คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน (ค-น)

มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน อนึ่ง ดิฉันต้องขอชี้แจงว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ ส่วนคำใดจะมาทางใดนั้น ณ ตอนนี้ยังไม่มีเวลาค้นคว้าต่อ ขอติดไว้ก่อนนะคะ

สำหรับวันนี้ขอเสนอ ค ถึง น ค่ะ

 



คำศัพท์

เลขหน้า


ตัวเขียนในภาษามลายู/

อินโดนีเซีย*

ตัวเขียนในภาษาชวา


คำอ่าน


ความหมาย


- -


 


 


 


 


 


คช, คชา


156


gajah


 


-จะฮฺ


ช้าง


ครุ, ครู


166, 167


guru


 


กู-รู


ครู


ครุฑ


167


garuda


 


-รู-ดา


พญาครุฑ (สัตว์สมมุติในนิยายเป็นพาหนะของพระอินทร์), สัญลักษณ์ทางราชการของอินโดนีเซีย


ควาย


173


kerbau


 


เคอรฺ-เบา


ควาย, คำที่ใช้เรียกคนโง่


คากิ


180


kaki


 


คา-กิ


เท้า, ขา (ทั้งสัตว์และคน)


คุลิก่า


188


guliga


 


กู-ลี-


ก้อนหินที่พบในร่างกายของสัตว์ (งู, เม่น เป็นต้น) ที่มีคุณสมบัติในการถอนพิษ


- -


 


 


 


 


 


ฆ้อง


202


gong

kemong


 


ก็อง

เคอ-ม็อง


ฆ้องขนาดใหญ่ (ใช้ตีในการเปิดพิธีต่างๆ )

ฆ้องขนาดเล็กในวงกาเมอลันชวา


- -


 


 


 


 


 


จรัล


217


jalan


 


-ลัน


เดิน, ถนน

 


จาโบ๊


227


cabo


 


จา-โบ


ผู้หญิง


จำปาดะ


229


cempedak


 


เจิม-เปอ-ดะกฺ


ต้นจำปาดะ


จุบ


235


Kecup, cup


 


เคอ-จุป


เสียงจูบ, จูบเสียงดังจุ๊บ


จูบ


236


cucup


 


จู-จุป


จูบ, ดูด, ดูดด้วยปาก,การดูด


- -


 


 


 


 


 


ชนิด


257


jenis


 


-นิส


ชนิด, จำพวก,ประเภท, กลุ่ม, พรรคพวก, พันธุ์, ลักษณะ,คุณสมบัติ, แบบ, รูปแบบ, ตัวอย่าง,ลักษณะ,ท่าทาง,อากัปกิริยา


ชวา


261


Jawa


 


-วา


ชวา


- -


 


 


 


 


 


ดะโต๊ะ


315


datuk


 


ดา-ตุก


หัวหน้าครอบครัว,หรือผู้นำ,สรรพนามเรียกบุคคลที่มียศตำแหน่งสูง


ดะหมัง


315


demang


 


เดอ-มัง


ผู้ใหญ่บ้านชวา, ผู้เชี่ยวชาญในประเพณีดั้งเดิม, เจ้าหน้าที่ปกครองหมู่บ้าน


ดาหงัน


320


 


dangan


ดา-หงัน


การทำศึกสงคราม


- -


 


 


 


 


 


ตรี


343


tri


 


ตรี


สาม


ตรีมูรตี


344


trimurti


 


ตรี-มูรฺ-ตี


เทวดาสามองค์ในศาสนาฮินดูที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ  พระพรหม  พระวิษณุหรือพระนารายณ์  และพระศิวะ


ตะกร้อ


350


takraw


 


ตา-เกรา


ตะกร้อ


ตุนาหงัน


380


tunangan


 


ตู-นา-งัน


หมั้น, หมั้นหมาย


- -


 


 


 


 


 


ทวิ, ทวี


415


dwi


 


ดวี


สอง


ทักษิณ


422


daksina        


 


ดะกฺ-ซี-นา


ขวา, ทางขวา, ทิศใต้


ทีฆายุ


433


dirgahayu


 


ดีรฺ--ฮา-ยุ


มีชีวิตยืนนาน, ยืนนาน


ทุกข-, ทุกข์


434


duka


 


ดู-กา


ความเศร้าโศก,ความระทมทุกข์,ความคับข้องใจ,ความเสียใจ


ทุเรียน


436


durian


 


ดู-เรียน


ทุเรียน


ทูต


436


duta


 


ดู-ตา


ทูต


เทว-, เทวดา


438


dewa


 


เด-วา


เทพ, เทวดา (ผู้ชาย)


เทวี


438


dewi


 


เด-วี


เทพ, เทวดา (ผู้หญิง)


โทษ, โทษา


443


dosa


 


โด-ซา


บาป, อกุศล, ความชั่ว, ความชั่วร้าย


- -


 


 


 


 


 


นคร, นคร-


452


negara


 


เนอ--รา


มลรัฐ,รัฐ,ประเทศ,ชาติ,ประชาชาติ,อาณาเขตของประเทศ


นรก


454


neraga


 


เนอ-รา-


นรก


นาค


562


naga


 


นา-


งูใหญ่, มังกร



* เนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกัน

 

 เนื่องจากภาษาอินโดนีเซียมีที่มาจากภาษามลายู เพราะฉะนั้นจะกำหนดให้อยู่ในช่องเดียวกัน

ความเห็น

Submitted by อนุบาลJKT on

ยกมือคัดค้านหนึ่งคำครับ
ส่วนตัวผมไม่คิดว่า คาราบาว คำภาษาตากาล็อก ซึ่งก็เป็นญาติๆ กับภาษามลายูนี่เหมือนกัน หรือคำภาษาอินโดนีเซียว่า Kerbau นั้น ควรจะเทียบให้ตรงกันกับคำไทยว่า "ควาย" อย่างในตาราง ไม่ใช่ครับ
ผมเสนอว่า กระเบา เครอเบา คาราบาว ตรงกับคำไทยว่า "กระบือ" มากกว่าครับ แปลว่าควายนั่นแหละเหมือนกัน

และแถมอีกคำ Desa เทศา

Submitted by อรอนงค์ on

ยอมรับโดยดุษฏีค่ะ ^^
ว่า Kerbau น่าจะเทียบได้กับ "กระบือ" มากกว่า
มีคนท้วงมาแล้วเหมือนกันค่ะ

ขอบคุณนะคะ

Submitted by กฤช เหลือลมัย on

ภาษาเขมรว่า กรอเบย คล้ายๆ กันเลยครับ
เช่น ปราสาทตาควาย = ปราสาทตากรอเบย อยู่ที่ชายแดนสุรินทร์
.......

Submitted by อนุบาลJKT on

เราเป็นญาติๆ กันหมดทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อุษาคเนย์) แหละครับ

Submitted by อนุบาลJKT on

ว่าด้วยเรื่องของที่กินได้ ขนุน (ผลไม้) นั้น ดูเหมือนภาษาอินโดมาเลย์จะเรียกเป็น nangka ซึ่งไทยเราก็มีขนุนชนิดหนึ่งเรียก ขนุนหนัง และอีกชนิดที่เราเรียกว่า จำปาดะ นั้นก็คล้ายๆ ขนุน จะเรียกว่าขนุนจำปาดะก็คงได้ อันนี้ตรงกันเลยกับที่ทางเขาเรียก Cempedak ปรากฏอยู่ในตารางแล้ว

ทีนี้ไปอีกคำที่เป็นต้นไม้เหมือนกัน แต่เป็นไม้ดอกไม่ใช่ไม้ผล คือดอกจำปา จำปี จำปูน ซึ่งก็เป็นพันธุ์ไม้ญาติๆ กันหมดแหละ ทางนี้เรียกว่า Cempaka ถ้าดอกจำปา เขาเรียก cempaka kuning แปลตรงตัวว่าจำปาสีเหลือง แต่ถ้าเป็นจำปี เขาเรียก cempaka putih แปลว่า จำปาสีขาว ถ้าผมจำไม่ผิด นี่เป็นภาษาบาลีสันสกฤต จัมปกะ แปลว่า ดอกจำปา ทั้งไทยทั้งอินโด/มาเลย์รับไปเรียกในภาษาของตน

Submitted by อนุบาลJKT on

ฝาก ชมพู่ ไว้อีกคำครับ
ผมออกจะเชื่อว่านี่ก็คำร่วมที่ทั้งไทยและอินโด (มาเลย์) รับมาจากภาษาทางอินเดีย คือบาลีสันสกฤตอีก

คำว่า ชมพู ชามพุ นั้นอินเดียใช้เรียกลูกหว้า ตามตำนานชมพูทวีปก็มีต้นหว้ายักษ์ต้นใหญ่ประจำทวีป มาถึงทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่ ทางอินโดเอาคำนี้ไปใช้เรียกผลไม้หลายชนิดเชียวครับ Jambu air "ชมพู่น้ำ" นั้น แปลว่าชมพู่ธรรมดา คือลูกชมพู่แบบที่ไทยเรียก Jambu batu "ชมพู่หิน" แปลว่าลูกฝรั่ง และ Jambu Monyet "ชมพู่ลิง" นั้น เขาหมายถึงมะม่วงหิมพานต์ (นี่ตามดิกชันนารีนะครับ ผมจำได้เองด้วยว่ามะม่วงหิมพานต์นั้นทางมาเลย์หรือปักษ์ใต้เรายังมีชื่ออื่นอีก เช่น กาหยู - ซึ่งอาจจะกลายไปเป็น cashew nut ในภาษาอังกฤษก็ได้)

นอกจากนั้น ชมพู ชัมพุ ยังกลายมาเป็นชื่อสีในภาษาไทยอีก เดิมควรจะหมายถึงสีลูกหว้า คือออกไปทางม่วง แต่ตอนนี้เราใช้หมายถึงสีผสมระหว่างสีแดงกับสีขาวกลายเป็นสีชมพู อันนี้อินโดเขาไม่ใช้ด้วย เขาเรียกสีชมพูว่า แดงอ่อน merah muda ซะเลยหมดเรื่องไป

Submitted by อรอนงค์ on

ขอบคุณนะคะคุณ "อนุบาล JKT" ที่มาแลกเปลี่ยน ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกค่ะ
ลูกฝรั่ง (ที่เป็นผลไม้) เรียกว่า Jambu isi ก็มีค่ะที่อินโด