Skip to main content


เรายังคงต่อสู้กันด้วยอาวุธโบราณ
ซึ่งสร้างความเหนือกว่าให้กับผู้ที่กล้าใช้
และสร้างความย่อยยับแก่ผู้เป็นเหยื่อ
...มากว่าสามสิบสองปีแล้ว



...ปีแล้วปีเล่า
ที่เราคุกเข่าลง...
ไว้อาลัยเหล่าผู้พลีชีพ
ประณามปวงผู้สังหาร
เมื่อสามสิบสองปีก่อน...

...ปีแล้วปีเล่า
ที่เราเฝ้าปฏิญาณ...
ต่อพวงหรีด ดอกไม้ และป้ายศิลา
ด้วยคมวาทะ บทกวี คีตการ
และหยาดน้ำตา

ว่า - ในฐานะผู้ยังมีชีวิตอยู่
เราจะสร้างสังคมที่ดีกว่า



แต่เมื่อวานนี้
วันนี้
ซึ่งคงจะยืดยาวไปถึงพรุ่งนี้
เราก็ยังคงต่อสู้กันด้วยอาวุธโบราณ
ที่ยังคงอานุภาพ
ทั้งในการสร้างความเหนือกว่าให้กับผู้ที่กล้าใช้
และสร้างความย่อยยับแก่ผู้เป็นเหยื่อ
...เช่นเดียวกับเมื่อสามสิบสองปีที่แล้ว

ยิ่งไปกว่านั้น
ขณะที่มือขวาของเราชูอาวุธโบราณ
(โดยซุกมือซ้ายเก่าๆ ของเราไว้ในกระเป๋ากางเกงตัวใหม่)
...นั้น
ปากของเราก็ยังไม่ลืมที่จะเอ่ยอ้างถึงผู้พลีชีพ
เมื่อสามสิบสองปีก่อน
...อยู่เป็นระยะ

เราไม่กล้าถามตัวเองเช่นกัน
ว่าเรากำลังเอ่ยนามผู้ที่เราเรียกว่า วีรชน'
เพื่อคารวะ
หรือเพื่อขอขมา
หรือเพียงแค่ต้องการเล่าซ้ำ
เพื่อยืนยันอานุภาพของอาวุธโบราณ
ที่เรากวัดแกว่งไว้เหนือหัว
ให้บรรดาผู้ที่บังอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อเราได้สำเหนียก
...กันแน่

เราไม่กล้านึกถึงความละอาย
เช่นเดียวกับที่เราไม่สนใจเสียงทักท้วง
เพราะการทักท้วงนั้นเท่ากับดูหมิ่นต่อจิตวิญญาณสู้รบของเรา
และเป็นเพียงเสียงจากนกกาผู้อ่อนด้อยทางปัญญาและสำนึก
จนไม่อาจเข้าใจสิ่งที่เราเพียรอธิบายซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า
‘...อาวุธใดก็ตามหากสามารถประหัตประหารศัตรูได้
วิญญูชนพึงใช้
และชนใดรบชนะศึก
พึงเรียกชนนั้นว่าวิญญูชน
(และในห้วงยามอันเหมาะสม เราก็จะเรียกพวกเขาว่า วีรชน') ...'



ฝนเดือนพฤษภาฯผ่านไปแล้ว...
บนสนามรบกลางเมืองใหญ่
เราและมิตรร่วมรบซึ่งคอยสบตาให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
ต่างก็นัดหมายผ่านแววตาอันคมกล้าเยี่ยงนักสู้ของประชาชน
ว่า...
เมื่อลมหนาวของเดือนตุลาฯเดินทางมาถึงอีกครั้ง
เราจะไปคุกเข่าอยู่ตรงหน้าป้ายศิลาแผ่นเดิม
เพื่อร่วม รำลึก' ถึง วีรชน'
...เหมือนทุกปี

 

บล็อกของ กานต์ ณ กานท์

กานต์ ณ กานท์
ใครที่ได้อ่านบทความ “นายกฯ ของวิกฤตการเมือง” [1] ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่เพิ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน คงรู้สึกงุนงงไม่น้อยว่า อาจารย์นิธิ “กำลังคิดอะไรอยู่”เพราะไม่เพียงในเนื้อหาของบทความดังกล่าว อาจารย์นิธิได้ประกาศไว้ชัดเจนว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “เหมาะจะเป็นนายกรัฐมนตรีในยามนี้ที่สุด” แต่เหตุผลของความ “เหมาะสมที่สุด” คือ “นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องกล้าเผชิญกับแรงกดดันจากกองทัพ รวมทั้งแรงกดดันจากองค์กรอิสระอีกมากที่คณะรัฐประหารตั้งขึ้น อย่างอาจหาญและมีศักดิ์ศรีด้วย ดังที่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้แสดงให้เห็นอย่างนุ่มนวล แต่สง่างามในครั้งนี้”…
กานต์ ณ กานท์
  โธ่เอ๋ย…ประเทศใด?เหมือนคนจับไข้นั่งไม่ติดหลอนตนว่าอยู่เมืองนิรมิตย้ำจำ ย้ำคิด กำกวมโธ่เอ๋ย… “ประชาธิปไตย”หลักการวางไว้ (หลวมๆ)ครึ่งใบ – ค่อนใบ (บวมๆ)รัฐธรรมนูญกองท่วมพานแล้ว!โธ่เอ๋ย… “ประชาชน”กี่ครั้ง กี่หน ทนแห้วแหงนคอรอฟ้าล้าแววมืดแล้ว ดึกแล้ว …ทนคอยอนิจจา… อนิจจัง…ความเอยความหวังอย่าถดถอยแม้กี่ผีซ้ำด้ามพลอยฝากรูปฝังรอยเกลื่อนเมือง โธ่เอ๋ย…ประเทศใด?หลอนตนว่าใครต่างลือเลื่องงามหรูตรูตรามลังเมลืองเฮ้ย! เมืองทั้งเมืองจะจมแล้ว!!
กานต์ ณ กานท์
  การอ้างว่าต้องเร่งผลักดันให้ "ร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร"i ผ่านออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ เพื่อจะได้ยกเลิก "กฎอัยการศึก"ii ทั่วประเทศนั้น ฟังแล้วชวนให้รู้สึกทั้งขบขันและเศร้าใจ ผู้ที่ได้อ่านเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ นี้ ย่อมซาบซึ้งดีถึงนัยยะที่นำไปสู่ความว่างเปล่าของข้ออ้างนั้น แต่ที่น่าเศร้าใจไม่แพ้กันก็คือ การที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตอบข้อท้วงติงในประเด็นความชอบธรรมของรัฐบาลและสนช.ที่มาจากการรัฐประหาร ในการร่างและพิจารณาออกกฎหมาย ด้วยการย้อนว่า "...ที่ผ่านมาสนช.ได้ผ่านกฎหมายมาเป็น 100 ฉบับ ขนาดรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่ ยังออกจากสนช..."iii…
กานต์ ณ กานท์
  ฤาอีกกี่รำลึกคร่ำ- ครวญฝากคำผ่านแผ่นดิน กู่ร้องฟ้องแผ่นหิน …ก็เงียบสิ้นอยู่ฉะนี้?
กานต์ ณ กานท์