Skip to main content

ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
\\/--break--\>

การไปท้วร์ครั้งนี้ทำไมเลือกที่อเมริกาก่อน ทำไมไม่ทัวร์ที่เมืองไทยคะ?” สื่อมวลชนสุภาพสตรีท่านหนึ่งถาม

เราคิดว่าตลาดเพลงแนวนี้ในเมืองไทย แนว World music ไม่ค่อยมีพื้นที่เท่าที่ควร จึงยังไม่น่าสนใจเท่าที่ต่างประเทศ คนไทยยังไม่ค่อยอยากฟังเพลงที่มีสำเนียงไทยๆ วัฒนธรรมไทยที่ประกอบด้วยภูมิภาคต่างๆ ทั้งใต้ อีสาน กลาง เหนือ รวมไปถึงความเป็นชนเผ่าในเมืองไทย จริงๆมีศิลปินไทยที่พยายามสร้างสรรค์เพลงแนวนี้พอสมควร แต่กลุ่มคนฟังมันมีน้อยไนประเทศไทย คนไทยอยากฟังเพลงเกาหลีมากกว่า เราจึงเริ่มที่ต่างประเทศก่อน "พี่ทอด์ด" ตอบนักข่าว


แล้วไม่คิดจะปลูกฝังคนไทยให้หันมาฟังเพลงแนวนี้มากขึ้นเหรอคะ?” นักข่าวหญิงต่างสำนักถามต่อ

ผมว่าเป็นคำแนะนำที่ดี เราพยายามจัดเทศกาลดนตรีแนวนี้ เป็นเทศกาลจังหวะแผ่นดิน มาเป็นเวลา 4 ปี จัดมาทั้งทางใต้ ตะวันตก กลาง อีสานและทางเหนือด้วย ผู้คนมาฟังในงานเยอะ มัน สนุก แต่ไม่มีใครซื้อซีดีศิลปินเลย (ฮา) คนไทยยังมีเพลงของพี่เบิร์ดให้ฟังอยู่ครับ (ฮา) แต่ถ้ากระแสที่เมืองไทยดีขึ้นเดี๋ยวค่อยว่ากันอีกทีครับ” พี่ทอด์ด อธิบายให้นักข่าวฟังอีกครั้ง


รุ่งเช้าตีสามกว่าของวันที่ 3 ผมถูกปลูกให้ตื่นเพราะต้องไปเช็คอินที่สุวรรณภูมิเครื่องจะออกประมาณ 6 โมง ผมขึ้นนั่งรถตู้ข้าง ๆ พี่ทอด์ด


ชิ อีก 20 นาทีเราจะถึงสนามบิน เราต้องโหลดของเยอะมาก ซึ่งเกินน้ำหนักที่เขากำหนดไว้ เพราะฉะนั้นอย่าถือสาพฤติกรรมผมอีก 20 นาทีข้างหน้านะ เพราะมันจะมีทั้งโหด เศร้า ร้องไห้ ขอความเห็นใจ เพื่อจะสามารถเอาของที่เป็นเครื่องดนตรีไปให้ได้ อเมริกาเขาจะกลัวไม้ที่มาจากต่างประเทศ เพราะเขากลัวปลวกจากต่างประเทศซึ่งเขาไม่สามารถกำจัดได้ บางทีมันกินบ้านพังไปทั้งหลัง อันนี้ก็เข้าใจเขา” พี่ทอด์ด คุยให้ฟัง ก่อนเราจะมุ่งหน้าเข้าสู่ประตูทางเข้า


การโหลดของเป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากน้ำหนักเกินจะต้องใช้การเจรจาอย่างที่ว่า กว่าเราจะขึ้นเครื่องได้ เราก็กลายเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ขึ้นเครื่อง ปลายทางอยู่ที่ไทเป เราต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่นั่น โดยต้องใช้เวลารอเพื่อเปลี่ยนเครื่องประมาณ 8 ชั่วโมง ได้มีโอกาสชมบรรยากาศรอบ ๆ ในสนามบินไทเป นอกจากนั้นยังได้มีโอกาสแวะชิม อาหารพื้นบ้านไต้หวัน

 

 
ร้านอาหารพื้นบ้านไต้หวัน ในสนามบิน


ไทเปหรือไต้หวัน ดูแล้วก็คล้าย ๆ จีน ทั้งภาษาเขียน ภาษาพูด รวมทั้งบุคลิกหน้าตาของผู้คน แต่เมื่อเราไปถามคนไต้หวันเขาจะบอกเพียงแต่ว่าเขาคล้ายจีนแต่เขาไม่เหมือนจีน และเขาไม่ใช่จีน เขาคือไต้หวัน เขาพยายามนำเสนอความเป็น อัตลักษณ์ของไต้หวัน ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นเฉพาะที่ต่างจากจีน และในความเป็นอัตลักษณ์ของไต้หวันนั้น ยังได้รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 14 ชาติพันธุ์ อยู่ในนั้น


รูปแบบการต่อสู้ของไต้หวันเป็นการชูอัตลักษณ์ที่เด่นเพื่อประกาศความเป็นอิสระในอยู่เหนือการครอบครองออกจากจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของคนที่อยู่ในประเทศไต้หวันทั้งประเทศทุกคน ทุกชาติพันธุ์ และในการต่อสู้นั้น ส่วนหนึ่งใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการต่อสู้เพื่อประกาศความเป็นเอกเทศ แม้จีนแผ่นดินใหญ่จะพยายามกดดันทุกวิถีทาง แต่วันนี้ไต้หวันยังคงยืนหยัดในความเป็นเอกเทศของตนเอง ยังคงเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนชาติพันธุ์ได้มีโอกาสประกาศตัวตน เกียรติ ศักดิ์ศรีในดินแดนแห่งนั้น


ทำให้นึกย้อนกลับมาดูการต่อสู้หลายๆ ที่ หลายๆ แห่ง หลายๆ กลุ่ม ที่มุ่งเน้นแต่การเมืองการทหารจนละเลยมิติอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจนลูกหลานคนรุ่นใหม่ขาดจิตสำนึกในความเป็นชาติพันธุ์ และขาดความเข้าใจถึงรากเหง้าแก่นแท้ของเกียรติและศักดิ์ศรี วัฒนธรรมชนเผ่าของตนเอง ทำให้คนรุ่นใหม่ขาดพลังที่เป็นชาติพันธุ์นิยมทำให้พื้นที่การขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมลดน้อยลงไป เมื่อวัฒนธรรมที่เป็นจุดร่วมของคนชาติพันธุ์เดียวกันลดน้อยลง พลังสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียว ความเป็นปึกแผ่น ย่อมถูกกัดเซาะได้ง่ายขึ้น


ยิ่งทำให้นึกถึงการต่อสู้ของคนกะเหรี่ยงทางฝั่งพม่าที่หลงลืมความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เดียวกันแต่ถูกกัดเซาะ ยุแยง โดยการนำศาสนามาเป็นเครื่องมือในการแบ่งแยก แล้วปกครองอย่างง่ายดาย น่าเป็นห่วงว่าหลังจากความขัดแย้งด้านศาสนาซาลงไป ถ้าคนกะเหรี่ยงไม่มอง ไม่วิเคราะห์ ความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเดียวกันให้ชัดเจน ฝ่ายตรงข้ามจะใช้เครื่องมืออีกตัวหนึ่งเพื่อแบ่งแยกซ้ำคนกะเหรี่ยงอีกทีหนึ่ง นั่นคือ การจะพยายามแยกคนกะเหรี่ยงโผล่ว์กับกะเหรี่ยงจอห์ออกจากกัน ครั้งนี้จะทำให้กะเหรี่ยงแตกแยก กระจัดกระจาย ไร้พลังไปกันใหญ่ ได้แต่หวังว่า ความเจ็บปวดของสงครามริมฝั่งเมยรอบล่าสุดจะเป็นบทเรียนที่จะทำชาติพันธุ์ตนเองที่อยู่คนละฝั่งน้ำกันได้เป็นอย่างดี

 

 


 

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าวันที่ 10 กันยาฯ ทีมทั้งหมดเริ่มซ้อมเพื่อทบทวนกระบวนท่าฟ้อน ท่ารำ ท่วงท่าทำนอง จังหวะจะโคน ก่อนตระเวนออกศึก การซ้อมเริ่มต้นด้วยเพลงในอัลบั้มหิมพานต์ 2nd World ของพี่ทอด์ด ทองดี ต่อด้วยเพลงของ ซอ สมาชิกวง the sis ตามด้วยเพลงของลานนา คัมมินส์ รวมทั้งเพลงของมือระนาดและมือโปงลาง หมอแคน จนมาปิดท้ายที่เพลงของผม
ชิ สุวิชาน
บรรยากาศจากเทือกเขาสแครนตัน   หลังจากที่นักดนตรี นักร้อง นักรำมาถึงกันครบองค์ทั้งหมดแล้ว จึงเริ่มมีการแกะกล่องสัมภาระที่ขนเครื่องดนตรีและเครื่องไม้เครื่องมือประกอบการแสดงที่มาจากเมืองไทย ผมเริ่มแกะพลาสติกกันกระแทกที่ห่อเตหน่ากูไว้ เตหน่ากูได้โผล่ออกมารับแสงรับลมอีกครั้ง
ชิ สุวิชาน
รุ่งเช้าตื่นมา อากาศเย็นค่อนไปถึงหนาว ในขณะที่คณะที่มาด้วยกันยังนอนหลบกันอย่างเมามันจากอาการเพลียเพราะการเดินทาง ผมเดินลงไปในห้องครัวเผื่อเจออะไรที่ทานได้บ้าง หน้าห้องครัวเจ้าของบ้านได้ติดรูปคนในครอบครัว รูปลูกชายสองคน ที่ผมแปลกใจคือมีรูปหนึ่งที่ไม่ใช่รูปของผู้ชาย เป็นรูปคล้ายนางฟ้ามีข้อความเขียนว่า “Bless this home”  ทำให้นึกถึงบ้านคนไทยที่มีการเขียนหน้าบ้านต่างๆหลายอย่างเช่น “มั่งมีศรีสุข” บ้าง “บ้านนี้อยู่แล้วรวย” บ้าง
ชิ สุวิชาน
การรอคอยที่ไทเปสิ้นสุดลง เมื่อประตูสู่นิวยอร์กได้เปิดออกให้ผู้โดยสารเดินเข้าไปในเครื่องบิน ระยะทางกว่าสิบสี่ชั่วโมง ผมอยู่กับเพลง World Music ซึ่งเป็นเมนูที่มีให้เลือกจากสายการบิน บางเพลงมีเสียงระนาด ขลุ่ย และมีจังหวะหมอลำปะปนด้วยได้กลิ่นไอดนตรีไทยเป็นอย่างสูง ผมจึงยกหูฟังให้พี่สานุ นักดนตรีและโปรดิวเซอร์จากกรุงเทพฟัง เขาฟันธงเลยว่าเสียงทั้งหมดเป็นการ Samp มาทั้งนั้น ไม่ใช่เสียงจริงดั้งเดิมที่คนเล่นมา แต่ถึงอย่างไรก็เป็นการฆ่าความน่าเบื่อของการอยู่บนเครื่องเป็นเวลานานได้เป็นอย่างดี  
ชิ สุวิชาน
ก่อนเดินทางมีการแถลงข่าวที่กรุงเทพ มีผู้สนับสนุนทั้งกระทรวงการต่างประเทศและบริษัทบุญรอดฯมาร่วม หลังงานแถลงข่าวมีการสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนที่มาในงาน
ชิ สุวิชาน
ความจริงแล้วผมมีกำหนดการนัดสัมภาษณ์ขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปประเทศอเมริกาในวันที่ 2 กันยายน 2552 ขณะที่กำหนดการในการเดินทางไปประเทศดังกล่าวคือเช้าวันที่ 3 กันยายน 2552 หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ แผนกำหนดการเดินทางอาจมีปัญหาได้ ฉะนั้นทางบริษัท ลาเวลล์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นผู้ประสานและเป็นผู้อำนวยการการเดินทางในครั้งนี้ ได้ขอทำเรื่องเร่งรัดการสัมภาษณ์ให้เกิดขึ้นก่อนการสัมภาษณ์เดิม
ชิ สุวิชาน
  บรรยากาศงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย คำรบที่สาม เป็นไปอย่างเรียบง่ายเล็กๆ กะทัดรัด ตามประเด็นหัวข้อที่นำเอาเรื่องของ "การจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงในรูปแบบโฉนดชุมชน" ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้อาวุโสชนเผ่าทางภาคเหนือต่างมากันอย่างครบครันเช่นเดิม
ชิ สุวิชาน
เขาเดินลงไปท้ายหมู่บ้าน พร้อมกับบทเพลง" อย่าให้น้ำตาไหลริน"ของ ฉ่า เก โดะ ที  แม่จ๋า อย่าปล่อยให้น้ำตาได้มีโอกาสไหล            บัดนี้อายุลูกครบ สิบหกบริบูรณ์แล้วดั่งกฎของชายชาติทหารทุกประทศมี                  ลูกต้องทำหน้าที่เพื่อการปฏิวัติพ่อได้สละชีพจนแม่เลี้ยงลูกอย่างกำพร้า             อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ลำเค็ญ แม่ทนถึงคราวลูกชายคนโตต้องไปทำหน้าที่ต่อ     …
ชิ สุวิชาน
สงครามตามชายแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำเมยได้ปะทุขึ้นอีกครั้ง ทางการพม่าออกมาปฏิเสธไม่มีส่วนกับสงครามที่เกิดขึ้นดังกล่าว โดยบอกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชนเผ่ากะเหรี่ยงด้วยกันเอง คือระหว่างกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กับกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธเพื่อประชาธิปไตย (DKBA) ผลของการสู้รบทำให้ประชาชนชาวกะเหรี่ยงด้วยกันเองที่อยู่ในพื้นที่การสู้รบ ต้องหนีภัยจากการสู้รบ หลายชุมชนต้องฝ่าเสียงกระสุนปืน หลายชุมชนต้องฝ่าดงและเสียงระเบิด ในขณะที่เดินฝ่าความตายเพื่อหนีตายนั้น ต้องทำด้วยความเงียบ ความรวดเร็ว ต้องเก็บแม้กระทั่งเสียงร้องไห้
ชิ สุวิชาน
เพลงต่อเพลง ถูกเล่น ถูกร้อง ถูกเล่า ถูกถ่ายทอดออกมาล้วนมีที่มาที่ไปไม่แตกต่างจากเจตนารมณ์ของพ้อเหล่ป่าที่ทำตอนที่ยังชีวิตอยู่ เวลาผ่านไปกว่าครึ่งชั่วโมง อาจารย์ลีซะกับพี่นนท์ก็โยนเวทีมาให้ผม ขณะที่ผมกำลังอยู่ในอาการสับสนเพราะไม่รู้จะเล่นเพลงอะไรดี สิ่งที่เตรียมเล่นเตรียมพูดในขณะที่เดินทาง เล่นไม่ได้พูดไม่ได้ มันเป็นประเด็นเปราะบางสำหรับพื้นที่นี้ งานนี้อีกครั้งหนึ่ง!
ชิ สุวิชาน
จังหวะที่ผมลุกขึ้นและตามเจ้าของบ้านเพื่อไปกินข้าว สายตาผมแวบไปมองเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่งเหมือนคุ้นเคยกันมานาน ทั้งที่ผมไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาก็จ้องหน้าผมเหมือนรู้จักมักคุ้นกับผมเป็นอย่างดี  "โพโดะ (หลาน) คืนนี้มีการขับธาไหม?" เขาถามผมเหมือนรู้ว่าใจผมต้องการอะไร แต่สีหน้าเขาเหมือนแสดงอาการไม่มั่นใจในบางอย่างออกมา"โอ้โห ต้องมีซิ" ผมตอบโดยไม่ต้องเดาว่าเขาคือโมะโชะคนหนึ่งแน่นอน
ชิ สุวิชาน
ทุกครั้งที่เดินทางผ่านหมู่บ้านแม่แฮใต้ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม ไม่มีครั้งไหนที่เลยผ่านร้านขายของชำเล็กๆริมทาง ที่มีผู้เฒ่าปากแดงด้วยน้ำหมากนั่งเฝ้าอยู่ มีของที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตคนภูขายซึ่งมักเป็นอาหารแห้ง ขนมขบเคี้ยวและยารักษาโรคเบื้องต้น  แต่ร้านขายของชำเล็กๆ ถึงเล็กมากแห่งนี้มีมากกว่านั้น มีเรื่องเล่าให้หัวเราะ ให้อมยิ้ม ให้ขบคิด และมีบทธาให้เก็บเกี่ยวมากมาย