Skip to main content

มาตรา ๑๗๑ วรรคสี่ ของ รัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ สะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่าง รธน.ที่มีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณ และ เสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน

Kasian Tejapira(29 ธ.ค.55)

อาจารย์ ดร. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย ผู้จบมาทางกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยตรงจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน (และกำลังขยับจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มาเข้าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ช่วยชี้ให้ผมเห็นสิ่งแปลกพิลึกอย่างหนึ่งในหลาย ๆ อย่างในรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ซึ่งผมมองข้าม/หลงลืมไปว่า วรรคสี่ของมาตรา ๑๗๑ แห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จำกัดการดำรงตำแหน่งของนายกฯไว้ไม่ให้เกินแปดปีต่อกัน อันเป็นหัวข้อที่อ.พรสันต์ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเปรียบเทียบประเด็นนี้ในระบบการเมืองไทยปัจจุบันกับสหรัฐอเมริกา
 
ผมเข้าใจว่ากล่าวในทางการเมืองเปรียบเทียบแล้ว ปกติ มาตรการจำกัดการดำรงตำแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหาร (Executive Term Limits) แบบนี้มักใช้กันในระบบประธานาธิบดี ซึ่งอำนาจฝ่ายบริหารเป็นอิสระจากอำนาจนิติบัญญัติ เพื่อป้องกันแนวโน้มอำนาจนิยมของฝ่ายบริหาร หากประธานาธิบดีกุมอำนาจต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เสียระบบถ่วงดุลตรวจสอบระหว่างอำนาจฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเป็นอิสระต่อกันไปได้ 
 
ทว่าในระบบรัฐสภา ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขึ้นอยู่กับการได้รับความไว้วางใจจากเสียงข้างมากในสภานิติบัญญัตินั้น ก็มีกลไกการลงมติไว้วางใจ/ไม่ไว้วางใจของสภาดังกล่าวเป็นตัวถ่วงดุลตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหารให้ขึ้นต่อสภาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีข้อกำหนดจำกัดช่วงเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯไว้อีกชั้นหนึ่ง ตราบใดที่นายกฯยังได้รับความไว้วางใจจากผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ในสภา ซึ่งสะท้อนว่ายังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน นายกฯก็มีความชอบธรรมที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้เป็นธรรมดา แก่นแกนหัวใจของความยั่งยืนแห่งอำนาจของฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภาจึงอยู่ที่ความไว้วางใจจากสภาและแรงสนับสนุนจากประชาชน ไม่ใช่กำหนดเวลาโดยพลการใด ๆ
 
การเพิ่มข้อกำหนดแปลกปลอมพิลึกที่อธิบายได้ยากเข้ามากำกับควบคุมการดำรงตำแหน่งนายกฯทับซ้อนไว้อีกชั้นหนึ่งในวรรคสี่ของมาตรา ๑๗๑ จึงสะท้อนความหวาดระแวง - ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่างมีต่อตัวอดีตนายกฯทักษิณว่าอาจสามารถกุมอำนาจไปได้เนิ่นนานเกิน ๘ ปี จึงตีวงขีดเส้นจำกัดไว้ ไม่ให้ใครไม่ว่าทักษิณ นอมินีหรือพวกพ้องญาติมิตรทำซ้ำได้อีก ซึ่งก็สะท้อนความหวาดระแวง-ไม่ไว้วางใจที่คณะผู้ร่างมีต่อเสียงข้างมากในสภาและเสียงสนับสนุนของประชาชนอีกชั้นหนึ่งเช่นกัน

 

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
บทกวีไว้อาลัยการจากไปของ 'ไม้หนึ่ง ก.กุนที' ที่ถูกยิงเสียชีวิตวันนี้ "เมื่อกวีจากไปไร้กวี.."
เกษียร เตชะพีระ
ที่คุณสุเทพ ณ กปปส.คัดค้านการเลือกตั้งก่อนปฏิรูป ยืนกรานว่าต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ก็มีนัยการเมืองสำคัญตรงนี้ คือต้องทำแท้ง “อำนาจอธิปไตย” ของปวงชนชาวไทยให้จงได้ ไม่ให้มันได้คลอดได้ผุดได้เกิดผ่านกระบวนการเลือกตั้งมาลืมตาดูโลก ทำแท้ง “อำนาจอธิปไตย” ของปวงชนชาวไทยได้สำเร็จแล้ว ก็จะได้เคลมตนเองเป็น “รัฏฐาธิปัตย์” แทนนั่นปะไร
เกษียร เตชะพีระ
พลังฮึกห้าวเหิมหาญของม็อบและขบวนการใดที่ก่อตัวขึ้นโดยกัดกร่อนบ่อนทำลายเหล่าสถาบันการเมืองของชาติให้เสื่อมทรุดถดถอยราบคาบลงไป ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่สร้างสรรค์อะไรขึ้นมา มีแต่พลังทำลาย ผลได้ของการเคลื่อนไหว ไม่ยั่งยืน เมื่อฝุ่นหายตลบแล้วก็จะพบว่ามีแต่ซากปรักหักพังแห่งสถาบันการเมืองของชาติทั้งชาติ โดยไม่ได้ดอกผลการต่อสู้อะไรจริงจังยั่งยืนขึ้นมาเลย
เกษียร เตชะพีระ
ข้อสังเกตหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างและปรับปรุงระบบลอจิสติกส์ของประเทศใหม่ ผิดรัฐธรรมนูญ
เกษียร เตชะพีระ
ผมอ่านข้อเสนอที่นายกแพทยสภาและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขแถลงล่าสุดแล้ว มีความเห็นว่ามัน "ไม่เป็นกลาง" ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้...
เกษียร เตชะพีระ
วิธีการที่ผิด ไม่สามารถนำไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องดีงามได้ และคนอื่นเป็นเจ้าของประเทศไทยเหมือนกันเท่ากับผมและคุณ เท่ากันเป๊ะ