Skip to main content

นอกเหนือจากการได้คบพบปะกับเพื่อนที่เป็นมนุษย์จริงๆ ที่เล่นเฟซบุ๊คเป็นแล้วเกิดปฏิสัมพันธ์กันในกาลต่อมา (จีบกัน คบกัน จนถึงขั้นทำให้ท้อง) "เพจอวตาร" ก็ยังถือว่าเป็นเพื่อนยามยากตัวใหม่ที่คอยให้คำปรึกษา หารูปเจ๋งๆ หาวลีเด็ดๆ ให้เราไว้คลายเหงายามอยู่หน้าจอคอม

วันนี้ลองมาดูปากคำของ "เคนชิโร่" หนึ่งในตำนานเพจอวตารที่น่าจดจำตัวหนึ่ง ที่นานๆ จะพูดยาวและเป็นข่าวเสียที จากอวตารแมนที่ไม่ค่อยพูดอะไรไปมากกว่าคำว่า "เจ้าตายแล้ว" ... โดย Mkult สำนักคัลท์ไทย

0 0 0

"นักคัลท์พลเมืองแจ้ง ครบรอบหนึ่งปี 'ท่านผู้นั้น' แถลงรำลึก ย้ำ 'เจ้าตายแล้ว'"


สำนักคัลท์ไทย - เมื่อเวลาราว 22.00 น. หลังจาก MKULT สำนักคัลท์ไทยประกาศรับนักคัลท์พลเมืองไม่นานนัก ทาง MKULT สำนักคัลท์ไทย ได้รับการติดต่อจากนักคัลท์พลเมืองท่านหนึ่งซึ่งถือเป็นนักคัลท์พลเมืองคนแรกที่ได้ติดต่อเข้ามา โดยข้อมูลที่นักคัลท์พลเมืองไม่เปิดเผยชื่อรายนี้ได้ส่งมาได้แจ้งเพียงว่านี่เป็นแถลงการณ์ของ "ท่านผู้นั้น" ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างที่เกิดขึ้นในโลกเฟสบุ้คในวาระครบรอบ 1 ปี ในการถือกำเนิดขึ้นมาในโลกออนไลน์ ทาง MKULT สำนักคัลท์ไทย จึงได้นำแถลงการณ์ดังกล่าวมาเผยแพร่ดังข้อความต่อไปนี้


"ข้าถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวๆ ยามเกือบเช้าวันที่ 1 มีนาคม 2011

ข้าเกิดขึ้นได้เพราะ เฟชบุคเริ่มให้ผู้คุมเพจอวตารเป็นเพจไปโพสต์ลงบ้นหน้าเพจอื่นๆ ได้

ข้าเป็นเพจแรกๆ ที่ใช้ฟังก์ชั่นนั้น

ข้าถูกเลือกเพราะ ข้ามีประโยคที่ทรงพลังที่สุดประโยคหนึ่งในประวัติศาสตร์การ์ตูน

มันคือ "เจ้าตายแล้ว" ที่ข้าจะกล่าวหลังภายหลังที่ข้าใช้หมัดอุดรเทวะสังหารศัตรูข้า

ในวันแรกข้าไปโพสต์ "เจ้าตายแล้ว" บนเพจสารพัด และดึงดูดคนเข้ามาที่เพจข้ามากมาย

ข้ามีจุดประสงค์เพียงแค่ไปโพสต์ "เจ้าตายแล้ว" ให้ครบทุกเพจ และตอบทุกๆ คนที่มาพูดคุยกับข้าว่า "เจ้าตายแล้ว" เท่านั้น

ไม่แปลกอะไรเลยที่ผู้คนจะคิดว่าข้าเป็นบอต เพราะข้าคือเครื่องจักรที่มนุษย์เป็นผู้ดำเนินการ

ภายในวันเดียว มีผู้คนมาท้าทายข้ามากมาย คนต้องการให้ข้าตอบอย่างรวดเร็ว เคราะห์ดีที่ข้ามีผู้ดูแลหลากหลายอยู่ทั่วโลก เข้ายามกันเป็นกะ ข้าจึงตอบได้ทันท่วงทีตลอดการทำเนินการของข้า

พอเริ่มวันที่สอง ข้าก็เริ่มพบว่า Wall ของข้ามีผู้เยี่ยมเยือนหน้าใหม่ ข้าพบว่า มีเพจมากมาย มาทักทายข้า และไม่นานข้าก็พบว่าหน้า Wall ของข้าได้กลายเป็นพื้นที่เปิดตัวของเพจใหม่ๆ ไปแล้ว

ภายในสัปดาห์แรก "เพจอวตาร" เกิดขึ้นมากมาย

ในช่วงแรกสุด เพจทุกเพจจะพูดเพียงประโยคเดียวเช่นเดียวกับข้า

ถ้าเจ้าอยู่ในช่วงนั้น เจ้าจะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เจ้าสามารถจินตนาการถึง "ประโยคเด็ด" จะถูกนำมาทำเป็นเพจได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวการ์ตูนอะไรก็ตามที่เจ้านึกออก บุคคลสำคัญ นักการเมือง เผด็จการ อดีตนายกรัฐมนตรี ราษฎรอาวุโส ดารา ตัวละครในภาพยนตร์และวรรณกรรม จนถึงตัวละครไร้ชื่อในโฆษณาที่เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จัก สัตว์ หรือกระทั่งอวัยวะและวัตถุสิ่งของ

เพจนับร้อยเพจปรากฏในชั่วข้ามคืน เจ้าอะเอาอะไรล่ะ กั๊ตจัง โยฮันเนส เคราเซอร์ ที่ 2 โปเกมอน ซาเอบะ เรียว ราโอ คามิยามะ (และตัวละครแทบทุกตัวในคุโรมาตี้) ยางามิ ไลท์ ฮิบิโน่ ฮาเรลูย่า กล้วยหอมจอมซน เอดาจิม่า เฮย์ฮาจิ ชวน หลีกภัย สมัคร สุนทรเวช จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม จอมพลสลิ่ม ธนะรัชต์ หมอ ประเวศ แม่ชีทศพร กิตติวุธโฑ ภิกขุ สมศักดิ์ เจียม ป้าเช็ง น้องหม่อง เป้ เสลอร์ ฟิลม์ รัฐภูมิ เคน ธีรเดช จา พนม ยีรัมย์ เชฟหมี ดารธ เวเดอร์ จะเด็ด มังตรา สาวเครือฟ้า จ่าเฉย กะหรี่สนามหลวง กะหรี่สวนลุม คนเชียร์แขก ขอนลอย พ่อท้องผูกนั่งนานไปหน่อย โต้ง ไดเกียว เป็ดตัวที่หนึ่ง เป็ดตัวที่สอง สิงโต กระดูกสันหลัง องคชาติ กัญชา ฯลฯ

และแน่นอนว่าในจำนวนนั้นมีเพจข้าของ "ปลอม" สองสามเพจ เพจต่อต้านข้า กระทั่งเพจ เจ้าตายแล้ว

เพจเพจแรกที่ข้าเห็นว่ามีการพูดอะไรมากไปกว่าประโยคเดียวคือ ยางามิ ไลท์ ที่ไล่เขียนชื่อทุกคนบน Wall ข้าลงบนเดธโน้ต

แต่เพจแรกที่พูดคุยกับผู้คนจริงจังและได้รับความนิยมคือ แม่ชีทศพร ดังนั้นเพจนี้จึงเป็นเพจที่บุกเบิกเพจอวตารในยุคต่อมาที่เน้นการเลียนแบบและล้อเลียน (parody) บุคลิกของบุคคลที่มีอยู่จริงและตัวละครต่างๆ

หลังจากนั้นเพจที่ทำอะไรมากไปกว่าการพูดแค่ประโยคเดียว (รวมทั้งเพจเก่าที่เริ่มพูดมากกว่าประโยคเดียว) ก็ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก สตีฟ จ๊อบส์ ช่างซ่อมแอร์ในตำนาน ตถาคต มานี พงพัด เซลล์แมน รถขายกับข้าว นอกจากนี้เพจพวกบุคคลสำคัญและ นักคิดนักเขียนต่างๆ ที่ปรากฏมาสนทนากัน เช่น โจเซฟ สตาลิน ฟรีดริช นิตเช่ คาร์ล มาร์กซ์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ออสการ์ ไวลด์ รวมไปถึงพวกเพจผสมอย่าง คาร์ล มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก

นี่คือช่วงตั้งแต่ราวๆ ที่ข้าถือกำเนิดมาได้สี่ห้าวันหรือในช่วงสุดสัปดาห์แรก ไปจนถึงช่วงเวลาที่เวลาสัปดาห์ที่สอง

เมื่อมีเพจที่สร้างสรรค์เกิดมามากมาย และเพจอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมพอก็สามารถทำหน้าที่เป็นที่เปิดตัวของเพจอื่นๆ ได้ ข้าเห็นว่าถึงเวลาที่ข้าควรจะวางมือให้เพจอื่นๆ ทำหน้าที่แทนข้าได้แล้ว เมื่อสึนามิเข้าญี่ปุ่นพอดี ข้าจึงถือโอกาสจากไปเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011

มีเพจกระทั่งจัด Event งานศพให้ข้า และก็มีเพจและผู้คนไปเข้าร่วมไม่น้อย

หลังจากนั้นข้ากลับมาเป็นครั้งคราวเช่นในวันที่ 20 มีนาคม เมื่อมี Super Moon หรือเมื่อ 1 เมษายนในวัน April's Fool หรือกระทั่งในตอนเทศกาลสงกรานต์

จริงๆ ข้าอยากกลับมามาก แต่ระบบไม่อนุญาติให้ข้ากลับมาทำเช่นเดิมได้

เมื่อข้า "เจ้าตายแล้ว" เช่นเดิมแม้บน Wall ของข้าเอง ทางระบบก็กล่าวหาว่าข้า Spam และการตอบของข้าก็ไม่ปรากฏ ดังนั้นถึงแม้ข้าจะเปิด Wall ให้พวกเจ้าพูดคุยกับข้า ข้าก็ไม่สามารถตอบพวกเจ้าได

นี่คือเหตุผลที่ข้ากลับมาไม่ได้

อย่างไรก็ดีข้าก็ได้เฝ้าดูพวกเจ้าอยู่ตลอด

ข้าเห็นปรากฏการณ์สารพัด ข้าเห็นปรากฏการพิสดารของการจัดงานแต่งานและงานรื่นเริงของเหล่าเพจต่างๆ ไปจนถึงวันล่มสลายของปรากฏการณ์นี้เนื่องจาก Facebook ไม่อนุญาตให้เพจเข้าไปแสงความคิดเห็นใดๆ ใน Event อีกต่อไป

ข้าเห็นเพจพิศดารสารพัดที่เกิดขึ้นหลังจากข้าวางมือไป ไม่ว่าจะเป็น เพจที่ใช้การเขียนเป็นปฏิสัมพันธ์หลัก เช่น คลำ ผกา ที่เคยขับเคี่ยวกับ แม่ชี นะลูกนะ อยู่ช่วงหนึ่ง เพจ ธเนศ เขตยานนาวา ที่ได้กลายมาเป็นเพจ ศาสดา อันโด่งดัง เพจในโซเวียตรัสเซียที่ใช้รูปแบบมุขการเขียนง่ายๆ แต่ทรงพลัง

หรือเพจที่เน้นการสื่อสารด้วยรูปเป็นหลัก เช่นเพจกูkult (รวมถึงเพจเกี่ยวข้องอย่าง Mkult และ กูKoute) ที่บุกเบิกการล้อเลียนด้วยการสร้างภาพล้อเลียนขึ้นมาใหม่ มาจนถึงเพจโหดสัสที่น่าจะเป็นเพจที่โพสต์รูปได้ล่อแหลมและท้าทายที่สุดในบรรดาเพจภาษาไทยที่มีสมาชิกมากขนาดนี้ (ปัจจุบันเกิน 40,000 คนแล้ว) มาจนถึงล่าสุดเพจ มีมการเมืองไทย ที่มีใช้แนวทางการเล่นมีมจากโลกตะวันตกมาใช้และเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วม

ซึ่งนี่ยังไม่รวมเพจประหลาดๆ ที่เกิดจากประโยคในรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่มีสมาชิกกว่าครึ่งแสนเข้าไปแล้วอย่าง อาจจะมีพลังงานหรือวิญญาณอยู่ก็เป็นได้ หรือ แถวนี้แม่งเถื่อน บอกตรงๆนะถ้าไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้

ซึ่งเพจพิสดารพวกนี้ถ้ากระทั่งเพจที่มีใช้ความคิดพื้นๆ ชวนให้คนมา Tag ชื่อเพจอย่าง ดูเพิ่มเติม ที่ไม่ต้องทำอะไรมากมายก็มีสมาชิกกว่า 20,000 เข้าไปแล้ว

ข้าคงไม่อาจครอบคลุมทุกๆ พัฒนาการได้ แต่อย่างน้อยๆ การละเล่นเพจอวตารก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการเล่น Facebook ชาวไทยไปเรียบร้อยแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อมีละครอย่างดอกส้มสีทองออกอาการ ก็เกิดเพจอวตารตัวละครมาพูดคุยกัน ไม่ได้ต่างจากที่เพจพวกตัวการ์ตูนทำมาก่อน แต่เพจใหม่ๆ เหล่านี้ก็ไม่ได้ตระหนักถึงจุดเริ่มต้นของการพูดคุยระหว่างเพจนี้เลยว่ามันเริ่มมาได้อย่างไร

ความหลงลืมเหล่านี้เองที่ทำให้ข้าบันทึกเรื่องราวทั้งหมดนี้ลงไปในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเพจข้า ข้าไม่ต้องการให้เรื่องราวของคืนวันอันรุ่งโรจน์ของเพจอวตารสาปสูญไปในประวัติศาสตร์

อย่างน้อยก็ตั้งแต่ข้าถือกำเนิดมาได้ไม่เกินสัปดาห์ ข้าก็ตระหนักดีว่า Facebook จะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป

ไม่ว่าเจ้าจะชอบหรือไม่ก็ตา

เจ้าตายแล้ว

เคนชิโร่ 


ที่มา:

Mkult สำนักคัลท์ไทย

 

บล็อกของ new media watch

new media watch
  ใครที่เป็นแฟนประจำนิตยสาร ‘สารคดี' ย่อมรู้ว่า ‘วัน ตัน' เป็นนามปากกาของ บก.วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ - ผู้เป็นทั้งนักคิด นักเขียน และคนทำหนังสือผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยนอกเหนือจากบทบาทการเป็นนักคิดนักเขียน วันชัยยังเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นนักเคลื่อนไหวด้านกิจกรรมเพื่อสังคมอีกนับไม่ถ้วน บท บก.ของวันชัย จึงเป็นสิ่งที่หนอนหนังสือ ‘ต้องอ่าน' พอๆ กับคอลัมน์ที่ ‘วัน ตัน' เขียนถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนโลกสีเขียวใบนี้ แง่มุมดีๆ และความคิดที่ชวนให้เก็บไปต่อยอด มักมีที่มาจากงานเขียนหลายๆ ชิ้นบนพื้นที่หน้ากระดาษที่ว่ามาแล้วทั้งสิ้น ตอนนี้สารคดีเปิดพื้นที่ ‘บล็อก'…
new media watch
ประกาศตัวเป็น 'นิตยสารออนไลน์' รายล่าสุดที่เปิดให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตดาวน์โหลดเนื้อหาข้างในเล่มมาอ่านกันได้ฟรีๆ ทุกหน้า ที่ www.modepanya.com ด้วยความตั้งใจของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไฟแรง คือ ณ พงศ์ วรัญญานนท์, เวสารัช โทณผลิน และ ศิริพร ฤกษ์สิรินุกูล ที่อยากสร้างสรรค์สารคดีเสริมปัญญาให้นักอ่านได้เสพสาระและความบันเทิงกันแบบไม่ต้องอาศัยทุนรอนมากนัก (ที่สำคัญ-ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำหนังสือ ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนไปได้อีกนิดหน่อย)แม้จะไม่ใช่หนังสือทำอาหาร แต่บทความหลายชิ้นช่วยบำรุงสมองนักอ่านได้ดี มีสรรพคุณด้านการกระตุ้นความคิด ซึ่งอาจจะฟังดูขัดแย้งกับชื่อ 'หมดปัญญา' ที่เป็นหัวนิตยสารอยู่บ้าง…
new media watch
เรื่องหุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ และเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจเป็นยาขมสำหรับคนไม่ชอบตัวเลขหรือไม่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านนี้ แต่ถ้าเข้าไปที่ http://1001ii.wordpress.com อาจเปลี่ยนใจไปเลย เพราะจะได้อะไรดีๆ เป็นอาหารสมองกลับมาให้คิดต่อกันอีกเพียบจากที่จั่วหัวว่าเป็น 'บล็อกเล็กๆ ว่าด้วยเรื่องเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ' ตามด้วยพื้นที่โฆษณาหนังสือ (เผื่อใครสนใจจะไปซื้อหามาอ่าน) แต่บทความของ 'นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์' เจ้าของผลงานหนังสือเศรษฐศาสตร์อ่าน (เข้าใจ) ง่ายหลายต่อหลายเล่ม ถูกโพสต์ให้อ่านกันฟรีๆ ในบล็อกแห่งนี้ แม้ว่าจะอุดมไปด้วยศัพท์เทคนิค อาทิ Short Call Options, Externality, Purchasing-Power…
new media watch
  http://www.sapparod.com/ด้วยเหตุว่า sapparod.com มีหูตาเป็นสัปปะรด คอยรายงานความเคลื่อนไหว ตอบคำถาม และรวบรวมเกร็ดความรู้นานาสารพันมาให้นักท่องเน็ตได้ตามอ่านกันอย่างจุใจ เรื่องราวที่หาอ่านได้จากสัปปะรด (เนื้อแน่น) ออนไลน์ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ ‘คอมพิวเตอร์' ที่แทบจะกลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของคนบางกลุ่มไปแล้ว บล็อกเกอร์ผู้ปลูกสัปปะรดบอกว่า บางครั้งข้อมูลที่เอามาโพสต์ "อาจจะไม่ใช่ข้อมูลทางเทคนิคขั้นสูงนัก แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ยังไม่รู้" (อันนี้มันแน่นอนอยู่แล้ว -ไม่มากก็น้อย) ถ้าดูจากความสม่ำเสมอในการอัพบล็อก ก็เชื่อได้ว่าสัปปะรดดอทคอมมีเรื่องน่าสนใจมาให้บล็อกเกอร์อื่นๆ…
new media watch
http://culturegap.wordpress.com เรื่องเล็กของบางคน อาจเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับอีกหลายคน ด้วยเหตุผลที่มาจาก "ความแตกต่างทางวัฒนธรรม" เรื่องวุ่นๆ ของการมองต่างมุมจึงเกิดขึ้นเสมอบนโลกใบนี้ เมื่อเกิดการถกเถียงกันโดยใช้มุมมองและเหตุผลคนละชุด ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมยิ่งถูกถ่างกว้างออกไป แต่พื้นที่ของความเข้าใจกัน--กลับหดแคบลงอาจเพราะเหตุนี้ บล็อกเกอร์ช่างคิดแห่งเวิร์ดเพรสคนหนึ่ง จึงรวบรวมเรื่องราวนานาสารพันให้คนช่างสงสัยติดตามอ่านกันตามอัธยาศัย ไล่มาตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตำนาน 'เตาอั้งโล่' หรือ 'กำแพงคร่ำครวญ' ในดินแดนพันธสัญญา รวมถึงที่มาของสุภาษิตนานาชาติ เรตหนัง…
new media watch
อยากรู้ไหมว่าตัวคุณเป็น 'ซ้ายไร้เดียงสา' หรือ 'ขวาตกขอบ' เป็น 'จอมเผด็จการ' หรือ 'อนารยชน' ที่ politicalcompass.com หรือ 'เข็มทิศการเมือง' มีคำตอบ! แค่คุณตอบแบบสอบถามที่ให้มา แล้วระบบจะประมวลผลจากคำตอบที่เลือก เพื่อหาว่าจุดยืนและแนวคิดทางการเมืองของคุณเป็นอย่างไร...เพียงแค่ตอบคำถามง่ายๆ ไม่กี่สิบข้อ (แต่มีข้อแม้ว่าต้องสันทัดภาษาอังกฤษพอสมควร หรือถ้าไม่เชี่ยวชาญ และอยากรู้จริงๆ แนะนำให้ทำแบบทดสอบโดยเปิดดิกชีนนารีไปด้วย ไม่งั้นผลที่ได้อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง) และคำถามส่วนใหญ่ออกแนวลองเชิงลองใจว่าคุณให้ความสำคัญกับเรื่องไหนบ้าง มีทั้งศีลธรรมจรรยา ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบ…
new media watch
อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลุ่มผู้ก่อตั้งสถานีอินเทอร์เน็ตแห่งนี้บอกชัดเจนว่า "ไม่ใช่การนำรายการที่ออกอากาศในโทรทัศน์มาฉายซ้ำในช่องทางอินเทอร์เน็ต" แต่เป็นช่องทางนำเสนอรายการแบบ on-demand ที่เน้นความสร้างสรรค์ แตกต่าง และหลากหลาย ที่สำคัญ มีการจัดอบรมวิธีผลิตรายการบนสถานีอินเตอร์เน็ตด้วย...หัวเรี่ยวหัวแรงหลักๆ ของสถานี suki flix มีแค่ 3 คนเท่านั้น คือ บารมี นวนพรัตน์สกุล, ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์, ชัยณรงค์ อุตตะโมท - 3 หนุ่ม 3 สามมุมที่แปรรูปความฝันให้กลายเป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากรายการเกี่ยวกับไอที (Geek Freak) ไลฟ์สไตล์ ( Story of the Month) ศิลปะ บันเทิง…
new media watch
เรื่องราวเกี่ยวกับ iPod, iPhone ทั้งข่าวสาร ข้อมูลอัพเดท ข่าวลือ สามารถหาได้จากเว็บบล็อกแห่งนี้ siampod.com เริ่มต้นให้บริการประมาณต้นปี 2006 โดยเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับ iPod จากต่างประเทศโดยเฉพาะ - แต่บางครั้งก็มีข่าวของ Apple Macintosh หลงมาบ้างประปราย
new media watch
กระแส 'ถุงผ้า' อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง แต่ชาวญี่ปุ่นมีวิธีประหยัดถุงพลาสติก ถุงผ้า หรือแม้แต่กระเป๋าเดินทาง มาตั้งนานแล้ว!เวบ 'กระทรวงสิ่งแวดล้อม' สัญชาติญี่ปุ่น ขอนำเสนอ Furoshiki หรือ วิธีพับผ้าเป็นสัมภาระบรรจุสิ่งของที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ หรือคนยุคปัจจุบันจะดัดแปลงเป็นการห่อของขวัญก็ได้ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาญี่ปุ่นก็สามารถเข้าใจ 'ฟุโรชิกิ' เพราะเวบนี้เขาใช้ 'ภาษาภาพ' เป็นเครื่องมือสื่อสาร ลองเข้าไปดูแล้วทำตามยามว่างๆ ก็คงเพลินดีhttp://www.env.go.jp/en/focus/attach/060403-5.html
new media watch
"divland.com" สำหรับเว็บบล็อกที่จะแนะนำคราวนี้ อาจจะเป็นบล็อกเชิงเทคนิคสักนิด แต่สำหรับคนที่ออกแบบเว็บไซต์น่าจะพอเข้าใจชื่อ divland.com มาจากคำสั่ง <div> และ </div> ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้บ่อยมาก ในการออกแบบเว็บไซต์ด้วยภาษาโปรแกรม XHTML และ CSS ในการออกแบบเว็บไซต์ ที่ผ่านมาในอดีตไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือการเขียนเว็บเพจด้วยโปรแกรม Text Editor มีการใช้งาน HTML ที่ไม่ควรใช้เยอะมากจนเกินความจำเป็น ปัจจุบันการออกแบบเว็บไซต์ทำได้ง่ายขึ้น โดยการใช้ภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ XHTML และ CSS เพื่อช่วยลดความซับซ้อน…
new media watch
ใครว่าบล็อกยี่ห้อ WordPress ใช้งานยาก "keng.com" ขอเถียง สำหรับคนที่เพิ่งเคยได้ยินชื่อ keng.com (เก่งดอทคอม) คงนึกไปว่าเว็บนี้เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวของนายเก่งคำตอบคือ ถูกครึ่งเดียว...เพราะนี่คือเว็บของ เก่ง - กติกา สายเสนีย์ ที่ไม่ใช่เว็บบล็อกส่วนตัวอย่างเดียว แต่เป็นเว็บบล็อกสอนการใช้งาน WordPress ที่เป็นระบบเว็บบล็อกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน * keng.com เริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 1999 ในช่วงแรกๆ เป็นการบันทึกข้อมูลทั่วไป แต่อยู่มาวันหนึ่ง keng.com ก็ปรับเปลียนตัวเอง ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเป็นการเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้งานบล็อกเป็นหลักไม่ว่าคุณจะเพิ่งศึกษาหาข้อมูล เพิ่งเริ่มใช้งาน…
new media watch
ไม่ใช่ 'เชลล์ชวนชิม' ออนไลน์ แต่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของ 'มนตรี ศรียงค์' กวีหนุ่ม เจ้าของรางวัลซีไรต์ประจำปี 2550 ที่ใช้เวลานอกเหนือจากการแต่งกวี ในฐานะ 'เจ้าของร้านบะหมี่เป็ดแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา'เนื้อหาข้างในบล็อกไม่ได้สอนวิธีทำบะหมี่เป็ดหรือขายแฟรนไชส์ แต่มีทั้งบทกวีและคำทักทายมิตรรักแฟน (คลับ) กวี รวมไว้ให้นักอ่านได้ลิ้มรสไม่ว่าวิวาทะเรื่องรางวัลซีไรต์จะลงเอยอย่างไร ถ้าสุภาษิตที่ว่า "ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน" ยังใช้การได้ ขอเชิญไปทัศนาและพินิจพิเคราะห์กันเอาเองที่ http://www.softganz.com/meeped/index.php