Skip to main content
...บ้านข่าร้อนมากกกก...ถึงมากที่สุด!!


สายลมฤดูร้อนทำกิ่งไทรกลางลานสั่นไหว แดดจ้าเหนือหัวแต่หนุ่มสาวบ้านข่าไม่หวั่นเกรง พวกเขามารวมตัวกันที่ลานหน้าตลาดใจกลางหมู่บ้าน


วันนี้ มีงานบุญ ...

บุญเดือน4 ,บุญเผวส ,หรืองานบุญพระเวส บุญใหญ่หนึ่งใน ฮีตสิบสอง-คองสิบสี่ ของชาวอิสานและอิทธิพลจากวัฒนธรรมล้านช้าง ศรัทธาและเคารพบรรพบุรุษผีปู่ตา ผีแถน ผีฟ้า ผีตาแฮก(ผีนาผีไร่) ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านมีโอกาสร่วมบุญ


ฮีตสิบสองหรือจารีตประเพณีประจำสิบสองเดือน การผสมคำของ "ฮีต" หรือ "จารีต" คือ กฏระเบียบของสังคม ใครฝ่าฝืนมีความผิด เรียกว่า ผิดฮีต ต้องชดใช้


คองสิบสี่หรือครองธรรม 14 อย่าง บนเส้นทางของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองและระหว่างพระสงฆ์กับบุคคลทั่วไป ,เพื่อความสงบสุข


คนบ้านข่านับร้อยร่วมชุมนุม ตามแบบจริยาวัตรของบรรพบุรุษ ลูกหลานที่ออกไปทำงานนอกหมู่บ้านจะกลับมาร่วมงานบุญ


,บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เป็นชุมชนของคนย้อ ไทย้อหรือญ้อ


พวกเขาถูกบันทึกถึงต้นกำเนิดว่าอยู่ที่เมืองหงสาทางตอนเหนือของประเทศลาวติดต่อพรมแดนจีน ก่อนจะหนีสงครามมาบริเวณแขวงไชยบุรี (ฝั่งตรงข้ามจุดผ่อนปรนท่าอุเทน จ.นครพนมในปัจจุบัน) ชาวย้อ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสกลนครและนครพนม พูดด้วยน้ำเสียงสูง อ่อนหวาน (ชวนหวั่นไหว) ,ไม่ห้วนสั้นเหมือนไทยลาว ผิวเนียนขาวเช่นเดียวกับชาวผู้ไทย


นางรำอายุระหว่าง 10-15 ปี จากโรงเรียนบ้านข่าวิทยาคม เริ่มตั้งขบวนตามเสียงประกาศของโฆษกเพื่อเดินแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน แถวหน้า หนุ่มๆ มีดีกรีเริ่มตั้งขบวนของพวกเขาเหมือนกันถัดไปเป็นขบวนช้างม้า ชูชกชูไม้เท้า กระตุกเชือก(ในที่นี้เป็นเชือกฟาง)ที่มัดข้อมือของพี่น้องกัณหา-ชาลีให้เดินตามก่อนจะส่งเสียงดังเอะอะตามตำนานพระเวสสันดรชาดก


,เสียงหมอลำจากลำโพงทำเอาหนุ่มดีกรีหนาหัวใจระทึก

...


"เมื่อก่อน ลูกหลานมาร่วมบุญเยอะกว่านี้ ได้บุญแรง" แม่สถิตย์วัย 65 แกร่วมบุญเดือน4 ตั้งแต่ยังสาวๆ เล่ายิ้มๆ


ทุกวันนี้ คนน้อย ลูกหลานลางานกลับบ้านไม่ได้ ,เค้ารอช่วงสงกรานต์ นั่นคือ เหตุผล

"โฮ๊ย เดี๋ยวนี่ สิเปี่ยนไปหลาย บ่อม่วน" แม่สถิตย์ ส่งน้ำเสียงสูงและยิ้มอย่างเคย

ไกลออกไป เพลงหมอลำดังมาจากวัด ชวนให้หนุ่มๆ สาวๆ ใจระทึก

 

 

ขบวนบุญตั้งต้นที่ตลาดบ้าข่า แห่รอบๆ หมู่บ้าน ไปยังวัด โดยมีนางรำน้อยๆ นำหน้าขบวน



ลีลาอ่อนช้อยงดงามของนางรำทำเอาหนุ่มบ้านข่าใจแป้ว



รอยยิ้มอ่อนหวานทำให้ความร้อนบรรเทาเบาบาง



ผมก็มาครับ..เพ่



ดูลีลาผมซะก่อน อิอิ



ชายคนนี้แกแต่งเป็นชูชกทุกๆ ปี มือข้างหนึ่งถือไม้เท้า อีกข้างกระตุกเชือกที่มัดข้อมือกัณหา-ชาลี พี่น้องตามท้องเรื่องพระเวสสันดรชาดก



นางรำน้อย รีบหลบด้วยความเขินอายเมื่อผมยกกล้องขึ้นจ่อ



งามสิครับ



หญิงสาวขึ้นไปกราบพระบนศาลาเพื่อขอพรก่อนจะลากลับไปทำงานในเมือง



ผู้เฒ่านอบน้อมศรัทธาในบุญเดือน 4 ตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ ที่สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่

 

บล็อกของ กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์

กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทิศทางการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวที่สะเปะสะปะทำให้ชาวบ้านหลายคนทิ้งชีวิตเรือกสวนไร่นา หันมาเป็นผู้ประกอบการอย่างไร้ทิศทาง ไร้การจัดการ ไร้ความคิด ในสังคมมือใครยาวสาวได้สาวเอาที่ต้องการแต่ประโยชน์ส่วนตน
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
แดดยามบ่ายกระทบสายน้ำเป็นริ้วเต้นระริกรินไหลไปตามแก่งหินน้อยใหญ่ ทิวไม้สองฝั่งแน่นขนัดทอดกายยึดผืนดินไม่ให้น้ำกัดเซาะ ราวกับมืออันอบอุ่นของแม่ที่โอบอุ้มทารกแนบอก
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย    
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
คนงานบนเรือขนสินค้าขนาดใหญ่ริมฝั่งโขง กำลังทำงานของพวกเขา เรือขุดทรายตักทรายจากกลางลำน้ำ ชายชราหาปลาอยู่บนเรือท้องแบน ธุรกิจการค้าคึกคัก ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชียงคานเมืองริมฝั่งโขง ถูกพูดถึงมากมายในหมู่นักท่องเที่ยว นักเดินทางหลายคนหยุดเวลาเอาไว้ที่นั่นด้วยการนอนอ่านหนังสือเป็นอาทิตย์ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ทุกเช้าๆ คุณแม่ชาวปกาเกอญอจะออกมาสะพายลูก ... ระหว่างเดินไปตามถนนกลางหมู่บ้าน ระหว่างอาบน้ำริมห้วยแม่แงะ ระหว่าง รอ ...
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ในลมหนาวมีใบหน้าใสซื่อ ดูเหมือนว่า จะกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้วอย่างยิ่ง ที่จะต้องถ่ายภาพใบหน้าคน ... ทุกปีที่ไปงานวันเด็กไร้สัญชาติ รอยยิ้มของคนหลังภูเขา อ่อนโยนแบบเด็กๆ ..
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ห้องทะเบียนราษฏรเคลื่อนที่ถูกจำลองขึ้นบนลานโล่งบริเวณบ้านผู้ใหญ่บ้าน ,คนไร้รัฐบ้านแม่แพะมารวมตัวกันเพื่อทำประชาคม ,ยกมือรับรองสถานะบุคคลเป็นพยานรู้เห็นว่าครอบครัวที่ได้รับการสำรวจทั้งหมดอยู่บนผืนดินแห่งนี้มานาน ก า เ ล
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ดินแดนอันไกลโพ้นเหนือความคิดฝัน ,เทือกเขาและดวงตะวันนิ่งงัน ราวกับภาพวาด
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
มุมหนึ่งของเชียงคาน จ.เลย ,หากใครเคยไปเชียงคานจะเห็นแม่น้ำโขงยาวสุดลูกหูลูกตา ก่อนจะลับหายเข้าไปยังฝั่งลาวตรงแก่งคุดคู้ ,ในภาพมองเห็นเรือดูดทรายเอกชน ,แนวโน้มการพัฒนาเพื่อให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ,คนที่นั่นออกปากปฏิเสธเป็นพัลวันถึงความไม่ต้องการให้เจริญขีดสุดแบบปาย ,แต่ขณะเดียวกันก็อ้าแขนต้อนรับนักท่องเที่ยว ,รวมถึงนักเก็งกำไรเข้ามาหาซื้อที่ดิน ,หลับตาก็พอมองออกว่าภายในระยะ 5-10 ปี เชียงคานจะอยู่ในสภาพของเมืองท่องเที่ยวที่ถึงพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคที่เสนอสนองความต้องการของคนในทุกระดับชั้น ,แต่ความเห็นส่วนตัว ผมชอบปายคับ (คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยายภาพ)