Skip to main content

ขอ 'อภัย' ล่วงหน้า หากว่าเรื่องนี้จะ(ไม่) เกี่ยวข้องกับการ 'อภัย' ใน 'โทษ' ของคนตนหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อน!

เพณิญ

        ตาย ก็ไม่ต้องมาเผาผีกัน

คิดๆ แล้วแค้นสุดขีด สุดฤทธิ์ สุดเดช ว่าทำไม ทำไมต้องทำร้ายกันอย่างนี้

        บุณคุณต้องทดแทน ความแค้นต้องชำระ

เกริ่นมาแบบนี้ เพราะจะชวนให้ตั้งคำถามว่า

แท้จริงแล้ว...สังคมไทยเป็นสังคมที่พร้อมจะให้ อภัย กันเสมอ จริงหรือ?

และขอ อภัย ล่วงหน้า หากว่าเรื่องนี้จะ (ไม่) เกี่ยวข้องกับการ อภัย ใน โทษ ของคนคนหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นร้อน!

             

การแก้แค้น ซากกบตาย :  ตลกร้ายและความชิบหายวายป่วง

          เป็นความจริงที่ว่า มนุษย์สามารถเกิดอารมณ์โกรธแค้นและมีแนวโน้มโดยธรรมชาติที่จะใช้ความรุนแรงในการตอบโต้หรือแก้แค้น เราสามารถใช้หลักการทางจิตวิทยามาสนับสนุน โดยจากการศึกษาพฤติกรรมการชมละครหรือภาพยนตร์ ในตอนท้ายเรื่องหากตัวเอกสามารถแก้แค้นตัวร้ายได้สำเร็จ ผู้ชมจะเกิดความพึงใจมากกว่าจะนั่งชมความสำเร็จของตัวร้ายที่ไม่ได้รับผลร้ายตอบแทนให้สาสมกับความชั่วของตนเอง

ไม่แปลกที่ละครไทยไทย มักจะจบด้วยภาพการประสบเคราะห์กรรมของตัวร้าย ก่อนจะฉายภาพให้เห็นความสุขสมหวังของตัวเอก ทั้งที่หากพิจารณาดูแล้ว สัดส่วนของเคราะห์กรรมที่ตัวร้ายได้รับมักเกินกว่าเคราะห์กรรมของตัวเอก (แต่ก็อีกนั่นแหละ เราเรียกการได้รับการแก้แค้นหรือการรับความผิดจนจมกองเลือดเหล่านั้นว่าเป็นการสั่งสอนในเรื่องผลของการกระทำความชั่ว ศีลธรรม ฯลฯ)

 

ทีนี้ ลองมาฟังการแก้แค้นในแบบเด็กๆ ที่จะว่าเป็นเพียงมุขตลกขำขำ หรือจะมองให้ลึกซึ้ง ถึงความชิบหายวายป่วงที่เกิดขึ้น ก็ตามแต่วาระแห่งการพิจารณา

เรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าอันไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ริเริ่ม อย่างไรขอยกมาเล่าอีกครั้ง...

เรื่องมีอยู่ว่า เด็กชายคนหนึ่ง เดินลากซากกบตัวแบนแต๊ดแต๋ ไปที่หอนางโลม แล้วบอกกับมาม่าซังว่า

ผมต้องการนอนกับหญิงสาวที่เป็นโรค ได้ยินมาว่าใครที่มาที่หอนางโลมนี้ จะต้องไปโรงพยาบาลและโดนฉีดยา ผมเลือกหญิงสาวที่เป็นโรคคนนั้นแหละ

แรกๆ มาม่าซังก็อิดออด หากแต่ทนการรบเร้าของเด็กชายไม่ไหว

เอาเถอะ ทำตามความต้องการของผม ผมมีเงินจ่าย เด็กชายควักเงินออกมาจากกระเป๋า แล้วถูกพาไปยังห้องของหญิงสาวที่เป็นโรค

15 นาทีผ่านไป เด็กชายเดินลงบันไดมา มือก็ยังคงลากซากกบตายอยู่อย่างนั้น

ถามหน่อยเถอะ ทำไมถึงเลือกนอนกับหญิงสาวที่เป็นโรค มาม่าซังถาม
"มันเป็นแผนการแก้แค้นของผมน่ะเด็กชายตอบด้วยแววตาเปี่ยมไปด้วยความคับแค้น

เย็นนี้พอผมกลับบ้าน พ่อกับแม่จะออกไปกินข้าวนอกบ้านกัน แล้วทิ้งให้ผมอยู่กับพี่เลี้ยง
ผมก็จะฟันพี่เลี้ยงซะ แล้วพี่เลี้ยงผมก็จะติดโรคที่ผมเพิ่งติดไปเนี่ยแหละ

จากนั้นพ่อก็จะต้องขับรถไปส่งพี่เลี้ยงของผมที่โรงพยาบาล ระหว่างทางพ่อก็จะฟันพี่เลี้ยงของผม แล้วพ่อก็จะติดโรค พอพ่อกลับมาบ้าน พ่อก็มีอะไรกับแม่ แล้วแม่ก็จะติดโรคอีก

มาม่าซัง ตาโตกับแผนการแก้แค้นของเด็กชาย
แล้วพอถึงตอนเช้า พอพ่อไปทำงาน คนส่งนมก็จะมาส่งนม แล้วเขาก็จะฟันแม่ของผม

แล้วเขาก็จะติดโรค
            "ไอ้คนส่งนมเนี่ยแหละ ที่มันขับรถทับกบของผมตาย"

 

            โอ้ละหนอ ช่างเป็นการแก้แค้นที่แสนขำขื่น หากแต่ก็กลายเป็น กระบวนการแก้แค้นที่ ลากคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่จำนวนมาก เข้ามาอยู่ในกระบวนการแก้แค้นนั้น

ฟังเรื่องนี้แล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า คนไทยกี่คนต่อกี่คนที่ต้องติดโรคร้าย อันเป็นผลจากกระบวนการแก้แค้นให้สาสมกับการกระทำของผู้ชายคนหนึ่ง (ชายส่งนม คนที่คุณก็รู้ว่าเป็นใคร)

 

สมการและความชอบธรรมของการแก้แค้น

นาย ก. ดีดหู นาย ข. = นาย ข. ดีดหูนาย ก.

คือสมการการแก้แค้นที่ได้ หากนาย ก. ดีดหู นาย ข. แล้วนาย ข. ดีดหูนาย ก. กลับ

แต่ในความเป็นจริงรูปแบบของการแก้แค้นมักไม่ได้เป็นไปดั่งสมการ เพราะความแค้นมักจะถูกระบายออกโดยการแก้แค้นหรือการล้างแค้นในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ การสาบแช่ง การก่นด่า การลงโทษโดยทางตรงและทางอ้อม

ดังนั้นหากนาย ก. ดีดหูนาย ข. แล้ว นาย ข. อาจแก้แค้นด้วยการชกหน้านาย ก. จนฟันหัก และเอายาเบื่อให้สุนัขของนาย ก.กิน เพราะโดยสัญชาตญาณแล้ว มนุษย์มักจะแก้แค้นด้วยความรุนแรงที่เกินส่วนขึ้นในทุกๆ ครั้งที่เกิดการแก้แค้น

และความรุนแรงที่เกินส่วนนั้นเองที่ทำให้เกิดการแก้แค้นครั้งต่อๆ ไป เราจึงเห็นการแก้แค้นกลับไปกลับมาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น

ข้อน่าสังเกตอีกอย่างก็คือ การแก้แค้นยังแฝงอยู่ในหลายๆ พฤติกรรมทางสังคมอย่างชอบธรรม เช่น การลงโทษผู้กระทำผิด การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกินความเสียหายที่แท้จริงอย่างมาก แม้ว่าหากจะอธิบายในเรื่องของกฏหมายและความยุติธรรมแล้ว เรื่องดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อการป้องกันการกระทำความผิด แต่ในความเข้าใจของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจของคนเรียกร้องให้ดำเนินคดี นั่นคือการแก้แค้นอีกอย่างหนึ่งที่เคลือบแฝงไปด้วยความรู้สึก สะใจและความรู้สึกที่ว่าจะต้องดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด เพื่อให้ สาสมแก่ความผิด

แต่สิ่งที่หายไปจากการแก้แค้นในรูปแบบนี้ก็คือ การปิดโอกาสการแก้แค้นกลับ ด้วยการวางระบบยับยั้งสัญชาตญาณของมนุษย์โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น ศีลธรรม จริยธรรมและกระบวนการยุติธรรม อันเป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่การแก้แค้นนั้น

            หากแต่คำถามก็คือ การแก้แค้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ หรือใช้วิธีการใดๆ มีความชอบธรรมจริงหรือ

 

ให้อภัย การตกผลึกทางความแค้นในจิตใจของมนุษย์

            จากเรื่องของการแก้แค้น ลองมาฟังเรื่องของการให้อภัยกันบ้าง

ลอร่า บูลเมนเฟลด์ - นักเขียนสาวประจำหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ ออกเดินทางจากอเมริกาไปตะวันออกกลาง เพื่อชำระหนี้แค้นให้กับพ่อของเธอ (ชาวอเมริกันเชื้อสายยิวถูกมือปืนชาวปาเลสไตน์ยิงกลางตลาดในเยรูซาเล็ม แต่รอดชีวิตมาได้)

จากการเดินทางเพื่อชำระหนี้แค้น ทำให้เธอพบเรื่องราวเกี่ยวกับความแค้นมากมายในพื้นที่ต่างๆ และสุดท้ายได้พบคนที่ยิงพ่อของเธอ ระหว่างที่ความคับแค้นเต็มอก เธอก็ได้เรียนรู้เรื่องการให้อภัย นั่นทำให้เธอเข้าใจว่า ความแค้นไม่ใช่ความหิว แต่มันคือความอยาก เรามีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยความอยาก แต่มันจะค่อยๆ กัดแทะเรา อาหารบางอย่างเท่านั้นที่สนองตอบความอยากของเราได้ ไม่ใช่สเต็กธรรมดา แต่ต้องเป็นสเต็กที่หั่นบนเขียงไม้เป็นชิ้น ยาวสองนิ้วและเนื้อต้องนุ่มเป็นสีชมพูอ่อนไม่แข็งกระด้าง ความอยากเป็นความเรื่องมากและจู้จี้เอาแต่ใจ

การเรียนรู้จากความแค้น ในใจตนเองทำให้เธอพบกับความหวังที่เธอจะดับความแค้นนั้น ซึ่งเธอได้บันทึกไว้ในหนังสือ ข้ามฝั่งแค้น: การเดินทางแห่งความหวัง

 

ครั้งหนึ่ง พระไพศาล วิสาโล พระนักสันติวิธี เล่าถึงความประทับใจต่อ คิม ฟุค เด็กผู้หญิงเปลือยในภาพถ่ายที่กำลังวิ่งหนีระเบิดสมัยที่อเมริกามาทำสงครามกับเวียดนาม ผู้มีบาดแผลกว่าครึ่งตัวจากแรงระเบิด และยังสูญเสียลูกพี่ลูกน้องไปสองคน บ้านพังพินาศย่อยยับ

ว่าครั้งหนึ่ง เธอได้รับเชิญให้ไปพูดเนื่องในวันทหารผ่านศึกที่อเมริกา เธอพูดถึงโทษของสงครามแล้วก็กล่าวในที่ประชุมว่า

อยากจะขอบอกกับคนที่ทิ้งระเบิดใส่บ้านฉันว่า ฉันเคยโกรธคุณมาก แต่เราไม่สามารถเปลี่ยนอดีตอันเลวร้ายได้ เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีได้

 พอเธอพูดจบ ทหารคนนั้นที่เผอิญนั่งฟังอยู่ รีบเข้ามากล่าวขอโทษเธอด้วยน้ำตา

แต่เธอตอบกลับไปว่า ไม่เป็นไร ฉันให้อภัย

 

นั่นเป็นตัวอย่างของการให้ อภัยท่ามกลางความรู้สึก คับแค้นที่กำลังเกิดขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก           

        บางที หากเราจะยุติความแค้น เราควรจะต้อง ล้างแค้น

        ล้างแค้น ในความหมายของการ ล้าง ให้สะอาดสะอ้านจากจิตใจ เพราะถึงที่สุด การให้อภัย ก็คือ การตกผลึกทางความแค้นขั้นสูงสุดในจิตใจของมนุษย์

 

 

หมายเหตุ

หนังสือ ข้ามฝั่งแค้น: การเดินทางแห่งความหวัง

ผู้เขียน ลาร่อ เบลเมนฟูลด์ สำนักพิมพ์โกมล คีมทอง

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
  ตติกานต์ เดชชพงศ  เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพิ่งมีโอกาสได้ไปดูฉากโหดๆ อาทิ หัวขาดกระเด็น เลือดสาดกระจาย กระสุนเจาะกระโหลกเลือดกระฉูด ในหนังไทย (ทุ่มทุนสร้างกว่า 80 ล้านบาท!) เรื่อง ‘โอปปาติก'  รู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าหนังเรื่องนี้รอดพ้นเงื้อมมือกองเซ็นเซอร์ผู้เคร่งครัดมาได้ยังไง?เพราะด้วยการทำงานของหน่วยงานเดียวกันนี้ ทำให้หนังเรื่องหนึ่งถูกห้ามฉาย เพราะมีฉากพระสงฆ์เล่นกีตาร์, และฉากนายแพทย์บอกเล่าว่าตนก็มีึความรู้สึกทางเพศ แม้แต่ฉากเด็กผู้หญิงอาบน้ำ (ซึ่งเป็นเพียงตัวการ์ตูนญี่ปุ่น) ก็ยังถูกเซ็นเซอร์มาแล้ว ด้วยข้อหา ‘ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดี'…
Hit & Run
วิทยากร บุญเรือง ผมไปเจอข่าวชิ้นหนึ่ง เหตุเกิดที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งไม่ว่าจะยังไง ข่าวชิ้นนี้ผมว่ามันสามารถสะท้อนอะไรได้หลายอย่าง สำหรับสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือข่าวที่กลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรมในโรงพยาบาลศิริราช มาหากินกับพสกนิกรผู้จงรักภักดีได้ลงคอ ... (กรุณาอ่านให้จบก่อนด่า)ท่านพงศพัศ พงษ์เจริญ ตำรวจหน้าหล่อ ได้กล่าวว่า ที่โรงพยาบาลศิริราช มีเรื่องซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นนั่นคือมีกลุ่มมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาก่ออาชญากรรม และที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คือเป็นการก่อเหตุในเขตพระราชฐาน โดยขณะนี้ตำรวจได้รวบรวมหลักฐานแล้วเตือนไปยังแก๊งมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาก่ออาชญากรรมว่า…
Hit & Run
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ 26 กันยายน 2550ย่านพระเจดีย์สุเล, กรุงย่างกุ้ง   ภาพที่เห็นคือ...ประชาชนหลายพันคนออกมายืนเต็มถนนย่านพระเจดีย์สุเล ซึ่งเป็นย่านกลางเมือง โดยไม่ไกลนักมีกองกำลังรักษาความมั่นคงพม่าตั้งแถวอยู่เบื้องหน้า ป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้พระเจดีย์แห่งนี้"เราต้องการประชาธิปไตย" ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งกล่าว"รัฐบาลนี้อันตรายโคตรๆ" ชายอีกคนหนึ่งกล่าวประชาชนส่วนหนึ่ง พยายามต่อสู้กับทหาร ทหารที่มีทั้งโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา กระทั่งปืน โดยประชาชนพยายามขว้างอิฐ ขว้างหิน เข้าใส่แถวแนวของทหารพวกนั้นก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกทุบเป็นก้อนย่อมๆก้อนแล้ว ก้อนเล่า ... ถูกขว้างสุดแรงเกิด…
Hit & Run
  อรพิณ ยิ่งยงพัฒนาดูเหมือนเรื่องน่าจะจบลงไปแล้ว กับความพยายามของ สนช.กว่า 60 คน ที่เข้าชื่อกันยื่นแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนที่สุดท้าย สนช.จะตัดสินใจถอนการแก้ไขออกไปก่อนแม้เรื่องนี้มีนัยยะที่น่าสนใจหลายประเด็น แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ กระแสความคิดที่เกิดขึ้น แม้ภายหลังการถอยและถอนการเสนอแก้กฎหมายแล้วก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีจำนวน 242 คน โดย สนช. สามารถเข้าชื่อกันเพื่อเสนอหรือแก้ไขกฎหมายได้ ผ่านการเข้าชื่อเพียงจำนวนไม่น้อยกว่า 25 คน ยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน…
Hit & Run
จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์นอกจาก 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย และ (อดีต) วันชาติแล้ว วันสำคัญที่เงียบเหงารองลงมา (อีกวัน) ก็คงหนีไม่พ้น 6 ตุลาคม 2519 ที่รับรู้กันว่า เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เพราะเข้าใจว่าเป็นคอมมิวนิสต์ สำหรับปีที่แล้ว วันนี้อาจคึกคัก เพราะถึงวาระตัวเลขกลมๆ 30 ปี ซ้ำยังเพิ่งผ่านพ้นรัฐประหาร 19 กันยายน มาหมาดๆ กระแสเรื่องการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจึงยังมีอยู่ แต่พอปีนี้กระแสกลับไปเงียบเหงาเหมือนปีก่อนๆ วันที่ 6 ตุลาในปีนี้ กลายเป็นวันเสาร์ธรรมดาๆเมื่อถามถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา กับหลายๆ คน…
Hit & Run
ภาพันธ์ รักษ์ศรีทองเป็นข่าวคราวกันพักใหญ่ในรอบสัปดาห์จนผู้หลักผู้ใหญ่ต้องรีบออกมาเต้นเร่าร้อนกันทั่ว เมื่อคุณหนูสาวๆ มีแฟชั่นเทรนใหม่เป็นการนุ่งกระโปงสั้นจุ๊บจิมโดยไม่สวมใส่ ‘กุงเกงลิง’ ความนิยมนี้เล่นเอาหลายคนหน้าแดงผ่าวๆจนพากันอุทาน ต๊ายยย ตาย อกอีแป้นจะแตก อีหนูเอ๊ยย ทำกันไปได้อย่างไร ไม่อายผีสาง เทวดาฟ้าดินกันบ้างหรืออย่างไรจ๊ะ โอ๊ย..ย สังคมเป็นอะไรไปหมดแล้ว รับแต่วัฒนธรรมตะวันตกมาจนไม่ลืมหูลืมตา วัฒนธรรมไทยอันดีงามของไทยไปไหนโม๊ดดดดเรื่องนี้มองเล่นๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มันก็ไม่เล็ก จะว่าเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ใหญ่ แต่ไปๆ มาๆ คล้ายกับว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ‘กุงเกงลิง’…