Food, Inc. ชาวนา เกษตรกร ในโลกทุนนิยม

 

  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีข่าวใดร้อนไปกว่า ประเด็นที่มีอาจารย์กลุ่มหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งรวมตัวกันยื่นให้ศาลวินิจฉัยว่า การจำนำข้าวของรัฐบาลปัจจุบันนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีผลยกเลิกนโยบายนี้ซะ ครับ แน่นอนว่า การกระทำในครั้งนี้ได้ทำให้ชาวนาไทยหลายร้อย หลายพันคนไม่พอใจและประท้วงเรื่องนี้กันใหญ่โตจนนำไปสู่การตั้งคำถามว่า การจำนำข้าวนั้นชาวนาได้รับผลประโยชน์จริงหรือไม่ รวมทั้งคำถามจำนำกับประกันราคาข้าวนั้นอะไรกันแน่ที่ได้รับผลประโยชน์มากกว่ากัน

         ซึ่งแน่นอนว่า ผมจะไม่พูดถึงประเด็นนี้เพราะเชื่อว่า มีหลายคนให้ทัศนะที่น่าสนใจเอาไว้แล้วทั้งการเปรียบเทียบว่า ประกันกับจำนำมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ผมแนะนำให้ไปอ่านลิงค์ที่ผมให้นี้ครับ น่าจะช่วยได้เยอะครับ

 
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมานั้น ใครเป็นคนได้รับผลประโยชน์ที่สุดจากการเกษตร ชาวนาเหรอ ไม่ใช่ครับ ผู้บริโภคเหรอ ก็ไม่ใช่อีกครับ
 
คนที่ได้รับผลประโยชน์ก็คือ พวกนายทุนบริษัทต่าง ๆ นั้นเองที่เข้ามากอบโกยเอากับสินค้าประเภทนี้ดังเช่นที่ สารคดีเรื่องหนึ่งได้พาเราไปให้เห็นว่า เรากำลังมองภาพบางอย่างผิดไปจากเดิม
 
สารคดีนั้นก็คือ Food, Inc. นั้นเอง
 
Food, Inc. เป็นสารคดีที่พาเราไปพบกับคำตอบว่า เหตุใดเราจึงมีไก่กินทั้งปี เหตุใดเราจึงมีเนื้อกินทั้งปี เหตุใดเราจึงมีมะเขือเทศทั้งปี โดยผ่านการสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากเกษตรกรทั่วอเมริกาที่ทำให้เราได้เห็นภาพวงจรบางอย่างที่น่าสนใจ
 
 
โดยเริ่มจากอย่างแรก เราพบว่า เวลาเราเดินไปซุปเปอร์มาร์เก็ต เราจะพบภาพชาวนา ภาพบ้านสวนสวย ๆ ติดบนฉลากต่าง ๆ เต็มไปหมด ราวกับต้องการบอกคนดูว่า นี่ผลิตจากหยาดเหงื่อของชาวนานะจ้ะ โดยที่เราก็ปักใจเชื่อเช่นนั้น โดยไม่คิดว่า มันเป็นเพียงมายาคติที่หลอกเราให้คิดว่า ทุกอย่างยังคงเป็นแบบนั้น ทั้ง ๆ ที่ปัจจุบันนั้นแทบจะไม่มีภาพแบบนั้นอีกแล้วในอเมริกาเพราะ ส่วนมากทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยอุตสาหกรรมการเกษตรแทบทั้งสิ้น ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์จนไปถึงรังเพาะเลี้ยงที่ล้วนแล้วเกิดขึ้นด้วยมือของบริษัททั้งนั้น
 
ซึ่งที่จริงแล้วนับตั้งแต่แม็คโดนัลล์ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดชื่อดังประสบความสำเร็จกับการปฏิวัติการผลิตอาหารนั้นได้เปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นธุรกิจครบวงจรที่ทุกอย่างจะต้องเหมือนกัน
 
 
ไม่ว่าจะเป็นการที่เรามีไก่ที่ขุนให้โตได้ภายในไม่กี่วัน แถมมีเนื้อมากกว่าไก่ยุคอื่นเสียอีก 


ซึ่งนั้นเป็นผลเสียที่ทำให้ไก่ยืนแทบจะไม่ไหวด้วยซ้ำไป
 
นอกจากนี้ยังมีวัวที่ขุนให้อ้วนด้วยการกินข้าวโพด เพราะราคาถูกกว่าหญ้า และข้าวโพดนี่เองที่ทำให้มีการติดเชื้ออีโคลายไปทั่วประเทศอเมริกาและส่งผลให้มีคนเสียชีวิตเพราะโรคนี้มากมาย เนื่องจากการเลี้ยงแบบฟาร์มและกินอาหารแบบรางนั้นเอง
 
 
มีคนเคยถามผมว่า ทำไมคนอเมริกาถึงชอบทานอาหารฟาสต์ฟู้ดกันนัก หนังก็ได้ให้คำตอบเราว่า ทำไมพวกเขาถึงต้องทานอาหารพวกนี้
 
คำตอบนั้นก็คือ เพราะมันถูกไงครับ
 
แฮมเบอร์เกอร์นั้นราคาเพียง 1 เหรียญเท่านั้น ต่างจากพวกผัก ผลไม้ หรืออื่นที่มีราคาแพงกว่ามาก ซึ่งด้วยราจ่ายที่มากของคนรากหญ้าทำให้พวกเขาไม่มีทางเลือกนอกจากการซื้ออาหารพวกนี้ครับ เพราะเงินไม่เอื้ออำนวยนั้นเอง 
 
สิ่งที่น่าถามคือ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น
 
สารคดีให้คำตอบเราว่า เพราะเรานิยมกินของพวกนี้กันมาก ดังนั้นราคาของพวกนี้จึงถูกต่างจากพวกอาหารที่มีคุณค่าที่แพงเอามาก ๆ นั้นเอง และด้วยเหตุนี้ของที่มีแคลลอรี่สูงพวกนี้ จึงมีราคาถูกมากกว่า พวกของที่มีคุณทั้งหลายอยู่ใช่น้อย คุณลองเทียบราคาน้ำอัดลมหนึ่งขวดกับน้ำผลไม้ในปริมาณเท่ากันดูสิครับ จะรู้ว่า ของที่มีคุณค่านี่ราคาแพงมากจริง ๆ 
 
แต่อีกอย่างที่เราได้เห็นก็คือ ความฉ้อฉลของพวกบริษัทอาหารพวกนี้ที่ใช้แรงต่างด้าวราคาถูกเข้ามาเป็นแรงงานเสร็จแล้วก็หาทางผลักให้ตำรวจคนเข้าเมืองจับไปครับ 
 
แหม่...ช่างเป็นวิธีที่ดีจริง ๆ เลยนะครับ ไล่ออกแบบนี้
 
แต่สิ่งที่เป็นเหมือนไฮไลต์ของเรื่องคือ การได้พบว่า ในประเทศนี้จะต้องปลูกพืชด้วยพืชจากบริษัทของมอนซานโตเท่านั้น หากมีการเก็บเมล็ดพันธุ์เอาไว้ก็จะมีการฟ้องร้องกับชาวนาว่า ขโมยลิขสิทธิ์
ซึ่งมีชาวนาจำนวนมากเจอเรื่องแบบนี้กันทั้งนั้น
 
 
ทำให้พวกเขาทำได้เพียงแค่ก้มหน้าก้มตาต่อไปเท่านั้นเพราะไม่สามารถสู้อะไรได้ 
 
แล้วทำไมรัฐบาลถึงไม่ช่วยอะไรพวกเขาเลย คำตอบก็คือ เพราะในรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนเป็นล้วนแล้วแต่มีคนของบริษัทพวกนี้ไปเป็นรัฐมนตรีหรือส.ส.อยู่แล้ว 
 
 
เหมือนประเทศเราที่บริษัทยักษ์ใหญ่บริษัทหนึ่งเล่นส่งลูกเขยตัวเองเข้าไปในพรรคต่าง ๆ กัน เรียกได้ว่า เปลี่ยนขั้วตัวเองก็ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ทั้งนั้น เพราะกูอยู่บนทั้งสองฝ่ายเลย ไม่ได้โดนเช็คบิลง่ายดี 
นอกจากนี้บริษัทพวกนี้ได้รับผลประโยชน์มากไม่ว่าจะด้วยเหตุใดครับ เพราะพวกนี้เป็นเจ้าของตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืชไปจนถึงกระทั่งการซื้อผลผลิตแล้วด้วยซ้ำ
 
พวกบริษัทพวกนี้ได้ประโยชน์หมดแหละครับ ขนหน้าแข้งไม่เคยร่วงด้วยซ้ำ 
 
แถมพูดออกสื่อได้ด้วยว่า ให้ขึ้นค่าแรงเป็น 500 บาทด้วยซ้ำ
 
โธ่ จะขึ้นค่าแรงไป พี่ก็ไปเอากับคนซื้ออยู่ดีแหละครับ เสือนอนกินจริง ๆ
 
แบบเดียวกับในอเมริกาที่มอนซานโตครอบครองทุกสิ่งในอเมริกาไปจนหมดแถมยังเล่นงานชาวนาตัวเล็ก ๆ จนแทบจะสู้ไม่ไหวด้วยซ้ำไป เพราะโดนฟ้องกันกระจุย
 
มีคนบอกว่า สารคดีนี้เป็นการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเพียงด้านเดียว แน่นอนครับว่า ผมไม่เถียงแต่ พวกบริษัทพวกนี้ดันปฏิเสธจะให้ข้อมูลเอง พวกเขาจะโวยอะไรได้ล่ะครับ 
 
นั้นทำให้ผมรู้สึกแปลกใจที่เราไม่เห็นสารคดีเจาะลึกพวกนี้ในประเทศของเราสักเท่าไหร่ 
 
แน่นอนครับ ใครก็คิดว่า สารคดีจะบอกว่า ทุนนิยมมันเลวทรามต่ำช้าจนคิดว่า เราควรออกไปกู้ชาติกันเพื่อช่วยเหลือชาวเกษตรกรกันเถอะ ใช่ไหมครับ
 
เปล่าเลยครับ สารคดีมันไม่ได้บอกแบบนั้น จุดมุ่งหมายของเขาก็คือ การถามว่าเราจะอยู่ได้ยังไงในสังคมทุนนิยมแบบนี้ต่างหากล่ะครับ เพราะทุนนิยมนี่เองที่ทำให้เราเลือกได้มากขึ้น
 
และเพราะเลือกนี่เองที่เป็นอาวุธในการต่อสู้
 
หนังไม่ได้บอกให้เราเลิกกินของพวกนี้ เพราะมันเป็นไม่ได้ อย่างข้าวโพดหรือข้าวที่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตอาหารต่าง ๆ ไปกันหมดแล้ว
 
 
เราเลือกอะไรได้ เราเลือกที่จะซื้ออาหารมีประโยชน์ได้ เราเลือกที่จะซื้อผลผลิตที่ถึงตัวชาวนา เกษตรโดยตรงได้ เราเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้  เราเลือกที่จะอ่านฉลากบอกวัตถุดิบได้ เราเลือกอ่านฉลากบอกแคลอรี่ได้ เราเลือกสิ่งต่าง ๆ ได้ ครับ หากอาหารฟาสฟู้ดเติบโตได้เพราะคนเลือกจะกินพวกมัน เราก็เลือกที่จะกินอาหารที่มีประโยชน์ได้มากขึ้นอย่างที่ตัวเองต้องการ
 
พูดง่าย ๆ คือ ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ นี่เองที่เป็นคนกำหนดสิ่งต่าง ๆ นั้นเองครับ
 
ด้วยเหตุนี้สารคดีจึงให้เราเห็นภาพของเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ด้วยการให้กินหญ้า เลี้ยงไก่ระบบเปิดที่ทำให้ได้ไก่ที่ไร้สาร เลี้ยงหมูแบบเปิดที่ทำให้พวกมันมีสุขภาพที่ดี เพื่อคุณภาพของเนื้อที่ดีต่อสุขภาพนั้นเอง ซึ่งมองเผิน ๆ อาจจะดูเหมือนไม่สะอาด แต่กลับสะอาดกว่าการเลี้ยงในฟาร์มเสียอีก
 
เขาบอกว่า ทุกอย่างอยู่ในมือที่คุณเลือก
 
แล้วคุณล่ะเลือกแล้วหรือยัง

ความเห็น

Submitted by dk on

ข้อดีของทุนนิยม ได้แก่ การพยายามเสนอทางเลือก หรือ การมีทางเลือกที่หลากหลาย

แต่ถ้าสังคมมีช่องว่างระหว่างคนรวย คนจนมากแล้ว ผู้ที่มีทางเลือกน้อยลงเรื่อยๆ จึงได้แก่คนจน
หรือพูดให้ชัดคือ การไม่มีทางเลือก เช่น กรณีอาหารสุขภาพ เป็นทางเลือก แต่พื้นที่หรือการวางตลาดมีกว้างแค่ไหน
และมักราคาแพง ดังนั้น คนรวยกว่า ย่อมมีทางเลือกได้มากกว่า อยู่แล้ว

ธุรกิจครบวงจรของอุตสาหกรรมอาหาร ไปสร้างการผูกขาดในตลาดอาหาร และย่อมมีผลต่อสุขภาพหรือคุณภาพประชากร

การจำนำข้าว ที่เป็นปัญหาบ้านเราขณะนี้ ผู้ได้ประโยชน์มาก ไม่ใช่ ชาวนา แต่กลับเป้น โรงสี พ่อค้า และนักการเมือง
และประชานิยมในเรื่องทำนองนี้ อาจเป็นแค่ วาทกรรมหลอกสังคม เพื่อ ให้โครงสร้างสังคมเกษตรดำรงอยู่ต่อไป
ทั้งที่มันเต็มไปด้วย การกดทับ กดขี่ เกษตรกรมาชั่วนาตาปี

ภาพยนตร์เรื่องตามบทความนี้ ดูเหมือนพยายามสร้างทางเลือกทางการเกษตร ด้วย การเกษตรอินทรีย์ขนาดเล็กหรือกลาง ไม่ใช่ใหญ่โตมโหฬาร ที่ทำให้ผลผลิตต้องพึ่งสารเคมี อันส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ทั้งเกษตรกรเองและปลายทางผู้บริโภคด้วย แต่จะทำเช่นนั้นได้ เกษตรกรก็ต้องมีคุณภาพ ต้องรู้จักพัฒนาตนเอง
รู้จักใช้เทคโนโลยีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือ ต่อผลผลิต

อย่างบ้านเรา ก็มีชุมชนเกษตรทำนองนี้ที่ทำในหลายจังหวัด อันเป็นเครือข่ายของชุมชนสันติอโศก
พวกเขาทำแบบครบวงจรระดับชุมชนและเป็นเครือข่าย สินค้าก็มีหลายอย่าง ครอบคลุมชีวิตประจำวันมาตรฐาน
ที่สำคัญ ราคาก็ไม่แพง หลายอย่างก็ยังถูกกว่าสินค้าอุตสาหกรรมเสียอีก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่น่าทึ่ง แต่ยังไม่แพร่หลาย ซึ่งก็เป็นทางเลือกการบริโภคอย่างฉลาด...ก็ว่าได้

Submitted by ชนชั้นกลาง on

ในต่างประเทศเขาเริ่มมาสินค้าเกษตรอินทรีย์ขาย และเริ่มได้รับความสนใจมาก ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าเหล่านั้นจะมีต้นทุนสูงกว่าสินค้าที่ผลิตแบบอุตสาหกรรม

แต่จะว่าไป หากได้พูดคุยกับชาวนาถึงสาเหตุที่ไม่ยอมใช้ยาฆ่าแมลงหรือกำจัดศัตรูพืชแบบธรรมชาติ รับรองได้ว่าหลายคนอาจจะพูดไม่ออก บอกไม่ถูก แต่ส่วนหนึ่งเลยก็คือ ตลาดไม่ยอมรับ ซึ่งตลาดทืี่พูดถึงนั้นคือร้านค้าปลีก เพราะเขาต้องการข้าวเม็ดสวย โดยไม่สนใจว่ากว่าจะได้ข้าวเม็ดสวยต้องผ่านอะไรมาบ้าง และไม่มองถึงกระบวนการในการผลิตข้าวให้เม็ดสวย

ไก่ก็คล้ายๆ กัน เราต้องยอมรับกันก่อนว่าหากเลี้ยงไก่แบบตามมีตามเกิด ก็เสี่ยงกับไข้หวัดนก แต่ถ้าให้เลี้ยงแบบฟาร์มปิดตามหลักสุขลักษณะ มันก็ต้องเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม เพราะมิเช่นนั้นคงจะไม่คุ้มกับการลงทุนง่ายๆ และเกษตรกรแบบทั่วๆ ไปคงไม่มีปัญญาในการสร้าง

เราต้องถามตัวเองก่อนว่า หากเกษตรอินทรีย์ต้องทำให้ต้นทุนสูงขึ้นแล้ว เราพร้อมรึเปล่าที่จะจ่ายเงินเพื่อสุขภาพ (เพราะถ้าเรากินสินค้าอุตสาหกรรมที่ถูกกว่า สุดท้ายก็ต้องจ่ายค่าหมออยู่ดี) รัฐบาลพร้อมหรือยังที่จะบังคับให้เกษตรกรทำสินค้าเพื่อสุขภาพมากขึ้น หรือประชานิยมกับผู้บริโภคบ้าง ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกรหรือหาเสียงไปวันหนึ่งวันหนึ่ง รัฐบาลพร้อมรึยังในการควบคุมการค้าปลีกบ้าง

ธี่หยด : พลังอำนาจน่าสะพรึงของ Folk Horror

ปี 2515 ณ หมู่บ้านห่างไกลผู้คนในจังหวัดกาญจนบุรี แย้ม เด็กสาวผู้เคยป่วยหนักจนเกือบตายได้มีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น เธอเริ่มพูดจาด้วยคำหยาบคายกับคนในครอบครัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เริ่มโกหกและยุแยงให้คนในบ้านแตกคอกัน รวมทั้งลุกขึ้นมาตอนกลางคืนเพื่อนกินของสดทำให้คนในครอบครัวโดยเฉพาะ หยาด เกิดความสงสัยขึ

สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน

สัปเหร่อ : คนตายคือ ครู และ คนอยู่คือ นักเรียน

 

          “ความตาย...มันฆ่าเฮาได้แค่ครั้งเดียว แต่ความฮัก มันฆ่าเฉาไปเรื่อยๆๆ จนกว่าเฮาสิตายพุ่นเด้”

บักมืด

 

คุณเอล์ฟโอตาคุ : นี่คือ อนิเมชั่นที่อยากให้รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมคนใหม่ได้ชม

                ระหว่างที่เขียนต้นฉบับบทความนี้อยู่นั้น การโหวตประธานรัฐสภาและรองประธานสองคนการประชุมสภาวันแรกได้จบลงแล้ว และ ผลคือ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาคนใหม่ ร่วมกับ รองประธานสภาสองท่านจากพรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อไทย ที่เป็นเสมือนการเริ่มต้นคณะรัฐมนตรีช

เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ : แสงสว่างของไอดอลและความมืดมิดของชีวิต

            คงไม่มีอนิเมชั่นเรื่องใดในซีซั่นนี้ที่เรียกว่า สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับบรรดาคนดูอนิเมชั่น และ คนดูหนังหลายคนได้เท่ากับ อนิเมชั่นซีรีย์เรื่อง Oshi no Ko หรือ ชื่อไทยว่า เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ ผลงานดัดแปลงจากมังงะขายดีของ อากะ อาคาซากะ ที่ได้ฤกษ์ออกฉายไปเมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมาในตอน

Bocchi the rock : บทเพลงร็อคแด่คนขี้แพ้

                "พรมนิ้วลงไป หวังให้อัสนีกึกก้องด้วยละอองแสง

                  กระหน่ำตีเข้าไปให้ถึงปลายทางของความเจ็บปวด

                  ทำยังไงดี เสียงหัวใจดุร้ายอาละวาดไม่หยุดหย่อน