6 ตุลา ความคลุมเครืออันเย้ายวน

จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์

นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์

สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ

วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆ

เมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน คำตอบที่ได้ทั้งสร้างความแปลกใจและไม่แปลกใจในเวลาเดียวกัน

“เป็นวันที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยอะไรซักอย่าง ที่ต้องจำ เพื่อใช้สอบเอ็นท์”
“ตอนเป็นนักศึกษาก็จำได้อยู่ แต่พอจบมาก็ลืมหมดแล้ว ถ้าไม่ได้เรียนธรรมศาสตร์ คงไม่รู้เรื่องนี้”
“รู้ไปก็ปวดหัว” หลายคนบอก “เรื่องมันผ่านไปแล้ว”

พอลองนั่งนึกดูว่าในแบบเรียนสมัยมัธยมพูดถึงเหตุการณ์นี้อย่างไร สารภาพตามตรงว่า จำไม่ค่อยได้เสียแล้ว สิ่งที่จำได้เลาๆ มีว่า มีนักศึกษาประชาชนในธรรมศาสตร์ถูกยิง ถูกฆ่า เพราะมีคนแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ...ก็แค่นั้น

เมื่อพูดถึงเหตุการณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย...14 ตุลา และพฤษภา 35 ก็ดูจะโดดเด่นออกมา เพราะเป็นครั้งที่ถูกมองว่า “ชนะแล้ว” ส่วน 6 ตุลา นั้น บ้างว่า เพราะประชาชนแพ้ บ้างว่า เพราะมันเศร้าเกินไป ไม่พูดถึงดีกว่า หรือบ้างก็ว่า “ไม่เอา ไม่พูด” หรือ “มันเป็นประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ชำระ”

เมื่อไม่ค่อยมีใครพูดถึงในวงกว้างและ “ความจริง” ของเหตุการณ์ยังไม่ปรากฎ เหตุการณ์ที่คลุมเครืออย่างชัดเจนนี้ ก็น่าสนใจไปอีกแบบ ใครเป็นคนสั่งฆ่านักศึกษา ประชาชน (แม้นิรโทษกรรมไปแล้ว ก็ควรต้องหาความจริง ไม่ใช่หรือ)

เมื่อข้อมูลขาดหาย เราก็สามารถเติมเต็มได้ด้วยเอกสารบันทึกจากปากคำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ ถ้าเป็นเมื่อก่อน อาจต้องพลิกห้องสมุดหา แต่เดี๋ยวนี้ อินเทอร์เน็ตช่วยได้มากทีเดียว ข้อมูลที่จะได้ด้วยหาปะติดปะต่อเรื่องราวเอง คงน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อย ข้อมูลหลายอย่างผุดขึ้น ความจริงหลายชุดถูกเปิดเผย พ้นไปจากชุดความรู้ในแบบเรียน (ที่ถูกบังคับให้เรียนและรู้เหมือนกัน) (อาจถือเป็นข้อดีก็ได้ ที่เหตุการณ์นี้คลุมเครือและไม่มีบทสรุปในแบบเรียน)

การทำและไม่ทำอะไรของใครและใครในเหตุการณ์นั้น ทำให้เข้าใจสภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมากขึ้น

ความเป็นที่รักของสถาบันกษัตริย์
แสนยานุภาพของสื่อ
หรือแม้กระทั่ง พลังแห่งศรัทธาของประชาชนต่อบางสิ่งบางอย่าง - ประชาธิปไตย? 

ว่ากันว่า อดีตเป็นรากฐานของปัจจุบัน แถมยังทำนายอนาคต ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราควรศึกษาอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบัน และสร้างอนาคตด้วยตัวเองรึเปล่า

........................

ป.ล.1 ถ้าคิดว่า 6 ตุลา ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณ ลองดูว่ามีอะไรเหล่านี้ที่อยู่รอบตัว หรือคุณเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่บ้าง

สถาบันกษัตริย์ เพลงพระราชนิพนธ์ เราสู้ นักศึกษา ประชาชน ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ การเมือง เผด็จการทหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สื่อ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แขวนคอ กษัตริย์นิยม สนามหลวง รัฐประหาร นายกฯ พระราชทาน

ป.ล.2 เว็บที่พูดถึง 6 ตุลา จากการสอบถาม “กูเกิ้ล
http://2519.net
http://th.wikipedia.org/wiki/เหตุการณ์_6_ตุลา
http://sameskybooks.org
http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95289.html
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000137269
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q4/article2005oct28p1.htm
http://www.puey.org/th/content/view/6/13/
http://www.seas.arts.tu.ac.th/6tula.htm
http://www.seas.arts.tu.ac.th/6tulainterview.htm

ความเห็น

Submitted by รวงข้าว on

น้อมจิตคารวะเทิดทูน วีระชน 6 ตุลาคม 19
ผู้กระทำจักถูกจดจำตลอดไป

Submitted by ดาวในน้ำ on

เคยเถียงกับอาจารย์สอนสังคมสมัยม.ปลาย(อาจารย์ก็ค่อนข้างมีอายุแล้ว สอนพี่ๆ นิสิตในมหาลัยด้วย)
อาจารย์สอนว่าเหตุการณ์หกตุลาไม่ร้ายแรง เราก็เถียงสุดใจขาดดิ้นเลย...

หกตุลาเป็นเหตุการณ์ที่จนทุกวันนี้สามสิบเอ็ดปีผ่านไปแล้วก็ยังคงคลุมเครือ ทั้งเพราะเรื่องของความเกี่ยวพันกับบางอย่าง และเพราะความเจ็บปวดของผู้ถูกกระทำ

แต่เห็นด้วยนะคะ ว่าควรมีการชำระประวัติศาสตร์ส่วนนี้กันได้แล้ว

ด้วยจิตคารวะต่อวีรชนทุกท่าน

Submitted by styx on

มันครุมเครือเหมือนมีผ้าขาวบางคลุมเอาไว้...

จะว่าไป ก็ไม่มีใคร dare มากพอที่จะไปรื้อฟื้นเรื่องนี้อย่างโจ่งแจ้งอยู่แล้ว

จนกลายเป็นว่าเหตุการณ์นี้ก็เป็นแค่ "ฝันร้าย" คืนหนึ่ง เท่านั้นเอง

แค่ผัวเมียทะเลาะกัน...ครับ

 
โจว ชิงหมาเกิด
 
 
ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)
 
 

ด้วยรักและไว้อาลัยแด่การสอบโอเน็ต (และบทสัมภาษณ์ 'ติ่งหู' กับ 'ผู้ไม่เชี่ยวชาญ')

เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน

ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน”

หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ไปจนถึงผู้บริหารสถานศึกษาก็ต่างลุ้นตัวโก่งกับผลการเข้ามหาวิทยาลัยในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ….ช่างเป็นช่วงชีวิตที่ลืมไม่ลง เสียจริง ๆ

รักเทอซะให้เข็ด ..แม่เจ็ดสาวลีโอ

ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง

เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ เป็นส่วนหนึ่งในการฟาดฟันต่อสู้กับค่ายช้างจนทำให้เบียร์ลีโอเป็นเบียร์อันดับหนึ่งของประเทศ โดยกลยุทธการตลาดที่สำคัญนั้นก็คือการขายความเซ็กซี่และมีระดับกว่าช้างมาหน่อย

ขออนุญาต "ไม่แปล"

สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน