Skip to main content

ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป, เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลกและจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ จีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอ สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว, บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรง

ภาพประกอบสรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน Global Trends 2030

Kasian Tejapira (24/12/2012)

สภาข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (National Intelligence Council) ซึ่งเป็นหน่วยงานของผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่ทำงานให้สำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองของสหรัฐฯ เพิ่งเผยแพร่รายงาน Global Trends 2030 หนาเกือบ ๑๖๐ หน้า ซึ่งเป็นชุดรายงานประจำฉบับที่ ๕ เพื่อเป็นกรอบการมองแนวโน้มโลกใน ๑๘ ปีข้างหน้า สำหรับหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯและผู้วางนโยบายระดับต่าง ๆ ใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อวางแผนงานรับมือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (เคาะดาวน์โหลดรายงานได้ที่ลิงค์ http://publicintelligence.net/global-trends-2030/)

สำหรับข้อสังเกตหลัก ๆ น่าสนใจของรายงานฉบับนี้ มีอาทิ:

- ถึงปี ๒๐๓๐ สหรัฐฯจะไม่ได้เป็นอภิมหาอำนาจแบบที่เห็นอยู่ปัจจุบันอีกต่อไป เอาเข้าจริงจะไม่มีประเทศเดียวโดด ๆ ใดในโลกมีอิทธิพลแบบนั้นเลย ทว่าพลังอำนาจจะตกไปอยู่กับพันธมิตร/แนวร่วมระหว่างประเทศต่าง ๆ แทน


- เศรษฐกิจจีนจะใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น ๑.๔ เท่าของเศรษฐกิจญี่ปุ่นตอนนั้น, เศรษฐกิจเอเชียจะใหญ่กว่าเศรษฐกิจของทวีปอเมริกาเหนือกับยุโรปรวมกัน เศรษฐกิจโลกจะพึ่งพาขึ้นต่อสภาพเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมากขึ้น แทนโลกตะวันตก

- อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าจีนจะเติบโตไปแบบนั้นได้ต้องแก้ปัญหาใหญ่ ๒ อย่างใหญ่ ๆ คือ

๑) เศรษฐกิจจีนพึ่งพาทรัพยากรเข้มข้นในการเติบโต และทรัพยากรที่ว่ากำลังร่อยหรอลงในประเทศ เช่น น้ำซึ่งขาดแคลนทางภาคเหนือของจีน

๒) สังคมจีนกำลังชราภาพลงโดยเฉลี่ยอย่างรวดเร็ว จำนวนคนแก่เป็นสัดส่วนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับคนวัยทำงานเพราะผลลัพธ์รวมของนโยบายคุมจำนวนประชากร (ให้มีลูกได้ครอบครัวละคน) เผลอ ๆ สังคมจีนจะแก่เสียก่อนจะทันรวยพออุ้มชูเลี้ยงดูคนแก่เหล่านั้น

- โลกจะต้องการทรัพยากรมากขึ้นในสภาพที่ประชากรโลกเพิ่มจาก ๗.๑ พันล้านคนในปัจจุบัน --> ๘ พันล้านคนในปี ๒๐๓๐, เกือบครึ่งของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในเขตที่มีปัญหาน้ำอย่างหนักหน่วง สภาพทรัพยากรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกที่มีจำกัดจะเพิ่มโอกาสเกิดความขัดแย้งในภูมิภาคแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียใต้

- จากนี้บทบาทของสหรัฐฯจะปรับเปลี่ยนเพราะโลกและนานาชาติคาดหวังให้สหรัฐฯทำตัวเป็นผู้บริหารจัดการจัดตั้งไกล่เกลี่ยหาทางออกข้อตกลงยุติความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดจากความรู้สึกไม่มั่นคงในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกมากขึ้นในอนาคต (แบบที่สหรัฐฯกำลังทำในซีเรีย) เช่นในเอเชียอาคเนย์และตะวันออกกลาง และสหรัฐฯจะทำเช่นนั้นได้ดีหากสามารถเล่นบทดังกล่าวร่วมกันกับจีน หากทำได้จริง ก็น่าจะเป็นฉากอนาคตโลกที่ดีที่สุดในมุมมองของรายงาน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
"ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่.."    
เกษียร เตชะพีระ
กระบวนการเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์ดังที่เป็นอยู่ จึงก่อผลสำคัญด้านความเหลื่อมล้ำทางโภคทรัพย์ที่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่อุดหนุนเกื้อกูล, พลังประชาธิปไตยบนฐานอำนาจเสียงข้างมากของคนที่ขาดด้อยโภคทรัพย์ต้องหาทางคะคานถ่วงดุลอำนาจทุนมหาศาลของคนมั่งมีโภคทรัพย์เสียงข้างน้อยไว้ มิฉะนั้นประชาธิปไตยก็จะหมดความหมายในทางเป็นจริงไปในที่สุด
เกษียร เตชะพีระ
เฉพาะหนึ่งปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่ขายในประเทศร่ำรวย อาทิ ญี่ปุ่นและอเมริกา กลับมียอดแซงหน้าในประเทศตลาดเกิดใหม่ จีนไม่ใช่ประเทศที่มีอัตรายอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นสูงสุดอีกต่อไป หากกลับเป็นไทย (ที่ ๖๐%!) และอินโดนีเซีย (ที่ ๓๕%) ในรอบปีที่ผ่านมา
เกษียร เตชะพีระ
ก้องกังวานสะท้านฟ้ามหาสมุทร ด้วยคลั่งแค้นแสนสุดประกาศกล้า เป็นแสนเสียงล้านเสียงมหาประชา สยบขวัญสั่นอุราเผด็จการ...
เกษียร เตชะพีระ
"ประชานิยม" "คนชั้นกลางนิยม" "คนรวยนิยม" "อำมาตย์นิยม" "ประชาธิปัตย์นิยม" "ม.๑๑๒ นิยม" "ราชบัณฑิตนิยม" "ยิ่งลักษณ์นิยม" "ทักษิณนิยม" "พันธมิตรนิยม" "นิติราษฎร์นิยม" "นิด้านิยม"