Skip to main content

Kasian Tejapira(22/10/55)

ผมใคร่บอกกับคุณ “ฉลาด แซ่โง่” ผู้เขียนบทความ “ความรุนแรงที่ปฏิวัติ: โต้พวกเพ้อเจ้อ” http://prachatai.com/journal/2012/10/43263 ว่า

๑) มันเป็นเรื่องความเชื่อ ผู้เขียนอยู่ในโหมดปฏิวัติพคท.-เหมาอิสต์เมื่อหลายสิบปีก่อนไม่เปลี่ยน การย้ายความเชื่อ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ไม่ใช่เรื่องง่าย

๒) ผู้เขียนดูจะไม่ได้อ่านงานของอ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์เรื่อง non-violence เลย จึงมิสามารถพิจารณาหรือเล็งเห็นสันติวิธีในแง่ประสิทธิภาพเชิงปฏิบัติทางการเมืองหรือในแง่จริยธรรมได้ ในโลกแห่งความเป็นจริงอันแคบชัดของผู้เขียนนั้น อะไรที่แปลกใหม่เบี่ยงเบนย่อมเพ้อเจ้อทั้งสิ้น

ในฐานะความเขื่อที่คอยผดุงให้ประวัติการต่อสู้เสียสละและชีวิตของบุคคลมีค่าน่าภูมิใจ อาจไม่ใช่ภารกิจที่จะต้องเข้าไปรื้อมัน แต่เท่าที่เป็นวิวาทะสาธารณะก็ควรพูดเท่าที่จำเป็น

Max Weber

นิยามเรื่องรัฐของ Weber มาจากความเรียงโด่งดังเรื่อง “Politics as a vocation” http://anthropos-lab.net/wp/wp-content/uploads/2011/12/Weber-Politics-as-a-Vocation.pdf ย่อหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นดังนี้ (นิยามรัฐสมัยใหม่ขีดเส้นใต้อยู่กลางย่อหน้า)

'Every state is founded on force,' said Trotsky at BrestLitovsk. That is indeed right. If no social institutions existed which knew the use of violence, then the concept of 'state' would be eliminated, and a condition would emerge that could be designated as 'anarchy,' in the specific sense of this word. Of course, force is certainly not the normal or the only means of the state--nobody says that--but force is a means specific to the state. Today the relation between the state and violence is an especially intimate one. In the past, the most varied institutions-- beginning with the sib--have known the use of physical force as quite normal. Today, however, we have to say that a state is a human community that (successfully) claims the monopoly of the legitimate use of physical force within a given territory. Note that 'territory' is one of the characteristics of the state. Specifically, at the present time, the right to use physical force is ascribed to other institutions or to individuals only to the extent to which the state permits it. The state is considered the sole source of the 'right' to use violence. Hence, 'politics' for us means striving to share power or striving to influence the distribution of power, either among states or among groups within a state.

กำเนิดของความเรียงเรื่อง Politics as a vocation นี้มีที่มาจากคำบรรยายที่ Weber แสดงแก่สหภาพนักศึกษาเสรีที่มหาวิทยาลัยมิวนิคเมื่อมกราคมปี ๑๙๑๙ ในระหว่างการปฏิวัติเยอรมัน (หลัง WWI) นั้นเองจะเห็นได้ว่า Weber ขยายนิยามรัฐจากข้อสังเกตของทรอตสกี้ว่า "รัฐทุกรัฐย่อมตั้งอยู่บนการใช้กำลัง" โดยบวกเชื้อมูลสำคัญเรื่อง ๑) ผูกขาดความรุนแรง/การใช้กำลัง ๒) โดยชอบธรรม ๓) เหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ เข้าไป

เงื่อนไขข้อ ๒) นี้เองเป็นปมที่สอดรับกับข้อสังเกตเรื่องอำนาจรัฐของอ.ชัยวัฒน์ที่ว่าในที่สุด การยอมทำตามรัฐ สำคัญกว่าการใช้กำลังบังคับควบคุมพลเมืองโดยรัฐ เพราะรัฐมีพลังศักยภาพจำกัดในการทำประการหลัง ถือปืนจ่อจี้พลเมืองนาน มือย่อมสั่น ในที่สุดฐานอำนาจรัฐที่แท้คือการยอมตามของพลเมือง ตรงนี้เองคือฐานคิดของชัยวัฒน์เรื่อง อารยะขัดขืน civil disobedience ว่าเป็นช่องทางการต่อสู้ที่ทรงพลังในการกร่อนจำกัดอำนาจรัฐได้ของพลเมือง จะเพื่อการปฏิวัติชนชั้นหรือปฏิรูปนโยบายหนึ่ง ๆ เป็นเรื่องเป้าหมายการเมือง ซึ่งไม่ใช่ประเด็นโต้แย้งถกเถียงของวิธีคิดแบบสันติวิธี เพียงต้องการชี้ว่าสันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"