Skip to main content
 

 

::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ :::

 

โดย...ณภัค เสรีรักษ์

ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง สนทนา' เกี่ยวกับ ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ เวลา'

ในเบื้องต้น ผมคิดว่าเราๆ ท่านๆ ต่างก็มี ความจำ/ความทรงจำ' ในฐานะที่เป็น เรื่องราว/เรื่องเล่า' ในบางส่วนเสี้ยว หรือในบางแง่มุมของชีวิต ซึ่ง เรื่องราว' ดังที่ว่านี้อาจมีสถานะเป็นทั้ง แรงขับดัน' ให้กับชีวิต-ในการก้าวไปสู่ อนาคต', อาจเป็น โซ่ตรวน' หรือแม้กระทั่ง กรงขัง' แห่งชีวิต-ให้ติดอยู่กับ อดีต', หรือในบางครั้ง บางเรื่องราว, บางความทรงจำ ก็อาจไม่ได้เป็นทั้งพลังขับเคลื่อนและ/หรือพลังฉุดรั้งใดๆ ต่อชีวิตเลย

สำหรับความคิดเรื่อง ความทรงจำ' นั้น เราๆ ท่านๆ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องของสิ่งที่ถูก หยิบเลือก' และรวมไปถึงการ ตัดทอน' จากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ต่างพบเจอในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต เป็นเรื่องของ การเลือก' ที่จะ จดจำ' หรือ ลืมเลือน' บางสิ่งบางอย่าง, บางเหตุการณ์, และแม้กระทั่งคนบางคน ให้ อยู่' หรือ ไม่อยู่' ในชีวิต หรือถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนขึ้น, อยู่หรือไม่อยู่ในความทรงจำ ซึ่งก็คงปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า การหยิบเลือกหรือตัดทอนที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นภายใต้ การให้ความหมาย' หรือ คุณค่า'

----------นี่คือเส้นประที่ว่า----------

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีใจกลางอยู่ที่ การเดินทาง' ของ Elizabeth (Norah Jones) ซึ่งเริ่มต้นหลังจากเธอผิดหวังในความรัก-แฟนของเธอไปมีคนอื่น, การเดินทางอันแสนไกลเพื่อค้นหาตัวเองและพยายามจะนำพาชีวิตให้กลับเข้าร่องเข้ารอย ทำให้เธอได้พานพบพูดคุยกับผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Jeremy (Jude Law) ชายหนุ่มเจ้าของร้านกาแฟ/ café ที่แฟน (เก่า) ของเธอมารับประทานอาหารกับแฟน (ใหม่) ของเขา ซึ่งทั้งคู่ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันในที่สุด, Arnie (David Strathairn) ตำรวจจราจรซึ่งติดเหล้างอมแงมเพราะเจ็บช้ำเรื่องความรักจาก Sue Lynne (Rachel Weisz) อดีตภรรยาสาวสวยของเขา และ Leslie (Natalie Portman) สาวนักพนันใจเด็ดผู้สร้างข้อเสนอสุดพิเศษให้กับเธอ, ซึ่งแน่นอนว่าผู้คน แปลกหน้า' เหล่านั้น, ที่ก็อาจเรียกได้อย่างไม่ขัดเขินว่าเป็น เพื่อนร่วมทาง', ได้นำทางให้เธอค้นพบเส้นทางไปสู่ร่องรอยของชีวิตใหม่

ภาพยนตร์เปิดด้วยฉากใน Café ของ Jeremy อันเป็นฉากที่เผยให้เราเห็นประเด็นเรื่อง การเลือกจำ' เป็นครั้งแรก ผ่านบทสนทนาทางโทรศัพท์ของเขา และนี่คือประโยคที่ Jeremy พูดกับคู่สนทนาของเขา...

            "No. I'm sorry, I don't know anyone by that name."

            "No, listen, I get about a hundred customers a night. I can't keep track of all of them."

            "Do you know... well, tell me what he likes to eat. ‘Cause I remember people by what they order, not by their names."

จากข้อความที่ยกมานี้ คงเข้าใจได้ว่าในฐานะที่เป็นเจ้าของร้าน Jeremy ไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อของลูกค้าทั้งหมด หรือแม้กระทั่งอาจไม่จำเป็นต้องจดจำชื่อลูกค้าคนใดได้เลย หากแต่ว่าจดจำแต่เพียงสิ่งที่พวกเขาสั่ง, สิ่งที่พวกเขากิน ก็คงเพียงพอแล้ว หรือกล่าวในอีกทางหนึ่งได้ว่า สำหรับ Jeremy แล้ว ชื่อของผู้สั่งไม่ได้มีความหมาย แต่สิ่งที่มีความหมายนั้นอยู่ที่สิ่งที่ลูกค้าเหล่านั้นสั่งต่างหาก

แต่ตัวอย่างข้างต้นนี้อาจเป็นเพียงตัวอย่างของ เรื่องราว' ที่ดูจะเรียบง่ายเป็นปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่ผมเห็นว่ายังมี เรื่องราว' หรือ เรื่องเล่า' บางอย่างที่มี ความหมาย' นอกเหนือไปจากสิ่งปกติในชีวิตประจำวันแต่ก็อยู่กับเราในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องเล่าที่ผูกโยง อดีต', ‘ปัจจุบัน' และ อนาคต' ไว้กับ สิ่ง' บางอย่าง, หรือ วัตถุ' บางอย่าง ซึ่งในข้อเขียนชิ้นนี้จะพยายามอธิบายประเด็นดังกล่าวผ่านความเปลี่ยนแปลงของตัวละครสองตัวจากภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ Jeremy และ Elizabeth 

 

 

ว่าด้วย.. Elizabeth

เช่นเดียวกับใครหลายๆ คนที่ฝาก กุญแจ' ไว้กับ Jeremy เพื่อรอให้ใครอีกคนมารับกุญแจนั้นกลับไป Elizabeth นำกุญแจห้องที่เธอเคยอยู่ร่วมกับแฟนเก่าของเธอมาทิ้งไว้ เพื่อให้แฟนเก่าของเธอมาเก็บกลับไป, ‘กุญแจ' ซึ่งเป็นวัตถุแห่งความทรงจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็น ความทรงจำร่วม' ของคนที่ไขกุญแจเพื่อเปิดประตูบานนั้นไปด้วยกัน, ‘กุญแจ' ที่เป็นสัญลักษณ์แทนความสัมพันธ์, ‘กุญแจ' ที่เป็นสัญลักษณ์ของ อดีต' ที่ฉุดรั้ง ปัจจุบัน' และ อนาคต' เอาไว้

อย่างไรก็ตาม ในตอนแรก Elizabeth ไม่สามารถ ทิ้ง' กุญแจ, หรืออีกนัยหนึ่ง อดีต', ไปได้จริง เธอจึงกลับมาหา Jeremy เพื่อเอากุญแจพวงนั้นกลับไปเอง และก็เป็นช่วงเวลานี้เองที่ Jeremy และ Elizabeth ได้ร่วมสนทนากันและปลอบประโลมกัน ความทรงจำร่วม' ชุดใหม่ของเธอก็ได้เกิดขึ้น, ความทรงจำที่เกิดขึ้นร่วมกับ Jeremy ที่ร้านของเขา, ความทรงจำที่มี ‘blueberry pie' เป็นวัตถุแห่งความทรงจำ, blueberry pie ซึ่งไม่ได้ผิดอะไร ไม่ได้แย่อะไร เพียงแต่ไม่มีคนเลือกเท่านั้น

Jeremy : At the end of every night the cheesecake and the apple pie are always completely gone. .......But there's always a whole blueberry pie left untouched.

Elizabeth : So what's wrong with the blueberry pie?

Jeremy : It's nothing wrong with the blueberry pie. Just people make other choices. You can't blame the blueberry pie. It's just no one wants it.

(และในขณะที่ Jeremy กำลังจะทิ้ง blueberry pie ลงถังขยะ)

Elizabeth : Wait! I want a piece.

ในเวลาต่อมา Elizabeth ตัดสินใจ เดินทาง' ออกจากสถานที่แห่งนั้น, กุญแจดอกเดิมนั้น, ประตูบานเดิมนั้น และแน่นอน เขาคนเดิมนั้น แต่ที่เธอทำเช่นนั้นไม่ใช่เพราะเธอสามารถ ตัดขาด' จากอดีตที่เจ็บปวดได้ เธอเพียงแต่ต้องการจะหนีไปให้ไกลจากอดีตเพียงเท่านั้น และในระหว่างการเดินทาง ความทรงจำชุดใหม่ที่ว่าด้วย ‘blueberry pie' กำลังก่อร่างและก้าวเข้ามาแทนที่ความทรงจำชุดเดิม ปัจจุบันของเธอค่อยๆ สลัดหลุดจากความจำขังแห่งอดีตเพื่อก้าวไปสู่อนาคต

ภายหลังจากการเดินทางอันยาวนานและยาวไกล ผ่านเรื่องราวและผู้คนมากมาย เธอก็สามารถนำพาปัจจุบันของเธอกลับมา ณ ที่แห่งเดิมที่เธอได้เดินทางจากไปก่อนหน้านี้ได้อีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ สำหรับ Elizabeth มันไม่ใช่ที่เดิมที่มีอดีตอันเจ็บช้ำ ถึงแม้จะเป็นสถานที่แห่งเดิม แต่ก็เป็นสถานที่แห่งเดิมที่มีความทรงจำอีกชุดหนึ่ง, ประตูอีกบานหนึ่ง, ประตู Café ของ Jeremy และ blueberry pie ของเขา และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเธอไม่ต้องการกุญแจพวงนั้นอีกต่อไป (ประเด็นนี้จะกล่าวต่อไปข้างหน้า) ซึ่งในประเด็นดังที่ว่ามานี้ อาจสังเกตได้จากการเปรียบเทียบคำกล่าวในสองช่วงเวลาซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของเธอ อันประกอบไปด้วย

สิ่งที่เธอพูด/คิดกับตัวเองก่อนที่เธอจะเดินทาง

"How do you say goodbye to someone you can't imagine living without?

 I didn't say goodbye. I didn't say anything. I just walked away.

At the end of that night, I decided to take the longest way to cross the street."

และหลังจากการเดินทางสิ้นสุด

"It took me nearly a year to get here.

It wasn't so hard to cross that street after all.

It all depends on who's waiting for you on the other side."

จากข้อความดังกล่าว ผมเห็นว่าเราสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงของ Elizabeth ผ่านเรื่อง การข้ามถนน' (cross the street) ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการข้ามถนนในทางกายภาพ แต่เราควรมองการข้ามถนนนี้ในความหมายที่หมายถึงการ ก้าวข้าม' อดีต ซึ่งหมายความว่า ในท้ายที่สุด Elizabeth ก็สามารถข้ามผ่านอดีตอันเจ็บปวดชอกช้ำไปสู่ปัจจุบันและอนาคตที่น่าจะสดใสกว่า, กับสิ่งใหม่ๆได้สำเร็จ

 
  

ว่าด้วย.. Jeremy

โหลแก้วใบใหญ่ที่เต็มไปด้วยกุญแจซึ่งวางอยู่หลังเคาน์เตอร์ ใน Café ของ Jeremy นั้น ไม่เพียงบรรจุกุญแจจำนวนมากที่มีคนจำนวนเท่ากับจำนวนพวงของกุญแจมาฝากทิ้งไว้ แต่ยังบรรจุ เรื่องราว/เรื่องเล่า' มากมายของกุญแจแต่ละดอกแต่ละพวงด้วย และหนึ่งในนั้นก็มี กุญแจ' , ‘เรื่องราว', หรืออีกนัยหนึ่ง อดีต', ของตัวเขาเองด้วย

เช่นเดียวกับกุญแจของ Elizabeth และกุญแจของใครหลายๆ คนที่มาฝากไว้ที่ร้านของเขา พวงกุญแจของ Jeremy ก็เป็นสัญลักษณ์แห่ง ความทรงจำ' ระหว่างเขาและอดีตคนรักของเขา, Katya (Chan Marshall a.k.a. Cat Power), ผู้เดินไปจากเขาในค่ำคืนหนึ่ง มิเพียงเท่านั้น ในขณะเดียวกับการเป็นสัญลักษณ์แห่งความทรงจำ มันยังเป็นสัญลักษณ์ของ การรอคอย' ด้วย ในความหมายที่ว่าวันใดวันหนึ่ง Katya คงเดินกลับมาและกุญแจดอกนั้นก็จะถูกนำไปใช้ไขเปิดประตูของทั้งคู่อีกครั้ง และด้วยความคิดเช่นว่า เขาจึงยังคงเก็บรักษากุญแจพวงนั้นไว้ รวมไปถึงเก็บกุญแจทุกพวงที่ทุกๆ คนนำมาฝากไว้ ถึงแม้แทบทั้งหมดจะไม่มีใครมาเอากลับไปเลยก็ตาม

ไม่เพียงแต่การเก็บกุญแจ การที่เขายังคงไม่ย้ายไปไหนอาจมีความหมายถึง การรอคอย' เช่นเดียวกัน ดังที่เขาพูดกับ Elizabeth ไว้ถึงเรื่องราวในวัยเด็กที่แม่ของเขาเคยบอกเขาไว้ว่า

"She said if I ever got lost I just stay in one place so she'd find me."

เขาจึงยังคงอยู่ที่ร้านเดิม, แต่แล้วในคืนใดคืนหนึ่ง การรอคอย Katya สิ้นสุดลง เธอเดินกลับมาทักทาย และบอกลา ซึ่งถึงแม้ว่าเขาจะยังคงเก็บกุญแจพวกนั้นอยู่ แต่ Jeremy, ซึ่งก็เติบโต/เปลี่ยนแปลงผ่านช่วงเวลาของการรอคอย, ก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าเขาคงไม่ต้องการกุญแจพวงนั้นอีกต่อไป และคงไม่ต้องการจะเก็บกุญแจของใครๆ อีกต่อไปเช่นกัน เพราะเขาคงเข้าใจแล้วว่า แม้จะเก็บรักษา กุญแจ'/ ‘อดีต'/ ‘ความทรงจำ' ไว้ดีเพียงไดก็ตาม แต่มันก็ยังไม่ใช่สิ่งที่เพียงพอ และไม่สามารถตอบทุกคำตอบได้ เพราะบางทีแม้จะมีกุญแจก็ยังเปิดประตูไม่ได้ หรือบางทีเปิดออกมาแล้วแต่ก็ไม่มีใครที่เราเฝ้ารอคอยอยู่ที่ตรงนั้น ดังจะสังเกตได้จากบทสนทนาระหว่างคนสองคนที่ว่า

Katya : You still have the keys?

Jeremy : Yeah, I always remember what you said about never throwing them away, about never closing those doors forever. I remember.

Katya : Sometimes, even if you have the keys those doors still can't be opened, can they?

Jeremy : Even if the door is open the person you're looking for may not be there, Katya.

แต่การรอคอยสำหรับ Jeremy ยังไม่สิ้นสุด เขากำลังรอคอย Elizabeth อยู่กับ ความทรงจำ' ชุดใหม่ที่ร้านเดิมของเขา, ความทรงจำที่ถูกผูกติดไว้กับ blueberry pie, blueberry pie ที่มักจะขายไม่ค่อยได้, แต่เขาก็รอคอยวันที่เธอกลับมากิน blueberry pie ที่ร้านของเขา, blueberry pie กับ ice-cream, นั่งตรงที่เดิมที่เคยนั่ง, สนทนากันต่างๆ นานา ฯลฯ

หลังจากเวลาผ่านไปเกือบหนึ่งปีที่ Elizabeth เริ่มออกเดินทางค้นหาตัวเอง ในค่ำคืนหนึ่ง เธอกลับมาที่ Café ของ Jeremy อีกครั้ง พร้อมกับพบว่าเขาไม่ได้เก็บกุญแจพวกนั้นอีกต่อไป และบทสนทนาของคนสองคนที่ไม่ได้พบกันเกือบหนึ่งปีก็เริ่มขึ้นที่เรื่องของกุญแจเหล่านั้น

Elizabeth : Where are the keys? You don't keep them anymore?

Jeremy : Been trying to give them back to their owners. Do you want yours?

Elizabeth : No. I don't need them anymore. ...What about your keys?

Jeremy : I got rid of them.

 

            และตามมาด้วยเรื่อง blueberry pie...

Elizabeth : Are they still left untouched at the end of the night?

Jeremy : Yep, more or less.

Elizabeth : Then why do you keep making them?

Jeremy : Well, I always like having one around just in case you pop in and fancy a slice.

 

 

คำลงท้าย..

ในท้ายที่สุด Jeremy ก็ทิ้งกุญแจดอกเดิมที่เขาเก็บไว้แสนนานไป เขาสามารถทิ้งวัตถุแห่งความทรงจำที่สำคัญของเขาไปได้ พูดอีกอย่างก็คือ เขาสามารถผลักตัวเองออกจากอดีตแห่งการรอคอยที่ไม่รู้ว่าวันที่รอคอยจะมาถึงเมื่อไรได้สำเร็จ เขาสามารถละทิ้งความสัมพันธ์ครั้งก่อนได้แล้ว

ส่วน Elizabeth ซึ่งตอบว่าเธอก็ไม่ต้องการกุญแจพวงนั้นแล้ว ก็สามารถทิ้งวัตถุแห่งความทรงจำที่ผูกเธอไว้กับอดีตที่เจ็บปวดจากความสัมพันธ์เดิมได้สำเร็จเช่นกัน เธอสามารถก้าวข้ามอดีต เหมือนกับที่เธอสามารถเดินข้ามถนนได้อย่างง่ายๆ ในที่สุด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทั้งคู่จะสามารถทิ้งวัตถุแห่งความทรงจำอันเก่าไปได้ สามารถก้าวออกจากอดีตไปได้ แต่พร้อมๆ กันนั้น ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ‘blueberry pie' ได้กลายเป็นวัตถุแห่งความทรงจำอันใหม่ของทั้งเขาและเธอ เป็น สิ่ง' ซึ่งดึงดูดให้คนทั้งคู่กลับมาพบกัน และร้อยรัดทั้งคู่ไว้ด้วยกัน ผูกโยงทั้งคู่ให้อยู่กับปัจจุบันของกันและกัน และอาจวาดหวังไปสู่อนาคตร่วมกัน

แต่ใครเล่าจะล่วงรู้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งคู่จะเป็นอย่างไรต่อไป เพราะดังที่ Katya เคยพูดไว้กับ Jeremy ว่า "บางครั้ง ถึงแม้จะมีกุญแจ แต่ประตูก็อาจจะไม่สามารถเปิดออกได้" ดังนั้นแล้ว บางที ในเวลาข้างหน้าที่ยังมาไม่ถึง blueberry pie ก็อาจแปรเปลี่ยนสถานะไปเป็นวัตถุความทรงจำแห่งอดีตที่เป็นดังโซ่ตรวนที่ฉุดรั้งคนทั้งคู่ไว้กับเรื่องราวความทรงจำแห่งอดีตได้เช่นกัน

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
  ธวัชชัย ชำนาญหนังรักโรแมนติกเป็นอะไรที่คนไทยให้ความสนใจโดยเฉพาะกลุ่มวัยทีนทั้งหลาย อย่างที่เพิ่งเข้าโรงไปอีกเรื่องก็คือ Happy Birthday เป็นความรักแบบโศกซึ้งน้ำตาซึมแห่งปีไปเลยก็ว่าได้ สาวๆหลายคนออกมาคงรำพันกับตัวเองไม่น้อย "ผู้ชายแบบนี้ยังมีอีกไหมหนอ"แต่สัปดาห์นี้ กระผมขอนำความรักในอีกแบบหนึ่งมาเสนอ เป็นหนังรักแห่งแดนอิเหนา หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นหนังรักแนวของประเทศมุสลิม คือเป็นหนังรักที่มีศาสนา จารีต ประเพณี และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตรักของตัวละคร อย่างน้อยๆ หนังเรื่องนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้วงการหนังแนวโรแมนติกในอีกมุมมองหนึ่งของความรักหนังเรื่องนี้ชื่อ ‘Ayat Ayat Cinta'…
Cinemania
 พิชญ์ รัฐแฉล้ม   " องค์บาก 2 " ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นฟอร์มยักษ์ส่งท้ายปี 2551 นำแสดงโดย ‘จา' พนม ยีรัมย์ หรือ ‘โทนี่จา' ในวงการภาพยนต์โลก ถือฤกษ์มงคล 5 ธันวาคม เข้าฉาย ทีมผู้สร้างวางเป้าหมายไว้ ‘องค์บาก 2' จะต้องประสบความสำเร็จอย่างงดงามสวนกระแสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บัดนี้..ผ่านมาแล้วสองสัปดาห์เต็มที่ภาพยนตร์ได้ออกฉายให้แฟนๆ จา พนม ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวแอ็กชั่นได้สัมผัสอย่างเต็มตา และได้รับการตอบรับจากแฟน จา พนม เป็นอย่างดีจนสามารถฉลองความสำเร็จของรายได้ที่ทะลุเป้าหมายร้อยล้านในสัปดาห์ที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ๆกัน ‘องค์บาก 2'…
Cinemania
  หมายเหตุ: “บันทึกอิสรา” แสดงที่มะขามป้อมสตูดิโอ ในวันที่ 9-15 ธันวาคม เวลา 19.30น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 14.00น.  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูไปที่ www.makhampomstudio.net        “เรื่องราว... ถ้าไม่เล่าสู่กันฟัง คนข้างหลังก็จะลืม... เลือนราง” เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากละครร้องเรื่อง “บันทึกอิสรา” ว่าเอาไว้ ชวนให้นึกเห็นด้วยไม่น้อย ทุกวันนี้ถ้าจะย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านพ้นมา ก็พบว่า ประวัติศาสตร์ของหลายๆ อย่างในประเทศนี้ไม่เคยจะสมบูรณ์เสียที ประวัติศาสตร์บางแบบแม้จะเรียนแล้วก็ต้องเรียนอีก…
Cinemania
ไก่ย้อย หมายเหตุ: จดหมายฉบับนี้สร้างขึ้นจากเรื่องจริงแต่แอบอิงวิธีการนำเสนอจากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ โดยสมมติเหตุการณ์ว่าเป็นภาคต่อของภาพยนตร์ต้นฉบับ หากใครยังไม่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจมุกเห่ยๆ ของผู้เขียน  ส่วนใครที่ไม่อยากอ่านจดหมายฉบับนี้ ผู้เขียนก็ขอร้องว่าอย่าอ่านเลยนะพวกคุณ   ถึงเพื่อนๆ หากพวกแกได้อ่านจดหมายฉบับนี้ ฉันขอร้องพวกแกอย่างหนึ่งนะว่า “อย่าคิดมาก” เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์บ้านเมือง และวงการวิชาการของไทยมันก็มีเรื่องซีเรียสมากมายกันพออยู่แล้ว ฉะนั้นพวกแกอย่าเสียเวลาเปลืองมันสมองเพื่อขบคิดกับจดหมายบ้าๆ บอๆ ของฉันอยู่เลย…
Cinemania
  จันทร์ ในบ่อ 20th Century Boys หรือเด็กในศตวรรษที่ 20 เป็นภาพยนตร์ที่นำเรื่องราวจากการ์ตูนชื่อเดียวกันมาสร้าง (การ์ตูนชื่อไทยว่า แกงค์นี้มีป่วน) เป็นผลงานเรื่องเด่นจากค่าย Shogakukan แต่งโดย Naoki Urasawa คนเดียวกับผู้เขียน Monster (คนปีศาจ)  20th Century Boys ยังคว้ารางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมครั้งที่ 48 จาก Shogakukan  รางวัลชนะเลิศในงาน Media Art ครั้งที่ 6 ของทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 25 จาก Kodansha คอการ์ตูนเองคงรู้ดีถึงความยอดเยี่ยม ส่วนฉบับภาพยนตร์ดูแล้วก็คิดว่าว่าไม่เสียรสชาติครับ ด้วยข้อจำกัดของหนังด้านเวลาเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อหา…
Cinemania
จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  จันทร์  ในบ่อ หายหน้ากันไประยะหนึ่งสำหรับคอลัมภ์หนังรายสัปดาห์ของประชาไท ‘Blogazine' เลยขออนุญาตทำหน้าที่คั่นเวลาแทน ‘นพพร ชูเกียรติศิริชัย' ที่ช่วงนี้กำลังยุ่งกับการอพยพย้ายถิ่นฐาน ถ้าทุกอย่างลงตัวแล้วจะกลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมครับ ส่วนช่วงคั่นเวลาสัปดาห์นี้ผมขอชวนคุยเรื่อง ‘ปืนใหญ่จอมสลัด' ที่กำลังลงโรงฉายเลยแล้วกัน   คงไม่ต้องการันตีคุณภาพให้มากขึ้นเมื่อปืนใหญ่จอมสลัดเป็นฝีมือกำกับเรื่องล่าสุดโดย ‘นนทรีย์ นิมิตรบุตร' และเขียนบทโดย ‘วินทร์ เลียววารินทร์' นักเขียนรางวัลซีไรต์ ใช้ทุนสร้างร่วม 200 ล้านบาท ภาพยนตร์ออกฉายปฐมทัศน์ครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ 2008…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัยImagine : John LennonImagine there's no heavenIt's easy if you tryNo hell below usAbove us only skyImagine all the people  Living for todayImagine there's no countriesIt isn't hard to doNo greed or hungerAnd no religion tooImagine all the people  Living life in peaceYou may say I'm a dreamerBut I'm not the only oneI hope someday you'll join usAnd the world will live as oneImagine no possessionsI wonder if you canNothing to kill or die forA brotherhood of manImagine all the peopleSharing all the worldผมเคยได้ยินและได้ฟังเพลง Imagine…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  อังกฤษ ปี ค.ศ. 1983 ยุคที่รองเท้า ‘บู้ท' สไตล์ Dr.Matins ทรงผม ‘สกรีนเฮด' เสื้อเชิ้ต ‘ลายสก๊อต' และกางเกงยีนส์ คือสัญลักษณ์แห่ง ‘อำนาจ' ที่เหนือกว่าชนชาติอื่นในหมู่เยาวชนชาวอังกฤษ ‘ชอน' เด็กชายวัย 12 ผู้ฝังใจอยู่กับการสูญเสียพ่อไปในสมรภูมิเกาะฟอร์คแลนด์ (สงครามแย่งชิงเกาะฟอร์แลนด์ระหว่างประเทศอังกฤษและ อาเจนติน่า) กำลังเริ่มต้นค้นหาชีวิตในวัยหนุ่มกับกลุ่มเยาวชนรุ่นพี่  เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็นกลุ่มก้อน หรือความเป็นสถาบันผ่านเครื่องแต่งกายสไตล์ขาโจ๋เมืองผู้ดีในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เขาถูกสอนให้รู้จักกับความเป็น ‘ชาย' ผ่าน ‘เกมส์'…
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย  ภาพจาก http://www.japclub.com/dvd_box/j-bics/2008_may/Crows-Zero.htm    ผมเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกอิดหนาระอาใจกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา (หรือเปล่า?) ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผมไม่เคยคาดคิดว่า ภาพการไล่กระทืบกันอย่างเมามันด้วยความมุ่งหวังที่จะพิชิตฝ่ายตรงข้าม (ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน) จะเกิดขึ้นในสังคมที่เที่ยวประกาศกับใครต่อใครว่าเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาอย่างเข้มข้น ‘ฉากชีวิตจริง’ นั้นดุเด็ดเผ็ดมันกว่า ‘หนังบู๊’ ที่ดูผ่านหน้าจอหลายเท่านัก และดูจะสยดสยองกว่า ‘คลิปวีดีโอเด็กนักเรียนตบกัน’ เป็นไหนๆ  ส่วน ‘…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย   "to prove the Faustian dream to be a nightmare" ผมมีโอกาสประสบพบกับประโยคภาษาอังกฤษข้างต้นเป็นครั้งแรกในหนังสือ ‘POST MODERN : ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ' ของ อาจารย์ไชยันต์ ไชยพร และตั้งแต่วันนั้นผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะต้องนึกถึงมันอีกเลยไม่ว่าจะในกรณีใดๆ แต่แล้ววันดีคืนดี ในขณะที่ผมกำลังนั่งเพลิดเพลินเจริญอารมณ์อยู่กับภาพยนตร์เรื่อง Hellboy 2 : The Golden Army หลายๆ ฉาก หลายๆ ตอนในภาพยนตร์กลับทำให้มันสมองของผมเกิดระลึกถึงคำอธิบายเกี่ยวกับ ‘the Faustian dream' ของอาจารย์ไชยันต์ (ไชยพร) ขึ้นมาอย่างกระทันหัน …