Skip to main content

นิธิอ่านสถานการณ์ปัจจุบัน: การลงร่องของกระฎุมพีไทย → ขีดจำกัดของการเคลื่อนไหวมวลชนภายใต้กระฎุมพีเสรีนิยมปัจจุบัน

Kasian Tejapira (20/5/56)

1) จับประเด็นเก็บความสังเขปจาก: “การลงร่องของกระฎุมพีไทย”, มติชนสุดสัปดาห์, ๓ – ๙ พ.ค. ๒๕๕๖, น.๓๐.


- อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ อ้างอิงใช้งานประวัติศาสตร์ลือชื่อของ Eric Hobsbawm เรื่อง The Age of Revolution, 1789-1848 (1962) เป็นหลักเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์การเคลื่อนไหว “ปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ไทยถึงปัจจุบัน


- เรื่องแรกที่สนใจคือ พลวัตของการแตกแยกทางการเมืองในหมู่นักปฏิวัติกระฎุมพีหลังชนะยึดอำนาจรัฐได้ (งานแนวนี้อีก เรื่องที่น่าสนใจนำมาศึกษาเปรียบเทียบคือ Crane Brinton, The Anatomy of Revolution, 1938) กระบวนการคร่าว ๆ มักเป็นดังนี้คือ: -


- แรงขับเคลื่อนเรียกร้องผลักดันของมวลชน → ปีกซ้ายของการปฏิวัติ → นำการปฏิวัติสังคม (รื้อระเบียบ เศรษฐกิจสังคมมูลฐาน)
- พวกเดินสายกลางปฏิรูปรับไม่ได้กับการเอียงซ้าย-ปฏิวัติสังคม → พยายามจำกัดการปฏิวัติไว้แค่ปริมณฑล การเมือง (โครงสร้างอำนาจการเมืองการปกครองเท่านั้น) → หันไปร่วมมือกับพวกจารีตนิยม/กลุ่มอำนาจเดิมกลายเป็น ฝ่ายขวา


- อ.นิธิเห็นว่า “การปฏิวัติ” ครั้งต่าง ๆ ที่มีมาในไทย (ใช้ในความหมายหลวมกว้างที่รวมเอา ๒๔๗๕, ๒๕๑๖, ๒๕๓๕, และปัจจุบันได้ด้วย) เหมือนประสบการณ์การปฏิวัติกระฎุมพีฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙ แต่ต่างจากการปฏิวัติสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ในรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๑๗ และจีน ค.ศ. ๑๙๔๙


- กล่าวคือ ลักษณะเด่นของการปฏิวัติไทย ได้แก่ no core leadership, no organization, no program, no concerted systemic efforts at ideological propaganda or mass mobilization, มีแต่การสร้างอารมณ์ร่วม


- “การปฏิวัติ” ของไทยแต่ละครั้งอาจไม่ขาดหมดเสียทุกอย่าง แต่มีบางอย่าง เช่น ปฏิวัติ ๒๔๗๕ มีคณะราษฎรเป็นแกนนำ หลวม ๆ อยู่, ปฏิวัติ ๒๕๑๖ มีฐานมวลชนกว้างขวาง, เป็นต้น แต่กล่าวโดยรวมแล้ว ค่อนข้างขาดสิ่งเหล่านี้ทำให้การปฏิวัติ มีขีดจำกัด (อ.นิธิเอ่ยผ่าน ๆ ว่า การเคลื่อนไหวปฏิวัติของ พคท. มีแกนนำ การจัดตั้ง หลักนโยบายและการปลุกระดมมวลชน ทว่าปฏิวัติแพ้…..)


- ข้อน่าสนใจคือการประเมินรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๐ และการเคลื่อนไหวมวลชนในปัจจุบัน


- นิธิเสนอว่า ภายใต้การนำของเครือข่ายนักปฏิรูปสังคม “รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้เกิดการเมืองมวลชนขึ้นเป็นครั้งแรก” นี่นับเป็นการประเมินที่กว้างขวางต่างไปจากข้อประเมินของ อุเชนทร์ เชียงแสน ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของเขา อุเชนทร์ เสนอการวิเคราะห์ตีความที่น่าสนใจว่า รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทำให้การเมืองภาคประชาชนกลายเป็นสถาบัน (คือกลายเป็น แบบแผนปฏิบัติและมีพื้นที่อำนาจทางการในระบบการเมืองการปกครองขึ้นมา) ดูเหมือนข้อเสนอนี้ใกล้เคียงล้อกันกับ ของ อ.นิธิ จุดต่างน่าจะอยู่ตรงอุเชนทร์จำกัดว่าเฉพาะ “การเมืองภาคประชาชน” เท่านั้นที่กลายเป็นสถาบัน ขณะที่นิธิเห็นว่า “การเมืองมวลชน” โดยรวมเลย กล่าวคือ มวลชนระดับล่างได้อาศัยช่องทางในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ เข้าร่วมกระบวนการวาง และกำหนดนโยบายผ่านการเลือกตั้งและเคลื่อนไหวกดดันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก (ในคุณภาพและระดับที่ต่างจาก ลำพังการเคลื่อนไหวมวลชนในอดีตที่ผ่านมา เช่น ช่วง ๑๔ - ๖ ตุลาฯ, ช่วงหลังพฤษภาฯ ๒๕๓๕ เป็นต้น)


- นิธิยังวิเคราะห์ต่อว่า เครือข่ายนักปฏิรูปสังคมและอำนาจนำตามประเพณี เสียอำนาจการนำและอิทธิพลลงไปจาก การเมืองมวลชนที่เกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทั้งสองฝ่ายจึงร่วมมือกันทำรัฐประหาร ๒๕๔๙ เพื่อโค่นล้มการเมืองมวล ชนลงเสีย สรุปคือ

[เครือข่ายนักปฏิรูปสังคม + อำนาจนำตามประเพณี = รัฐประหาร ๒๕๔๙ vs. การเมืองมวลชน]


-อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเมืองมวลชนปัจจุบันมีลักษณะจุดอ่อนเป็นข้อจำกัดร่วมกันกับการปฏิวัติไทยครั้งอื่น ๆ ที่ผ่านมา ในอดีต กล่าวคือ:

- ไม่มีหลักนโยบายชัดเจนว่าจะนำพาสังคมไทยทางไหน ไม่ว่าในระดับปฏิวัติสังคมหรือปฏิรูปสังคม
- ประเด็นการเรียกร้องจึงเริ่มแตกฉานซ่านกระจายเป็นกรณีเฉพาะราย single issues
- นำไปสู่สภาพที่แกนนำกระฎุมพีเสรีนิยมแตกแยกแย่งอำนาจกันเอง
- และหันไปร่วมมือกับกลุ่มอำนาจเดิมตามลำดับ
→ จะนำไปสู่การเมืองกระฎุมพีปกติ/การเมืองอย่างที่มันเคยเป็น ๆ มาในที่สุด

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ