korkaew's picture

<p>การเป็นผู้สื่อข่าวหรือนักเขียนก็เปรียบเสมือนนักเดินทางที่ท่องไปในพื้นที่ทั้งพื้นที่ทางด้านภูมิศาสตร์ และพื้นที่ทางความคิดและชีวิต วัฒนธรรมของผู้คน ซึ่งเป็นการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด </p> <p>ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการทำสื่อ-นิตยสารในกรุงเทพฯ และประสบการณ์ในการทำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราชหลายปี </p> <p>ปัจจุบันยังคงเดินทางและเป็นนัก (อยากลอง) เขียน ยินดีรับข้อคิดและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ที่ wongphan_kk@yahoo.com</p>

บล็อกของ korkaew

The girl from the coast นวนิยายต่อต้านอาณานิคม และกระแสชาตินิยมในอินโดนีเซีย

 

ได้หนังสือเล่มนี้มาเกือบสี่ปีจากร้านขายหนังสือ a different bookstore ในแหล่งช้อปปิ้งชื่ออิสต์วูด เมืองลิบิส ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าหากอยากได้หนังสือแปลของนักเขียนเอเชียก็มาที่นี่ได้ เพราะเป็นแหล่งรวมงานเขียนชาวเอเชีย ประเภทประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรมหาได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งในมนิลา (หวังว่าร้านหนังสือยังไม่เจ๊งไปเสียก่อน)

ความยินดีในการเซนเซอร์ตัวเองของสื่อไทย

ผู้เขียนเคยเข้าพบสัมภาษณ์ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์เดอะจาการ์ตาโพสต์ เกี่ยวกับการบริหารงานหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหนึ่งเดียวในประเทศอินโดนีเซีย ความยากลำบากต่อการอยู่รอด การบริหารงานข่าว ฯลฯ เมื่อห้าปีที่แล้ว จึงขอนำตอนหนึ่งที่น่าสนใจในการพูดคุยกันมาเล่า ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ต้องการให้โครงสร้างของบริษัทหรือธุรกิจหนังสือพิมพ์ไม่เป็นที่ผูกขาด หากเป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์อาจเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งได้ ด้วยวิธีการหลากหลายตั้งแต่การล้อบบี้ การซื้อตัว (เจ้าของสื่อ) การขู่เข็ญ คุกคาม จากบรรดาอำนาจมืดทั้งหลายทั้งปวง

ความรักของนักข่าว


หลบเรื่องร้อนทางการเมือง ที่ทำให้หัวใจรุ่มร้อน สับสนอลหม่าน วันนี้เลยเปลือยหัวใจ แบบไร้สี เขียนเรื่องความรักของเพื่อนนักข่าวดีกว่า เป็นความรักข้ามพรมแดนและข้ามศาสนาในดินแดนสวรรค์ "บาหลี" อินโดนีเซีย 

การเซนเซอร์ตัวเองและวัฒนธรรมความกลัว

เด็กสาวแนะนำตนเองว่าเป็นนักศึกษาฝึกงานกำลังเรียนอยู่คณะนิเทศศาสตร์วิชาเอกหนังสือพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เธอมักจะหาโอกาสฝึกงานทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน เพื่อทดลองสนามจริงแทนที่จะเรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เขียนเห็นวิญญาณของความเป็นสื่อของเธอแล้ว เธอน่าจะเป็นสื่อมวลชนคุณภาพดาวเด่นดวงหนึ่งในแวดวงสื่อสารมวลชน หากเธอไม่ติดกรอบและถูกครอบงำจากความกลัวบางอย่างที่เธอเองก็มองไม่เห็นในโครงสร้างของสังคมไทย

การลงทุนในงานข่าวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในอินโดนีเซีย

ในบ้านเราเรียกหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 ชนิด หนึ่ง คือหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สอง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์กระแสหลักก็หมายถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่เช่น เดลินิวส์ ไทยรัฐ มติชน ฯลฯ ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในกรุงเทพฯ และส่งออกไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย นำเสนอข่าวในประเทศและข่าวรอบโลก พิมพ์จำหน่ายเป็นรายวัน ส่วนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ทิ่ผลิตขึ้นในต่างจังหวัด ขายในจังหวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์แทปลอยด์ ข่าวส่วนใหญ่นำเสนอข่าวในท้องถิ่น พิมพ์ไม่กี่ฉบับและไม่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน อย่างมากก็รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ฉะนั้นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ในไทย ผู้บริโภคจึงจำกัดการรับรู้อยู่ที่หนังสือพิมพ์กระแสหลักไม่กี่ฉบับ

"รัก" สั้นๆ ของขวัญวันปีใหม่ให้แก่กัน

19 December, 2008 - 00:00 -- korkaew

    สิ่งที่ดีที่สุดของปีนี้สำหรับผู้เขียนคือ "การได้รักใครบางคน" ช่วงเวลามหัศจรรย์ที่เกิดเมื่อไม่นานนัก แต่สัมผัสได้ว่า การได้รัก (อีกครั้ง) มันเกิดพลังสร้างสรรค์ อยากทำในสิ่งที่เป็นบวกแก่คนรอบข้าง และเมื่อความอ่อนโยนอบอุ่นส่งตอบกลับมา ยิ่งก่อความอิ่มเอิบในใจและอิ่มเอมในอารมณ์ยิ่งนัก จากซึมๆ เศร้าๆ ก็กระฉับกระเฉงอย่างบอกไม่ถูก ความต้องการสรรหาแต่สิ่งดีให้แก่ความรัก ตื่นตัวตลอดเวลา...ถือว่าการได้รักใครบางคน เป็นของสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นของขวัญวันปีใหม่ให้กับตัวเอง

ความเชื่อ ศรัทธา ควรเป็นหนทางสันติภาพ ไม่ใช่หรือ??

30 November, 2008 - 00:00 -- korkaew

ข่าวการเสียชีวิตของสมาชิกผู้สนับสนุนของกลุ่มการเมืองสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอยู่ขณะนี้ พวกเขาพลีชีพเพราะความเชื่อ ความศรัทธาของพวกเขา ซึ่งเป็นความเชื่อที่บริสุทธิ์ที่เขาแสดงออกต่อสิ่งที่ศรัทธานั้น

แต่ไม่มั่นใจว่า พวกเขาเผชิญความรุนแรงถึงขั้นเลวร้ายเช่นนี้ โดยปราศจากแรงขับของความรุนแรงที่สองฝ่ายก่อให้เกิดขึ้น ท่านผู้นำทั้งหลาย ท่านกำลังใช้ความเชื่อ ความศรัทธาของคนเหล่านี้ เพื่อบรรลุเป้าหมาย

เกียรติภูมิของท่านผู้นำ ที่ปูด้วยคราบเลือด น้ำตา ของมวลชน ควรภาคภูมิใจล่ะหรือ???

ความเชื่อ ศรัทธาควรเป็นหนทางเพื่อสันติภาพ หากเมื่อใดถูกนำไปสู่ความรุนแรงแล้วไซร้ ย่อมก่อเกิดหายนะแก่สังคม

ผู้สูญเสียที่ไม่เคยถูกจารึกในประวัติศาสตร์ คือ มวลชนผู้บริสุทธิ์ ทั้งปวง

 

 

 

สองด้านที่ขัดแย้งของสังคมไทย :54 ศพรถบรรทุกห้องเย็นกับเวทีนางงามมิตรภาพไทย-พม่า

18 November, 2008 - 00:00 -- korkaew

ขอเปิดพื้นที่แทนเรื่อง "สื่อ" ชั่วคราว เพื่ออุทิศให้กับแรงงานที่ประสบเหตุเสียชีวิตจากการลักลอบขนย้ายแรงงานที่สังเวยต่อการเมืองในประเทศพม่าและกระบวนการค้ามนุษย์ในไทย

อู วิน (นามสมมติ) เคยทำงานเป็นอาสาสมัครขององค์กรคณะกรรมการเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) เพื่อช่วยเหลือแรงงานพม่าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่และระนอง โทรมาหาผู้เขียนด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อยในเช้าวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา เขาพูดถึงการเสียชีวิตหมู่ของแรงงานพม่าที่ลักลอบเข้ามาทำงานในเมืองไทย จำนวน 54 ศพ เป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อหลายเดือนก่อน ก่อนที่พื้นที่ของข่าวนี้จะหายไปกับสายลมประหนึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นหลังจากนั้นไม่กี่เดือน.....

อูวิน เคยเป็นเพื่อนร่วมงานกับผู้เขียนและนับถือกันเสมือนญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง อายุอานามเข้าใกล้เลขห้าในไม่อีกกี่ปี จึงนับอาวุโสกันด้วยการเรียกขานเขาว่า "อู" ซึ่งในวัฒนธรรมไทยหมายถึงคำเรียก "ลุง น้า หรือ อา", อูวินรู้สึกเศร้า เสียใจ แต่ไม่ประหลาดใจกับข่าวการเสียชีวิตหมู่ 54 ศพของแรงงานพม่าเหมือนคนไทยทั่วไปที่ได้รับข่าวสารในช่วงแรกและเกิดความรู้สึกหดหู่ ระคนตระหนกตกใจกับเหตุการณ์เลวร้ายครั้งนั้น เนื่องจาก 15 ปีมาแล้วที่อูวินเข้ามาพึ่งพาอาศัยผืนดินไทยทำมาหากิน เขาพูดได้เต็มปากว่าไม่เคยได้ยินได้ฟังว่า ชีวิตแรงงานอพยพชาวพม่าในประเทศไทยดีขึ้นในแง่ของการไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ค่าแรงจากนายจ้าง และตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ โดยความร่วมมือกับพ่อค้าและข้าราชการทุจริต

(เก็บตก) อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ไม่ควรรับผิดชอบ

 

เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนตื่นขึ้นด้วยเสียงโทรศัพท์ของพี่สาวที่โทรหาด้วยน้ำเสียงห่วงใย กลัวว่าจะอยู่ในที่เกิดเหตุ เนื่องจากเธอยังไม่ได้ออกเวรจากการดูแลคนไข้กะกลางคืน จึงได้เห็นข่าวเช้าของการปราบปรามประชาชนที่หน้ารัฐสภาก่อนที่จะรีบโทรมา คาดว่าด้วยวิสัยของผู้เขียนมักจะร่วมในเหตุการณ์ประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ครั้งนี้เธอคาดผิด แต่กลับเป็นความดีใจของเธอที่น้องสาวไม่ได้อยู่ที่นั่น แต่เป็นความกังวลสำหรับผู้เขียนแทนเพราะพี่สาวคนที่สองของบ้านกลับเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงและติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น แต่โชคดีที่เธอปักหลักอยู่ที่ทำเนียบในวันนั้น แม้เราสองคนจะคิดต่างขั้วกันอยู่เสมอ แต่ก็ไม่เคยเห็นด้วยกับการกระทำความรุนแรงของผู้มีอำนาจต่อกลุ่มประชาชนรากหญ้าที่ปราศจากอาวุธทุกกลุ่ม ทุกกรณี

Homosexual ในอินโดนีเซีย

นักผจญภัยคนหนึ่งซึ่งเลือกนั่งเรือล่องทะเลผ่านประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักข่าวเทมโปสัมภาษณ์เขาเมื่อเดินทางมาถึงอินโดนีเซียเพื่อนำเรื่องราวของเขาลงในนิตยสารเทมโป

หนึ่งในคำถามนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็นกับประเทศที่เขาล่องเรือผ่าน ซึ่งมีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขาตอบสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประเทศที่เขาบอกว่าอยู่แล้วสบายใจที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศเสรี ผู้คนเป็นมิตร และให้พื้นที่กับคนต่างถิ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เขาผ่านมา

ออกจะเห็นด้วยกับนักผจญภัย ....ซึ่งอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด ไม่ต่างจากประเทศมาเลเซีย แต่สิ่งที่สังคมพยายามตอบรับ (ทั้งที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน) สร้างความประหลาดใจไม่น้อย

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ korkaew