Skip to main content

สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
\\/--break--\>

โดยปกติคนกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่รักและชอบเสียงเพลง แต่ในสถานการณ์การหนีตายแบบนี้ บทเพลงและเสียงเพลงต้องหลบเพื่อรักษาชีวิตตนเองเช่นกัน ในช่วงเวลาการต่อสู้เพื่อกู้ชาติของคนกะเหรี่ยงกว่า 61 ปีที่ผ่านมา บทเพลงหลายสิบเพลงต้องจบชีวิตลงในสนามรบ

ผมมีโอกาสได้คุยกับเพื่อนกะเหรี่ยงที่หลบภัยจากการสู้รบตามแนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่าฝั่งตะวันตกคนหนึ่งเกี่ยวกับบทเพลงในชุมชนปกาเกอะญอในพื้นที่การสู้รบ

มีบทเพลงบางเพลงที่เป็นเพลงต้องห้าม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าไม่อยากให้ร้อง” เขาบอกผม
เหรอ มันเป็นยังไง” ผมชักสงสัย

มันเป็นเพลงปฏิวัติ เป็นเพลงปลูกระดมคนชนเผ่าให้ฮึกเหิมในการต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ให้ต่อสู้เพื่อกู้ชาติ กู้แผ่นดิน และปลอดปล่อยชนเผ่าจากการจองจำทางการปกครองที่ไม่มีความเป็นธรรม” เขาอธิบาย

มันร้องไม่ได้เลยเหรอ” ผู้ฟังซักถาม
เมื่อก่อนร้องได้ถ้าเป็นพื้นที่ของเราเอง ร้องได้เต็มที่ ตะโกนออกไปจนเสียงเดินทางทะลุสี่ห้าดอยก็ยังได้ แต่ไปร้องในพื้นที่ที่มีทหารพม่าไม่ได้ แต่ตอนนี้ในพื้นที่ของเราเองเราก็ร้องไม่ได้เพราะพวกทหารพม่าเข้ามาใกล้และเข้ามาถึงรอบๆชุมชนเราแล้ว อาจจะร้องได้แต่ต้องสำรวจดูรอบๆตัวก่อนว่ามีใครอยู่บ้าง หรืออาจต้องร้องเบาๆ (หัวเราะ)”

รัฐบาลทหารพม่ามองว่าบทเพลงปฏิวัติเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการปลูกระดมให้ชนกลุ่มน้อยต่างๆลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล ทำให้นักเพลงปฏิวัติหลายท่านต้องถูกจองจำในคุก หลายท่านต้องฆ่า หลายคนต้องหนีหัวซุกหัวซุนจากข้อหาการร้องเพลงปฏิวัติหรือเพลงปลูกใจเพื่อการสู้รบปลอดปล่อยชนเผ่า

นักเพลงปฏิวัติของคนกะเหรี่ยงที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการตัวของรัฐบาลพม่ามากที่สุดในช่วงสามสี่ทศวรรษที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้น “ฉ่า เก โดะ” เคยต้องหนีจากย่างกุ้งมาถึงชายแดนไทยเพราะเหตุนี้ ทำให้เขาตัดสินใจจับปืนเป็นนักปฏิวัติเต็มตัวในเวลาต่อมา จนปัจจุบันนี้เขาต้องหนีไปไกลถึงประเทศที่สามในอเมริกา แต่บทเพลงของเขายังคงมีพลังเพียงพอที่จะทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ากลัวจนไม่อยากให้ประชาชนกะเหรี่ยงขับร้อง หรือรับฟังบทเพลงของเขา

หมู่บ้านกลาป่าลึก ในเขตรัฐกะเหรี่ยงตอนเหนือ รวงข้าวในทุ่งไร่เริ่มเหลือง หอมกลิ่นของเม็ดข้าวชักชวนฝูงนกป่ามาเชยชิมรสชาติข้าวพันธุ์พื้นบ้าน จนชาวบ้านต้องคอยไล่ มิฉะนั้นข้าวอาจเหลือเพียงรวงไร้เม็ด ในขณะเดียวกันกลิ่นรวงข้าวก็ได้ชักชวนกองกำลังทหารพม่าเข้าสู่ทุ่งไร่เกือบทุกปี บางปีมาช้าหน่อยชุมชนจึงได้เก็บเกี่ยว บางปีมาเร็วทุ่งไร่ข้าวจึงถูกยึดเอาเป็นฐานทัพชั่วคราว ช่วงหลังๆ มาอยู่ยาวจนต้องเสียพื้นที่ไร่ไปหลายแห่ง

เด็กชายผู้ไร้เดียงสา ยังไม่รู้จักทิศเหนือทิศใต้ ยังไม่รู้จักตะวันตกตะวันออก ยังไม่รู้จักเดือนมืดเดือนแจ้ง รู้แต่เพียงการลงไปเล่นน้ำจับปลา ที่ริมห้วยท้ายหมู่บ้าน เกือบทุกเช้าทุกเย็นคนในชุมชนจะได้ยินเสียงเพลงของเขา เสียงเพลงเดินทางคู่กับเขาตลอด

เย็นวันนั้นเสียงเพลงของเขาดังล่องลงไปท้ายหมู่บ้านเช่นเดิม พร้อมไซซึ่งเป็นอุปกรณ์จับปลาของเขา เขาตั้งใจจะไปวางไซเพื่อดักปลาห่างออกไปจากชุมชนห้าโค้งน้ำ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นที่มีปลาชุม เหมาะแก่การวางไซ เพราะพื้นที่รัศมีภายในสี่โค้งน้ำจากหมู่บ้านนั้น เขาวางไซจนเขารู้ทะลุปรุโปร่งและขณะเดียวกันหมู่ปลาเองก็เริ่มรู้ทางหนีทีไล่ที่จะเอาตัวรอดจากไซของเขา แต่โค้งน้ำที่ห้านั้นติดอยู่ตรงที่มันไกลจากชุมชนหน่อย แต่เขาก็พร้อมที่จะลงทุน


 


 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ