –มาเลเซียก็ได้ เพราะบนพื้นที่ 800 กิโลเมตรที่เป็นชายแดนไทย-กัมพูชานี้ แน่นอนว่าพื้นที่ทับซ้อนไม่ได้มีเฉพาะพื้นที่ตรงบริเวณรอบเขาพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ก็ลองพิจารณาดูพื้นที่ๆ สมเหตุสมผลก็ได้

ถ้าวิธีนี้เป็นเรื่องที่ยังรับไม่ได้ วิธีการที่ดีที่สุดซึ่งคิดว่าคนส่วนใหญ่ก็ย่อมจะรับได้และมีใครต่อใครก็ออกมาเสนอแนวทางนี้แล้วและประโยชน์ก็จะตกอยู่กับประชาชนทั้งสองฝั่ง รวมทั้งในระดับประเทศทั้งสองประเทศด้วยก็คือ การบริหารจัดการร่วมกัน โดยอาจเรียกว่า “พื้นที่พัฒนาวัฒนธรรมร่วมกัมพูชา-ไทย” หรือ ไทย-กัมพูชา ตามแต่สะดวกปาก จัดตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาช่วยกันดูแล ให้ทางขึ้นเขาพระวิหารอยู่ทั้งสองทางทั้งในเขตไทยและเขตกัมพูชา ผู้คนทั้งสองฝั่งก็จะได้ทำมาหากินอยู่ในบริเวณนั้นและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวจากทั้งสองฝั่ง อย่างนี้จึงจะเป็นได้กับได้ หรือ win-win กันทั้งสองฝ่าย

หากทั้งสองประเทศจะถอยไปตั้งหลักคิดเรื่องนี้เสียใหม่ ในฝ่ายไทยนั้น กลุ่มที่กล่าวอ้างวาทกรรม “เราจะไม่ยอมสูญเสียดินแดนอีกแม้แต่ตารางนิ้วเดียว” นั้น อาจต้องทบทวนใหม่ว่า จริงๆ แล้วอะไรควรเสียหรืออะไรไม่ควรเสีย และบางครั้งได้อย่างก็ต้องเสียอย่างก็ได้ มีบางกลุ่มถวายสัตย์ปฎิญาณต่อพระบรมรูปของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า ว่าจะไม่ยอมเสียดินแดน แต่หากพิจารณาให้ถ้วนถี่ การที่มีเอกราชอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะกุศโลบายหรือวีธีการแก้ปัญหาที่พระองค์ใช้ก็คือ “การยอมสูญเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่” ดังนั้น การเสียจึงเท่ากับการได้ เช่นการยินยอมให้บริหารจัดการพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารร่วมกัน ที่บางกลุ่มมองว่าเท่ากับว่าไทยได้เสียดินแดนไปให้กับกัมพูชานั้นย่อมไม่จริง เพราะเป็นการยอมเพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบสุขและยอมเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ทางเศรษฐกิจและอื่นๆ ต่างจากการที่ไม่ยอมสูญเสียในนั้นนี้แต่กลับยิ่งเสียไปแล้วอย่างมากทั้งชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร์ทั้งสองฝ่าย เช่นกัน กัมพูชาเองก็ควรที่จะยอมรับเงื่อนไขการบริหารจัดการร่วมกันของสองฝ่าย แทนที่จะเอาฝ่ายที่สาม สี่ ห้า เข้ามาเป็น “ตาอยู่” ในพื้นที่นี้ 

ในโลกปัจจุบันคงจะไม่มีใครสามารถตีใครเป็นเมืองขึ้นได้  และการอยู่ร่วมกันนั้นก็มีข้อตกลงมากมายในทุกระดับทั้งข้อตกลงระหว่างกันสองประเทศหรือทวิภาคี หรือ ระดับสากล ที่ทุกประเทศพึงต้องปฎิบัติ หากทั้งประเทศไทยและกัมพูชาจะยอมรับกันในหลักการและมีความจริงใจในการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติแล้ว หลักการต่างๆ ที่ทำร่วมกันมาทั้งในระดับทวิภาคีและระดับสากลก็ควรที่จะได้รับความเคารพและปฎิบัติตาม ทว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเกิดขึ้นจากการมีวาระซ่อนเร้นของกลุ่มการเมือง และนักการเมืองทั้งของไทยและกัมพูชา โดยมีประชาชนเป็นเหยื่อและตัวประกัน หากผู้นำทั้งสองประเทศ กลุ่มการเมืองต่างๆ ที่อ้างความรักชาติ รักแผ่นดิน และสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศมองเห็นประโยชน์ของส่วนรวมของชาติและเอาประชาชนในพื้นที่เป็นที่ตั้งแล้ว ปัญหานี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่จะใหญ่เกินกว่าจะแก้ไขไม่ได้

แม้จะรู้ว่า ทางออกในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกันนั้น ควรจะต้องหลีกเลี่ยงการปะทะและหันหน้ามาพัฒนาพื้นที่ที่เป็นเขตทับซ้อนร่วมกันเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่ยังประโยชน์ให้กับทั้งสองประเทศ ทว่า ดูเหมือน เงื่อนไขที่รัฐบาลทั้งสองประเทศต้องเผชิญอยู่นั้นยิ่งหาทางแก้ก็ยิ่งข้ามพ้นเป้าหมายการอยู่ร่วมกันหรือได้ประโยชน์ร่วมกัน จากพื้นที่ปัญหาที่เป็นพื้นที่เดียวกันแต่รัฐบาลทั้งสองประเทศนั้นกลับ “หันหน้ากันคนละทาง สร้างดาวกันคนละดวงดู” ตั้งเป้าที่ต่างกัน ความระแวงที่มีให้แก่กันได้ทำให้บรรยากาศการเจรจาที่จะบริหารจัดการร่วมกันถูกละเลยไปจนดึงกลับมาไม่ได้อีก การอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายต่างก็กล่าวหากันไปมานั้นจึงไม่ช่วยแก้ปัญหาใดๆ และดูเหมือนว่า ยิ่งนานวันเป้าหมายก็ไม่สามารถมาบรรจบกันได้ ความทุกข์หนักก็คงไม่พ้นต้องตกอยู่กับประชาชนตาดำๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พิพาทของสองประเทศที่ต้องแขวนชีวิตอยู่บนเส้นด้ายแห่งความไม่แน่นอนและไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเลย

ที่มา: http://www.vmekongmedia.com/content/view.php?code=anl16021118030162

 

 

ความเห็น

Submitted by น้ำลัด on

ที่แน่ๆ...ประชาชนทั้งสองประเทศต้องจ่ายเงินมหาศาลเพื่อที่ดินจำนวนน้อยนิด ประเทศที่หัวร่อร่าคือประเทศที่ค้าอาวุธ ซึ่งก็เป็นประเทศที่อยู่ในคณะมนตรีความมั่นคง ของสหประชาชาตินั่นแหละ ดังนั้นก็เป็นไปได้ว่าสหประชาชาติก็คงไม่สนใจปัญหานี้เท่าไหร่หรอก ปล่อยให้ทั้งสองฝ่ายทะเลาะยืดเยื้อไปเรื่อยๆ เขาก็ขายอาวุธไปได้เรื่อยๆ ก็เงินภาษีของเราๆท่านๆทั้งนั้น

Submitted by ืแสงดาว ศรัทธามั่น on

เห็นด้วยกับบทความนี้ ของน้อง" สุทธิดา มะลิแก้ว "... อยากจะให้เอาไปเผยแพร่ในสื่อมวลชนอื่นๆเช่นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ ... ความ "ล้าหลัง - คลั่งชาติ " ( ล้าหลัง นั้นด๊ายยย ถ้าล้าหลังเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ รากเหง้าวิถีชีวิตของชุมชน ประชาชน ของโลก ฯลฯ ที่ไม่ให้ระบบทุนนิยมสามามนย์สุดโต่งมาทำลาย...แต่ไอ้การ คลั่งชาติ สมมุตติ นั้น มันก่อให้เกิดสงคราม ที่พี่น้องประชาชนชาวบ้านต้องรับผลกรรม(การกระทำ) จากพวกเผด็จการรัฐบาลสมมุตติ ของประเทศสมมุตติทั้งหลาย ต้องล้มตายไปตามๆกัน แล้วพวกเอ็งก็อยู่บนหอคอยงาช้างสั่งการ มันก้อเลวริยำเหมือนกันทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ

เพราะการมีคำว่าประเทศชาติ นั่นแหละมันจึงทำสงครามกัน ไปทั่วโลก ประชาชนตายไปตามๆกัน ขอถามว่าหลังจากการเกิดโลก เอกภพ จักรวาล ฯลฯ โดยทฤษฏีการระเบิดใหญ่ ( Big Bang ) แล้วมันไม่มีประเทศ ดอก ไอ้คำว่าประเทศมันมาทีหลัง ... แผ่นดินทับซ้อนสมมุตติอะไรนั้น ถ้ามีจิตจักรวาล ก็ให้มันทับซ้อนสมมุตติต่อไป และเราอย่าไปคลั่งชาติ ทั้งพวกคอลัมน์นิสต์ พวกสื่อสารมวลชน พวกนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพวกพันธมิตร นักการเมืองกินเมืองโกงเมือง พวกข้าราชการทั้งพลเรือนทหาร ตำรวจ และพวกศัดดินาอมาตยาฯ ฯลฯ ให้พวกเธอหยุดบ้าคลั่งชาติซักกะที ... ให้ประชาชนประชาชาติทั้งสองฝ่ายอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข และพวกพระ ก็อย่าไปยุ่งด้วย เช่นท่านโพธิรักษ์ แห่งสันติอโศก และสาวก ฯลฯ อ้ายก็เป็นงง งง ว่า ออกมาได้อย่างไร?

อ้ายจำถ้อยคำของใครคนหนึ่ง(เป็นฝรั่ง) เป็นถ้อยกวี ต้องขอโทษเขาที่จำชื่อเขาไม่ได้..อ้ายจำตอนที่ใส่กางเกงขาสั้น เรัยนชั้นมัธยมศึกษา อ้ายจดบันทึกไว้เลย เขาเขียนว่า ...

" The world is our country

All mankind is our brothrens

And to do good is our re ligion "

" โลก นี้ คือ ประเทศ ของเรา

พี่น้องมนุษยชาติทุกคน คือ ญาติพี่น้องของเรา

และ การทำความดี คือ ศาสนา ของเรา"

แค่นี้แหละผองเพื่อนมนุษย์ชาติเอ๋ย.... โปรดอย่า "อวิชชา" เลย

Submitted by ืแสงดาว ศรัทธามั่น on

อ้อ ขอโทษ ลืมไป ... ลืมถามน้อง สุทฯ ว่า เมื่อใดจะมาแอ่วตี้สุดสะแนน แหม เจ้า อยากเจอ?

Submitted by โสมคาน on

เพิ่งผ่านพ้นวาเลนไทน์วันรักหวาน
เพิ่งวันวาน มาฆะ มิใช่หรือ
เขมร-ไทย คิดฆ่า ไม่รามือ
อะไรคือ ความรัก พ่อนักบุญ

กว่าจะเป็นวิหารแห่งภูผา
ขนลากมา แผ่นหิน จากเขาขุน
ทุ่มเทด้วยศรัทธา ทั้งแรงทุน
ต้องสิ้น ข้า-นาย หนุนกันกี่คน

กว่าตัดแต่งเติมต่อ เข้าก่อตั้ง
ต้องระวังฝังแน่น เป็นแสนหน
เป็นเรือนโรงอวดฟ้า สง่ายล
เพื่อรุ่นคนลูกหลาน เขมร-ไทย

ใยมึงมาแยกวัดออกจากที่
พวกอัปรีย์ อำมะหิต คิดผลักไส
หลายปู่ย่า สิ้นชีพ ทั้งเหงื่อใคร
มิสร้างใย แย่งวัดร้าง ไว้ขวางปืน

Submitted by ืแสงดาว ศรัทธามั่น on

อวิชชามนุษย์ก็หยั่งงี้แหละ

ประชาชนเป็นแพะรับบาปอยู่เสมอ

ให้ผู้นำสมมุตติเผด็จการได้เจอะเจอ

ต้องพร่ำเพ้อ เมื่อเลือดหัวมึงหลั่งริน

เอาใจเขามาใส่ใจเรา

พวกผู้นำเผด็จการที่ขลาดเขลา

เมื่อใดหนอมหาประชาชนแห่งผองเรา

จักเตะพวกมัวเมาบ้าคลั่งชาติตกเวที!!!

อ้าย โสมคานเอ๋ย อ้ายก็บ่ฮู้ จะว่าจั๊งใดแล้ว ศานติภาพที่พวกชนชั้นปกครอง และ กวี นักคิด นัก เขียน ศิลปิน นักวิชาการ ครูบาอาจารย์ ร่ำร้องโหยหา มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่สลายเชื้อชาติ ให้เป็นหนึ่งเดียว อาจเป็น ยูโทเปียไปบ้าง แต่ถ้ามีใจจิตวิญญาณไพศาล มันเป็นไปได้ แต่มีครายบ้างที่จะคิดเหมือนเรา... อ้ายไปอ่านมติชนรายวันเมื่อเร็วๆนี้ ในคอลัมน์ของ น้า สุจิตต์ วงษ์เทศ นักโบราณคดี เปิ้นเขียนทำนองว่า เมื่อก่อนขอมเขมรเคยมาอยู่ปกครองในเขตไทยมาก่อน ถ้าไทยทวงเขาพระวิหาร เขมรก็จะทวงดินแดนของเขาที่เคยเป็นของเขาบ้าง แล้ว เราจะว่าอย่างใด? อ้ายอ่านทำนองนี้แหละคับ ท่านโสมคาน ในฐานะท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในด้านศิลปะวัฒนธรรมโบราณคด้ด้วย เห็นเป็นงัยเจ้า ท่านโสมคาน ก็เชี่ยวชาญในเรื่องผี ตวย ท่านช่วยเข้าเจ้าเข้าทรงถามพี่ผี หน่อยว่ามันเป็นจะไดในดินแดนที่ว่าทับซ้อนพิพาทห่าเหวกันนั้น ส่วนตัวขัาพระพุธเจ้าไม่คลั่งชาติดอกคับ เพราะตัวข้าพระพุทธเจ้า ประกาศ อยู่เสมอทำนองว่า "ฮาบ่มีจ๊าด แต่ฮามักลาบ " ควายไม่มีโรค คือลาภอันประเสริฐ" อันนี้ สหายแจ้ง ... ลุงตุ๋ย ที่พำนักเป็นผีสิงอยู่ที่เจียงของ บ้านแม่ทัพใหญ่ ครูตี๋ ... นิวัตร ร้อยแก้ว ... ลุงตุ๋ย แกมักใช้วลีที่ทำให้น้ำลายเราไหลอยู่ซำเหมอ เพราะอยากกิ๋บ ลาบ ha ha

Submitted by โสมคาน on

ก่อนจะเป็นวิหาร พราหมณ์หรือพุิิทธ
เลือกสูงสุด ตำแหน่งแห่งภูผา
ล้วนดั้งเดิม ไหว้ผี เก่าก่อนมา
อ้ายแสงดาว ตามข้า จะพาชม

เหนือขุนเขา เส้นเชียงใหม่ไปลำปาง
ท่านได้สร้างศาลหอ ไว้พอสม
สถิตย์เจ้าขุนตาน ดั่งองค์พรหม
แตรระงม ไหว้พ่อ ขอผ่านทาง

ลองอ้ายไปเชียงราย เส้นสายใหม่
ไม่ใกล้ไกล นางแก้ว เจ้าแห่งสาง
มีดอกไม้ บูชา เล็ก ใหญ่ กลาง
ตามที่อ้าง เรื่องเล่า อ้ายเข้าใจ

ทั้งอินทร์แขวน พระวิหาร แถวบ้านเพื่อน
ล้วนกลาดเกลื่อน หอผี นับไม่ไหว
ยึดยอดดอยใกล้ฟ้า ไว้ท้าใจ
คนกราบไหว้ เดินสาย แสวงบุญ

Submitted by ืแสงดาว ศรัทธามั่น on

"ทั้งอินทร์แขวน พระวหาร แถวบ้านเพื่อน "

ตอกย้ำเตือนให้ชนทั้งผอง

ทั้งนางแก้ว ดอยลาง ตามครรลอง

ทั้งสุเทพ ทั้งดอยหลวงแห่งเจียงดาว

ทั้งอินทนนท์ หิมาลัย หิมวาน

ล้วนเครือย่านวงศ์วานแห่งโลกด้าว

เป็นหนึ่งเดียวกับโลกหลอมเรื่องราว

เป็นขุนเขายาวนานให้เคารพ

เป็นทั้งเบาราณสถาน -วัตถุ ทรงคุณค่า

เป็นชีวิตชีวาให้น้อมนบ

ให้ย้ำเตือนชีวาได้บรรจบ

ให้ได้พบจิตวิญญาณ อันอำไพ

ธรรมชาติชีวิตล้วนเป็นหนึ่งเดียว

อันข้องเกี่ยวโอบกอดกันสดใส

ทั้งภูดอยวิหารทะลไกล

ล้วนมีผีปู่ย่าตายายให้เราคารวะ

ท่านคุ้มครองชีวิตแห่งโลกหล้า

พระคุณหนาหากรู้ย่อมพบปะ

ผีวิญญาณจักรวาลคือคุณพระ

มนุษย์อวิชชา อย่าลืมเลือน

... อย่าอกตัญญู พึงรู้คุณ

Submitted by โสมคาน on

มีนิทานโคตรยาว แต่เข้าท่า
อ้ายแสงดาว ลองว่าอีกสักหน
ก้อดอกไม้ นางแก้ว เมื่อเป็นคน
ออกค่อนข้างสัปดน อ้ายรู้ดี

ผ่านไปเชียงรายสักกี่ครั้ง
คิดถึงนางเมื่อยังไม่เป็นผี
เคยแวะไหว้ ใกล้หอ ขอทุกที
ให้คุ้มครองโลกนี้ สุขร่มเย็น

ยังจำได้ติดตา เมื่อคราแรก
ดอกไม้แปลก หลากหลาย ผมได้เห็น
มีสั้น ยาว ยืน นอน อ่อนไม่เป็น
บ้างกระเซ็น ล้นออก มานอกทาง

เมื่อไม่นาน พระมา เลยฟ้าเปลี่ยน
ผมยังเวียนแวะไหว้ ไม่อายสาง
หอพระพุทธ ผุดใกล้ ดอกไม้นาง
นี่มันสร้าง หรือว่าใช้ ทำลายกัน

Submitted by สุทธิดา on

อ้ายแสงดาว เจ้า ขอบคุณสำหรับ คอมเม็นต์ และขอบคุณที่ถามถึง ว่าจะไปชม. อยู่ในไม่ช้านี้ คงจะได้โทรฯ หา เน้ออ้าย

Submitted by ืแสงดาว ศรัทธามั่น on

เอ๊า ... ไอ่หนู ... เบอร์อ้าย 080 - 7605819 (ถ้ามือถือบ่หายไปซะก่อน หายไปหลายเครื่องแย้ว เพราะ ไม่มาววว แหะ แหะ ... พวกน้องๆ เค้า ก้อ เลย เมตตากรุณาให้ คนหนุ่มน้องยั่างอ้ายเจ้า แล้วเบอร์ของไอ่หนู หล่ะ? อ้ายอยากได้ จะเอาไปซื้อหวยเจ้า เป็นหนี้เป็นสินกะธนาคารอยู่ เพราะมีเครดิตงัย ไอ่ดอกเบี้ยน้อธนาคารนี้ อย่าห่วง มันขึ้นลงตาม ธรรมชาติ เจ้า hi hi ... อย่าลืมมาเจียงใหม่แล้ว โฟนอิน มา เน้อ เจ้า

Submitted by ืแสงดาว ศรัทธามั่น on

เอ๊ยขอโทษ ไอ่หนู สุทฯ อ้ายบอกเบอร์โทรผิดไป ที่แท้ เป็น 080 - 670 5819 เจ้า ขอสูมาตาย

เต้นเปลือยอก...ผิดตรงไหน

กลายเป็นเรื่องฮือฮาสำหรับการฉลองสงกรานต์ในปีนี้ (2554) เมื่อมีคนนำคลิปของเด็กสาวขึ้นเต้นโชว์เปลือยอกในการฉลองสงกรานต์ย่านสีลมที่มีผู้คนชมและเชียร์กันอย่างเมามันมาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายผ่านทางสังคมออนไลน์ รวมทั้งนักข่าวทุกสำนักก็ให้ความสนใจและนำเสนอกันอย่ากว้างขวาง มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่า นี่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการกระทำที่ทำลายวัฒนธรรม บางคนถึงขั้นกล่าวหาเด็กสาวเหล่านี้ว่าเป็นโรคจิตด้วยซ้ำ

ที่แท้แล้วมนุษย์นั้นมีพัฒนาการน้อยเหลือเกิน

 
 
ญี่ปุ่น นับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุอย่างรวดเร็ว มีรถไฟหัวกระสุนที่มีความเร็วสูง มีตึกสูงๆที่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ หรือแม้แต่โรงปฎิกรณ์ปรมาณูนั้นก็ยืนยันว่ามีระบบความปลอดภัยเป็นเยี่ยม นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีระเบียบวินัยและคุณภาพที่พร้อมรับมือกับภัยร้ายๆได้อย่างดี ทว่า สุดท้ายแล้วเมื่อธรรมชาติพิโรธอย่างหนัก ประเทศระดับญี่ปุ่นเองก็ยังยากที่จะรับมือ ประสาอะไรกับประเทศที่ไร้ระเบียบและขาดการเตรียมการอีกหลายประเทศ เห็นภาพภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นแล้ว ไม่ว่าใครที่เป็นมนุษย์ปุถุชนนั้นย่อมรู้สึกสะเทือนใจและแน่นอนหากเรื่องนี้เกิดขึ้นกับใครก็ตามก็นับว่าคงยากที่จะรับมือหรือทำใจได้

เมื่อ ไทย- กัมพูชา หันหน้ากันคนละทาง สร้างดาวกันคนละดวง

 

เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด ที่น่าเศร้าคือปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่นั้นไม่ได้ถูกสร้างโดยคนในพื้นที่และคนในพื้นที่เองไม่ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา>

อำเภอ 878 ไปทางไหน

 
 
“พี่รีบๆไปดูเถอะ ตอนนี้ยังดีอยู่ ได้ข่าวว่านายทุนเข้าไปซื้อที่ตรงนั้นไปเยอะแล้ว ไม่ช้าก็คงจะเปลี่ยนไปแน่นอน” ผู้จัดการเกสต์เฮาส์แห่งหนึ่งใน อ.ปาย บอก เมื่อถามว่า อำเภอใหม่เป็นไงบ้าง เพราะว่าดูจะไม่ไกลจากปายมากนัก และในอนาคตอาจไม่เห็นความเป็นธรรมชาติของที่นั่นแล้ว
 

การย้ายถิ่นเป็นการพัฒนาคน




การย้ายถิ่นไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติทางประวัติศาสตร์แต่เป็นมิติของการพัฒนาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน” ตอนหนึ่งในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2552 (Human Development Report 2009) จัดทำขึ้นโดยโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme –UNDP) ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้