Skip to main content

 เท่าที่สังเกตโดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัวและคนรอบข้าง ดูเหมือนว่า นักจัดรายการวิทยุ' หรือ DJ ในยุคมิลเลนเนียม จะต้องมีคุณสมบัติคล้ายๆ กัน คือ พูดเก่ง ยิงมุขฮากระจาย ชวนคนฟังเล่นเกม และท่องจำรายชื่อสปอนเซอร์ได้อย่างชัดเจนไม่มีตกหล่น

หรือกรณีที่คนฟังวิทยุไม่นิยมดีเจพูดมาก ก็จะมีรายการอีกประเภทไว้คอยท่า คือรายการวิทยุที่ ไม่มีดีเจ' แต่จะมีเพลงเปิดให้ฟังสลับกับโฆษณา และรายการทั้ง 2 ประเภทที่ว่ามาก็ได้รับความนิยมสูงเสียด้วย ส่วนเรื่องที่ว่า-ดีเจแต่ละคนมีภูมิรู้เรื่องดนตรีแน่นแค่ไหน หรือมีวิธีพูดคุยถึงเรื่องในสังคมและชีวิตประจำวันให้คนฟังได้คิดตามหรือรู้สึกเพลินๆ ได้หรือเปล่า กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่

ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัยเหมือนกันว่ามาตรฐานนักจัดรายการวิทยุแบบหลังเริ่มหายหน้าหายตาไปตอนไหน?

แล้ววันหนึ่งรายการวิทยุ The Radio คลื่น 99.5 FM ซึ่งเป็นแหล่งรวมของดีเจรุ่นใหญ่ (อาทิ มาโนช พุุฒตาล, วาสนา วีระชาติพลี หรือ วิโรจน์ ควันธรรม ฯลฯ) ไม่ค่อยเปิดเพลงตาม รีเควสท์' ของคนฟัง แถมยังไม่มีค่ายเพลงค่ายไหนสนับสนุนเป็นพิเศษ (แต่ รู้ลึกรู้จริง' เรื่องดนตรีกันทุกคน)-ก็หลุดจากผังไปเมื่อปลายปี 2550 ด้วยเหตุผลว่า เรตติ้งไม่ดีพอ' ที่สปอนเซอร์จะให้การสนับสนุน

ฟังดูเป็นเรื่องเข้าใจได้ เพราะวัฏจักรของธุรกิจดนตรีในโลกทุนนิยมก็เป็นแบบนี้มาแต่ไหนแต่ไร เพียงแต่ครั้งนี้คนฟังที่เคยเป็น พลังเงียบ' มาตลอด กลับลุกขึ้นมาทักท้วงและเรียกร้องให้รายการ The Radio ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้ง เพราะนี่คือรายการวิทยุที่พวกเขาเห็นว่า มีคุณค่า' และมีสาระหลากหลายมากกว่าการเปิดเพลงตามคำขอ' ที่มีอยู่เกลื่อนแผงหน้าปัดวิทยุ

บล็อกจำนวนหนึ่งจึงเกิดขึ้นเพื่อรายการวิทยุแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น Save the Radio หรือ The Radio Live และ Radio Star ที่เคยเป็นบล็อกดั้งเดิมของเดอะเรดิโอ บล็อกเหล่านี้เป็นศูนย์กลางสำหรับคนฟังที่ต้องการให้เดอะเรดิโอกลับมาออกอากาศ ลงชื่อเรียกร้องกับทางสปอนเซอร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ นานๆ ที' จะเกิดขึ้นสักครั้ง

ใครสนใจลองเข้าไปเข้าไปดูได้ตามอัธยาศัย เผื่อบางทีปรากฎการณ์ที่ คนชั้นกลาง' ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวเพื่อรายการวิทยุเล็กๆ รายการหนึ่ง อาจต่อยอดไปสู่การเคลื่อนไหวในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประเด็นโครงสร้างมากขึ้นก็ได้...ใครจะรู้...เพราะอย่างน้อยครั้งนี้ ทุนนิยมก็ไม่ได้ชนะขาดลอยเหมือนที่แล้วๆ มา

 

 

 

บล็อกของ new media watch

new media watch
  ใครที่เป็นแฟนประจำนิตยสาร ‘สารคดี' ย่อมรู้ว่า ‘วัน ตัน' เป็นนามปากกาของ บก.วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ - ผู้เป็นทั้งนักคิด นักเขียน และคนทำหนังสือผู้คร่ำหวอดในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยนอกเหนือจากบทบาทการเป็นนักคิดนักเขียน วันชัยยังเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นนักเคลื่อนไหวด้านกิจกรรมเพื่อสังคมอีกนับไม่ถ้วน บท บก.ของวันชัย จึงเป็นสิ่งที่หนอนหนังสือ ‘ต้องอ่าน' พอๆ กับคอลัมน์ที่ ‘วัน ตัน' เขียนถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนโลกสีเขียวใบนี้ แง่มุมดีๆ และความคิดที่ชวนให้เก็บไปต่อยอด มักมีที่มาจากงานเขียนหลายๆ ชิ้นบนพื้นที่หน้ากระดาษที่ว่ามาแล้วทั้งสิ้น ตอนนี้สารคดีเปิดพื้นที่ ‘บล็อก'…
new media watch
ประกาศตัวเป็น 'นิตยสารออนไลน์' รายล่าสุดที่เปิดให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตดาวน์โหลดเนื้อหาข้างในเล่มมาอ่านกันได้ฟรีๆ ทุกหน้า ที่ www.modepanya.com ด้วยความตั้งใจของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ไฟแรง คือ ณ พงศ์ วรัญญานนท์, เวสารัช โทณผลิน และ ศิริพร ฤกษ์สิรินุกูล ที่อยากสร้างสรรค์สารคดีเสริมปัญญาให้นักอ่านได้เสพสาระและความบันเทิงกันแบบไม่ต้องอาศัยทุนรอนมากนัก (ที่สำคัญ-ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำหนังสือ ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนไปได้อีกนิดหน่อย)แม้จะไม่ใช่หนังสือทำอาหาร แต่บทความหลายชิ้นช่วยบำรุงสมองนักอ่านได้ดี มีสรรพคุณด้านการกระตุ้นความคิด ซึ่งอาจจะฟังดูขัดแย้งกับชื่อ 'หมดปัญญา' ที่เป็นหัวนิตยสารอยู่บ้าง…
new media watch
เรื่องหุ้น ธุรกิจ เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ และเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจเป็นยาขมสำหรับคนไม่ชอบตัวเลขหรือไม่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านนี้ แต่ถ้าเข้าไปที่ http://1001ii.wordpress.com อาจเปลี่ยนใจไปเลย เพราะจะได้อะไรดีๆ เป็นอาหารสมองกลับมาให้คิดต่อกันอีกเพียบจากที่จั่วหัวว่าเป็น 'บล็อกเล็กๆ ว่าด้วยเรื่องเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ' ตามด้วยพื้นที่โฆษณาหนังสือ (เผื่อใครสนใจจะไปซื้อหามาอ่าน) แต่บทความของ 'นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์' เจ้าของผลงานหนังสือเศรษฐศาสตร์อ่าน (เข้าใจ) ง่ายหลายต่อหลายเล่ม ถูกโพสต์ให้อ่านกันฟรีๆ ในบล็อกแห่งนี้ แม้ว่าจะอุดมไปด้วยศัพท์เทคนิค อาทิ Short Call Options, Externality, Purchasing-Power…
new media watch
  http://www.sapparod.com/ด้วยเหตุว่า sapparod.com มีหูตาเป็นสัปปะรด คอยรายงานความเคลื่อนไหว ตอบคำถาม และรวบรวมเกร็ดความรู้นานาสารพันมาให้นักท่องเน็ตได้ตามอ่านกันอย่างจุใจ เรื่องราวที่หาอ่านได้จากสัปปะรด (เนื้อแน่น) ออนไลน์ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ ‘คอมพิวเตอร์' ที่แทบจะกลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของคนบางกลุ่มไปแล้ว บล็อกเกอร์ผู้ปลูกสัปปะรดบอกว่า บางครั้งข้อมูลที่เอามาโพสต์ "อาจจะไม่ใช่ข้อมูลทางเทคนิคขั้นสูงนัก แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ยังไม่รู้" (อันนี้มันแน่นอนอยู่แล้ว -ไม่มากก็น้อย) ถ้าดูจากความสม่ำเสมอในการอัพบล็อก ก็เชื่อได้ว่าสัปปะรดดอทคอมมีเรื่องน่าสนใจมาให้บล็อกเกอร์อื่นๆ…
new media watch
http://culturegap.wordpress.com เรื่องเล็กของบางคน อาจเป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับอีกหลายคน ด้วยเหตุผลที่มาจาก "ความแตกต่างทางวัฒนธรรม" เรื่องวุ่นๆ ของการมองต่างมุมจึงเกิดขึ้นเสมอบนโลกใบนี้ เมื่อเกิดการถกเถียงกันโดยใช้มุมมองและเหตุผลคนละชุด ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมยิ่งถูกถ่างกว้างออกไป แต่พื้นที่ของความเข้าใจกัน--กลับหดแคบลงอาจเพราะเหตุนี้ บล็อกเกอร์ช่างคิดแห่งเวิร์ดเพรสคนหนึ่ง จึงรวบรวมเรื่องราวนานาสารพันให้คนช่างสงสัยติดตามอ่านกันตามอัธยาศัย ไล่มาตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตำนาน 'เตาอั้งโล่' หรือ 'กำแพงคร่ำครวญ' ในดินแดนพันธสัญญา รวมถึงที่มาของสุภาษิตนานาชาติ เรตหนัง…
new media watch
อยากรู้ไหมว่าตัวคุณเป็น 'ซ้ายไร้เดียงสา' หรือ 'ขวาตกขอบ' เป็น 'จอมเผด็จการ' หรือ 'อนารยชน' ที่ politicalcompass.com หรือ 'เข็มทิศการเมือง' มีคำตอบ! แค่คุณตอบแบบสอบถามที่ให้มา แล้วระบบจะประมวลผลจากคำตอบที่เลือก เพื่อหาว่าจุดยืนและแนวคิดทางการเมืองของคุณเป็นอย่างไร...เพียงแค่ตอบคำถามง่ายๆ ไม่กี่สิบข้อ (แต่มีข้อแม้ว่าต้องสันทัดภาษาอังกฤษพอสมควร หรือถ้าไม่เชี่ยวชาญ และอยากรู้จริงๆ แนะนำให้ทำแบบทดสอบโดยเปิดดิกชีนนารีไปด้วย ไม่งั้นผลที่ได้อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง) และคำถามส่วนใหญ่ออกแนวลองเชิงลองใจว่าคุณให้ความสำคัญกับเรื่องไหนบ้าง มีทั้งศีลธรรมจรรยา ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบ…
new media watch
อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลุ่มผู้ก่อตั้งสถานีอินเทอร์เน็ตแห่งนี้บอกชัดเจนว่า "ไม่ใช่การนำรายการที่ออกอากาศในโทรทัศน์มาฉายซ้ำในช่องทางอินเทอร์เน็ต" แต่เป็นช่องทางนำเสนอรายการแบบ on-demand ที่เน้นความสร้างสรรค์ แตกต่าง และหลากหลาย ที่สำคัญ มีการจัดอบรมวิธีผลิตรายการบนสถานีอินเตอร์เน็ตด้วย...หัวเรี่ยวหัวแรงหลักๆ ของสถานี suki flix มีแค่ 3 คนเท่านั้น คือ บารมี นวนพรัตน์สกุล, ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์, ชัยณรงค์ อุตตะโมท - 3 หนุ่ม 3 สามมุมที่แปรรูปความฝันให้กลายเป็นสิ่งที่มองเห็นและจับต้องได้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นอกจากรายการเกี่ยวกับไอที (Geek Freak) ไลฟ์สไตล์ ( Story of the Month) ศิลปะ บันเทิง…
new media watch
เรื่องราวเกี่ยวกับ iPod, iPhone ทั้งข่าวสาร ข้อมูลอัพเดท ข่าวลือ สามารถหาได้จากเว็บบล็อกแห่งนี้ siampod.com เริ่มต้นให้บริการประมาณต้นปี 2006 โดยเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารเกี่ยวกับ iPod จากต่างประเทศโดยเฉพาะ - แต่บางครั้งก็มีข่าวของ Apple Macintosh หลงมาบ้างประปราย
new media watch
กระแส 'ถุงผ้า' อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง แต่ชาวญี่ปุ่นมีวิธีประหยัดถุงพลาสติก ถุงผ้า หรือแม้แต่กระเป๋าเดินทาง มาตั้งนานแล้ว!เวบ 'กระทรวงสิ่งแวดล้อม' สัญชาติญี่ปุ่น ขอนำเสนอ Furoshiki หรือ วิธีพับผ้าเป็นสัมภาระบรรจุสิ่งของที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ หรือคนยุคปัจจุบันจะดัดแปลงเป็นการห่อของขวัญก็ได้ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาญี่ปุ่นก็สามารถเข้าใจ 'ฟุโรชิกิ' เพราะเวบนี้เขาใช้ 'ภาษาภาพ' เป็นเครื่องมือสื่อสาร ลองเข้าไปดูแล้วทำตามยามว่างๆ ก็คงเพลินดีhttp://www.env.go.jp/en/focus/attach/060403-5.html
new media watch
"divland.com" สำหรับเว็บบล็อกที่จะแนะนำคราวนี้ อาจจะเป็นบล็อกเชิงเทคนิคสักนิด แต่สำหรับคนที่ออกแบบเว็บไซต์น่าจะพอเข้าใจชื่อ divland.com มาจากคำสั่ง <div> และ </div> ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ใช้บ่อยมาก ในการออกแบบเว็บไซต์ด้วยภาษาโปรแกรม XHTML และ CSS ในการออกแบบเว็บไซต์ ที่ผ่านมาในอดีตไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือการเขียนเว็บเพจด้วยโปรแกรม Text Editor มีการใช้งาน HTML ที่ไม่ควรใช้เยอะมากจนเกินความจำเป็น ปัจจุบันการออกแบบเว็บไซต์ทำได้ง่ายขึ้น โดยการใช้ภาษาโปรแกรมรุ่นใหม่ XHTML และ CSS เพื่อช่วยลดความซับซ้อน…
new media watch
ใครว่าบล็อกยี่ห้อ WordPress ใช้งานยาก "keng.com" ขอเถียง สำหรับคนที่เพิ่งเคยได้ยินชื่อ keng.com (เก่งดอทคอม) คงนึกไปว่าเว็บนี้เป็นเว็บบล็อกส่วนตัวของนายเก่งคำตอบคือ ถูกครึ่งเดียว...เพราะนี่คือเว็บของ เก่ง - กติกา สายเสนีย์ ที่ไม่ใช่เว็บบล็อกส่วนตัวอย่างเดียว แต่เป็นเว็บบล็อกสอนการใช้งาน WordPress ที่เป็นระบบเว็บบล็อกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน * keng.com เริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 1999 ในช่วงแรกๆ เป็นการบันทึกข้อมูลทั่วไป แต่อยู่มาวันหนึ่ง keng.com ก็ปรับเปลียนตัวเอง ให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยเป็นการเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้งานบล็อกเป็นหลักไม่ว่าคุณจะเพิ่งศึกษาหาข้อมูล เพิ่งเริ่มใช้งาน…
new media watch
ไม่ใช่ 'เชลล์ชวนชิม' ออนไลน์ แต่เป็นพื้นที่ส่วนตัวของ 'มนตรี ศรียงค์' กวีหนุ่ม เจ้าของรางวัลซีไรต์ประจำปี 2550 ที่ใช้เวลานอกเหนือจากการแต่งกวี ในฐานะ 'เจ้าของร้านบะหมี่เป็ดแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา'เนื้อหาข้างในบล็อกไม่ได้สอนวิธีทำบะหมี่เป็ดหรือขายแฟรนไชส์ แต่มีทั้งบทกวีและคำทักทายมิตรรักแฟน (คลับ) กวี รวมไว้ให้นักอ่านได้ลิ้มรสไม่ว่าวิวาทะเรื่องรางวัลซีไรต์จะลงเอยอย่างไร ถ้าสุภาษิตที่ว่า "ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน" ยังใช้การได้ ขอเชิญไปทัศนาและพินิจพิเคราะห์กันเอาเองที่ http://www.softganz.com/meeped/index.php