การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุน ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ

29 September, 2008 - 17:12 -- iskra

แถลงการณ์

"การเมืองใหม่ต้องเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ระบบลูกขุน

ลดงบประมาณทหาร และสร้างรัฐสวัสดิการ"

  อนุสรณ์สถาน ญาติวีรชน 14 ตุลา

วันอาทิตย์ที่  28 กันยายน 2551

 

ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เสนอ "การเมืองใหม่" โดยอ้างว่าเป็นผู้จุดประกายการปฏิรูปการเมืองผ่าทางตัน "การเมืองแบบเก่า" ที่เต็มไปด้วยนักการเมืองซื้อเสียง การคอร์รัปชั่น

กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็น "เจ้าภาพ" เพื่อการสร้างประชาธิปไตย เพราะการเคลื่อนไหวและเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาล้วนลดบทบาทและไม่เชื่อมั่นในอำนาจและความคิดของประชาชนคนธรรมดา ไม่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอ นายกฯพระราชทาน , การเลือกตั้งผสมการสรรหา (เมื่อสังคมไม่ตอบรับก็เปลี่ยนมาเป็นเลือกตั้งทั้งหมดแต่มาจากสาขาอาชีพครึ่งหนึ่ง)  ดังนั้น "การเมืองใหม่" ของกลุ่มพันธมิตรจึงเป็นแค่เพียงการเมืองใหม่ (สูตรโบราณ) เท่านั้น

ความพยายามเสนอโครงการทางการเมืองออกมาอย่างเป็นรูปธรรมของกลุ่มพันธมิตรฯ เฉพาะหน้าเป็นไปเพื่อเป้าหมายทำลายศัตรูทางการเมืองเท่านั้น ไม่ได้มีข้อเสนอเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมอย่างแท้จริง ไม่มีอุดมการณ์ที่จะสร้างการเมืองใหม่ที่แท้จริงแต่อย่างใด

 

            กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นคนกลุ่มแรกที่พยายามเสนอการเมืองใหม่ เพราะการปฏิรูปสังคม-การเมือง เป็นสิ่งที่ภาคประชาชนพยายามเสนอและผลักดันให้เป็นจริงตลอดมา ที่ชัดเจนที่สุดคือข้อเสนอจากเวทีสมัชชาสังคมไทยเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ที่พูดถึงการสร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการภาคประชาชน เพิ่มอำนาจประชาชนคนธรรมดา ลดอำนาจรัฐ ตัวอย่างข้อเสนอที่ก้าวหน้าได้แก่ การลดงบประมาณกองทัพ การเสนอให้มีการเลือกตั้งได้จากสถานที่ทำงาน การเสนอระบบลูกขุนและการสร้างรัฐสวัสดิการ เป็นต้น 

            สหภาพแรงงาน นักศึกษา ประชาชนและองค์กรแนวร่วมในฐานะที่เป็นองค์กรภาคประชาชนเล็งเห็นว่าเราต้องปฏิรูปสังคมที่เป็นอิสระจากพันธมิตรฯ จึงควรมีข้อเสนอโครงการทางการเมืองของเราเอง จากการประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อนำเสนอต่อสังคมและจัดกิจกรรมรณรงค์ที่เป็นอิสระจากทั้งฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้เกิดการปฏิรูปสังคมการเมืองที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนธรรมดาจริงๆ ดังต่อไปนี้

 

            1. การปฏิรูประบบการเมือง

 

1.1 สนับสนุนให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชน ต้องยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา อันเนื่องมาจากมีความซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น โดยสมาชิกสภาต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งหมด

1.2 ต้องลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคของการรวมตัวตั้งพรรคการเมืองของประชาชน เช่น ไม่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียน มีสาขาพรรค และจำนวนสมาชิกตามที่กำหนด

1.3 เน้นการเลือกตั้งเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแปรตามจำนวนของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งตามสถานที่ทำงาน เพื่อให้แรงงานสามารถมีผู้แทนของตนเองในพื้นที่ที่ทำงานได้

 

            2. การกระจายอำนาจ

 

            ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคที่เน้นการรวมศูนย์จากส่วนกลาง แต่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนปกครองตนเองผ่านการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์

 

            3. ปฏิรูประบบศาล

 

            3.1 ต้องลดอำนาจของศาลที่มีอยู่เดิม อันเนื่องมาจากผู้พิพากษาไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เราเสนอให้ใช้ระบบลูกขุนที่มาจากการประชาชนธรรมดามาแทนผู้พิพากษาในระบบราชการแบบเดิม

3.2 ยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งเป็นรูปแบบของการลงโทษที่ป่าเถื่อนและไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาจริง

3.3 ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นกฎหมายที่ล้าหลังและคลั่งชาติ

 

4. ปฏิรูปกองทัพ   

 

            4.1 ต้องลดงบประมาณของกองทัพ เพราะประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาวะสงคราม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องนำงบประมาณจำนวนมากไปใช้สำหรับการส่งเสริมแสนยานุภาพของกองทัพ

            4.2 เสนอให้ย้ายค่ายทหารออกจากเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวสำหรับสร้างสวนสาธารณะ และศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่คนจน

 

5. ปฏิรูประบบโครงสร้างภาษี

 

ต้องยกเลิกภาษีทางอ้อม (VAT) ที่เก็บจากประชาชนธรรมดา และต้องเก็บภาษีทางตรง ภาษีที่ดิน ภาษีมรดกในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยและอภิสิทธิ์ชนซึ่งมีจำนวนมากในประเทศไทย มาใช้เพื่อสร้างสวัสดิการให้แก่คนจน

 

6. รัฐสวัสดิการ

 

            6.1 ต้องมีการปฏิรูปที่ดินที่รวมศูนย์อยู่กับนายทุนไม่กี่คนให้แก่ คนจน และเกษตรกร ที่ปราศจากที่ดินหรือมีที่ดินทำกินไม่เพียงพอซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

            6.2 ต้องสร้างรัฐสวัสดิการ ซึ่งหมายความถึง ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการการรักษาพยาบาล การศึกษา และสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพในราคาถูกหรือฟรี

            6.3 ต้องยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งเสรี โดยรัฐจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้หญิงที่ต้องการทำแท้งสามารถทำได้อย่างถูกกฎหมายและมีมาตรฐานทางการแพทย์เพื่อความปลอดภัย
           
6.4 ต้องมีการขยายมาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล เช่น รถเมล์ ค่าน้ำ ค่าไฟฟรี ให้มากกว่าเป็นแค่มาตรการเฉพาะหน้า โดยต้องยกระดับการให้บริการการขนส่งมวลชน การไฟฟ้า ประปา และอื่นๆ ให้มีคุณภาพและมีราคาถูกที่สุด

            6.5 ยกเลิกแรงงานนอกระบบ และการเอาเปรียบแบ่งแยกแรงงานข้ามชาติ โดยผู้ใช้แรงงานทุกคนต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานเหมือนกันทั่วประเทศ                      

 

            กิจกรรม

 

            1. จะมีการรณรงค์แจกใบปลิวและสร้างเวทีพูดคุยกับประชาชนทั่วไป และขบวนการภาคประชาชนอื่นๆเกี่ยวกับการเมืองใหม่ของภาคประชาชน โดยกิจกรรมแรกของพวกเรา คือ แจกใบปลิวและให้ข้อมูลประชาชนที่สวนจตุจักร วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2551 เวลา 11.00 น.

 

 

                                                                                              ลงชื่อ

                                                                    1. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

                                                                    2.สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล

                                                                    3. กลุ่มประกายไฟ

ความเห็น

Submitted by 1991 on

ดีเห็นด้วยขอสนับสนุน ใครก็ได้ที่ทำได้รีบๆเลย รอมานานแล้ว

Submitted by dd on

ไอ้พวกชุบมือเปิบ ฉวยโอกาส สันดาน

Submitted by agree on

คุณ dd เป็นไรน่ะ ด่า ด่า ด่า ด่าเค้าไปทั่ว หยาบช้าจริง เนื้อหาข้อเสนอเป็นยังไง วิพากษ์ไปสิ เฮ้อ..

Submitted by jerasak on

==แนวคิดการเมืองใหม่ง่ายๆ ที่ทำได้จริง โดย jerasak: http://forum.serithai.net==

ข้อดีของระบบที่นำเสนอมีหลายข้อ เช่น
1. ระบบทั้งหมดสามารถเข้าใจได้ง่ายเพราะใกล้เคียงระบบเดิมเกือบ 100%
2. สามารถทำได้จริงเพราะสาระสำคัญเป็นการเปลี่ยน "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ก่อให้เกิดปัญหา
ทำให้มีภาระในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพียงเล็กน้อย
3. สามารถสลายการเผชิญหน้าของประชาชนชาวไทย ที่แตกแยกแบ่งฝักฝ่ายทางการเมือง
ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ด้วยระบบที่ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงและมีเหตุผลยอมรับได้
4. สามารถจัดตั้งรัฐบาลไ้ด้ทันทีที่รู้ผลเลือกตั้ง แต่ละพรรคไม่ต้องวิ่งต่อรองจับขั้วกันแบบเดิม
เนื่องจากประชาชนเป็นผู้กำหนดโควต้ารัฐมนตรีมาตั้งแต่ต้น
5. รัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎรมีเสถียรภาพสูง มีโอกาสมากที่จะอยู่ครบวาระ 4 ปีเป็นปกติ

อ่านต่อได้ที่ลิงค์นี้ครับ ..

http://forum.serithai.net/index.php?topic=36897.0

Submitted by หยุดมอมเมาเถิด on

ฟังดูเหมือนมีพวกสาระเลวกลุ่มหนึ่งที่คิดแต่ฉวยโอกาส ตอนต่อสู้ไม่ทำ เอาแต่เกาะขั้วอำนาจ แต่พอเห็นอีกฝ่ายเริ่มได้เปรียบก็รีบหนีอำนาจเดิมที่ตนเกาะอยู่แล้ว ผสมโรงเสนอการเมืองใหม่แบบหมกเม็ด คิดจะล้มล้างสถาบัน แกล้งเสนอความคิดที่มันสร้างปัญหา แล้วเผื่อฟลุค มีคนหลงเชื่อ คิดว่าดี พวกตัวเองก็จะมีเวทีใหม่ออกทีวี เสนอหน้า ทำระยำต่างๆได้ต่อไป เห็นแล้วน่าอเน็จ อนาจใจจริงๆ พวกนี้ ยังไม่คิดทบทวนสิ่งที่ตนทำว่ามันเลว และต่ำช้าเพียงไร ยังคงคิดว่าเป็นแค่การต่อสู้ทางความคิด ที่ตนเองไปหลงเชื่อมาแบบผิดๆ ที่จริงการต่อสู้ทางความคิดมันไม่มีหรอกมันมีแต่การต่อสู้กับ กิเลสตัณหา เราต้องเลือกศีลธรรม เพื่อให้การมีชีวิตของเรามีความหมาย และยกระดับชีวิตของเราขึ้น จนกระทั่งในที่สุด เราจะไปถึงจุดหมายของเรานั่นคือ พ้นออกจากสังสารวัฏ พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ต้องอย่างนั้นทุกการกระทำของเราจึงจะมีคุณค่าที่แท้จริง และไม่ไร้สาระ อย่าหมกมุ่นแต่กับเสียงข้างมากข้างน้อย กฏกติกา แต่จงยึดคุณธรรม ศีลธรรมแทน แล้วจึงตีความกฏกติกาไปตามนั้น ก็จะได้คำตอบที่เหมาะสมกับปัญหาของชาติบ้านเมืองในเวลานี้

Submitted by Homo erectus on

ใช่ครับ พวกศักดินาอำมาตย์จอมฉวยโอกาส พร้อมด้วยขบวนอภิชนนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อ ศิลปิน คนชั้นกลางที่กระวนกระวายใจทั้งหลาย ....โครตฉวยโอกาสทำลายประชาธิปไตย เพื่อตัวเอง

สนับสนุน ประกายไฟและสนนท. ในเชิงเนื้อหา แต่วาระปฏิรูปการเมือง ต้องเข้าใจว่ามันเป็น "วาทกรรม" ของพวกเผด็จการเล่นกันอยู่ในขณะนี้ ไอ้พวกเวรอธิการบดี และราษฏรอาวุโสไปลงนรกซะ!

Submitted by กิตติ on

ผมไม่แน่ใจว่าจะปฏิรูปเพื่อให้อะไรมันดีขึ้น แต่ถ้าอยากให้การเมืองดีขึ้น คิดว่าการปฏิรูปการเมืองอย่างเดียวไม่เพียงพอแน่นอน แนวคิดผมคือให้การเมืองใหม่เป็นตัวนำเป็นสิ่งที่เราต้องการสูงสุด แต่อยากให้ทุกกลุ่มชั้นอาชีพหันมาปฏิรูปองค์ของตัวเองด้วย สร้างจรรยาบรรค่านิยมที่ดีงามให้กับอาชีพตัวเอง เราอยากเห็นนักการเมืองมีจรรยาบรร เราทำอาชีพไหนก็ต้องมีจรรยาบรรในอาชีพด้วย ผมจะยกตัวอย่างให้ดู ผมเป็นวิศวกร การได้มาของงานสักงานนึงต้องจ่ายเงินประเภทสินน้ำใจใต้โต๊ะประมาณ 5-10% เป็นโดยเฉลี่ย ปีนึงได้งานประมาณ สิบ-สิบห้าโปรเจ็ค มูลค่ารวมประมาณ 50-70ล้าน/ปี องค์กรผมมีคน 25คนโดยเฉลี่ยเงินเดือน 28000บาท/คน หากคิดเงิน5%ที่ต้องจ่ายไปต่อปี=3.5ล้านบาท เอา25คนมาหาร = 140,000บาท หมายความว่าที่จริงแล้วเราควรมีเงินเพื่อพัฒนาองค์กรหรือบุคลากรได้อีกประมาณ 140,000บาทต่อปีต่อคน หรือถ้ามองกลับกันหากมีคนรับ5%นั้นไป หมายความว่าเค้าให้คนในองค์กรเค้าทำงานให้เค้าฟรีๆโดยเค้าได้รายได้จากการทำงานของเพื่อนร่วมงานเค้าเดือนละ291,000บาท ที่จริงผมคิดว่าคนไทยก็รับเงินเดือนเฉลี่ยเท่ากับคนญี่ปุ่นหรือสิงคโปร์ได้เลยนะครับ นี่เป็นแค่1ในปัญหา

Submitted by on

เห็นด้วยยกเว้น ข้อ 3.3 ยังต้องคงมีอยู่แต่ควรกำหนดผู้เสียหารเฉพาะ ป้องกันการกลั่นแกล้งทางการเมือง และศาลควรมีการตรวจสอบจากภายนอก และเป็นองค์กรที่ไม่เกรงกลัวอำนาจศาลด้วย ไม่เช่นนั้นโดฟ้องกลับทีไรตายหยังเขียด ทุกที ถามรังสรร หรืออัยการที่มีเรื่องกับ ตุลาการได้

ระบบเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Participatory Economy)

28 May, 2013 - 17:49 -- iskra

...ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการสังคมหลังทุนนิยมข้างต้นนี้ถือเป็นเป้าหมายหลัก และเป็นผลผลิตโดยตรงของการเติบโตของขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐาน ที่พยายามเสนอทางเลือกใหม่ในการพัฒนาท่ามกลางซากปรักหักพังของโลกสังคมนิยม ในทศวรรษ 1990 ที่นักคิดฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายเสรีนิยมต่างประกาศว่า “เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเหลือแล้วนอกจากระบบทุนนิยมกลไกตลาดและระบอบ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม” แม้ว่าเป้าหมายดังกล่าวจะยังไม่บรรลุ แต่คุณูปการที่สำคัญที่สุดที่ขบวนการโลกาภิวัตน์จากรากฐานได้สร้างไว้ก็คือ ความหวังที่ว่า “โลกใบใหม่เป็นไปได้” ซึ่งเป็นคำขวัญของขบวนการสมัชชาสังคมโลกนับตั้งแต่ ค.ศ.2001 เป็นต้นมา