มาบตาพุด...สิ่งชำรุดของการพัฒนา

จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่

 

นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ นี่ยังไม่รวมนิคมฯ รอบนอกอื่นๆ และโครงการปิโตรเคมีระยะที่ 3 ที่จะมีโรงงานขนาดใหญ่ผุดขึ้นอีกสิบกว่าโรง

 

ต่อมาให้หลังอีกราว 20 ปี พื้นที่นี้ก็ถูกยกให้เป็นตัวอย่างดีเด่นอย่างเป็นทางการมาโดยตลอด ในแง่ที่อุตสาหกรรมได้สร้างภาระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผู้คนในพื้นที่ มีงานศึกษาวิจัยหลายต่อหลายแหล่งที่พบว่า ชาวบ้านเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและอื่นๆ สูงมาก เพราะมลพิษที่มีทั้งในน้ำ น้ำใต้ดิน อากาศ

 

ตารางตัวอย่างผลการศึกษาวิจัยชิ้นสำคัญเกี่ยวกับปัญหามลพิษในมาบตาพุด ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน

 

การศึกษาของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

โครงการศึกษาระบาดวิทยาของโรคมะเร็งในไทย ปี 2540-2544 พบว่าสถิติการเกิดโรคมะเร็งทุกชนิด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (ที่ตั้งนิคมฯ ) มีสถิติความเสี่ยงสูงสุดเมื่อเทียบกับอำเภออื่นๆ และเมื่อเปรียบเทียบกับ 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี กรุงเทพฯ ประจวบฯ และสงขลา

 

ปี 2544-2546 พบว่า ชาวระยองมีแนวโน้มการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง และพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดมากที่สุด รองลงมาได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร ฯ

 

การศึกษาของ ดร.เรณู  เวชรัตน์พิมล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาวิทยาลัยศิลปากร

การวิเคราะห์ตัวอย่างเยื่อบุข้างแก้มของประชาชนผู้ใหญ่จำนวน 100 คนในเขตมาบตาพุด พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 พบสารพันธุกรรมที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของยีนในร่างกายที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง บางตัวอย่าง พบเซลล์แตกหักมากกว่าคนปกติ 12 เท่า

 

การศึกษาของกรมควบคุมโรค

การวิเคราะห์ปัสสาวะของประชาชนในเขตมาบตาพุดจำนวน 2,177 คน พบว่า 329 คนหรือร้อยละ 16 พบสารก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาดสูงเกินมาตรฐาน

ที่มา : การเมืองเรื่องมลพิษ : ศักยภาพการรองรับมลพิษและการขยายอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด โดย ศุภกิจ นันทวรกา, เอกสารประกอบงานสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการแก้ไข้ปัญหาผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด

 


ที่ผ่านมา คนในพื้นที่เรียกร้องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศให้พื้นที่มาบาตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ เนื่องจากพื้นที่นี้ไม่มีศักยภาพรองรับมลภาวะได้แล้ว แต่รัฐก็ซื้อเวลา โดยนายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯ และรมว.อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ประกาศตั้งคณะอนุกรรมการดูแลเรื่องนี้
2 ชุดและให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในระยอง ปี 2550-2554 แต่ถึงวันนี้ ปี 2551 โครงการต่างๆ ถูกตัดงบประมาณและไม่ได้รับความสำคัญ

 

ความล่าช้า ยึกยักนี้ ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่ในปี 2541 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติให้ประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจอนุมัติโครงการอุตสาหกรรมเพิ่มเติม เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากมีข่าวเด็กในโรงเรียนมาบตาพุดพิทยาคารถูกหามส่งโรงพยาบาลจากกลิ่นเหม็นของสารเคมี อย่างไรก็ดี การศึกษาดังกล่าวล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่เสร็จ และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ และในขณะเดียวกันหน่วยงานภาครับก็อนุมัติโครงการอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่มาบตาพุดไปด้วยระหว่างนั้นรวมแล้วประมาณ 140 โครงการ เช่นเดียวกันกับการตั้งอนุฯ 2 ชุดในปี 2550 ก็มีการอนุมัติโครงการปิโตรเคมีระยะที่ 3 ไปด้วยในพื้นที่เขตต่อเนื่องบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดกับพื้นที่อำเภอบ้านฉาง ซึ่งมีนิคมฯ เอเชียอยู่แล้ว ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวมีข้อกำหนดผังเมืองห้ามก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีประเภทต้นน้ำ แต่สุดท้ายก็มีการเปลี่ยนผัง

 

 

ตารางสรุปการดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2541 กับการดำเนินการจริงและโครงการที่ได้รับอนุมัติเพิ่มขึ้น

 

กรอบเวลาการดำเนินการตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ

เวลาในการดำเนินการจริง

โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุมัติเพิ่มที่มาบตาพุด

1..ให้ประเมินผลกระทบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ โดยถ้ามีโครงการใหม่เกิดขึ้นดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน

2541-2543

วางแผนการศึกษา จัดหางบประมาณ จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา

 

อย่างน้อย 11 โครงการ

2.ให้การนิคมฯ ดำเนินการมาตรการต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 

2544-2546

ดำเนินการศึกษา

ช่วงปี 2546 ประมาณ 56 โครงการ

3. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ประเมินภาพรวมของศักยภาพการรองรับมลพิษ

2546-ปัจจุบัน

ปรับแก้ผลการศึกษา

 

ประมาณ 75 โครงการ

ที่มา : อ้างแล้ว

 

ตารางสรุปสถานภาพการพิจารณาอนุมัติโครงการในพื้นที่มาบตาพุดในช่วงปี 2548-2550

 

โครงการใหม่ในพื้นที่มาบตาพุด

จำนวนโครงการ

ภาพรวมของโครงการ

1.อนุมัติ รายงาน EIA แล้ว

      22

-โครงการขยายนิคมฯ ตะวันออก, ขยายนิคมฯ เอเชีย

-การขยายโรงงานปิโตรเคมีเดิม 11 โครงการ

-การก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีใหม่ 9 โครงการ

2. กำลังพิจารณา รายงาน EIA

     16

-โครงการปิโตรเคมี 13 โครงการ

-โรงเหล็ก 1 โครงการ

-โรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 โครงการ และโรงไฟฟ้าก๊าซ 1 โครงการ

รวม

      38

 

ที่มา : อ้างแล้ว

 

การต่อสู้ขณะนี้ของคนในพื้นที่มีหลากหลายรูปแบบ ที่ขึ้นโรงขึ้นศาลไปแล้วก็มีคือ คดีศาลปกครอง ชาวบ้าน 27 คนจาก 12 ชุมชนรอบนิคมฯ ได้ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 จากกรณีที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ยอมประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ทั้งที่มีข้อมูลอันชัดแจ้งจากหลายหน่วยงานแล้วว่าพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหารุนแรง และทั้งที่ก่อนหน้านี้ในปี 2549 หน่วยงานอย่างสำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)  กรมควบคุมมลพิษ ก็เคยมีการสำรวจศึกษาและเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษไปแล้วด้วย

 

นอกจากนี้ชาวบ้านจากเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกยังมีการยื่นหนังสือต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ระงับการอนุมัติโครงการอุตสาหกรรม โดยให้ทำตามมาตรา67 ที่มีเนื้อหากเกี่ยวกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงต้องศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) และสุขภาพประชาชน (HIA) ด้วยโดยให้ผู้แทนสถาบันอุมศึกษาให้ความเห็นประกอบ และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเสียก่อน ทั้งนี้ สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยงานรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ย่อมได้รับความคุ้มครอง

 

ล่าสุด มีการระดมความคิดเห็นกันในเวทีสมัชชาสุขภาพของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อรวบรวมข้อเสนอของทุกภาคส่วนส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติที่เพิ่งร่างขึ้นมาใหม่ และเป็นช่องทางใหม่ๆ ที่ประชาชนจะลองเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายผ่านกลไก สช.นี้ แม้จะไม่ได้มีความหวังเรืองรองนัก

 

ข้อเสนอที่ถูกรวบรวมมี 13 ข้อ ได้แก่

 

     1. การกำหนดแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง ต้องให้ความสำคัญกับมิติทางสุขภาพมากขึ้น และน่าจะมีความสำคัญเท่าเทียมหรือมากกว่ามิติทางเศรษฐกิจ จึงขอให้รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนจังหวัดระยอง

 

     2. ให้มีการทบทวนและปรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยอง เนื่องจากปัจจุบันเน้นการขยายอุตสาหกรรมตามแผนแม่บทปิโตรเคมีระยะ 3 ขัดแย้งกับวิสัยทัศน์การพัฒนาของชาวระยอง จึงควรดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการ อันประกอบด้วย 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม เพื่อทบทวนแนวทางการพัฒนาในปัจจุบัน

 

      3.ให้กรมโยธาฯ ทำการวางและจัดทำผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชนจังหวัดระยองฉบับใหม่ เนื่องจากผังรวมฯ ล่าสุดหมดระยะเวลาบังคับใช้แล้ว โดยจะต้องทบทวนการประกาศพื้นที่สีม่วงซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ประกาศทับพื้นที่ชุมชนในปัจจุบัน และกำหนดให้มีพื้นที่กันชน (buffer zone)

 

      4.ปัญหาการขาดแคลนน้ำมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น จึงเสนอให้ กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน บมจ.อีสวอเตอร์ ปรับปรุงการจัดการทรัพยากรน้ำใหม่ โดยต้องเพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องแบ่งสรรผลประโยชน์จากการขายน้ำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

 

      5.ให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาปรับปรุงระบบและมาตรการทางการคลัง โดยให้โรงงาน ภาคธุรกิจเสียภาษีที่เกี่ยวข้องในจังหวัดระยอง, ทบทวนให้สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับโรงงานใหม่ และให้มีการนำมาตรการทางภาษีสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้อย่างจริงจัง เพื่อให้จังหวัดมีทรัพยากรเพียงพอในการจัดบริการสาธารณะ และฟื้นฟูทรัพยากรฯ

 

       6.ระหว่างการทบทวนและปรับแนวทางพัฒนาจังหวัดระยองและการวางผังเมืองรวมใหม่ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรชะลอการให้ใบอนุญาต หรือนุมัติเห็นชอบ การขยายโรงงานในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉางไว้ก่อน โดยต้องวางแนวทางและกระบวนการตัดสินใจให้เป็นไปตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ

 

       7.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรม รวมถึงต้องเผยแพร่วิธีป้องกันผลกระทบและวิธีการสร้างเสริมสุขภาพนาภาวะมลพิษให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องโดยเร็ว

 

        8.นอกจากนี้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่

 

         9.สนับสนุนให้มีการศึกษาและแสวงหาแนวทางในการจัดตั้งกลไกผู้ตรวจการผลกระทบทางสุขภาพ โดยเป็นองค์กรกลาง หรือองค์กรกึ่งตุลาการที่ได้รับการยอมรับจากทั้ง 5 ภาคส่วน มีความเป็นอิสระ ทำหน้าที่วิเคราะห์ ตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลกับประชาชน แก้ปัญหาความขัดแย้งรวมถึงให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล

 

        10.หน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดให้มีระบบเครือข่ายเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนกลุ่มพิเศษ และกลไกสนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน สนับสนุนให้เกิดการลงทุนทางสังคม ทั้งทุนการศึกษา สุขภาพ สวัสดิการและวัฒนธรรม

 

         11.เสนอให้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของภาคประชาสังคม และมีการจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพของประชาชนจังหวัดระยองทุกปีโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมเต็มที่

 

          12.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดให้มีบริการทางสังคม ซึ่งเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนอย่างพอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบริการทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย และระบบน้ำประปาในชุมชนมาบตาพุด

 

          13.ควรสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมในจังหวัดระยองติดตามความเคลื่อนไหวทางนโยบาย และเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนนโยบายในทุกช่องทาง จัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกเตรียมจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยมาบตาพุด" เพื่อจัดระบบการเรียนรู้และการศึกษาสำหรับภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง และควรพิจารณาจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์มลพิษและโรคจากการพัฒนา" เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับประชาชนทั่วไป

ความเห็น

Submitted by คนระยอง on

-สิ่งเลวร้ายทั้หลายตกแก่คนระยอง

-รายได้ ตกแก่นายทุนผู้ถือหุ้น ที่อยู่นอกพื้นที่ คนในพื้นที่ ได้รับผลจากกากเดนอุตสาหกรรม

-ตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ไร้ประสิทธิภาพในการสร้างความยุติธรรมให้กับคนในพื้นที่

-รัฐบาลทุกยุค ให้ความสำคัญกับสุขภาพ ของประชาชนน้อยกว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจ

-สื่อสารไม่สะท้อนปัญหา อย่างมืออาชีพ

-คนระยองเป็นมะเร็ง ค่ารักษา ก็ ภาษีประเทศ รายได้ของ โรงรานผู้ถือหุ้นกับเจ้าของ

บริษัทรัไป มะเร็งคนระยองรับมาค่ารักษารัฐรับผิดชอบ

-เงินที่ได้จากการสร้างความทุกข์ให้คน ทำให้เด็กต้องกำพร้า เห็นความทรมารก่อนตายของ

ญาติจากโรคมะเร็ง เป็นเงินบาป ทำให้เสียกิจการ คิดจะทวงกิจการคืนโดนการเล่นการเมือง

ประชาชนก็ไม่เลือก เวรกรรมตามทันแล้ว

Submitted by ไทยคนที่2 on

สงสัยมันจริงๆว่าไอ้เมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆทั้งของเยอรมันตะวันตก รัสเซีย อังกฤษ ไอร์แลนด์
ญี่ปุ่น จีน สหรัฐ อินเดีย ประชาชนในเมืองอุตสาหกรรมของประเทศเหล่านั้นมันไม่เป็นมะเร็งตายกันหมดหรือ เพราะไอ้ประเทศที่กล่าวนามมานี่แต่ละเมืองอุตสาหกรรมของเขานี่มีโรงงานมากกว่าที่มาบตาพุดแน่ๆ
ไอ้โรคมินาตะ ที่ญี่ปุ่นน่ะเคยได้ยินแน่ แต่ตอนนี้มันแทบไม่ได้ยินแล้ว
ไอ้งานศึกษาที่อ้างมามันทำอย่างกับว่าที่มาบตาพุดมันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วเตาปฏิกรณ์ปรมาณูมันรั่ว
มันแปลกประหลาดมากที่อุตสาหกรรมจังหวัดก็มี พานิชย์จังหวัดก็มี สาธารณสุขจังหวัดก็มี
แถมการประปา การไฟฟ้า ชลประทาน 9ล9 รวมทั้งฝ่ายปกครองคือนายอำเภอผู้ว่า
ทำไมมันถึงไม่ไปตรวจสอบดูแลโรงงานต่างๆภายในนิคม ว่าได้กระทำถูกต้องตามกฏหมายของสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ถ้าหากว่ามีการตรวจสอบสม่ำเสมอเคร่งครัดเอาจริง ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มันต้องทุเลา อย่างแน่นอน แต่นี่คาดว่า คงไม่สนใจหรือไม่ทำ ไอ้นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้มันมีมานานแล้วและมันก็น่าที่จะพัฒนาในทางที่ดีขึ้น เพราะเทคโนโลยี่มันดีขึ้น
อังกฤษเยอรมันเคยมีปัญหาฝนกรด แต่ที่มาบตาพุด ยังไม่เคยได้ยิน

Submitted by คนไทยคนที่2 on

การจะเที่ยวซี้ซั้วออกกฏหมายหรือระเบียบบังคับใดๆออกมา มันต้องย้อนกลับไปดูว่า กฏหมายหรือระเบียบที่วางเอาไว้นั้น เจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้บังคับใช้กฏหมาย ได้ปล่อยปละละเลยหรือว่ารับสินบนหรือไม่ มันต้องแก้ไขที่ตรงจุดนี้ ไม่ใช่เล่นคิดจะออกกฏหมายออกมาระเบียบจนเละเทะไปหมดกลายเป็นช่องให้เจ้าหน้าที่ได้รีดไถคอรับชั่นที่หนักข้อยิ่งขึ้น ผลที่ตามมาคือตายมันทั้งนิคมอุตสาหกรรมโรงงานปิดตัวลงทั้งหมด คนตกงานหลายแสน ครอบครัวที่อาศัยเงินรายได้ต้องพลอยเรียบร้อยไปด้วยศิริรวมแล้วน่าจะกว่าล้านชีวิต
วิธีที่ถูกต้อง นั่นคือชาวระยองต้องคอยกระตุ้นเจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้คอยควบคุมดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมให้กระทำตามที่กฏหมายบัญญัติ พูดง่ายๆ ไขก๊อกให้ข้าราชการทำงานแบบตรงไปตรงมา นี่แหละแค่ปีเดียวปัญหามลภาวะของสิ่งแวดล้อมมันจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

Submitted by คนระยอง on

ฝนกรดในระยองมีแล้วครับ
สังเกตุสีที่ทาบ้านจะเสื่อมเร็วกว่าปกติ
หลายปีก่อนเคยสำรวจพบ น้ำบนเกาะเสม็ดใช้บริโภคไม่ได้
ที่มาบตาพุดชาวบ้านลองน้ำฝนในที่โล่งเป็นน้ำฝนเป็นสีดำ

ข่าวแก๊สรั่วมีคนเสียชีวิตถูกปิด เพราะกลัวราคาหุ้นตก
เมื่อเดือนก่อนมีปลาตายเต็มชายหาดแม่รำพึง ดูซิมีหน่วยงานไหนพบสาเหตุ

กะปิระยอง และน้ำปลา คงไม่น่ากินแล้ว เพราะทำมาจากเคย และปลา กระตะ ซึ่งอยู่ชายหาดคงมีสารพิษปนเปื้อน ไม่มากก็น้อย

Submitted by คนระยอง on

มีหลายงานวิจัยเปิดเผยไม่ได้เพราะ เป็นงานวิจัยของรัฐ ตองขออนุญาตก่อน

จำนวนตัวเลขคนไข้เป็นมะเร็งรายใหม่ 2 รายต่อวันในระยอง (ไปที่อื่นอีกเท่าไรไม่ทราบ)

โรงงานปล่อยสารพิษ ออกมาไม่เกินมาตรฐาน -ค่าสารพิษเป็น ค่าเฉลี่ย -

หมายความว่าวันนี้ ปล่อยสารพิษ 2เท่าของ เกณฑ์กำหนด พรุ่งนี้ หยุดเดินเครื่อง(shut down)

แปลว่าโรงงานนี้ไม่ได้ทำผิด กฏหมาย แล้วอย่งนี้คนระยองไม่ตายจากมะเร็งได้อย่างไร

Submitted by คนระยอง on

การวัดปริมารสารพิษต้องวัดจากปล่อง และท่อระบาย

(บางท่อระบายฝังดินไปโผล่กลางทะเล จึงไม่ต้องสงสัยทำไมปลาตายเกลื่อนชายหายบ่อยๆแถมไม่มีหน่วยงานไหนทราบสาเหตุ)

ปริมาณสารพิษ ต้องไม่เกิน ในแต่ละวัน เมื่อไม่เกินในแต่ละวันค่าเฉลี่ยก็จะไม่เกิน และต้องดูยอดรวมสารพิษในแต่ละพื้นที่ดวยว่าทุกโรงงานรวมกันเกินขีดที่ในแต่ละพื้นที่จะรับได้หรือไม่

ตอนนี้ปริมาณโดยรวมจะเกินหรือไม่ จำนวนคนเป็นมะเร็งที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นคำตอบ

เป็นโครงการเดียวที่ TDRI ไม่แนะนำให้รัฐบาลเปรมส่งเสริม แต่ไม่ทราบรัฐบาลไปฟังใคร อาจเป็นสภาพัฒน์ จนได้!

Submitted by คนจน on

ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกรรมของคนระยองจริงๆ มีโรงงานอุตฯมากมาย รายได้ดี มีงานทำ แต่ก็จะต้องเสี่ยงกับการที่จะต้องตายก่อนกำหนด หน่วยราชการไม่เคยเอาจริงกับกฎหมาย เอาแต่เงินๆๆๆและเงินอย่างเดียว ปัญหาหนักก็คือ ใครจะแก้ไข ใครที่กล้าพอที่จะสั่งปิดโรงงาน ใครที่ได้รับความเดือดร้อนกล้าที่จะฟ้องโรงงานหรือไม่? สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิของประชาชน รวมกันฟ้องโรงงานให้ศาลสั่งปิด จะได้มีความรับผิดชอบต่อสังคมบ้าง

Submitted by คนระยองเหมือนกัน on

ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดระยอง อภิมหาสารเลวครับ อุตสาหกรรมจังหวัดกินข้าวกับเจ้าของโรงงาน สารเลวสุดๆ ถ้าเมื่อไรมีอุตสาหกรรมใหญ่จะขึ้นอีก ผมขอสาบานตนคนนึงว่า จะเอากระสุนเจาะหัวมันเพื่อแลกบ้านเมืองของผมคืนมา

Submitted by นิส on

คนระยองไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการมีอุตสาหกรรมในพื้นที่ นอกจากนอนดมอมทุกข์กับมลพิษ...การจ้างงานคนระยองมีแค่ 5 % ในจำนวนคนที่เข้าทำงานในอุตสากรรม การค้าขายหรือธุรกิจจะตกอยู่กับคนที่เข้ามาอาศัยที่นี่ คนระยองแท้ๆเจ้าของแผ่นดินส่วนมากอยู่ตามไร่ตามสวน คนที่นี่เสียสละให้กับการพัฒนาชาติมามากแล้ว ขอให้เข้าใจและเห็นใจกันด้วย อย่ามาประนามเวลาที่คนที่นี่ออกมาประท้วง ออกมาเรียกร้องค่าชีวิตของเขา....สำนึกกันซะบ้างว่าที่พวกคุณเสวยสุขกันอยู่ มาทำมาหากิน คนระยองสังเวยชีวิตกันไปเท่าไหร่ด้วยโรคจากมลพิษ

Submitted by คนระยอง on

มีญาติ แข็งแรงมาตลอดไม่เคยเจ็บป่วยอายุ40ปี บ้านอยู่ข้างโรงงาน

มีอาการแน่นหน้าอก ไปตรวจ X-Ray พบ น้ำในปอด แพทย์เอาชฃิ้นเนื้อไปตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง 6เดือนต่อมาก็ตาย ทิ้งลูกกำพร้าไว้ รัฐไม่เคยพิทักษ์สิทธิ์ให้ ประชาชนเลย

ต่อมาโรงงานนี้ ก็ตกเป็นของคนอื่น เจ้าของคิดจะทวงคืนโดยการเล่นการเมืองก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน เวรกรรม ทำหน้าที่ รอตอนเป็นมะเร็ง เท่านั้นเขาจะได้รับรู้ถึงความทรมารจากโรค และลูกหลานที่สูญเสียพ่อแม่ไปก่อนวัยอันควร

2 คำถามเรื่องหลักการในข่าว “แดง” จับ “แดง”

กรณี “แดงจับแดง” ที่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไม่ควรถูกมองว่าเป็นแค่เรื่องเข้าใจผิด หรือเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวและจบกัน แต่นี่คือเป็นปัญหาท่าที และหลักการของแกนนำซึ่งไปช้ากว่ามวลชนอย่างสม่ำเสมอ

M79 และผองเพื่อน: สิ่งเบี่ยงเบนข่าวสารราคาย่อมเยา

วิธีกลบข่าวแบบบ้านๆ ไทยๆ ไม่ต้องลงทุนมากก็กลบมันด้วยน้อง M79 ลูกกระสุนสนนราคาละไม่กี่ร้อย แต่ก็ได้พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งกลบข่าวคนเป็นหมื่นเป็นแสนที่ออกมาไล่รัฐบาลในขณะนี้

โอกาสเดียว 'ยึด' และ 'ยึดหมด' : ข่าวคดียึดทรัพย์ในสายตานักข่าวเทศ

สื่อต่างประเทศให้ความสนใจกับข่าวการเมืองในไทยกันหนาแน่นตลอดสัปดาห์นี้ ยิ่งใกล้วันศุกร์ วันที่สื่อทั้งหลายเรียกมันว่า judgement day มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งลงข่าวและบทวิเคราะห์กันคึกคักมากขึ้นเท่านั้น ประเด็นของการรายงานของสื่อนอกเน้นหนักไปที่สองเรื่องใหญ่คือ แนวทางของคำพิพากษาที่จะออกมา กับผลสะเทือนทางการเมืองจากการตัดสินหนนี้ ทั้งต่อการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างสองขั้วคือเหลืองกับแดง และผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจไทย

(ที่มาของภาพ: มังกรดำ) ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ถือเป็นการกลับเมืองไทยครั้งแรกนับตั้งแต่เขาออกจากประเทศไปประชุมที่องค์การสหประชาชาติและเกิดการรัฐประหารโค่นอำนาจเขาเมื่อ 19 กันยายน 2549 ต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เขาเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้งโดยไม่กลับมาฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดีที่ดินรัชดา ล่าสุดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทอีกคดี นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สื่อทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจต่อเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย