Skip to main content

blogazine headline 2009/07/25

ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง อาจจะฮือฮามาสักพักแล้วกับเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของนักการเมืองค่ายประชาธิปัตย์ นำโดย หล่อใหญ่ อภิสิทธิ์ ตามมาด้วยสาทิตย์ วงษ์หนองเตย  แต่ก็ยังอาจจะยังไม่เห็นประสิทธิผลมากนักสำหรับการเปิดพื้นที่ใหม่ในสื่อใหม่ในโลกออนไลน์ เพราะยังไม่มีการใช้สำหรับแคมเปญหาเสียง หรือแคมเปญกิจกรรมอะไรพิเศษ แต่แล้ว เมื่อเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ชื่อ thaksinlive เริ่มเป็นที่รับรู้ของชาวไซเบอร์เพียงไม่กี่วัน ก็กลับฮือฮาเป็นกระแสพ้นพรมแดนโลกไซเบอร์ออกมาเหมือนปีศาจที่ตามหลอกหลอนไปทุกพรมแดนความรับรู้ของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้าม

กระนั้น  ก็นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจที่นักการเมืองไทยเริ่มก้าวข้ามพรมแดนของโลกจริงมาสู่โลกเสมือน แม้ว่า..อย่างที่กล่าวไป เราอาจจะยังไม่เห็นนัยยะสำคัญในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเนื่องจากเพิ่งเป็นระยะเริ่มต้นเท่านั้น หากเทียบกับการใช้สื่อใหม่ในทางการเมืองของประเทศที่เคลื่อนพื้นที่กิจกรรมทางสังคมมานานกว่า อย่างในอเมริกา ยุโรป เกาหลีใต้หรือแม้แต่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งสามารถใช้เครือข่ายทางสังคมในโลกเสมือนนี้เคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองอย่าจริงจังกระทั่งส่งผลสะเทือนออกมาเป็นพลังทางสังคมในโลกจริงอย่างน่าทึ่ง ตัวอย่างที่เพิ่งผ่านไปก็เช่น การประท้วงเอฟทีเอของชาวเกาหลีใต้ ซึ่งอินเตอร์เน็ตมีส่วนสำคัญยิ่งในการเชื่อมร้อนผู้คน และเป็นเสมือนสถานที่นัดแนะสำหรับการออกมาร่วมเดินถนนขงผู้คนเรือนแสน เมื่อปลายปีที่ผ่านมา หรืออีกตัวอย่างที่ใกล้เข้ามาก็คือการประท้วงการเลือกตั้งของฝ่ายต่อต้านประธานาธิบดีมาห์มุด อามาดิเนจัด ซึ่งใช้ทวิตเตอร์เป็นนกสื่อสารออนไลน์ที่ทรงพลังอย่างยิ่ง

และเนื่องจากกระแสที่ฮือฮาขึ้นเกี่ยวกับนักการเมืองไทยซึ่งแต่ก่อนร่อนชะไรมักถูกถากถางว่าเป็นไดโนเสาร์ วันนี้เมื่อพวกเขาเริ่มสื่อสารกับประชาชนกลุ่มที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเริ่มใช้พื้นที่ในโลกเสมือนสร้างเครือข่ายทางสังคมซึ่งเริ่มขยายจำนวนมากขึ้นๆ ก็น่าจะลองสำรวจดูในเบื้องต้นก่อนว่า ใครบ้างที่เริ่มปรับตัวแล้วกับเครือข่ายทางสังคมรูปแบบใหม่ แม้ว่าเอาเข้าจริงจะช้าไปสักนิดก็ตามที

หัวไม้สัปดาห์นี้ นำบทสำรวจเบื้องต้น พร้อมข้อสังเกต จากนักกิจกรรมในโลกไซเบอร์รายหนึ่ง มาเปิดประเด็นเรียกน้ำย่อยกันก่อนจะจับตากันต่อไปว่า พื้นที่เครือข่ายทางสังคมใหม่แห่งนี้ จะถูกใช้ไปในทางการเมืองได้เข้มข้นมากน้อยเพียงใด

- - - - -
 

Social Network by Amit Gupta from Flickr
by Amit Gupta from Flickr (via basicstep.net)

ปกติผมจะไม่ค่อยคิดว่านักการเมืองบ้านเราจะทันสมัยอะไรกับชาวบ้านเขา เท่าไรนัก แค่ลุ้นให้ทำงานกันก็เหนื่อยแล้ว ยิ่งหลังๆดูเหมือนจะแบ่งข้างกันชันเจนว่าฝ่ายไหนฝ่ายไหน ตีกันไปมาตามหน้าหนังสือพิมพ์ ขโมยซีน ชิงพื้นที่สื่อกันสนุกสนาน แต่เผอิญว่าข่าวนี้ใกล้กับ New Media เลยต้องเอามาพูดหน่อย เดี๋ยวจะเอาท์

 

เมื่อก่อนเราจะเห็นนักการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลออกมาอัด กันผ่านหน้าหนังสือพิมพ์หรือทีวี แต่เดี๋ยวนี้เราเริ่มจะได้เห็นนักการเมืองไทยย้ายขึ้นไปใช้สื่อใหม่ (New Media) อย่างบรรดา Social Media ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter หรือ Hi5 เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้บริโภคสื่อแบบเดิมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น คนทำงาน อายุไม่เกิน 35 นับว่าเป็นการจับจองกลุ่มคนที่ค่อนข้างจะเป็นหัวๆ มีพลังที่จะทำอะไรสักอย่าง และดูเป็นฐานเสียงที่จะเป็นกำลังสำคัญเลยทีเดียว

แน่นอนว่าการจะเข้าถึงคนกลุ่มที่ว่ามานี้ง่ายที่สุดก็คือกระโดดเข้าไป กลางวง กลางที่ๆเขาอยู่กัน Facebook และ Twitter จึงกลายเป็นกระแสขึ้นมาในไทยทันที (หลังจากที่ Hi5 ดูจะเอ้าท์ๆไปแล้ว)

ผมลองมาไล่ๆจากข่าวและที่เคยๆเห็นมา น่าแปลกใจมาก! ที่พรรคเพื่อไทยของคุณ ทักษิณ ชินวัตร กลับใช้ New Media น้อยและช้ากว่าที่คิด ผิดกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ภาพลักษณ์ดูเชย โบราณ กลับกลายเป็นว่ามีคนเล่นเยอะกว่าเพื่อน

ประชาธิปัตย์

1. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

2. กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ

  • twitter: @korbsak (กรกฏาคม 2552)

3. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย

4. กรณ์ จาติกวณิช

5. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

  • twitter: @aoodda (กรกฏาคม 2552)

6. อภิรักษ์ โกษะโยธิน

7. อลงกรณ์ พลบุตร

  • twitter: @ponlaboot (มิถุนายน 2552)

เพื่อไทย (อดีตไทยรักไทย พลังประชาชน)

1. ทักษิณ ชินวัตร

2. จาตุรนต์ ฉายแสง

3. สุรนันท์ เวชชาชีวะ

  • twitter: @suranand (กุมภาพันธ์ 2552)

*หลายๆ account ไม่แน่ใจว่าตัวจริงทำเองหรือไม่

 

สำหรับเมืองนอกคงไม่ต้องพิสูจน์แล้วว่า New Media นั้นมีอิทธิพลต่อคนสมัยนี้อย่างไร ยกตัวอย่าง นาย โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐนั่นไงที่ใช้ New Media ได้ดีจนชนะการเลือกตั้งและเป็นแบบอย่างให้หลายประเทศไปเลียนแบบ

เพียงแต่ผมไม่อยากให้เรื่องความสนใจในด้านเทคโนโลยีของบรรดานักการเมือง ทั้งหลายเป็นเพียงแค่กระแสเพื่อเอามาเกทับ บลัฟกัน ว่าใครทำก่อนทำหลัง แล้วก็จบๆไป แต่อยากให้ท่านๆใช้ New Media เป็นช่องทางในการสื่อสารที่เข้าถึงผู้คนได้มีประสิทธิภาพและดูใกล้ชิดกว่า ที่เคยมีมา แล้วเชื่อในเทคโนโลยีว่ามันมีประโยชน์ และกลับไปใช้เทคโนโลยีนำในการพัฒนาประเทศต่อไป

สาธุ

- - - - -

หมายเหตุ:

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

บล็อกของ หัวไม้ story

หัวไม้ story
ระหว่างรอผลว่า ท้ายที่สุดอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและภรรยาจะได้อยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ลี้ภัย หรือจะกลายเป็นผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องประสานให้ส่งมอบตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย ลองดูซิว่าทำเนียบรุ่นผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศอังกฤษอ้าแขนรับที่ผ่านมา มีใครบ้าง.... 
หัวไม้ story
วันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 เป็นวันแห่งการปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า และการปราบปรามนั้นได้ดำเนินไปหลายวันในย่างกุ้ง หัวไม้สัปดาห์นี้ ขอเป็นส่วนหนึ่งของการรำลึกในโอกาสครบรอบ 20 ปี ของการต่อสู้ของเพื่อนมิตรชาวพม่าในครั้งนั้น ด้วยบทเพลงพม่าที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น คือเพลง วันที่ 8 เดือน 8 ปี 88 และ เพลงไม่มีวันลืม (Kabar Ma Kyay Bu Heyt!) ทั้งสองเพลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma - DVB) ทุกรอบปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ปราบปรามที่เกิดขึ้นเราหวังว่าสักวันหนึ่งเสรีภาพและประชาธิปไตยจะปรากฏขึ้นในขอบฟ้าฟากตะวันตก เพลง วันที่ 8…
หัวไม้ story
< พิณผกา งามสม > ถ้าผู้หญิงคืออีกซีกหนึ่งของฟากฟ้า อย่างที่จอน เลนนอน ไอดอลแห่งยุคบุปผาชนเคยกล่าวไว้  ภาพข่าว ดร. วันอาซีซาร์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งสหพันธ์รัฐมาเลเซีย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดทางให้กับสามีได้ลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ในรัฐสภาที่ว่างลงในฐานะอีกครึ่งชีวิตทางการเมืองของนายอันวาร์ อิบราฮิม ก็คงเป็นตัวอย่างจริงของความเป็นอีกฟากหนึ่งของท้องฟ้า แต่จะเป็นท้องฟ้าของวันใหม่ดังที่นายอันวาร์ย้ำมาตลอดหรือไม่ เป็นเรื่องของการเมืองที่ยากจะคาดการณ์ ดร. วันอาซีซาร์ ได้ชื่อว่าเป็นทัพหลังที่แข็งแกร่งของนายอันวาร์ จากอาชีพจักษุแพทย์…
หัวไม้ story
ทีมข่าวการเมือง ประชาไท บันทึกปฏิกิริยาฝ่าย ‘ขวาใหม่' ภายใต้ฉายา ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย' หลังจากการปราศรัยที่สนามหลวงของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด' เมื่อวันที่ 18 กรกฎคมที่ผ่านมาโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้หยิบประเด็นการปราศรัยของ ‘ดา ตอร์ปิโด' มาวิพากษ์วิจารณ์เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายคืนนับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นมา กระทั่ง กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บ.ชน.) ขอให้ศาลอาญากรุงเทพฯ อนุมัติหมายจับเลขที่ 2209/51 ให้จับกุม น.ส.ดารณีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ทำให้ น.ส.ดารณี…
หัวไม้ story
นับแต่รัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเข้าสู่ตำแหน่ง การฟ้องร้องอันเนื่องมาจากการเมือง และการฟ้องร้องอันมีผลทางการเมืองก็ดาหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทย และองค์กรอิสระ เสมือนเป็นโหมโรงสำหรับ ‘ตุลาการภิวัตน์’ ก็ไม่ปาน เพื่อเป็นหมุดหยุดพักสำหรับความสับสนในคดีที่เยอะแยะ อีรุงตุงนังกันอยู่ขณะนี้  "ประชาไท" รวบรวมคดีที่มีการฟ้องร้องกัน ภายใต้เงื่อนเวลาเริ่มต้นคือรัฐบาลชุดนี้ ให้ดูกันว่ายุคนี้ ศาลนั้น "งานเข้า" ขนาดไหน  
หัวไม้ story
จังหวัดระยองเป็นจังหวัดแรกๆ ที่รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2524 จากขนาด 4,100 ไร่ ขยายจนเป็น 15,745 ไร่ นิคมฯ มาบตาพุดยังประกอบด้วย 4 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมเหมราช นิคมอุตสาหกรรมผาแดง และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมหนักทั้งสิ้น 134 โรง (รวมโรงไฟฟ้า 8 โรง (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)) แยกเป็น 1.กลุ่มปิโตรเคมี  2.กลุ่มเคมีภัณฑ์และปุ๋ย 3.กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน 4.กลุ่มสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า 5.กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก 6.กลุ่มเขตธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น โรงกำจัดกากของเสีย 7.กลุ่มเขตท่าเรือ…
หัวไม้ story
หลังจากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) 2007 ได้รับอนุมัติไปเมื่อราวเดือนมิถุนายน 2550  ก็เป็นอันชัดเจนว่า นับจากนี้ไป 15 ปี ประเทศไทยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ 20 กว่าโรง โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง (2,800 เมกกะวัตต์) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรง (4,000 เมกกะวัตต์) มีทั้งที่ กฟผ.สร้างเองและการเปิดให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้า (IPP)ยังไม่นับรวมการรับซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านอีกเป็นจำนวนมากด้วย  แผนดังกล่าวถูกร่างขึ้นโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นตัวหลัก ขณะที่มีเสียงเรียกร้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะเพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน…
หัวไม้ story
ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ  คณะปฏิรูป  เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ” หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ…
หัวไม้ story
  < พิณผกา งามสม > เมื่อชาวนาอยากจะพูดให้คุณเข้าใจปี 2545 ชาวบ้านปากมูลเลือกที่จะเดินทางทั่วอิสานเพื่อสื่อสารทางตรงไปยังบรรดาเพื่อนระดับชาวบ้านเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องต้านเขื่อนเพราะพวกเขาไม่ได้พื้นที่ในสื่อกระแสหลักที่มักนำเสนอข่าวแบบจุดพลุ แล้วก็เลือนหายไป นั่นจึงทำให้พวกเขาออกเดิน เดินเพื่อสื่อสารทางตรง ไม่ต้องผ่านสื่ออีกต่อไป แน่นอนว่าชาวบ้านปากมูลต้องเดินทางวันละกว่า 10 กิโลเมตร ค่อยๆ เดินไปเพื่อแสดงนิทรรศการ และพูด แบบปากต่อปาก พวกเขาไม่ได้เดินมาที่ทำเนียบรัฐบาลหลังจากได้บทเรียนยาวนานจาก 99 วันหน้าทำเนียบ ชาวบ้านบางคนบอกว่า…
หัวไม้ story
สัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์13 มิถุนายน 2551 “...ในวาระนี้นอกจากจะรู้สึกถึงวันเกิดของคณะ(รัฐศาสตร์) แล้ว ก็อยากจะอวยพรท่านนายกฯ ในสังคมมุสลิมนั้นมีวิธีขอพรให้ผู้นำ และเขาบอกว่าวิธีขอพรให้ผู้นำนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องขอพรให้ต้อง ขอให้พระเป็นเจ้าเอื้ออำนวยให้ผู้ปกครองมีสติ สามารถดำเนินการปกครองของตัวโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ประโยชน์ของคนทั้งหลายทั้งปวง มีปัญญาเลือกทางเลือกที่ถูกต้อง ผมว่าอันนี้เป็นพรที่เราอยากจะให้กับท่านนายกรัฐมนตรีในวันเกิดของท่าน เสียดายที่นักข่าวโทรทัศน์ไปหมดแล้ว...”…
หัวไม้ story
ภาวะความขัดแย้งทางการเมืองไทยขณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความกังวล 2 ประการคือ รัฐจะใช้ความรุนแรงกับผู้เคลื่อนไหวในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และอีกประการคือ การรัฐประหารซึ่งสื่อกระแสหลักยังคงต้องเกาะติด ‘น้ำเสียง' และ ‘ท่าที' ของนายทหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อย้อนดูสถิติการรัฐประหารของไทยจะพบว่า ความถี่ในการรัฐประหารของไทยคือ ประมาณ 7 ปีต่อการรัฐประหาร 1 ครั้ง การรัฐประหารที่เว้นช่วงสั้นที่สุดคือการรัฐประหารครั้งที่ 7 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520 ( 1 ปีกับอีก 15 วัน)ช่วงที่เว้นระยะนานที่สุดคือ 23 ก.พ. 2534 - 19 กันยายน 2549 เว้นช่วงนาน 15 ปี 6 เดือน กับอีก 28 วัน…
หัวไม้ story
หลังจากทำงานขับรถบรรทุกส่งแก๊สกับบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) มาได้ร่วมปี “สุรชัย” ถูกเรียกเข้าสำนักงานใหญ่ หวังใจว่าจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ หลังจากถูกต่ออายุทดลองงานมาเกือบปี แต่เมื่อไปถึงสำนักงานใหญ่ เขากลับได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัทอเดคโก้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัททีไอจีอ้างว่า เป็นบริษัทจัดหางานระดับโลก ที่มีพนักงานกว่าเจ็ดหมื่นคนทั่วโลก ทีละคน ทีละคน... เขาและเพื่อนๆ ทยอยเซ็นสัญญาที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทบอกว่าจะกรอกรายละเอียดให้ เขาบอกว่า ปัญหาใหญ่ คือทุกคนไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานหรือสัญญาเลย ทั้งยังไม่มีเวลาอ่าน…