พุทธศาสน์ของราษฎร: ศาสนาไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้จริงหรือ?

 

วิจักขณ์ พานิช
กลุ่มพุทธศาสน์ของราษฎร
 
 
 
วาทกรรม "ศาสนาไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง" มักถูกนำมาอ้างเพื่อปกป้องไม่ให้พุทธศาสนาแปดเปื้อน ทว่าคำกล่าวนี้กลับเพิกเฉยต่อ "สถานะของสถาบันพุทธศาสนา" ในปัจจุบันที่เป็นการเมืองอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นคณะสงฆ์ที่ผูกติดอยู่กับอำนาจรัฐ โครงสร้างองค์กรสงฆ์ที่รับเอาโครงสร้างแบบราชการมาใช้ ความเชื่อมโยงกับกลุ่มทุนและกลุ่มการเมือง การสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ในนามของความเป็น "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" วันหยุดราชการ นโยบายและงบประมาณด้านการศาสนา ราชพิธี ลำดับชั้นสมณศักดิ์ พัดยศ แบบเรียนพุทธศาสนาของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งทั้งหมดสะท้อนอยู่ในความเป็น "พุทธศาสนาที่เป็นทางการ" หรือ "พุทธศาสนาของรัฐ" อันเป็นหนึ่งในมรดกตกทอดของการรวมศูนย์อำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5
 
นอกจากนั้น สิ่งที่ผมอยากให้ข้อสังเกตก็คือ นัยยะของคำว่า "การเมือง" ที่ถูกเอ่ยถึงในมุมมองพุทธศาสนาแบบเป็นทางการ (ที่ปัจจุบันผสมปนเปกับรูปแบบพุทธศาสนาของชนชั้นกลาง วิชาพุทธศาสนาของกระทรวงศึกษาธิการ กระแสธรรมะป๊อปจากสื่อ หรือศีลธรรมโฆษณาของ สสส. ฯลฯ ยังคงเป็นความเข้าใจในแบบที่เคยชินจากอิทธิพลของกรอบคิดแบบรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กล่าวคือ การเมืองเป็นเรื่องของพระราชาหรือชนชั้นปกครอง (ซึ่งปัจจุบันถูกผลักให้เป็นเรื่องของนักการเมือง) การเมืองยังถูกมองว่าไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตประจำวัน "ไม่ใช่เรื่องอะไรของเรา" หรือหากเกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องของการรอรับผล ไม่ใช่การมีส่วนร่วมในการสร้างเหตุ
 
อย่างไรก็ดี หลัง 2475 หลักการพื้นฐานของ "การเมือง" ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของราษฎรนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงราก นั่นคือ อำนาจอธิปไตยของรัฐ ไม่ได้เป็นของพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นขุนนางอีกต่อไป ทว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ผ่านระบบรัฐสภาโดยมีคณะผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนเข้าไปบริหารปกครองประเทศ ดังนั้นโดยหลักการแล้ว การเมืองคือชีวิตประจำวันของพลเมืองในรัฐ คนทุกคนเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง ตรวจสอบ เลือก และกำหนดทิศทางของสังคมที่ตนอยู่ เรียกได้ว่าประชาธิปไตยได้ทำให้ การเมืองกลายเป็นชีวิต และชีวิตไม่สามารถแยกขาดจากการเมืองได้ หากจะพูดให้ถูกก็คือ "การเมืองไม่ยุ่งเกี่ยวกับศาสนา" ในแง่ที่ว่ารัฐไม่ใช้ศาสนาหรือความเชื่อใดมาเป็นกลไกการปกครองของรัฐ ทว่าในทางตรงกันข้าม ศาสนาไม่สามารถไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ ตราบใดที่ศาสนายังสัมพันธ์อยู่กับชีวิตประจำวันของผู้คนภายในรัฐ
 
และเช่นเดียวกัน โดยหลักการแล้ว นั่นควรจะทำให้พุทธศาสนาถูกปลดปล่อยจากการรับใช้โครงสร้างแนวดิ่งแบบศักดินา สู่การเป็นรากฐานทางสติปัญญาของโครงสร้างแนวราบของรัฐประชาธิปไตย อีกทั้งยังน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการที่พุทธศาสนาจะไม่ถูกรวมศูนย์หรือกำกับควบคุมโดยรัฐ และสามารถกลายเป็นพลังที่สัมพันธ์อยู่กับชีวิตประจำวันของราษฎรอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นได้ ก็จะทำให้พุทธศาสนากลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ธรรมะช่วยสนับสนุนให้ราษฎร "ตื่น" "เรียนรู้" "เป็นอิสระ" "ตั้งคำถามด้วยสติปัญญา" "แสวงหาข้อเท็จจริง" "คิดเองตัดสินใจเอง" "ยอมรับความเห็นต่าง" "ตรวจสอบ" "กล้าวิพากษ์วิจารณ์" "มีส่วนร่วม" "เคารพกติกา" ฯลฯ และนั่นจะยิ่งทำให้รากฐานทางสังคมและรากฐานทางจิตวิญญาณของคนในสังคม ทั้งทางโลกและทางธรรม เติบโตไปพร้อมกับในแนวราบ ศาสนา การเมือง และชีวิตประจำวัน เป็นเนื้อเดียวกันในสังคมแบบโลกวิสัย ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค มากกว่าอัตลักษณ์ทางศาสนา
 
ทว่าเหตุการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยคณะราษฎร กลับไม่ได้มีผลกระทบต่อโครงสร้างสถาบันศาสนามากนัก เช่นเดียวกับการรื้อถอนโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมแบบศักดินาซึ่งมีผลอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น แม้จะมีความพยายามในการปฏิรูปโครงสร้างคณะสงฆ์ ด้วยการออกพรบ.คณะสงฆ์ 2484 เพื่อปรับการปกครองคณะสงฆ์ให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น การยุบมหาเถระสมาคมแล้วตั้งเป็นสังฆสภา เป็นต้น ทว่าความพยายามนั้นก็มีผลเพียงระยะสั้น สอดคล้องไปกับบริบททางการเมืองที่ อิทธิพลของคณะราษฎรถูกจำกัดอยู่เพียงแค่ช่วง 15 ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น
[อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความ "70 ปี พรบ.คณะสงฆ์2484  (ตอน1-2)" โดย ภิญญพันธุ์ พจนลาวัณย์]
 
เมื่อการณ์เป็นเช่นนั้น พุทธศาสนาที่เป็นทางการจึงยังสามารถทำหน้าที่ "เผยแผ่พระพุทธศาสนา" อยู่อย่างอิงแอบกับอำนาจเก่าที่ได้รื้อฟื้นอุดมการณ์แบบราชาชาตินิยมขึ้นมาจนเข้มแข็งสูงสุดในปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ในงานเขียนของนักศึกษาศาสนศึกษาจะพบว่า การซึบซับพุทธศาสนาแบบทางการที่ถูกอบรมสั่งสอนมากันในโรงเรียนมาเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความเข้าใจว่าประเทศไทยปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นธรรมราชา และพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ -- คำสอนทางศาสนาเป็นกลไกสำคัญในการกล่อมเกลาพลเมืองของรัฐ ให้เป็น "คนดี" "มีศีลธรรม" โดยมีองค์กรต่างๆ ทำหน้าที่สร้างกฏเกณฑ์ และชี้ถูกชี้ผิด สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับกันได้ โดยไม่มีใครตั้งคำถามว่าเป็นหน้าที่ของศาสนาในรัฐโลกวิสัยหรือไม่ อีกทั้งคนจำนวนไม่น้อยยังสนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้มีอำนาจทางการเมืองมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ เพราะเชื่อว่าอำนาจศีลธรรมทางศาสนาเป็นอำนาจบริสุทธิ์เมื่อเทียบกับอำนาจประชาชน(ที่มีกิเลสตัณหา)ในระบอบประชาธิปไตย ผลคือ แนวโน้มเหล่านี้ก็ยิ่งไปเสริมรากฐานของระบอบเก่าให้ดึงรั้งจิตสำนึก การมีส่วนร่วม และพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยต่อไปเรื่อยๆ
 
ดังนั้นคำว่า "พุทธศาสนาไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง" นอกจากจะเป็นประโยคที่เป็นเท็จแล้ว บ่อยครั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหยุดยั้งไม่ให้เกิด “ความตื่น” ในรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพุทธบริษัทสี่ อันจะส่งผลสะเทือนต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมแบบเก่าอันเอื้อประโยชน์ต่ออำนาจศาสนาที่ดำรงอยู่ในรูปแบบรัฐศาสนาแอบแฝงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง และหากมองในมุมมองแบบประชาธิปไตยที่การเมืองเกี่ยวข้องกับคนทุกคน และคนทุกคนมีความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยแล้ว การที่พุทธศาสนาจะสัมพันธ์อยู่กับความทุกข์ของผู้คนและสังคมในฐานะรากฐานทางสติปัญญาได้ คำว่า "ศาสนาไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง" นอกจากจะเป็นไปไม่ได้แล้ว ในทางตรงกันข้าม ยิ่งประชาธิปไตยเติบโตมากเท่าไร พุทธธรรมกับการเมือง- พุทธธรรมกับชีวิต ยิ่งจำเป็นจะต้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นด้วย อย่างไม่กลัวการแปดเปื้อน
 
 
 
ที่มาภาพ: FB Voice TV  พระราชาคณะพร้อมเจ้าคณะและพระสังฆาธิการ 449 รูป ร่วมเจริญพระพุทธมนต์เต็มห้องประชุมสภา ทั้งที่นั่ง ปธ.-รมว.  
 

ความเห็น

Submitted by dk on

ปชต. หมายความได้ว่า แต่ละปัจเจก คือ การเมือง
เพราะ แต่ละคนได้กลายเป็น ผู้ทรงสิทธิ ต่อ อำนาจเลือก การเมือง

ถ้าแต่ละปัจเจก เข้าถึง ความเป็นพุทธะ คือ ผู้ตื่น
นั่นย่อมทำให้เขา เข้าใจได้ว่า ตัวเองคือ โยงใยของแนวร่วม ผู้ทรงสิทธิ ดังกล่าวข้างต้น

แง่นี้ ทำให้ศาสนา เกี่ยวข้องกับ การเมือง ในโลกจริงแน่นอน

ส่วนพุทธศาสนาทางการ ก็คงดำรงอยู่อย่างจำเป็น ในฐานะ ของเก่าทางปวศ.ที่ยังพอใช้ได้ต่อสถานะดำรงของอุดมการณ์นิยม ที่คุ้นหู
ซึ่งอาจมีข้อเสีย และข้อดีบ้าง ในลักษณะปลูกฝัง ความสามัคคีจอมปลอม ที่จำเป็น อย่างหลับๆตื่นๆ (ของ ปชช.)

Submitted by น้ำลัด on

ได้ยินกันบ่อยๆ "ศาสนาไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง"
แต่ก็ได้ยินบ่อยๆที่นักการเมืองชอบพูดว่าเพื่อ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์"
โดยเฉพาะนักการเมืองค่ายสีเขียว
ที่เล่นการเมืองโดยไม่ต้องลงเลือกตั้งให้เปลืองตัว
แต่มีอำนาจแฝงอยู่อย่างล้นเหลือ

ก็นักการเมืองมันไม่ได้มีแต่นักการเมืองเลือกตั้งนี่นา
มันต้องมีนักการเมืองประเภทเสนอตัวให้ได้รับการแต่งตั้งด้วย

เห็นชอบบอกกันว่านักการเมืองแบบเลือกตั้งมันไม่ค่อยดี...เพราะว่าชาวบ้านมันโง่
รัฐธรรมนูญอันวิเศษสุดฉบับสวรรค์ชั้นไหนไม่รู้ประทานมาให้
จึงให้อำนาจกับนักการเมืองแบบแต่งตั้งอย่างล้นหลาม
บางส่วนของนักการเมืองแบบแต่งตั้งมันไม่ต้องไปนั่งในสภา
เขามีซุ้มเล็กซุ้มน้อยหลายๆซุ้มให้นักการเมืองแบบแต่งตั้งไปนั่งสุมหำกัน

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าสวรรค์ชั้นไหนมันแต่งตั้งมาให้
นักการเมืองแบบแต่งตั้งมันก็เลยได้เป็นเทวดา
แล้วเทวดามันก็แต่งตั้งกันเองไปๆมาๆให้ปกครองมนุษย์ขี้เหม็นๆ

เทวดาให้มนุษย์เลือกตัวแทนของตนบางส่วนมานั่งร่วมกันกับเหล่าเทวดา
แต่เทวดาก็คือเทวดาไม่อยากจะสุงสิงกับมนุษย์หรอก
จะเหม็นขี้คนหรืออย่างไรก็เกินจะเข้าใจ ก็เราไม่ใช่เทวดานี่หว่า
เทวดาตรวจสอบตัวแทนมนุษย์อย่างละเอียดยิบว่าเป็นมนุษย์หรือเปล่า
ก็ไม่รู้ทำไมต้องตรวจสอบกันเยอะแยะขนาดนั้น
หรือว่ากลัวตัวเหี้ยปลอมตัวเป็นมนุษย์มาหรือไง
แล้วเรามีสิทธิ์ตรวจสอบเทวดาบ้างไหม(วะ)
เราก็กลัวตัวเหี้ยปลอมตัวเป็นเทวดามาเหมือนกัน(โว้ย)

นักการเมืองมักจะได้ตำแหน่งด้วยวัฒนธรรม "การเลีย"
นักการเมืองแบบเลือกตั้งก็ต้องไป "เลียชาวบ้าน"
นักการเมืองแบบแต่งตั้งก็ต้องไป "เลียคนที่จะแต่งตั้ง"
นักการเมืองแบบเลือกตั้งต้อง "เลียคนจำนวนเยอะๆ" กว่าจะได้มา
แต่นักการเมืองแบบแต่งตั้งไป "เลียคนที่จะแต่งตั้งแค่ไม่กี่คน" ก็ได้แล้วใช่ไหม

วันนี้เราจะเลียใครดี(วะ)?

อ้าว...ลืมไปเลยว่าเขาคุยกันเรื่อง "ศาสนาไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้จริงหรือ?" อยู่นี่นา
จะวกเรื่องกลับก็กลับลำไม่ทันละ...เผ่นเลยดีกว่าเรา

Cheap vibram five fingers shoes, interpreted the concept of world fashion as a means, combined with market demand, represents the concept of the world's advanced design of sports shoes. Taking into account the people a love of aport, so vibram five fingers has designed to make people more healthy when we do exercise. Now, healthy personality already has became a fashion! And personalized design of the barefoot shoes very naturally conforms to the trend of fashion. The fashion personality of vibram five fingers according to the characteristics of a wide variety of sports designed all kinds of shoes. Not only has designed vibrsm five fingers men and vibram women shoes, the shoes designed by function such as vibram five fingers kso trek is more suitable for outdoor sports likes running, leisure,travel and walk off-road, the vibram five fingers komodosports ls is more suitable for athletes to do physical exercise and participate in the running game, and you can wear the vibram five fingers speed to fitness and travel. In the summer, we are all liking water sports! However, water sports are very slippery, that must be very dangerous, so vibram five fingers designed out of several shoes for summer water sports for this, the vibram five fingers flow, vibram five fingers sprint and vibram five fingers kso are your best choice for water sports. Among the vibram five fingers,vibram five fingers classic, vibram five fingers bikila, Vibram five fingers bikila ls, vibram five fingers jaya, vibram five fingers treksport and vibram five fingers komodosport are more suitable for some indoor fitness and running. Cheap vibram five fingers sale in http://www.bestvibramshoes.com, welcome to choose your favorite shoes!