Skip to main content
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
 
-วาทกรรม (ราชาชาตินิยม)
-ยุทธศาสตร์ (ปฏิรูประบอบการเมืองไปในทิศทางลดอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนลง เพิ่มอำนาจของบรรดาสถาบันที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก)
-ยุทธวิธี (ก่่อม็อบอนาธิปไตย ยึดสถานที่ราชการ ให้รัฐเป็นอัมพาตทำงานไม่ได้)
-เป้าหมายเฉพาะหน้า (ล้มรัฐบาล)
-และวิสัยทัศน์ทางการเมือง (ระบอบกึ่งประชาธิปไตยใต้การกำกับของทหารและคณะตุลาการคุณธรรม)
 
จะเรียกว่าคุณสุเทพ เทือกสุบรรณกับพรรคประชาธิปัตย์กำลังผลิตซ้ำ/ทำซ้ำแบบแผนการชุมนุมของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปี 2549 + 2551 ก็ย่อมได้
 
ในแง่หนึ่งมันสะท้อนว่าแนวทางการนำพรรคประชาธิปัตย์ของคุณอภิสิทธิ์-สุเทพในรอบ ๒ ปีที่ผ่านมาได้บรรลุถึงบทสรุปตามตรรกะของมันแล้ว 
 
คือแปรพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมในสภาจากการเลือกตั้ง ให้กลายเป็น --> ขบวนการมวลชนและกองโฆษณาชวนเชื่อราชาชาตินิยม-ปฏิกิริยา-อนาธิปไตยบนท้องถนนที่ถล่มโจมตีเข้ายึดสถานที่ราชการเพื่อโค่นอำนาจรัฐบาลจากการเลือกตั้งและต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
 
พูดอีกอย่างก็ได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูก ASTV-Manager/PADization (เอเอสทีวี-ผู้จัดการ/พันธมิตรานุวัตร) ไปแล้วเรียบร้อย
 
ทว่าลึกกว่านั้น มันยังสะท้อนบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของไทยเราในเชิงโครงสร้าง
 
ลองจินตนาการดูว่าสมมุติคณะแกนนำการประท้วงม็อบเทพเทือก-กปท.-คปท.ขณะนี้ ไปจุติในภพภูมิเสรีประชาธิปไตยเต็มใบที่ไหนสักแห่ง และมีความขุ่นแค้นขัดเคืองไม่พอใจรัฐบาลดังกล่าวทางการเมือง ต้องการล้มรัฐบาล พวกเขาจะทำอะไรอย่างไร?
 
ชุมนุมยืดเยื้อกลางถนนหรือ? กดดันกองทัพให้แทรกแซงทางการเมืองหรือ? ขออำนาจพิเศษนอกเหนือรัฐธรรมนูญให้ช่วยเปลี่ยนตัวนายกฯ ตั้งสภาประชาชนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ปฏิรูปการเมืองให้ทีหรือ? ฎีกาประมุขรัฐหรือ? บุกยึดสถานที่ราชการไม่ยอมออกและระดมมวลชนให้ช่วยมาปกป้องตัวเองทีกระนั้นหรือ?
 
ถ้าทำแบบนี้ที่โน่น จะชนะหรือ? จะ make sense หรือ? 
 
ก็คงไม่ ใช่ไหมครับ เรียกว่า crazy & go berserk ชิบเป๋งเลย ชาวบ้านชาวเมืองที่นั่นคงพากันงงเป็นไก่ตาแตกและหัวเราะท้องคัดท้องแข็งว่ากำลังเล่นตลกอะไรกันหว่า...
 
ถ้าอยากชนะที่นั่นก็ต้องสู้ในสภาและสนามเลือกตั้ง สร้าง/ปรับพรรคใหม่ สร้าง/ปรับแนวทางนโยบายใหม่ สร้าง/ปรับองค์การจัดตั้ง หัวคะแนนผู้ปฏิบัติงาน เครือข่ายพันธมิตรใหม่ เพื่อสะสมกำลังรอกระโดดเข้าต่อสู้ในเวทีเลือกตั้งรอบหน้ากับพรรครัฐบาลให้ชนะ
 
แต่การที่เขาไม่ทำแบบนั้น แต่กลับเลือกทำแบบนี้ที่นี่ เป็นชุดเป็นแบบแผนอันเดิมอันเดียว ซ้ำรอยที่พันธมิตรฯทำเมื่อปี 2549 + 2551 และ "เชื่อมั่น" ว่ามีทางจะชนะ ล้มรัฐบาล/รัฐสภาและฉีกรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ จนยอมเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงติดคุกติดตะรางหรือกระทั่งเสี่ยงชีวิตนั้น สะท้อนว่าเขาเห็นและมันมีอะไรบางอย่างในโครงสร้างการเมืองการปกครอง "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของเราที่เปิดช่องทางโอกาสให้พวกเขาคาดหวังอย่างนั้นได้
 
"โครงสร้างโอกาสทางการเมือง" (political opportunity structure) ภายในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังกล่าว ที่เปิดช่องให้ล้มรัฐบาล/รัฐสภาและฉีกรัฐธรรมนูญได้แบบที่พันธมิตรฯได้เคยทำและม็อบเทพเทือกกำลังพยายามทำ คืออะไร? อยู่ตรงไหน? จะปิดช่องทางดังกล่าวเพื่อผลักดันความขัดแย้งทางการเมืองให้กลับเข้าไปในกติการะบบระเบียบของระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งปกติได้อย่างไร?
 
น่าคิดนะครับ
 
อย่างไรก็ตาม มีคำเตือนของคาร์ล มาร์กซ เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ซ้ำรอยน่าฟัง สำหรับผู้กำลังคิดผลิตซ้ำ/ทำซ้ำประวัติศาสตร์ใหม่ได้ลองนำไปพินิจพิจารณาเป็นอนุสติดังภาพประกอบด้านล่างนี้

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
ด้วยความระลึกถึงจาก "พวกดอกเตอร์สมองบวมบนหอคอยงาช้างทั้งหลาย" ต้องสู้กับทักษิณด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ทำลายระบอบประชาธิปไตย ต้องเอาชนะทักษิณด้วยการชนะใจเสียงข้างมาก ไม่ใช่ต่อต้านเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
คำปราศรัยของคุณสุเทพ ณ กปปส.บ่ายวันนี้ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ  คือคำประกาศของขบวนการการเมืองแบบสู้รบของเสียงข้างน้อยที่ปฏิเสธความเสมอภาคทางการเมืองและการปกครองโดยเสียงข้างมาก
เกษียร เตชะพีระ
ว่าด้วย "ระบอบทักษิณ" ในสถานการณ์ปฏิวัติโค่นล้ม "ระบอบทักษิณ" ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
เกษียร เตชะพีระ
ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่....
เกษียร เตชะพีระ
 "เสียงข้างน้อย" ที่ศาลรัฐธรรมนูญพูดถึงว่าต้องปกป้องไว้จากอำนาจเสียงข้างมากนั้น ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์เหนือคนอื่นและเหนือเสียงข้างมากมาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น
เกษียร เตชะพีระ
กลุ่มอาการม็อบไทย ๆ ในปัจจุบัน: Thai Mob SyndromeOverpoliticization --> Political Fanaticism & Instant Political Awakening --> Lack of Political Experience and Patience
เกษียร เตชะพีระ
บทความ “A Sea of Dissent: nonviolent waves in China” ของ Michael Caster นักวิจัยและเคลื่อนไหวอิสระผู้เน้นศึกษาเรื่องความขัดแย้งและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเอเชีย ได้ประมวลข้อมูลและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวมวลชนระยะใกล้ในจีนไว้อย่างน่าสนใจ ผมขอนำมาเล่าต่อบางส่วนดังนี้
เกษียร เตชะพีระ
สิ่งที่พึงปรารถนาไม่ใช่ "ให้คนเราเหมือนกันหมด จะได้เท่ากัน" (เอาเข้าจริง ถึงเหมือนกันก็ไม่เท่ากันได้) แต่คือ "แตกต่างแต่เท่ากัน" (เพราะมันคนละเรื่อง) หรือ "แตกต่างกันได้โดยไม่ต้องกลัว" ต่างหาก (Different but equal or To be different without fear.)
เกษียร เตชะพีระ
บทสัมภาษณ์ ควินติน สกินเนอร์ นักวิชาการด้านประวัติความคิดการเมืองชาวอังกฤษสำคัญที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบันต่อประเด็นเกี่ยวกับงานค้นคว้าประวัติความคิดเรื่องเสรีภาพและ เสรีนิยมของตะวันตกตลอดชีวิตของเขาโดยภาพรวม แนวคิดมหาชนรัฐ, มาเคียเวลลี, ฮ๊อบส์, การปฏิรูปศาสนา, เชคสเปียร์, มิลตัน, คาร์ล มาร์กซ จนถึงเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นต้น
เกษียร เตชะพีระ
 ว่าด้วย "เจ็ดไม่พูด"(ชีปู้เจียง) แคมเปนอุดมการณ์ล่าสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คุณค่าสากล, เสรีภาพการพูดและพิมพ์โฆษณา, สิทธิพลเมือง, ประชาสังคม, ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน, กระฎุมพีข้าราชการ และความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ