บันทึกถึงพวก "แดงความจำสั้น", "แดงแกล้งลืม" และ "แดงมาทีหลัง"

30 September, 2012 - 15:05 -- iskra

...ที่มาที่ไปของ "เสื้อแดง" มันไม่เกี่ยวกับเรื่อง "รักเจ้า" หรือ "รักทักษิณ" ..

 โดย Chotisak Onsoong 

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีคนพยายามเราเรื่อง "รักทักษิณ" มาเป็นกรอบในการกำหนดความเป็นคนเสื้อแดง แต่เป็นครั้งแรกหรือเปล่าผมไม่แน่ใจที่พยายามเอาไปโยงกับเรื่อง "รักเจ้า" ด้วย  ดู https://www.facebook.com/photo.php?fbid=405698599484378

ภาพจาก facebook ประชาธิปไตยตลอดชีพ

ผมคิดว่าเราสามารถแบ่งคนที่พยายามเอาเรื่อง "รักเจ้า รักทักษิณ" มากำหนดความเป็นเสื้อแดงออกได้เป็น 3 ประเภท คือ "แดงความจำสั้น", "แดงแกล้งลืม" และ "แดงมาทีหลัง"

ประเภทแรก "แดงความจำสั้น" คือ อยู่ร่วมเหตุการณ์ แต่บังเอิญขี้ลืม ความจำสั้น ก็เลยจำไม่ได้ว่ามันมีที่มาที่ไปยังไง

ประเภทเภทที่ 2 "แดงแกล้งลืม" พวกนี้มีปัญหากว่าอีก 2 ประเภท เพราะอยู่ร่วมเหตุการณ์ แล้วก็จำได้ด้วย แต่กลับทำเป็นลืม

ส่วนประเภทที่ 3 "แดงมาทีหลัง" พวกนี้น่าสงสารที่สุด คือไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย พอคน 2 ประเภทแรกบอกยังไงก็เชื่อ หรือไม่ก็นึกเดาเอาเองตามใจกู

ที่ผมพูดอย่างนั้นก็เพราะว่า ที่มาที่ไปของ "เสื้อแดง" มันไม่เกี่ยวกับเรื่อง "รักเจ้า" หรือ "รักทักษิณ" เลยนะสิครับ (และเอาเข้าจริง อาจจะตรงข้ามด้วยซ้ำ - ผมจะกลับมาพูดเรื่องนี้ทีหลัง)

นี่เป็นข่าวเกี่ยวกับการเปิดตัวแคมเปญ "Thai Say No" เพื่อรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คมช. เมื่อ 1 มีนาคม 2550 ซึ่งเป็น "วันแรก" ที่เริ่มมีการใช้ สีแดง/เสื้อแดง เป็นสัญลักษณ์ในการรณรง http://thaienews.blogspot.com/2011/08/5_06.html ย้ำว่า 1 มีนาคม 2550 นะครับ

ภาพเปิดตัวไทยแคมเปญ "Thai Say No" ใช้เสื้อแดงครั้งแรก ที่หน้ารัฐสภา 1 มี.ค.50 ที่มา Thai E-News

ทีนี้หันมาดูฝั่ง นปก.กันบ้าง (พวก "แดงมาทีหลัง" ถ้าไม่รู้จัก นปก.ก็ไปเซิร์จหากันเอาเองนะครับ ในวิกิก็น่าจะมีข้อมูลอยู่) ขอให้สังเกตุผ้าโพกหัวและสีเสื้อของคนที่มาชุมนุมนะครับ http://thaienews.blogspot.com/2007/06/25-2550.html (26 มิถุนายน 2550) http://thaienews.blogspot.com/2007/07/blog-post_26.html (26 กรกฎาคม 2550) ส่วนอันนี้เน้น "แกนนำ" ลองไปดูกันเองนะครับว่าใครเป็นใคร http://www.oknation.net/blog/print.php?id=80319 (22 กรกฎาคม 2550)

26 มิ.ย.50

26 ก.ค.50

22 ก.ค.50 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปก. นำพาผู้ชุมนุมบุกหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เพื่อกดดันให้ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ลาออกจากประธานองคมนตรี  ที่มาภาพ OKnation

 

คือในขณะที่พวก "Thai say no" ใช้สีแดง/เสื้อแดงเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวไปแล้วเกือบ 5 เดือน (เกือบครึ่งปีนะครับ) ฝั่ง นปก.ยังใช้ "สีเหลือง/เสื้อเหลือง" เป็นสัญลักษณ์อยู่เลยครับ

พวก นปก. เพิ่ง “เข้าร่วม” การใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ก็เมื่อไม่กี่วันก่อนลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้นเอง

ทีนี้กลับไปดูพวก "Thai say no" ที่เป็นผู้ริเริ่มใช้ สีแดง เป็นสัญลักษณ์นะครับ ว่ามันไปกันได้กับกรอบ "รักเจ้า รักทักษิณ" แค่ไหน ถ้าดูภาพรวมของแคมเปญก็เป็นเรื่องการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงเรื่องต้านรัฐประหารและเรื่องประชาธิปไตย ซึ่งเราจะเห็นว่าไม่เฉียดเรื่อง "รักเจ้า รักทักษิณ" เลยแม้แต่นิดเดียว

ยิ่งถ้าเรามาดูจุดยืนของคนที่มาร่วมแคมเปญนี้ เราจะเห็นว่านอกจากจะไม่ "รักเจ้า รักทักษิณ" เอาเข้าจริงตรงกันข้ามด้วยซ้ำไป คนที่เป็นที่รู้จักที่ร่วมแคมเปญนี้ เช่น คุณหนูหริ่ง/บก.ลายจุด/สมบัติ บัญงามอนงค์, คุณใจ อึ๊งภากรณ์, คุณจิตรา คชเดช รวมถึงคุณสมยศ พฤกษาเฏษมสุข และคุณจรรยา ยิ้มประเสริฐ (2 คนหลังนี่ผมไม่เห็นในรูป แต่มีชื่ออยู่ในข่าว)

คุณคิดว่า คุณใจ หรือ คุณจรรยา รักเจ้าและทักษิณ เหรอครับ

ส่วนคุณสมยศ อย่างที่รู้กัน ตอนนี้อยู่ในคุกข้อหา 112 (และเท่าที่ผมทราบคุรสมยศก็ไม่ได้รักทักษิณ)

คุณจิตราก็เช่นเดียวกัน เท่าที่ผมทราบก็ไม่ได้รักทักษิณเหมือนกัน

ส่วนคนอื่นๆที่อาจจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไหร่ หลายคนที่ผมรู้จักเป็นการส่วนตัว ผมยืนยันได้ว่าไม่เฉียด "รักเจ้า รักทักษิณ" เลยครับ (และหลายคนก็ชัดเจนว่าตรงกันข้ามกับ "รักเจ้า รักทักษิณ" เลยด้วยซ้ำ)

ดังนั้นถ้าเราจะนิยามเสื้อแดง ผมว่าเราต้องเริ่มจากตรงนี้ครับ ไม่ใช่ไปนิยามเอาเองตามใจชอบแบบไม่สนใจที่มาที่ไป

และที่เราต้องไม่ลืมอีกเรื่องก็คือ นี่ไม่ใช่การ บังเอิญ ใช้สีตรงกัน นะครับ และไม่เรื่องใครหรือกลุ่มไหนผูกขาดสีแดงด้วย แต่เป็นเรื่องของการ “เข้าร่วม” อย่างที่ผมได้เขียนไปแล้ว นปก.ได้มีมติใช้สีแดงร่วมกับ "Thai Say No" เพื่อรณรงค์โหวต No นะครับ คือถ้า นปก. (และสมาชิก) ไม่เห็นด้วยกับ "สีแดง" ในความหมายของ "Thai Say No" แล้วจะไปเข้าร่วมทำไม?

ถ้า นปก.ใช้สัญลักษณ์สีแดงอย่างเอกเทศ แน่นอนเราไม่จำเป็นต้องเอาจุดยืนแนวทางหรือความหมายสีแดงของ "Thai Say No" มาเกี่ยว แต่ข้อเท็จจริงก็คือ นปก.ไม่ได้ใช้อย่างเอกเทศ แต่ร่วมใช้ (พูดง่ายๆคือใช้ "ตาม") "Thai Say No" นะครับ

ดังนั้นเวลาคุณจะนิยาม สีแดง คุณถึงต้องเริ่มจาก "Thai say no" ไม่อย่างนั้นคุณก็นิยามเอาตามใจชอบ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่มาที่ไปที่เป็นที่เป็นจริงใดๆเลย

ปล. ผมไม่ใช่เสื้อแดงนะครับ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผมจะไม่รู้เรื่องบางเรื่องเกี่ยวกับเสื้อแดงดีกว่าคนเสื้อแดงบางคน (เราไม่จำเป็นต้องเป็นปลาวาฬเราก็รู้เรื่องปลาวาฬได้ครับ บางทีบางคนรู้เรื่องปลาวาฬดีกว่าตัวปลาวาฬเองด้วยซ้ำไป)

ความเห็น

Submitted by น้ำลัด on

เหมือนบทความนี้กำลังบอกว่าจุดเริ่มต้นคนเสื้อแดงนั้นมาจากกลุ่มสองไม่เอา
แต่ตอนหลังกลุ่มที่สนับสนุนทักษิณและกลุ่มจัดตั้งโดยทักษิณซึ่งมีคนมากกว่าได้แย่งเอาสีแดงไป
พอมีความต้องการปรองดอง เสื้อแดงที่มีจุดเริ่มต้นจากคน ไม่เอาเจ้า ไม่เอาทักษิณ
ก็เลยเลื่อนไถลกลายมาเป็น รักเจ้าและรักทักษิณ ซึ่งตรงกันข้ามกันไปเฉยเลย
แล้วที่หนักข้อขึ้นไปอีกก็คือกลุ่มคน "สองไม่เอา" กลายเป็น "สลิ่มแอ๊ปแดง" ไปซะงั้น
มันคงเป็นมิวเตชั่นในทางการเมืองแน่ๆเลยใช่ไหมครับ

ผมเป็นประเภทเกลียดบางอย่างของเจ้า เกลียดบางอย่างของทักษิณ
แต่ก็ยังมองเห็นความดีบางอย่างของทั้งสองฝ่ายอยู่บ้าง...จะเรียกว่าอะไรดี
เพียงเพราะความดีของฝ่ายเจ้านั้นมีให้เห็นกันเหลือเฟือแล้ว
ผมก็เลยพยายามที่จะชี้ให้เห็นความดีของทักษิณบ้างก็เท่านั้น
ในระยะสั้นผมก็อยากเห็นการจับมือกันของทั้งสองฝ่าย
ซึ่งผมมองว่าเป็นสาเหตุหลักที่เราเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้
แต่ผมกำลังมองว่ากลุ่มนิยมเจ้านั้นเล่นตัวกันมากเกินไป
และทุกวันนี้การต่อรองก็ยังคงต้องชิงไหวชิงพริบต่อรองกันต่อไปไม่จบสิ้น

กลุ่มสองไม่เอานั้นผมถือว่าเป็นชนส่วนน้อยของประเทศ
เช่นเดียวกันกับกลุ่มนิยมเจ้าบางส่วนที่สุดโต่งต้องการคืนพระราชอำนาจ
ทั้งสองกลุ่มนี้ถ้าตั้งพรรคการเมืองมาแข่งขันก็คาดว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ
โดยเฉพาะกลุ่มสองไม่เอานั้น จะต้องถูกรุมกินโต๊ะอย่างแน่นอนครับ

ลึกๆแล้วผมเห็นด้วยกับแนวคิดของกลุ่มสองไม่เอา
แต่ด้วยองค์ประกอบและเงื่อนไขมากมายที่เป็นอยู่
ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติแทบจะไม่มี
ก็ทำได้แค่ความพยายามสร้างกระแสไปเรื่อยๆ
ซึ่งก็ไม่สามารถจะต่อกรกับอะไรกระแสความเชื่อหลักได้
มันจึงจำเป็นต้องรอดูเวลาและโอกาสอันเหมาะสม
ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมของเราในอนาคต
ซึ่งนั่นควรเป็นแผนระยะยาว ซึ่งตอนนี้ก็คงไม่มีใครกำหนดได้ว่าเมื่อไหร่
เราจะต้องรอให้สังคมตระหนักถึงปัญหาของตนเองเสียก่อน
และสังคมของเราก็ควรจะมีสิทธิที่จะเลือกเส้นทางเดินของตนเอง

ผมก็ไม่ใช่คนเสื้อแดงและก็คงไม่ได้รู้อะไรดีไปกว่าคนเสื้อแดง

Submitted by Chotisak on

ผมไม่ได้เข้าร่วมการใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ตามที่เขียนในบันทึกนี้แต่อย่างใดเลยครับ (ตั้งแต่ Thai Say No เป็นต้นมา)
ก่อนรัฐประหาร กลุ่มต้านรัฐประหารที่ผมไปร่วมด้วยก็ใช้สีเขียว
พอหลังรัฐประหาร กลุ่มที่ผมไปร่วมด้วยก้ใช้สีดำ (ใช้สีดำต่อเนื่องมาจนถึงรณรงค์โหวต No)
ดังนั้นคงจะมาทวงคืนอะไรไม่ได้

เพียงแต่อยากเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงให้ดูกันเท่านั้นเอง จะไต้ไม่เข้าใจผิด(เข้าใจผิดจริงๆหรือจงใจเข้าใจผิดก็แล้วแต่)จนนิยามกันไปมั่วซั่วแบบไม่ดูที่มาที่ไป ไม่ดูข้อเท็จจริง

Submitted by VvSay on

Attn: Chotisak, I wanna laugh at you and the rest of Kway Daeng krub. Cc P' PraVit

Submitted by The Flintstones on

อ่านที่เขียนแล้ว คนคงไม่ได้เขียน โคตรฉลาดเลย สลิ่มเขียนหนังสือได้ สลิ่มแบบไม่รู้ตัวเนอะ แบบเกิดเป็นสลิ่มยอมตายไปแบบสลิ่ม จะไม่ยอมรับความรู้จากไหนทั้งนั้นยอมตายในกะลาว่างั้นเถอะ

ปล.คุณไม่ใช่เสื้อแดงแต่คุณไม่รู้ตัวหรอกว่าคุณเป็นสลิ่ม แล้วคุณก็ฉลาดกว่าปลาวาฬ คุณเก่งหว่ะ

Submitted by ตุ๊ดปวินาฝ่ามืออากรง on

แล้วปวินาถ่ายรูปจิกหน้าเก๋ๆ เขียนบนฝ่ามือว่าอากรงล่ะคะ จะต้องอยู่สีไหน ? อย่าลืมสิคะ ปวินาเป็นคนคิดค้นนะคะฝ่ามือตุ๊ดปวินา ช่วยเหลืออากรงที่ถูกกล่าวหา ช่วยโปรโมตกันด้วยค่าาาาา กลัวจังว่าจะไม่มีใครรู้จักปวินาแล้ว

ระบบเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Participatory Economy)

28 May, 2013 - 17:49 -- iskra

...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา