Skip to main content

ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิม

เตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอ

เมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว  พ่อเริ่มขับขานบทเพลงและดีดเตหน่ากูไปพร้อมๆกัน  นิ้วมือ ข้อมือและเสียงร้องทำงานประสานกันอย่างกลมกลืน  ลูกชายมองที่มือของพ่อและฟังเสียงพ่ออย่างตั้งอกตั้งใจ พ่อร้องจนจบเพลง

“ร้องตามและเล่นตามพ่อทีละท่อนนะ” พ่อหันมาบอกลูกศิษย์ของตนเอง
“ได้เล้ย! เริ่มกันเลย!” ลูกศิษย์พร้อมปฏิบัติตามที่ครูสั่งอย่างเต็มใจ

พ่อร้องนำหนึ่งท่อนลูกร้องตามหนึ่งท่อน  พ่อดีดนำหนึ่งทีลูกดีดตามหนึ่งที  พ่อดีดมือหนึ่งลูกดีดมือเดียวกัน  พ่อดีดสองมือลูกก็ดีดตามสองมือ  ลูกพยามร้องและเล่นให้เหมือนกับที่พ่อได้ทำให้ดู  ดูเหมือนเสียงเพลงที่ร้องตามจะไปได้ด้วยดี  แต่มือที่ดีดเตหน่ากูและเสียงเตหน่ากูที่เล่นตามนั้นเกิดอะไรขึ้นกับลูกศิษย์

“เดี่ยว! เดี่ยว! เดี่ยว! หยุดก่อน ทำไมเสียงเตหน่ากูไม่ตรงกัน” ผู้เรียนร้องทักครู ทำให้ครูผู้สอนวางเตหน่ากูลงแล้วหัวเราะขำกลิ้งไปพักใหญ่ ส่วนผู้เป็นศิษย์มองพ่อหัวเราะด้วยความมึนงง??

“มันเป็นอย่างงัยครับ? มันเกิดอะไรขึ้น? พ่อแกล้งผมหรือเปล่า?” ลูกศิษย์ชักไม่แน่ใจในตัวตรู

“ไม่ได้แกล้ง! ก็ลูกยังไม่ได้เทียบเสียงสายเตหน่ากู ให้เท่ากับของพ่อ แล้วเสียงมันจะตรงกันได้งัย?” พ่อตอบเชิงแนะนำให้กับลูกชาย

“เทียบสายเตหน่ากูให้เท่ากันก่อน ให้มีเสียงเท่ากันทุกสายนะ” พ่อพูดจบพร้อมกับยื่นเตหน่าให้ลูกเทีบยสาย และก็หยิบมวนบุหรี่ขี้โยจิ้มกับถ่านแดงในเตาไฟ พ่อนำมวนยาดูดอย่างแรงจนแก้มปากสองข้างบุ๋มลึกแล้วคายควันออกมาทางปากและจมูกนั้น ขณะเดียวกันพ่อก็อมยิ้มมองลูกชายเทีบยสายเตหน่ากูอยู่

“ได้หรือยัง?”  พ่อถาม
“คิดว่านะ... แต่พ่อลองดูก่อน” ลูกหยิบเตหน่ากูให้พ่อเล่น เมื่อพ่อเห็นว่าเสียงเตหน่ากูเท่ากันแล้ว จึงเริ่มถ่ายทอดความรู้ให้ลูกชายต่อ

พ่อบรรจงเล่นทีละสาย  บรรจงร้องทีละท่อน เพื่อให้ลูกสามารถตามได้ทัน  การถ่ายทอดเรียนรู้ค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละนิด จนลูกชายเริ่มเล่นตามแบบมั่นใจขึ้นมามากขึ้น  กระทั่งสักพัก

“เอ๊ะ! ฟังเหมือนสายของผมจะไม่ตรงกับของพ่ออีกแล้วน่ะ!??” ลุกชายเริ่มลังเลอีกครั้ง
“ดีดแรงไป ทำให้สายเพี้ยน” ผู้เป็นพ่อบอกกับลูกและยังเตือนลูกอีกว่า หากเล่นเบาเกินเสียงจะเบาไปต้องควบคุมระดับความแรงให้พอดี

“พ่อ...ตั้งสายใหม่ให้หน่อย” ลูกชายยื่นเตหน่ากูให้พ่อ แต่พ่อไม่รับเตหน่ากูจากลูก
“พ่อคิดว่า ก่อนอื่นลูกต้องรู้จักวิธีตั้งสายก่อนนะ” ผู้เป็นพ่อแนะลูก   และบอกให้ลูกฟังอีกว่า แม้ว่าจะเล่นเตหน่ากูเป็นแล้ว แต่หากตั้งสายไม่เป็นมันจะลำบาก หากสายผิดเพี้ยนขึ้นมาก็ต้องอาศัยอื่นคอยตั้งให้ตลอด แต่หากเราตั้งสายเป็น เราก็ตั้งเองได้และสามารถตั้งเสียงสูงเสียงต่ำตามความต้องการของเราได้เอง

“การตั้งสายเตหน่ากูมีทั้งหมดกี่อย่างครับ? แต่ละอย่างตั้งอย่างไร?” ลูกชายใจร้อนถามพ่อ
“ใจเย็นๆ ซิ! เดี๋ยวค่อยๆ เรียนรู้ด้วยกัน” ผู้เป็นพ่ออมยิ้มบอกคำลูกชาย

การตั้งสายของเตหน่ากูนั้นมีหลากหลายรูปแบบ  ขึ้นอยู่กับความถนัดของคนเล่นและการเปลี่ยนตำแหน่งของสาย แต่หากอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆอาจสามารถแยกแยะได้เป็นสองรูปแบบหลักๆ

“เอายั่งงี้ พ่อจะอธิบายตามความเข้าใจของพ่ออย่างง่ายๆคือ มีการตั้งสายสองรูปแบบหรือสองแนว แบบแรกคือแบบ ไมเนอร์ (Minor) แบบที่สองคือ แบบเมเจอร์ (Major)” ขณะที่พ่อพูดยังไม่ทันจบ

“ไมเนอร์ เมเจอร์ มันคืออะไรครับ??” ลูกชายถามแทรกมา
“พ่อเองก็ไม่ค่อยรู้เหมือนกัน แต่เห็นเพื่อนนักดนตรีเค้าเรียกกันอย่างนี้พ่อก็เรียกตามงั้นๆแหละ!” ผู้สอนออกตัวในความรู้ด้านทฤษฎีดนตรี

แต่ก็อธิบายให้ลูกฟังเพื่อเข่าใจง่ายๆว่า แบบไมเนอร์ จะเป็นแนวออกคล้ายๆ ดนตรีลุกทุ่ง หมอลำหรือเพลงพื้นบ้านต่างๆ แถวๆ บ้านเรา  ส่วนเมเจอร์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเพลงสตริง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้จำกัดตัวว่าต้องเป็นแบบนี้เสมอไป  เพลงสตริงก็มีลายไมเนอร์ขณะเดียวเพลงลูกทุ่งหรือเพลงพื้นบ้านในบ้านเราบางครั้งก็มีเมเจอร์ด้วยเช่นกัน

หากมองเมเจอร์ กับไมเนอร์ในประเด็นของเสียงจะมีความแตกต่างตรงที่มีขั้นของคู่เสียงที่ต่างกัน  และหากมองในด้านอารมณ์ เมเจอร์มักจะให้อารมณ์ที่สดใสสว่างไสว  ขณะที่ไมเนอร์จะให้อารมณ์ที่โศกเศร้า อาลัยมากกว่า

“เอายั่งงี้เดี๋ยวพ่อจะสอนวิธีการตั้งสายให้ทั้งสองแบบเลย แต่ต้องไปทีละอย่างนะ” พ่อพูดจบ มือหยิบเกลือใส่ก๊อกน้ำไม้ไผ่แล้วเทน้ำจากกาเหล็กดำรินใส่ก๊อกแล้วดื่มเพื่อพักยกการถ่ายทอดเรียนรู้เตหน่ากูชั่วครู่

บล็อกของ ชิ สุวิชาน

ชิ สุวิชาน
“ตั้งสายได้แล้ว วิธีการเล่นล่ะ?” ลูกชายกำลังไฟแรงอยากเรียนรู้ “ใจเย็นๆ ก่อนอื่นต้องฝึกร้องเพลงให้ได้ก่อน ถ้าร้องเพลงไม้ได้ จำทำนองเพลงไม่ได้ จะเล่นได้ไง” พ่อค่อยๆสอนลูกชาย “เอางี๊ เดี๋ยวพ่อจะสอนเพลงพื้นบ้านง่ายๆที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชอบร้อง ชอบเล่นและชอบสอนเด็กบ่อยๆ ซักสองสามท่อนนะ” แล้วพ่อก็เริ่มเปล่งเสียงร้องและให้ลูกชายร้องตามที่ละวรรค
ชิ สุวิชาน
พ่อได้ดื่มชาในกระบอกไม้ไผ่จนหมดไปกว่าครึ่งหนึ่ง แล้วจึงวางลง“เดิมทีนั้น เตหน่ากูมีจำนวนสายเพียง 5-7สาย แต่ต่อมาได้มีการเพิ่มเติมสายในการเล่นเป็น 8-9สายหรือ 10-12หรือมากกว่านั้นก็ได้” พ่อหยิบเตหน่ากูและเล่าให้ลูกชายฟัง“ทำไมจำนวนสายไม่เท่ากันล่ะ?” ลูกชายถามผู้เป็นพ่อ“มันขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน ชอบและถนัด 7 สายก็เล่น7 สายชอบน้อยกว่านั้นก็เล่นน้อยกว่าก็ได้ หรือชอบมากกว่านั้นก็เล่นมากกว่านั้นก็ได้” พ่อตอบสิ่งที่ลูกชายสงสัยในการตั้งสายเตหน่ากูแบบไมเนอร์สเกล (Minor scale) นั้นเริ่มจาก 5-7 สายโดยมีตัวโน๊ตหลักตามไมเนอร์สเกลอยู่ 5 โน้ต ได้แก่ โด (D) เร (R)  มี (M) โซ (S) ลา…
ชิ สุวิชาน
ความมืดกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เช่นเดียวกับไม้เกี๊ยะที่มาจากแกนไม้สนสองใบต้องถูกเผาเพื่อผลิตแสงสว่างในครัวบ้านปวาเก่อญออีกครั้ง กาต้มน้ำที่ดำสนิทด้วยคราบเขม่าควันไฟถูกตั้งบนเหล่อฉอโข่อีกครั้ง กลิ่นชาป่าขั้วหอมทำให้โสตประสาทกระปรี่กระเปร่าขึ้นมาพร้อมเข้าสู่บรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้านไม้ไผ่หลังเดิมเตหน่ากู คืออุปกรณ์การเรียนรู้ถูกเตรียมไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ ของพ่อซึ่งเป็นผู้สอนหนึ่งตัว ของลูกซึ่งเป็นผู้เรียนหนึ่งตัว รูปร่างลักษณะเตหน่ากูแม้ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่ก็มีรูปทรงที่คล้ายๆกัน  มีตัวท่อนไม้ใหญ่ และมีกิ่งไม้ที่โค้งงอเมื่อพ่อเห็นว่าลูกชายพร้อมที่จะเริ่มการรับความรู้แล้ว …
ชิ สุวิชาน
“พี่น้องครับ พี่ชายคนนี้ยังคงทำหน้าที่ต่อ ณ ตรงนี้ครับ ขอมอบเวทีต่อให้พี่ครับ” ผมพูดจบผมกลับไปที่นั่งของผมเพื่อเป็นคนดูต่อแม่น้ำสายนี้ยังคงไหลไปตามกาลเวลาฯ....................................................ฉันผ่านมา  ผ่านมาทางนี้ ผ่านมาดูสายน้ำ.............ได้รู้ได้ยิน..............ฯบทเพลงแรกผ่านไปต่อด้วยสาละวิน สายน้ำตาเสียงปืนดังที่กิ่วดอยลูกชายไปสงครามเด็กน้อยผวาตื่น(ทุกคืนๆ)
ชิ สุวิชาน
“ผมมีเพื่อนปกาเกอะญอมาด้วยคนหนึ่ง” ผมบอกกับคนดูผมได้ไปพบ และได้ไปฟัง เพลงที่เขาร้อง ณ ริมฝั่งสาละวิน ทำให้ผมเกิดความประทับใจในท่วงทำนองและความหมายของบทเพลงรวมทั้งตัวเขาด้วยผมทราบมาว่าตอนนี้เขาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่  ผมจึงไม่พลาดโอกาสทีจะชักชวนเขามาร่วม บอกเล่าเรื่องราวของชนเผ่า ผ่านบทเพลงที่ผมประทับใจ ซึ่งแรก ๆ นั้น เขาแบ่งรับ แบ่งสู้  ที่จะตอบรับการชักชวนชองผม แต่ผมก็ชักแม่น้ำทั้งห้า จนเขาหมดหนทางปฏิเสธ“ผมไม่คุ้นเคยกับการร้องเพลงต่อหน้าคนมาก ๆ นะ” เขาออกตัวกับผมก่อนวันงาน แต่เมื่อถึงวันงานเขาก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง เขาเดินออกมาแบบเกร็งๆ และประหม่าอย่างเห็นได้ชัด เขาจะยืนตรงก็ไม่ใช่…
ชิ สุวิชาน
ณ ห้องเล็กๆ แถวสี่แยกกลางเวียง เมืองเชียงใหม่ เก้าอี้ถูกเรียงเป็นแถวหน้ากระดานประมาณร้อยกว่าตัว  ข้างหน้าถูกปล่อยว่างเล็กน้อยสำหรับเป็นพื้นที่ตั้งเครื่องเล่นดีวีดีและโปรเจคเตอร์เพื่อฉายสารคดี ใกล้เวลานัดหมายผู้คนเริ่มทยอยกันเข้ามาทีละคน ทีละคู่ ทีละกลุ่ม“เค้าไม่อยากให้เราพูดถึงเรื่องการเมือง แต่เราอาจพูดได้นิดหน่อย” เจ้าหน้าที่ FBR กระซิบมาบอกผมเกี่ยวกับความกังวลของเจ้าของสถานที่ ผมยิ้มแทนการสนทนาตอบ เพียงแต่คิดในใจว่า หากการเมืองคือความทุกข์ยากของประชาชน ของชาวบ้านคนรากหญ้าก็ต้องพูดให้สาธารณะได้รับรู้ เพื่อจะหาช่องทางในการช่วยบรรเทาทุกข์ของประชาชน…
ชิ สุวิชาน
หลังจากดูสารคดีด้วยกันจบ “ผมอยากฉายสารคดีชุดนี้สู่สาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่คนทั่วไปในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผมอยากให้คุณมาร่วมเล่นดนตรีด้วย คุณ โอ เค มั้ย” เขาถามผมผมนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง เพราะผมไม่รู้จะปฏิเสธอย่างไร  ผมรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ต้องทำ  ผมบอกกับตัวเองว่า เพียงแค่เห็นใจและเข้าใจอาจไม่เพียงพอ   หากสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของผู้ทุกข์ยาก โดยเฉพาะคนชนเผ่าเดียวกันได้  มันก็ควรทำไม่ใช่หรือหลังจากผมตอบตกลงเขา เราทั้งสองได้พูดคุยประสานงานกันเกี่ยวกับงานอยู่เรื่อย ๆ จนเวลาลงตัวในวันที่ 21 ธันวาคม ศกนี้ ณ สมาคม AUA เชียงใหม่ ในหัวข้อ “…
ชิ สุวิชาน
ต่า หมื่อ แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละ         ตา ข่า แฮ ธ่อ เลอ โข่ โกละอะ เคอ กิ ดิ เค่อ มี โบ            มา ซี ปกา ซู โข่ อะ เจอผีร้ายโผล่มาทางริมฝั่งสาละวิน        แมงร้ายโผล่มาทางลำน้สาละวินเสื้อผ้าลายเหมือนดั่งต้นบุก        มาเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตคน(ธา บทกวีคนปกาเกอะญอ)“คุณเคยติดตามสถานการณ์ทางรัฐกะเหรี่ยงประเทศพม่าบ้างไหม” เสียงผู้ชายโทรศัพท์มาถามผมด้วยภาษาไทยสำเนียงฝรั่ง“ผมทำงานในองค์กรชื่อFree Burma Rangers ครับ”…
ชิ สุวิชาน
เขานั่งอยู่แถวหน้า และเขาโบกไม้โบกมือขณะที่ผมกำลังบรรเลงเพลงอยู่บนเวที  ในมหกรรมคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์ร่วมกับองค์กรยูเนสโก้  ในงานได้มีการเชิญศิลปินชนเผ่าหลักทั้ง 7 เผ่า ได้แก่ ม้ง อาข่า ลีซู ลาหู่ เมี่ยน ไทยใหญ่และกะเหรี่ยง รวมทั้งยังมีศิลปินล้านนา อาทิ ครูแอ๊ด  ภานุทัต  คำหล้า ธัญาภรณ์ น้อง ปฏิญญา และไม้เมืองนอกจากนี้มีทายาทของสุนทรี  เวชชานนท์ ราชินีเพลงล้านนา คือน้องลานนา มาร่วมร้องเพลง ธีบีโกบีกับทอดด์ ทองดี ศิลปินจากรัฐเพนโซเวเนีย…
ชิ สุวิชาน
เมื่อเข็มนาฬิกาเข็มที่สั้นที่สุด เลื่อนไปยังหมายเลขเก้า ทุกคนจึงขึ้นรถตู้ เคลื่อนขบวนไปยังศูนย์ศิลปและวัฒนธรรมแสงอรุณ  เมื่อถึงมีทีมงานเตรียมข้าวกล่องไว้รอให้ทาน พอทานข้าวเสร็จพี่อ้อย ชุมชนคนรักป่า ก็มาบอกผมว่า  งานจะเริ่มบ่ายโมง  พร้อมกับยื่นใบกำหนดการให้ผมดู  ผมตื่นเต้นนิดหน่อยพอบ่ายโมง งานก็เริ่มขึ้น โดยการฉายสไลด์เกี่ยวกับป่าชุมชนที่หมู่บ้านสบลาน อำเภอสะเมิงเชียงใหม่   "ถ้าถึงคิวแล้วจะมาเรียกนะ” ทีมงานบอกกับผมในระหว่างที่ผมรออยู่หน้างานนั้น ผมก็ได้เจอกับนักเขียน นักดนตรี นักกวี ที่ทยอยมา ได้มีโอกาสคุยกับคนที่ผมรู้จัก และกำลังรู้จัก และที่ไม่รู้จักด้วย …
ชิ สุวิชาน
บุ เต่อ โดะ นะ แล บุ เออบุ ลอ บ ะ เลอ ต่า อะ เออชะตา วาสนาช่างรันทดต้องเผชิญแต่สิ่งลำเค็ญ