อาม่า และชะตากรรมของสี (แ)ชมพู

pink man

ภาพจาก http://www.kathmandu-bkk.com/

คิม ไชยสุขประเสริฐ

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีปัญหายุ่งยากใจกันอยู่นิดหน่อยในออฟฟิศ เรื่องการทำเสื้อทีมว่าจะเอาแบบไหน-สีอะไร ที่ยังไงก็ไม่ลงตัวสักที เพราะสีแต่ละสีตอนนี้ถูกนำเอาไปทำสัญลักษณ์ของกลุ่มต่างๆ กันไปหมดแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นแม่สีอย่าง สีแดง สีเหลือง หรือสีขั้นสองอย่างสีเขียว สีส้ม หรือสีม่วง

 

ล่าสุด เดินเฉียดๆ ไปแถวหน้ารัฐสภาเมื่อวันพุธที่

7 ผ่านมา ที่มีการประชุมเกี่ยวกับร่างกฎหมายหลายๆ ตัวของ สนช.ก็เห็นผู้ชุมนุมกลุ่มต่างๆ รวมตัวประชันสีเสื้อกันอยู่ สร้างสีสันให้หน้ารัฐสภาที่นานๆ ทีจะมีผู้คนแวะเวียนผ่านทาง (ไม่มีกิจใครก็คงไม่ไป) ได้มากทีเดียว

อันที่จริงแล้ว ถ้าจะว่ากันเรื่องสีๆ ของเสื้อสีสันต่างๆ ของกลุ่มคนที่มีให้เห็นในปัจจุบัน คงเรียกได้ว่าเป็นสีสันที่มาพร้อมกับพลังมวลชนเลยก็ว่าได้ เพราะมันแสดงถึงความเป็นพวกพ้องของคนที่มีวัตถุประสงเดียวกันได้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่างตอนที่มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ตอนนั้นก็มีการใช้เสื้อสีเขียวสีแดงมางัดข้อ รับ-ไม่รับ'รัฐธรรมนูญกัน ทำเอาไม่กล้าใส่เสื้อสีเขียวตัวโปรดไประยะหนึ่ง เพราะกลัวถูกเพื่อนหาว่าแยกข้างแบ่งฝ่าย...

ในส่วนนักเคลื่อนไหวหลายๆ คน การใช้สีเสื้อของคนกลุ่มใหญ่น้อยในสังคมมันได้กลายเป็นการแย่งชิงวาทกรรม ทั้งที่เมื่อก่อนสีก็คือสี และสีแต่ละสีก็ต่างแทนอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกันผ่านทางการมองเห็น

แต่วันนี้สีแต่ละสีมีความหมายมากกว่าที่เป็น และได้กลายไปเป็นสัญลักษณ์ไปเสียแล้ว

ที่แน่ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ เสื้อสียอดนิยมที่มาแรงประจำปลายปีนี้คงหนีไม่พ้น "สีชมพู"

ยืนยันได้จากข่าวหนังสือพิมพ์ที่มีการไปสำรวจร้านขายเสื้อผ้าย่านโบ๊เบ๊ พ่อค้าแม่ค้าต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายอดการจำหน่ายเสื้อสีชมพูเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมที่ร้านเคยจำหน่ายได้ประมาณวันละ 5-10 ตัว เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวต่อวัน ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

นอกจากนี้ ตามข่าวยังบอกด้วยว่า ความต้องการเสื้อชมพูในต่างจังหวัดเองก็เพิ่มมากขึ้นด้วย

สีชมพู' สีหวานๆ ที่ผู้ชายมักมองผ่าน แต่คราวนี้คงได้เห็นผู้ชายใส่เสื้อสีชมพูเดินชนกันเป็นว่าเล่น

มันคงสร้างสีสันให้ท้องถนนบ้านเราไม่น้อย หลังจากต้องอยู่กับสีซ้ำๆ มานาน

000

หากจะว่ากันในเรื่องการตลาด การใช้สีก็มีความสำคัญต่อการจดจำตัวสินค้า ทำให้นึกถึงเรื่องหนึ่งที่เล่ากันในกลุ่มเพื่อน...ว่าด้วยเรื่องของ "อาม่า" ...

อาม่าเป็นคนจีนแก่ๆ ล่องเรือมาจากโพ้นทะเลตั้งแต่ยังสาว ไม่เคยได้เรียนหนังสือเลย อ่านเขียนไม่ออก แต่แกมีความจำดี

อาม่าใช้แชมพูยี่ห้อหนึ่งอยู่เป็นประจำ ไม่ยอมเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น ปัญหาจึงเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง แชมพูของแกหมด อาม่าจึงให้หลานชายไปซื้อที่ร้านขายของชำใกล้บ้าน แต่เมื่อเด็กชายกลับมาพร้อมกับแชมพูยี่ห้อเดียวกันแต่สีและรูปทรงของขวดไม่เหมือนเดิม แกกลับไล่ให้หลานชายกลับไปเปลี่ยนที่ร้านขายของชำและยืนยันว่าแกยังไม่ได้ของตามที่แกต้องการ

ด้วยความที่ยังเล็ก หลานชายจึงต้องวิ่งกลับไปกลับมาอยู่หลายรอบโดยเอาขวดแชมพูที่หมดแล้วของอาม่าไปด้วย แต่ในที่สุดก็ไม่ได้แชมพูมาให้อาม่าเพราะบริษัทเปลี่ยนโฉมผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่มีแชมพูยี่ห้อเดิมๆ กับรูปทรงที่แกคุ้นชินอีกต่อไปแล้ว...

ก่อนจะถึงบทสรุปของเรื่องนี้ ฉันคิดหาทางออกให้เด็กชายได้ใน 3 ทาง โดยข้อเสนอทั้งหมดนี้ก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขของความต้องการใช้ ผลิตภัณฑ์เดิม' ของอาม่า คือ

1.ทำให้อาม่ายอมรับในตัวสีและรูปทรงที่เปลี่ยนไป เพราะถึงยังไง-ตัวแชมพูข้างในมันก็ยังคงมีคุณสมบัติไม่ต่างจากเดิม ซึ่งก็คงลำบากและต้องใช้เวลาบ้างในการอธิบายให้อาม่าเข้าใจว่า รูปลักษณ์ภายนอกเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่อยู่ข้างในยังเหมือนเดิม'

2.หาแชมพูยี่ห้อที่มีบรรจุภัณฑ์คล้ายกับยี่ห้อเดิมที่สุดมาให้อาม่า เพราะอย่างน้อยๆ มันก็ทำให้อาม่ารู้สึกว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันไม่ได้มากมายนัก...แม้ว่าจริงๆ แล้วเนื้อในมันจะไม่เหมือนเดิมเลยก็ตาม ทั้งสี กลิ่น และ คุณภาพ

3.เอาขวดแชมพูที่หมดแล้วมาเทแชมพูยี่ห้อเดียวกันลงไปใหม่ให้เต็ม แล้วเอาไปให้อาม่า ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ง่ายต่อการยอมรับของอาม่า แต่ยุ่งยากในขั้นตอนการทำ เพราะเด็กชายจะต้องเป็นคนรับอาสาไปซื้อแชมพูให้อาม่าในทุกครั้งไป ซึ่งตัวเด็กน้อยเลือกใช้วิธีนี้ด้วยความร่วมมือกับแม่ของเขา แม้เมื่อนานเข้าอาม่าจะรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

แต่ถึงอย่างไรอาม่าก็ยังคงใช้แชมพูยี่ห้อเดิมในขวดเดิมได้ต่อไป...

000

อันที่จริงแล้ว ในกระแสบริโภคนิยม (หรือแม้แต่กระแส ความนิยม' เฉยๆ) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และสีสันของผลิตภัณฑ์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นแนวโน้มการบริโภคให้มากขึ้น แต่ก็ต้องตระหนักถึงการรักษาฐานผู้บริโภคเดิมให้คงอยู่ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยึดติดหรือที่เรียกว่าซื่อสัตย์ต่อการบริโภคสินค้าตัวเดิม

ดังนั้น ในแง่เทคนิคของการตลาดจึงมีการแตกไลน์สร้างสินค้าตัวใหม่ขึ้น เพื่อกระตุ้นการบริโภค และเป็นการขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้น...ถือเป็นเรื่องธรรมดาของแวดวงนี้

ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าการยึดมั่นอย่างฝังใจในตัวสินค้าของอาม่าจะเป็นนิมิตหมายอันดีของผู้ผลิตสินค้าที่มีกลุ่มลูกค้าผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดีไม่ยอมเปลี่ยนแปลงต่อแบรนด์ของตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าผู้บริโภคทุกคนจะคิดเหมือนอาม่า

เมื่อถึงคราวที่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอกเพื่อดึงดูดใจลูกค้ากลุ่มใหม่ ก็ต้องเสี่ยงกับการสูญเสียลูกค้าเก่าแก่อย่างอาม่าไป...

ไม่มีใครรู้ว่าชะตากรรมของ อาม่า' และ แชมพู' ทุกวันนี้จะเป็นอย่างไร

ไม่มีใครรู้ว่าอาม่าจะสังเกตความเปลี่ยนไปของแชมพูหรือไม่...

แต่มันคงจะดีกว่านี้ถ้าไม่ต้องมีใครยึดติดกับสีสันรูปทรงใดๆ ที่อยู่ภายนอก และหันไปพิจารณาสิ่งที่อยู่ ข้างใน' ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า...

 

ความเห็น

Submitted by arunothai ruangrong on

ถ้าดู Good Bye Lenin ก็จะรู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ความซื่อสัตย์มันทำงาน ไม่ว่าจะต่อสินค้า หรืออุดมการณ์การเมือง (เอ๊ะ หรือมันจะอย่างเดียวกัน) มันช่างมีพลานุภาพเหลือเกิน ก็ไม่ใช่ความซื่อสัตย์หรอกหรือ ที่สร้างความคุ้นเคย ความรู้สึกว่านี่ไงคือโลกที่เราอยู่อาศัย เข้าใจ และมีกำลังพอจะกำหนดมันได้ เป็นโลกที่เราเป็นส่วนหนึ่ง และเป็นเราที่เรารู้จัก ถ้าอาม่าแก่ขนาดแม่ผู้ซื่อสัตย์ต่อลัทธิสังคมนิยมในเรื่อง ก็หาขวดเก่าอันคุ้นชินใส่ของที่ใกล้เคียงกับของแก ให้แกไปเถอะ อย่าให้แกต้องทุกข์ทรมานและตายไปกับความงุนงงสงสัยในความเปลี่ยนแปลงที่คนในโลกของแกไม่มีวันที่จะเข้าใจได้เลย

Submitted by สุดหล่อ on

ต้องรอติดตามกันต่อไปครับ ว่า สินค้าตัวนี้ของอาม่าเมื่อไหร่มันจะหมดอายุ และวัฎจักรการผลิตของมัน และหลังจากนั้น อาม่ายังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ปัญหาของเด็กชายก็คงจบ แต่ถ้ายังอยูก็ คงมีปัญหาให้ขบคิดกันต่อไปว่า จะเอาวิธีการใดที่จะเปลี่ยนใจอาม่า ให้ไป นิยม "แชมพู" ตราใหม่ยี่ห้อใหม่ หรือ จะหาวิธีใด มาโกหกอาม่า ว่า "แชมพู" ขวดเก่าของแกยังไม่มีอะไรเปลี่ยน

Submitted by หมี่เกี๊ยว on

ไม่เลือกทั้งสามข้อได้ไหมเนี่ย และเปลี่ยนจากตัวเด็กชายไปเป็นผู้ใหญ่ที่อาม่าเชื่อถือได้ก็แก้ปัญหาได้เรียบร้อย เพราะในเรื่องนี้ วางเงื่อนไขหลักต่อความคิดสองประการ หนึ่งเงื่อนอยู่ที่เด็ก และสองเราถูกกรอบการศึกษาและการรู้หนังสือครอบโดยไม่ได้มองว่าการที่อาม่าผ่านชีวิตมาขนาดนั้น อาม่ายอมรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆนะ เพราะการหยั่งรู้ความจริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่ต้องรู้หนังสือ เพียงแต่การรู้หนังสือทำให้เรียนรู้สิ่งที่สอนมาในตำรา มีอีกตั้งเยอะที่มันเรียนรู้นอกตำรา และมีอีกเยอะที่เรียนถึงระดับมหาวิทยาลัยแล้วตอนเรียนไม่เข้าใจ มาเข้าใจและถึงบางอ้อ ตอนเจอมันเข้าจริงๆในชีวิตประจำวัน การแก้ปัญหาถ้าต้องแก้ในกรอบนั้น มันแก้ลำบาก ถ้ามองนอกกรอบและเปลี่ยนตัวแปรในนั้นมันก็ง่ายขึ้น

Submitted by โลกสีชมพู on

เราว่ายังไงอาม่าก็หนีความเปลี่ยนแปลงไม่พ้น
อย่าไปเหนื่อยเสียเวลากรอกแชมพูใส่ขวดเก่าเลย
พาอาม่าไปเลือกหาแชมพูใหม่ๆ ซะเลยดีกว่า

เราจำได้จากสมัยที่พ่อเราต้องใช้แชมพูยี่ห้อแฟซ่า แบบผง พวกอายุเกินสามสิบน่าจะเคยเห็น
จนถึงยุคที่ตามหาแชมพูผงแฟซ่ามันยากขึ้นเรื่อยๆ พ่อเราก็ยอมเปลี่ยนล่ะนะ

อาม่าก็น่าจะผ่านความเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย เปลี่ยนแปลงอีกสักหน อาม่าน่าจะเข้าใจได้
ปัญหาคือเรามักคิกว่าเป็นอุปสรรคที่จะอธิบายให้อาม่าเข้าใจเพราะีช่องว่างของการสื่อสาร
เราว่าเชื่อใจในความสามารถสื่อสารของมนุษย์และพูดให้อาม่ารู้ความจริงน่าจะดีที่สุด

โลกนี้ไม่มีอะไรไม่เปลี่ยนแปลงค่ะ

แค่ผัวเมียทะเลาะกัน...ครับ

 
โจว ชิงหมาเกิด
 
 
ประเด็นฮอตฮิตในรอบสัปดาห์นี้หนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือบทสัมภาษณ์ "สมชาย หอมละออ"แย้มผลสอบสลายชุมนุมพฤษภา′53 ผัวเมียทะเลาะกัน... ผิดทั้งคู่ (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 14:00:45 น. สัมภาษณ์พิเศษ โดย พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์)
 
 

ด้วยรักและไว้อาลัยแด่การสอบโอเน็ต (และบทสัมภาษณ์ 'ติ่งหู' กับ 'ผู้ไม่เชี่ยวชาญ')

เดือนมีนาคมแล้วค่ะท่านผู้อ่าน

ช่วงเวลาที่นักเรียนชั้น ม.6 ต้องจำจากจรสถาบันอันเป็นที่รักเพื่อก้าวไปข้างหน้า ทั้งจากความต้องการของตัวเองและกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังว่าการ ศึกษาคือหนทางแห่งการเป็น “เจ้าคนนายคน”

หากท่านผู้อ่านเคยผ่านช่วงเวลาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นระบบเอนทรานซ์หรือระบบแอดมิชชันคงยังจำช่วงเวลาหฤโหดของการเข้าห้องสอบที่แบกเอาความฝันของตัวเอง ความคาดหวังของผู้บุพการี และหน้าตาของสถาบันระดับมัธยมศึกษา (ที่มักจะวัดกันด้วยจำนวนนักเรียนที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้)ตลอดจนท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ไปจนถึงผู้บริหารสถานศึกษาก็ต่างลุ้นตัวโก่งกับผลการเข้ามหาวิทยาลัยในอีกไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ….ช่างเป็นช่วงชีวิตที่ลืมไม่ลง เสียจริง ๆ

รักเทอซะให้เข็ด ..แม่เจ็ดสาวลีโอ

ปีนี้บรรยากาศเหน็บหนาวที่มาพร้อมกับลานเบียร์หลายแห่งตามห้างสรรพสินค้า มีเรื่องสนุกสนานทวีคูณมากขึ้น เมื่อเกิดปรากฏการ “สาวลีโอ” ที่ยุ่งเหยิงอีรุงตุงนังเมื่อไปพันกับการเมืองยุคอำมาตย์ฝึกหัดครองเมือง

เมื่อมาถึงปลายปีที่มีบรรยากาศหนาวๆ ชวนให้เปล่าเปลี่ยว ธรรมเนียมปฏิบัติของบรรษัทค่ายน้ำเมาต่างๆ จะต้องมีแคมเปญอะไรมาเป็นของกำนัลให้กับหนุ่มๆ คึกคักมีชีวิตชีวา โดยปฏิทินรูปแบบวาบหวามมักจะถูกเข็นออกมาในช่วงนี้ และลีโอก็ไม่เคยพลาด หลังจากที่ได้ “ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม” มาช่วยเป็นแม่ทัพดูแลการผลิตด้านสื่อหวาบหวิวให้ค่ายลีโอ เป็นส่วนหนึ่งในการฟาดฟันต่อสู้กับค่ายช้างจนทำให้เบียร์ลีโอเป็นเบียร์อันดับหนึ่งของประเทศ โดยกลยุทธการตลาดที่สำคัญนั้นก็คือการขายความเซ็กซี่และมีระดับกว่าช้างมาหน่อย

ขออนุญาต "ไม่แปล"

สถานการณ์ในเมืองไทยตอนนี้ทำให้พวกเราไม่สามารถนำเสนออะไรหลายอย่างได้โดยเฉพาะสิ่งที่มาจากต่างประเทศ ก็เพราะประเทศสยามกำลังพยายามปิดกั้นไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลจากสื่อต่างชาติ หรือถ้าจะให้รับรู้ก็จะถูกบิดเบือนหรือรับเอามาดัดแปลงให้เป็นวาทศิลป์มุ่งสำเร็จความใคร่ในการทำลายล้างศัตรูของตนเอง โดยไม่สนถึงผลกระทบที่ตามมาว่าจะบานปลายร้ายแรงขนาดไหน