Skip to main content

blogazine headline 2009/07/25

ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง อาจจะฮือฮามาสักพักแล้วกับเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของนักการเมืองค่ายประชาธิปัตย์ นำโดย หล่อใหญ่ อภิสิทธิ์ ตามมาด้วยสาทิตย์ วงษ์หนองเตย  แต่ก็ยังอาจจะยังไม่เห็นประสิทธิผลมากนักสำหรับการเปิดพื้นที่ใหม่ในสื่อใหม่ในโลกออนไลน์ เพราะยังไม่มีการใช้สำหรับแคมเปญหาเสียง หรือแคมเปญกิจกรรมอะไรพิเศษ แต่แล้ว เมื่อเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ชื่อ thaksinlive เริ่มเป็นที่รับรู้ของชาวไซเบอร์เพียงไม่กี่วัน ก็กลับฮือฮาเป็นกระแสพ้นพรมแดนโลกไซเบอร์ออกมาเหมือนปีศาจที่ตามหลอกหลอนไปทุกพรมแดนความรับรู้ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม

กระนั้น  ก็นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจที่นักการเมืองไทยเริ่มก้าวข้ามพรมแดนของโลกจริงมาสู่โลกเสมือน แม้ว่า..อย่างที่กล่าวไป เราอาจจะยังไม่เห็นนัยยะสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเนื่องจากเพิ่งเป็นระยะเริ่มต้นเท่านั้น หากเทียบกับการใช้สื่อใหม่ในทางการเมืองของประเทศที่เคลื่อนพื้นที่กิจกรรมทางสังคมมานานกว่า อย่างในอเมริกา ยุโรป เกาหลีใต้หรือแม้แต่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งสามารถใช้เครือข่ายทางสังคมในโลกเสมือนนี้เคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองอย่าจริงจังกระทั่งส่งผลสะเทือนออกมาเป็นพลังทางสังคมในโลกจริงอย่างน่าทึ่ง ตัวอย่างที่เพิ่งผ่านไปก็เช่น การประท้วงเอฟทีเอของชาวเกาหลีใต้ ซึ่งอินเตอร์เน็ตมีส่วนสำคัญยิ่งในการเชื่อมร้อนผู้คน และเป็นเสมือนสถานที่นัดแนะสำหรับการออกมาร่วมเดินถนนขงผู้คนเรือนแสน เมื่อปลายปีที่ผ่านมา หรืออีกตัวอย่างที่ใกล้เข้ามาก็คือการประท้วงการเลือกตั้งของฝ่ายต่อต้านประธานาธิบดีมาห์มุด อามาดิเนจัด ซึ่งใช้ทวิตเตอร์เป็นนกสื่อสารออนไลน์ที่ทรงพลังอย่างยิ่ง

และเนื่องจากกระแสที่ฮือฮาขึ้นเกี่ยวกับนักการเมืองไทยซึ่งแต่ก่อนร่อนชะไรมักถูกถากถางว่าเป็นไดโนเสาร์ วันนี้เมื่อพวกเขาเริ่มสื่อสารกับประชาชนกลุ่มที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเริ่มใช้พื้นที่ในโลกเสมือนสร้างเครือข่ายทางสังคมซึ่งเริ่มขยายจำนวนมากขึ้นๆ ก็น่าจะลองสำรวจดูในเบื้องต้นก่อนว่า ใครบ้างที่เริ่มปรับตัวแล้วกับเครือข่ายทางสังคมรูปแบบใหม่ แม้ว่าเอาเข้าจริงจะช้าไปสักนิดก็ตามที

หัวไม้สัปดาห์นี้ นำบทสำรวจเบื้องต้น พร้อมข้อสังเกต จากนักกิจกรรมในโลกไซเบอร์รายหนึ่ง มาเปิดประเด็นเรียกน้ำย่อยกันก่อนจะจับตากันต่อไปว่า พื้นที่เครือข่ายทางสังคมใหม่แห่งนี้ จะถูกใช้ไปในทางการเมืองได้เข้มข้นมากน้อยเพียงใด

- - - - -
 

Social Network by Amit Gupta from Flickr
by Amit Gupta from Flickr (via basicstep.net)

ปกติผมจะไม่ค่อยคิดว่านักการเมืองบ้านเราจะทันสมัยอะไรกับชาวบ้านเขา เท่าไรนัก แค่ลุ้นให้ทำงานกันก็เหนื่อยแล้ว ยิ่งหลังๆดูเหมือนจะแบ่งข้างกันชันเจนว่าฝ่ายไหนฝ่ายไหน ตีกันไปมาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ขโมยซีน ชิงพื้นที่สื่อกันสนุกสนาน แต่เผอิญว่าข่าวนี้ใกล้กับ New Media เลยต้องเอามาพูดหน่อย เดี๋ยวจะเอาท์

 

เมื่อก่อนเราจะเห็นนักการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลออกมาอัด กันผ่านหน้าหนังสือพิมพ์หรือทีวี แต่เดี๋ยวนี้เราเริ่มจะได้เห็นนักการเมืองไทยย้ายขึ้นไปใช้สื่อใหม่ (New Media) อย่างบรรดา Social Media ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter หรือ Hi5 เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้บริโภคสื่อแบบเดิมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น คนทำงาน อายุไม่เกิน 35 นับว่าเป็นการจับจองกลุ่มคนที่ค่อนข้างจะเป็นหัวๆ มีพลังที่จะทำอะไรสักอย่าง และดูเป็นฐานเสียงที่จะเป็นกำลังสำคัญเลยทีเดียว

แน่นอนว่าการจะเข้าถึงคนกลุ่มที่ว่ามานี้ง่ายที่สุดก็คือกระโดดเข้าไป กลางวง กลางที่ๆเขาอยู่กัน Facebook และ Twitter จึงกลายเป็นกระแสขึ้นมาในไทยทันที (หลังจากที่ Hi5 ดูจะเอ้าท์ๆไปแล้ว)

ผมลองมาไล่ๆจากข่าวและที่เคยๆเห็นมา น่าแปลกใจมาก! ที่พรรคเพื่อไทยของคุณ ทักษิณ ชินวัตร กลับใช้ New Media น้อยและช้ากว่าที่คิด ผิดกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ภาพลักษณ์ดูเชย โบราณ กลับกลายเป็นว่ามีคนเล่นเยอะกว่าเพื่อน

ประชาธิปัตย์

1. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

2. กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

  • twitter: @korbsak (กรกฏาคม 2552)

3. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย

4. กรณ์ จาติกวณิช

5. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

  • twitter: @aoodda (กรกฏาคม 2552)

6. อภิรักษ์ โกษะโยธิน

7. อลงกรณ์ พลบุตร

  • twitter: @ponlaboot (มิถุนายน 2552)

เพื่อไทย (อดีตไทยรักไทย พลังประชาชน)

1. ทักษิณ ชินวัตร

2. จาตุรนต์ ฉายแสง

3. สุรนันท์ เวชชาชีวะ

  • twitter: @suranand (กุมภาพันธ์ 2552)

*หลายๆ account ไม่แน่ใจว่าตัวจริงทำเองหรือไม่

 

สำหรับเมืองนอกคงไม่ต้องพิสูจน์แล้วว่า New Media นั้นมีอิทธิพลต่อคนสมัยนี้อย่างไร ยกตัวอย่าง นาย โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐนั่นไงที่ใช้ New Media ได้ดีจนชนะการเลือกตั้งและเป็นแบบอย่างให้หลายประเทศไปเลียนแบบ

เพียงแต่ผมไม่อยากให้เรื่องความสนใจในด้านเทคโนโลยีของบรรดานักการเมือง ทั้งหลายเป็นเพียงแค่กระแสเพื่อเอามาเกทับ บลัฟกัน ว่าใครทำก่อนทำหลัง แล้วก็จบๆไป แต่อยากให้ท่านๆใช้ New Media เป็นช่องทางในการสื่อสารที่เข้าถึงผู้คนได้มีประสิทธิภาพและดูใกล้ชิดกว่า ที่เคยมีมา แล้วเชื่อในเทคโนโลยีว่ามันมีประโยชน์ และกลับไปใช้เทคโนโลยีนำในการพัฒนาประเทศต่อไป

สาธุ

- - - - -

หมายเหตุ:

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง อาจจะฮือฮามาสักพักแล้วกับเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของนักการเมืองค่ายประชาธิปัตย์ นำโดย หล่อใหญ่ อภิสิทธิ์ ตามมาด้วยสาทิตย์ วงษ์หนองเตย  แต่ก็ยังอาจจะยังไม่เห็นประสิทธิผลมากนักสำหรับการเปิดพื้นที่ใหม่ในสื่อใหม่ในโลกออนไลน์ เพราะยังไม่มีการใช้สำหรับแคมเปญหาเสียง หรือแคมเปญกิจกรรมอะไรพิเศษ แต่แล้ว เมื่อเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ชื่อ thaksinlive เริ่มเป็นที่รับรู้ของชาวไซเบอร์เพียงไม่กี่วัน ก็กลับฮือฮาเป็นกระแสพ้นพรมแดนโลกไซเบอร์ออกมาเหมือนปีศาจที่ตามหลอกหลอนไปทุกพรมแดนความรับรู้ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม
หัวไม้ story
ในฐานะที่กระแสรางวัลซีไรต์ปีนี้ช่างแผ่วเบา เราจึงขอกระตุ้น ยั่วยวน ให้หันมองด้วยงานวิจารณ์ของ “นายยืนยง” ซึ่งยืนยันกับการชื่นชม “วิญญาณที่ถูกเนรเทศ” เล่มหนึ่งที่เข้ารอบสุดท้าย ไม่ว่าใครจะครหาอย่างไรก็ตาม         ชื่อหนังสือ         :           วิญญาณที่ถูกเนรเทศ ผู้เขียน              :           วิมล ไทรนิ่มนวล จัดพิมพ์โดย       :   …
หัวไม้ story
โดย ทีมข่าวการเมือง 5 แกนนำพันธมิตร ขึ้นปราศรัย ระหว่างงานรำลึก 1 ปีแห่งการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อ 25 พ.ค. 52 ที่สนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี (ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 25 พ.ค. 52)
หัวไม้ story
หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงจบลงไปในวันที่ 14 เมษายน 2552 โดยการชุมนุมครั้งนั้นเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายจุด ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้อาวุธ ทั้งจากฝ่ายตำรวจ ผู้ชุมนุม และกลุ่มไม่ทราบฝ่าย ช่วงเวลา 2-3 วันให้หลัง ประชาไทพยายามติดตามหาพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ทว่าพยานบุคคลหลายคนเลือกที่จะเป็นเสียงเงียบ และหลายคนเลือกการเดินทางกลับต่างจังหวัด บรรยากาศภายใน 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ดูเหมือนเป็นบรรยากาศแห่งความเงียบและหวาดระแวงสำหรับผู้เคยเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง นั่นทำให้เราเริ่มคิดถึงคนเสื้อแดงที่ต่างจังหวัด…
หัวไม้ story
สัมภาษณ์ เสรี สาระนันท์ ส.ส. หลายสมัยจากอ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ถึงเหตุผลที่ ส.ส. ยังคงต้องอยู่กับเสื้อแดงและทักษิณ และกระบวนการจัดการเสื้อแดงที่เป็นฐานเสียง และเป็นมวลชนที่เข้าร่วมการชุมนุม รวมถึงให้เขาประเมินอนาคตของทั้งตนเองและขั้วอำนาจฝ่ายสีแดง การสัมภาษณ์ครั้งนี้สะท้อนถึงพลังของ "ปีศาจ" อย่างทักษิณ ที่จะยังครอบงำจิตใจชาวบ้านและหลอกหลอนการเมืองขั้วตรงข้ามต่อไปอย่างยากจะเปลี่ยนแปลง
หัวไม้ story
เสียง ภาพ ชาวบ้านเสื้อแดง ตำบลหนองไผ่ จังหวัดอุดรธานี บอกเล่าความรู้สึกและความเห็นทางการเมือง ว่าด้วยประชาธิปไตย และทักษิณ หลังการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ยุติลงในช่วงบ่ายของวันที่ 14 เม.ย. อนึ่ง ชาวบ้านบางส่วน ได้เข้ามาร่วมการชุมนุมคนเสื้อแดงในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ขณะที่อีกบางส่วนไม่ได้เข้าร่วม แต่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่ที่บ้าน ผ่านสถานีดีสเตชั่น และวิทยุชุมชนคนรักอุดร ประชาไทบันทึกคลิปวีดีโอ เมื่อวันที่ 23 เม.ย. ที่ผ่านมา
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง [การโหยหาอดีตของสองทหารแก่ สุรชัย-เปรม อาจไม่ต่างกันมาก ผิดกันตรงที่ ทหารแก่คนหนึ่งอาจสมใจ สังคมไทย Nostalgia ย้อนยุคขุนศึก อำมาตย์ เป็นใหญ่ได้อีกหลัง 19 ก.ย. 49 มีองคมนตรีมาเป็นนายกฯ ที่ป๋าเห็นเป็นวินสตัน เชอร์ชิล มีนายกฯ หนุ่มที่ป๋าบอก “ผมเชียร์” … เช่นนี้กระมัง สหายเก่า-ทหารแก่อีกคนจึงขอแต่งชุดทหารป่าเข้ามอบตัว ขอ Nostalgia อีกรอบ] ]   000 นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำ นปช. ขณะเข้ามอบตัวเมื่อ 27 เม.ย. 52 (ที่มาของภาพ: ASTVผู้จัดการออนไลน์)
หัวไม้ story
[ ทีมข่าวการเมือง ]   ทุกๆ เช้าของวันจันทร์-ศุกร์ ถ้าไม่ใช่วันหยุดนักขัตฤกษ์ ภารกิจของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือเตรียมเดินทางมายังสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งเอเชีย (Asia Satellite Television) หรือ เอเอสทีวี ถ.พระอาทิตย์ เพื่อดำเนินรายการ “Good Morning Thailand” รายการเล่าข่าวและวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองอย่างเผ็ดร้อน ซึ่งเขาจัดเป็นประจำทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 6.00-7.00 น. แต่วันนี้ 17 เมษายน เขาไม่ได้จัดรายการ “Good Morning Thailand” เหมือนเคย เพราะถูกลอบยิงเมื่อเวลาราว 5.40 น. ก่อนที่รถของเขาจะมาถึงสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี   000   ที่มา:…
หัวไม้ story
(ทีมข่าวการเมือง)ทีมข่าวการเมือง สัมภาษณ์ผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ระหว่างการชุมนุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา โดยถามพวกเขาว่า “ออกมาชุมนุมทำไม?” ต่อไปนี้คือคำตอบของพวกเขา 
หัวไม้ story
ห้องพิจารณาคดี 904 หลังสิ้นเสียงคำพิพากษาให้จำคุก 10 ปี...
หัวไม้ story
[ทีมข่าวการเมือง]"พี่สนธิก็เคยคุยกับผมเป็นการส่วนตัวว่าคิดถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยซ้ำ มีโปลิตบูโร หรือคณะกรรมการนโยบายของพรรคที่อาจจะไม่ได้มามีตำแหน่งบริหาร ไม่ได้มามีตำแหน่งทางการเมือง แต่ว่าคุมยุทธศาสตร์ คุมทิศทางพรรค ซึ่งอันนี้น่าสนใจ และคงต้องดูว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร ขณะเดียวกัน เรายังมีเวลาศึกษาพรรคการเมืองจากหลายประเทศ เพื่อเปรียบเทียบกัน และต้องดูบริบทสังคมไทยด้วย แบบไหนมันเข้ากับสังคมไทย"สุริยะใส กตะศิลา, สัมภาษณ์ใน เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 876, 13 มีนาคม 2552  000 แกนนำพันธมิตรฯ บน “เวทีคอนเสิร์ตการเมืองครั้งที่ 4” ของพันธมิตรฯ ที่เกาะสมุย เมื่อ 4 มีนาคม 2552…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง การเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 13-15 มี.ค. มีหลายประเด็นจากการเยือนดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการพูดถึง หลายเรื่องถูกบิดเบือน และผลิตซ้ำ จนกลายเป็นชุดความคิดที่ถูกยอมรับโดยไม่มีการตั้งคำถาม “ประชาไท” ขอนำเสนอเรื่องที่ยังไม่มีการรายงาน เรื่องที่ยังไม่ถูกพูดถึง และเรื่องที่บิดเบือนดังกล่าว ในระหว่างการเยือนอังกฤษของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  1.เปิดต้นทางข่าว “ไม่ได้หนี แล้วมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร”   สื่อมวลชนไทยทุกฉบับพร้อมใจรายงานภารกิจของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ…