<p><strong><span style="font-size: 10pt; color: maroon; font-family: Tahoma"><font color="#ff6600">เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย</font></span></strong></p><p><strong><span style="font-size: 10pt; color: maroon; font-family: Tahoma">&quot;ชาวนา ชาวไร่ และคนจนไร้ที่ดินเหล่านี้ต้องการที่ดินผืนเล็กๆ เพื่อผลิตอาหารและมีรายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว</span></strong><strong><span style="font-size: 10pt; color: maroon; font-family: Tahoma">&quot;<span> <span>&nbsp;</span><br /></span></span></strong><span style="font-size: 10pt; color: maroon; font-family: Tahoma">นี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงที่ดินที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทย ปี พ.ศ. 2550 มาตรา </span><span style="font-size: 10pt; color: maroon; font-family: Tahoma">85</span></p><p><span style="font-size: 10pt; color: maroon; font-family: Tahoma">เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเกษตรกร คนจนไร้ที่ดินทั้งที่อยู่ในชนบทและเมือง ในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคกลางของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 โดยมีเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนโครงสร้างการถือครองที่ดินให้มีความเป็นธรรมและยั่งยืน<br /></span><span style="font-size: 10pt; color: maroon; font-family: Tahoma"><br />จุดร่วมของเครือข่าย คือการเรียนรู้ระหว่างกัน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มคนไร้ที่ดินในทุกระดับ การผลักดันให้ภาครัฐกำหนดนโยบายปฏิรูปที่ดินให้กับชาวนาที่ไม่มีที่ดินและคนยากจนที่ต้องการที่ดินทำกินเป็นของตนเอง <br /></span><span style="font-size: 10pt; color: maroon; font-family: Tahoma"><br />นอกจากนี้เครือข่ายได้เริ่มต้นพัฒนารูปแบบการจัดการที่ดินโดยชุมชน การจัดสรรโฉนดที่ดินชุมชน การพัฒนารูปแบบเกษตรกรรมทางเลือก เพื่อพิสูจน์ศักยภาพชุมชนในการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน เพื่อที่ชาวนา ชาวไร่ เกษตรกรรายย่อยจะสามารถผลิตอาหารหล่อเลี้ยงครอบครัว ชุมชนและสังคมได้</span></p><p>&nbsp;</p>

บล็อกของ landless

ร้อยปี...เสียงกระซิบของขมิ้น

โดย...สุภาภรณ์ วรพรพรรณ, ระวี ถาวร และ สมศักดิ์ สุขวงศ์

 


เส้นทางเข้าสู่บ้านตระ

29 มกราคม 2553 เดือนเต็มดวงในค่ำคืนนี้ อยู่ใกล้แทบจะเอามือคว้าได้ ฉันเข้านอนก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เมื่อหัวค่ำพี่น้องชาวบ้านตระได้เล่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านและบรรพบุรุษของพวกเขา ฉันหลับตานอนเท่าไรก็ไม่ค่อยจะหลับ ด้วยจิตใจจินตนาการถึงหนังสือของบริก แฮม ยัง ที่เขียนเรื่องหมู่บ้านโบราณที่โลกลืมของอินเดียแดงเผ่าอินคาท่ามกลางป่าดงดิบบนเทือกเขาแอนดีส (The Lost City of Incas)

อาลัย สมพร พัฒนภูมิ สามัญชนผู้เปี่ยมด้วยความเป็นมนุษย์

กว่าจะปรากฏเป็นรูปการณ์การดำรงอยู่และการดำเนินไปของชีวิตแห่งมวลมนุษยชาติในยุคปัจจุบันได้นั้น... ได้ผ่านความยากลำบากมากด้วยกัน ด้วยการร่วมกันดิ้นรนและต่อสู้อย่างบากบั่น ผ่านห้วงเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยของสังคม จนผนึกแน่นเป็นสัญชาตญาณห่อหุ้มอยู่ด้วยจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง ละเมียดละไมกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย

กว้านซื้อที่ดินเกษตร การลงทุนรูปแบบใหม่ของบริษัทข้ามชาติ

อารีวรรณ คูสันเทียะ
กลุ่มปฏิบัติการท้องถิ่นไร้พรมแดน

 

 

นับตั้งแต่เกิดวิกฤติด้านการเงิน ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ถูกทำให้ผิดเพี้ยนไป เมื่อพิจารณาจากรายงานข่าวของสื่อต่างๆที่ออกมา เช่น “เกาหลีใต้กำลังเช่าที่ดินครึ่งหนึ่งของมาดากัสการ์ เพื่อผลิตอาหาร” (อันที่จริงแล้วไม่ใช่รัฐบาลแต่เป็นของบริษัทแดวู) ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากมักจะให้ความสนใจว่าผู้ที่มีบทบาทนำในการกว้านซื้อที่ดินเพื่อผลิตอาหารในระดับโลกนั้นเป็นประเทศ หรือรัฐบาลไหน ความสนใจส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไปที่การเกี่ยวพันของรัฐบาล เช่น ซาอุดิอาระเบีย จีน หรือเกาหลีใต้ แท้ที่จริงในขณะที่รัฐบาลเป็นผู้อำนวยการด้านการเจรจา แต่ผลที่สุดแล้วบริษัทธุรกิจ คือผู้ที่เข้าควบคุมที่ดินเหล่านั้น และผลประโยชน์ของบริษัทก็มีเป้าหมายที่แตกต่างไปจากผลประโยชน์ของรัฐบาล ถ้ามองให้ลึกซึ้งกันจริงๆเราจะพบว่าใครคือผู้อยู่เบื้องหลังที่แท้จริงของการเจรจาเหล่านี้

วิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว... คำตอบนี้อยู่ที่ประชาชน




ศยามล ไกยูรวงศ์
โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา

 

 

ประเด็น “โลกร้อน” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใกล้ตัว ถ้าโลกร้อนขึ้นอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส กล่าวกันว่ามนุษย์ทุกคนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ที่แน่ๆคนจนและผู้ด้อยโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุด และไม่มีทางเลือกใดๆต่อการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ และประเด็นนี้เองที่ “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม” มีข้อเสนอต่อการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติ ในการประชุมที่กรุงเทพฯ และที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ว่า

จิตวิญญาณป่า

รุ่งเช้าสายหมอกยังบ่จาง เด็กๆ จับกลุ่มเดินไปโรงเรียน หนุ่มสาวแบกตะกร้าหนักอึ้งกลับจากไร่ ผักกาดเขียวถูกเก็บมาสุมไว้ท้ายกระบะรถเตรียมส่งขายในเมือง ชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านหนองเต่ายังดำเนินเช่นทุกวัน  เพียงแต่วันนี้เป็นวันพิเศษสำหรับชาวบ้านหลายคน เพราะบ้านอยู่อู่นอนกำลังจะได้เอกสารสิทธิ์หลังรอคอยมาเกือบ  30 ปี

อธิปไตยทางอาหารในสวนสมรมภาคใต้ ตอนที่ 2

นักข่าวพลเมือง เทือกเขาบรรทัด


หวัดดีจ้า,


 

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวบ้านไร่เหนือ ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาบรรทัดรอยต่อระหว่างพัทลุงและนครศรีธรรมราช บ้านไร่เหนือก่อตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว จากหลักฐานบ่งชี้คือ เครื่องใช้โบราณที่เป็นกระเบื้องและดินเผา โครงกระดูกที่ขุดพบ นอกจากนั้นยังมีสวนผลไม้โบราณ เช่น ทุเรียน มัดคุด มะปริง มะปราง ลางสาด เป็นต้น

อธิปไตยทางอาหารในสวนสมรมภาคใต้ ตอนที่ 1

หวัดดีจ้า,

2-3 วันที่ผ่านมาได้พาทีมงานที่จะมาช่วยทำสารคดี หนังสั้น และพ็อคเก็ตบุค 
ไปตะลอนทัวร์ชิมผลไม้ ในพื้นที่ทำงาน 3 หมู่บ้านของเครือข่ายองค์กรชุมชนรักเทือกเขาบรรทัด
เลยเก็บมุมงามๆ และอิ่มอกอิ่มใจมาฝาก
ตั้งใจยั่วน้ำลายทุกคน
อยากชวนไปเก็บผลไม้กินด้วยตัวเองจ้า

ชีวิต...ผืนดิน...กับสังคมแห่งความเป็นธรรม

การที่สังคมถูกปล่อยปละละเลยให้ดำเนินไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ โดยคาดการณ์ว่าการพัฒนาดังกล่าวจะสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้กับสังคม ผู้คนมีอาชีพที่หลากหลายมีรายได้สูง ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างสังคม สร้างชาติ และหล่อเลี้ยงระบบให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยเน้นการผลิตที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเพื่อสร้างรายได้และชี้วัดความสุขความเข็มแข้งมั่นคงของสังคมด้วยเงินตราและมูลค่าสมมุติต่างๆ

แนวทางการกระจายการถือครองที่ดินและการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม

คณะทำงานศึกษาแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินฯ

ที่ดินเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อสิทธิในที่อยู่อาศัยและสิทธิในการทำกินอันมั่นคงของประชาชนและเกษตรกร  ที่ดินเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของการเป็นปัจจัยสี่ต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ เป็นฐานความมั่นคงทางอาหารที่สำคัญ  เมื่อที่ดินในประเทศไทยนั้นไม่สามารถงอกเงยขึ้นมาได้  หากไม่มีการกระจายการถือครองที่ดินให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม   ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ 

โฉนดชุมชน ทางออกต่อปัญหาการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อย

 

นรัญกร กลวัชร

กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน


  

การหยิบยกประเด็นปัญหาที่ดินขึ้นมาพูดอีกครั้งของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะเรื่องโฉนดชุมชน และภาษีที่ดิน ได้จุดชนวนการถกเถียงในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน และการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมขึ้นมาอีกครั้งในสังคมไทย ไม่ว่าประเด็นปัญหาที่ดินจะเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ต้องการผลักดันแก้ไขอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงการขายฝันสร้างภาพพจน์รัฐบาลที่เป็นธรรมก็ตาม นี่ก็ถือเป็นโอกาสอันดี ที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่ดินทำกินในภาคชนบท อันเป็นปัญหาพื้นฐานของสังคมไทย ที่ยืดเยื้อและส่อเค้าความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น


Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ landless