Skip to main content

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนของเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานตั้งแต่ ในยุคอาณานิคมก็ถูกกดขี่จากอาณานิคม สเปน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เสร็จจากยุคอาณานิคมก็มาเจอยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินัน มาร์กอสผู้ล่วงลับ จากยุคเผด็จการดันมาเจอยุคประชาธิปไตยลวงและการคอรัปชั่นอย่างหนักหน่วงในรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา และเพิ่งจะมีเหตุการณ์ประท้วงไปหมาดๆ เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาร์โรโย ที่แปดเปื้อนด้วยการคอรัปชั่น ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จึงมีประวัติศาสตร์การต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด เรียกได้ว่าขบวนการประชาชนของฟิลิปปินส์เข้มแข็งอย่างมากเป็นแบบอย่างการต่อสู้ให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้เรียนรู้มากทีเดียว  และเคียงคู่กันมากับขบวนการประชาชนเพื่อต่อสู้เรียกร้องเอกราช และความเป็นธรรมในประวัติศาสตร์นั้นฟิลิปปินส์ไม่เคยขาดสื่อข้างประชาชนในแต่ละยุคสมัย

สื่อฟิลิปปินส์เป็นสถาบันที่ถูกเอ่ยอ้างในเรื่องความมีเสรีภาพสื่อมากที่สุดประเทศหนึ่งในหมู่เอเชียอาคเนย์ ทว่าในที่นี่จะไม่เน้นเรื่องนี้ แต่จะพูดถึงบทบาทสื่อตั้งแต่ในอดีตที่มีส่วนเรียกร้องเอกราชและความเป็นธรรม ในยุคอาณานิคมนั้น สเปนได้ชื่อว่าเป็นอาณานิคมที่กระทำกับชนพื้นเมืองเหมือนทาส อาศัยศาสนาจักร ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกควบคุมประชาชน เจ้าอาณานิคมสเปนไม่เคยให้สิทธิเท่าเทียมกันกับคนพื้นเมือง คนเชื้อสายสเปนอยู่ดีกินดีดั่งราชา แถมยังเป็นเจ้าครองที่ดิน เป็นพลเมืองชั้นหนึ่งของสังคมในขณะนั้น ในขณะที่ชนพื้นเมืองกลายเป็นผู้ใช้แรงงานและเป็นพลเมืองชั้นต่ำสุดทั้งในแง่สิทธิทางการเมือง ศาสนาและการศึกษา เช่น ชนพื้นเมืองเป็นพระนักบวชไม่ได้เป็นต้น โรงเรียนชั้นนำเป็นที่เรียนของลูกหลานเจ้าอาณานิคม นอกจากนี้วัฒนธรรมและภาษาของคนพื้นเมืองก็ถูกกลืนกลาย โดยบังคับให้เรียนภาษาสเปนและใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ

การกดขี่และความไม่เท่าเทียมกันในยุคนั้นทำให้เกิดขบวนการกู้ชาติโดยใช้ความเป็นชาตินิยมชื่อ ขบวนการคาติปูนัน (ปัจจุบันเป็นชื่อถนนสายสำคัญหนึ่งในเมืองมนิลาด้วย) มีวีรบุรุษสำคัญในประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์คือ นายแพทย์โฮเซ ริซัล และมาร์เชลโล เดล พิลาร์ วีรบุรุษกู้ชาติทั้งสองท่าน คนหนึ่งเป็นนักเขียนด้วย คือ โฮเซ ริซัล อีกท่านเป็นนักหนังสือพิมพ์ มาร์เชลโล เดล พิลาร์ และหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทเคียงข้างประชาชน คือ หนังสือพิมพ์ La Solidaridad ที่นำเสนอแนวคิดการกู้ชาติและเปิดโปงความเลวร้ายของเจ้าอาณานิคมสเปน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ช่วง ปี 1889-1895 ที่ทรงอิทธิพลด้านความคิดประชาธิปไตยแต่ชนชั้นปัญญาชนของฟิลิปปินส์ในยุคนั้น เรียกว่า เป็นพื้นที่สะท้อนปัญหาการกดขี่ของอาณานิคมและประกาศแนวคิดในการกู้ชาติในยุคนั้น

20080519 1
ภาพจาก wikipedia หนังสือพิมพ์ La Solidaridad ที่เคียงข้างประชาชนเพื่อกู้เอกราชของประเทศ
เป็นพื้นที่ที่สองวีรบุรุษโฮเซ ริซัลกับมาร์เชลโล เดล พิลาร์ใช้เผยแพร่แนวคิดของเขาด้วย

ต่อมาในยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จ อดีตประธานาธิบดีมาร์กอส นับว่าเป็นยุคมืดสุดของสื่อฟิลิปปินส์ เพราะมาร์กอสใช้อำนาจครอบงำทุกอย่าง โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ทั้งยังสร้างสื่อของตัวเองและจัดการกับสื่อที่อยู่ตรงข้ามกับตัวเองอย่างโหดร้ายและเด็ดขาด สื่อมวลชนสูญเสียชีวิตและติดคุกมากที่สุดในยุคนี้ เมื่อแสดงออกบนดินไม่ได้ สื่อที่อยู่เคียงข้างประชาชนก็ต้องเปลี่ยนพื้นที่การต่อสู้ คือ ลงไปสู้ใต้ดิน ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยแท่นโรเนียว ครั้งสองถึงสามพันฉบับ และแอบแจกจ่ายให้กับประชาชน หนึ่งในผู้ผลิตสื่อใต้ดิน ปัจจุบันเป็นนักพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) สายคนจนเมืองสำคัญคนหนึ่งของฟิลิปปินส์ ส่วนสื่อบนดินหรือสื่อกระแสหลักเพียงแต่เล่นไปตามกระแส เซนเซอร์ตัวเองเป็นหลัก ต่อเมื่อขบวนการประชาชนและกระแสของนางคอรี อะคีโนเริ่มเข้มแข็ง สื่อกระแสหลักจึงเอนเอียงมาเสนอข่าวฟากประชาชนมากขึ้น เรียกว่า สื่อกระแสหลักในฟิลิปปินส์ตั้งแต่เข้าสู่ยุคประกาศเอกราชกระทั่งปัจจุบันมีแนวคิดหลักคือ เล่นไปตามกระแสของสังคม แต่พวกเขาเรียกว่า เป็นการนำเสนอข่าวตามที่ข่าวมันเป็น โดยไม่เคยเอ่ยถึงการเซนเซอร์ตัวเองในสถานการณ์ที่เห็นว่า อ่อนไหวทางการเมืองและอาจมีผลต่อความอยู่รอดของหนังสือพิมพ์ เช่น การไม่เสนอข่าวรอบด้านเมื่อมีการลอบสังหารคู่ต่อสู้ทางการเมืองนายอะคีโน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม รากเหง้ายุคเผด็จการเป็นแรงผลักดันให้เกิดสื่อทางเลือก และสื่อภาคประชาชนขึ้นหลายองค์กรในฟิลิปปินส์ และมีความเข้มแข็งมากในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีบทบาทมากที่สุดในการล้มรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา นั่นคือ องค์กรสื่อสืบสวนสอบสวน หรือ the Philippine Center for Investigative Journalism (PCIJ) นำโดยนักข่าวสาวสวยที่ยึดมั่นในอุดมการณ์เสรีภาพสื่อและเคียงข้างประชาชนอย่าง Sheila S. Coronel แนวทางการทำงานของ PCIJ คือ การเจาะลึกหาความจริงของเหตุการณ์และเป็นพื้นที่นำเสนอภาคประชาชน รวมถึงคนชายขอบที่ลึกและเข้มข้น ซึ่งสื่อกระแสหลักไม่มีทางเปิดพื้นที่แบบนี้ได้ ผลงานที่ทำให้ PCIJ อยู่ในใจของประชาชนชาวฟิลิปปินส์ได้อย่างยาวนานคือ การขุดคุ้ยความมั่งคั่งของอดีตประธานาธิบดีโจเซฟ เอสตราดา กระทั่งนำไปสู่การตรวจสอบและถอดถอนประธานาธิบดี

20080519 2
หนังสือขุดคุ้ยความร่ำรวยผิดปกติของเอสตราดา โดยคณะผู้สื่อข่าวของ PCIJ

20080519 3
Sheila S. Coronel (กลางเสื้อดำ) ผู้ช่วยเหลือและให้ความรู้เรื่องสื่อฟิลิปปินส์กับผู้เขียนระหว่างอยู่ที่ฟิลิปปินส์
ถ่ายกับเพื่อนร่วมงานและพนักงานทั้งหมดของ PCij

ปัจจุบัน มีสื่อที่ยืนข้างประชาชนอยู่จำนวนมาก และสื่อยืนข้างประชาชนของฟิลิปปินส์มีหลากหลายประเภทมาก มีทั้งสื่อภาคประชาชน คือ ภาคประชาชนมีบทบาทในการนำเสนอข่าวสารเอง สื่อทางเลือกที่อยู่นอกระบบธุรกิจ และทำหน้าที่ตรวจสอบ เจาะลึก ตั้งคำถามกับสังคม สร้างพื้นที่ให้กับคนกลุ่มน้อยที่ไม่มีอำนาจทางการเมือง ถ่วงดุลข้อมูลและอำนาจของกลุ่มนักปกครองของบ้านเมือง

จากบทเรียนของฟิลิปปินส์ สื่อที่ยืนข้างประชาชนเกิดจาก สังคมที่กดขี่ข่มเหงประชาชน สังคมที่ไม่เท่าเทียมทางสิทธิและเสรีภาพ แต่คงไม่แค่นั้น ต้องอาศัยความกล้าหาญและสำนึกต่อสังคมของบุคคลากรในวงการสื่อสารมวลชนด้วย ในฟิลิปปินส์จึงมีคนคุณภาพอย่าง (ขอโทษผู้อ่านที่ขาดข้อมูลคนข่าวในยุคอาณานิคม)  Sheila S. Coronel และคนอื่นๆ อย่าง Melinda Quintos de Jesus, Carolyn O. Arguillas, Yasmin Arquiza ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้เอ่ยชื่อในที่นี่ ส่วนใหญ่ผ่านการทำงานกับสื่อกระแสหลักระดับชาติและนานาชาติหลายคน แต่คนเหล่านี้กินอุดมการณ์ทิ้งความมั่นคงทางการเงินหันมาทำงานที่ตนเองเชื่อมั่นและเคารพในความเป็นสื่อมวลชนอาชีพ ที่ไม่ใช่สื่อมวลชนแบบไหลตามกระแส

บล็อกของ กอแก้ว วงศ์พันธุ์

กอแก้ว วงศ์พันธุ์
 ได้หนังสือเล่มนี้มาเกือบสี่ปีจากร้านขายหนังสือ a different bookstore ในแหล่งช้อปปิ้งชื่ออิสต์วูด เมืองลิบิส ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าหากอยากได้หนังสือแปลของนักเขียนเอเชียก็มาที่นี่ได้ เพราะเป็นแหล่งรวมงานเขียนชาวเอเชีย ประเภทประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรมหาได้ง่ายที่สุดแห่งหนึ่งในมนิลา (หวังว่าร้านหนังสือยังไม่เจ๊งไปเสียก่อน)
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ผู้เขียนเคยเข้าพบสัมภาษณ์ผู้บริหารของหนังสือพิมพ์เดอะจาการ์ตาโพสต์ เกี่ยวกับการบริหารงานหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหนึ่งเดียวในประเทศอินโดนีเซีย ความยากลำบากต่อการอยู่รอด การบริหารงานข่าว ฯลฯ เมื่อห้าปีที่แล้ว จึงขอนำตอนหนึ่งที่น่าสนใจในการพูดคุยกันมาเล่า ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ต้องการให้โครงสร้างของบริษัทหรือธุรกิจหนังสือพิมพ์ไม่เป็นที่ผูกขาด หากเป็นของตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แน่นอนว่า หนังสือพิมพ์อาจเอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งได้ ด้วยวิธีการหลากหลายตั้งแต่การล้อบบี้ การซื้อตัว (เจ้าของสื่อ) การขู่เข็ญ คุกคาม จากบรรดาอำนาจมืดทั้งหลายทั้งปวง
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
หลบเรื่องร้อนทางการเมือง ที่ทำให้หัวใจรุ่มร้อน สับสนอลหม่าน วันนี้เลยเปลือยหัวใจ แบบไร้สี เขียนเรื่องความรักของเพื่อนนักข่าวดีกว่า เป็นความรักข้ามพรมแดนและข้ามศาสนาในดินแดนสวรรค์ "บาหลี" อินโดนีเซีย 
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
เด็กสาวแนะนำตนเองว่าเป็นนักศึกษาฝึกงานกำลังเรียนอยู่คณะนิเทศศาสตร์วิชาเอกหนังสือพิมพ์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เธอมักจะหาโอกาสฝึกงานทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยปิดภาคเรียน เพื่อทดลองสนามจริงแทนที่จะเรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เขียนเห็นวิญญาณของความเป็นสื่อของเธอแล้ว เธอน่าจะเป็นสื่อมวลชนคุณภาพดาวเด่นดวงหนึ่งในแวดวงสื่อสารมวลชน หากเธอไม่ติดกรอบและถูกครอบงำจากความกลัวบางอย่างที่เธอเองก็มองไม่เห็นในโครงสร้างของสังคมไทย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ในบ้านเราเรียกหนังสือพิมพ์ออกเป็น 2 ชนิด หนึ่ง คือหนังสือพิมพ์กระแสหลัก สอง หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์กระแสหลักก็หมายถึงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่เช่น เดลินิวส์ ไทยรัฐ มติชน ฯลฯ ซึ่งจัดพิมพ์อยู่ในกรุงเทพฯ และส่งออกไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย นำเสนอข่าวในประเทศและข่าวรอบโลก พิมพ์จำหน่ายเป็นรายวัน ส่วนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคือ หนังสือพิมพ์ทิ่ผลิตขึ้นในต่างจังหวัด ขายในจังหวัดนั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์แทปลอยด์ ข่าวส่วนใหญ่นำเสนอข่าวในท้องถิ่น พิมพ์ไม่กี่ฉบับและไม่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน อย่างมากก็รายสัปดาห์ หรือรายเดือน ฉะนั้นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ในไทย…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
   สิ่งที่ดีที่สุดของปีนี้สำหรับผู้เขียนคือ "การได้รักใครบางคน" ช่วงเวลามหัศจรรย์ที่เกิดเมื่อไม่นานนัก แต่สัมผัสได้ว่า การได้รัก (อีกครั้ง) มันเกิดพลังสร้างสรรค์ อยากทำในสิ่งที่เป็นบวกแก่คนรอบข้าง และเมื่อความอ่อนโยนอบอุ่นส่งตอบกลับมา ยิ่งก่อความอิ่มเอิบในใจและอิ่มเอมในอารมณ์ยิ่งนัก จากซึมๆ เศร้าๆ ก็กระฉับกระเฉงอย่างบอกไม่ถูก ความต้องการสรรหาแต่สิ่งดีให้แก่ความรัก ตื่นตัวตลอดเวลา...ถือว่าการได้รักใครบางคน เป็นของสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นของขวัญวันปีใหม่ให้กับตัวเอง
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ข่าวการเสียชีวิตของสมาชิกผู้สนับสนุนของกลุ่มการเมืองสองกลุ่มที่ขัดแย้งกันอยู่ขณะนี้ พวกเขาพลีชีพเพราะความเชื่อ ความศรัทธาของพวกเขา ซึ่งเป็นความเชื่อที่บริสุทธิ์ที่เขาแสดงออกต่อสิ่งที่ศรัทธานั้น แต่ไม่มั่นใจว่า พวกเขาเผชิญความรุนแรงถึงขั้นเลวร้ายเช่นนี้ โดยปราศจากแรงขับของความรุนแรงที่สองฝ่ายก่อให้เกิดขึ้น ท่านผู้นำทั้งหลาย ท่านกำลังใช้ความเชื่อ ความศรัทธาของคนเหล่านี้ เพื่อบรรลุเป้าหมาย เกียรติภูมิของท่านผู้นำ ที่ปูด้วยคราบเลือด น้ำตา ของมวลชน ควรภาคภูมิใจล่ะหรือ??? ความเชื่อ ศรัทธาควรเป็นหนทางเพื่อสันติภาพ หากเมื่อใดถูกนำไปสู่ความรุนแรงแล้วไซร้…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ขอเปิดพื้นที่แทนเรื่อง "สื่อ" ชั่วคราว เพื่ออุทิศให้กับแรงงานที่ประสบเหตุเสียชีวิตจากการลักลอบขนย้ายแรงงานที่สังเวยต่อการเมืองในประเทศพม่าและกระบวนการค้ามนุษย์ในไทย อู วิน (นามสมมติ) เคยทำงานเป็นอาสาสมัครขององค์กรคณะกรรมการเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) เพื่อช่วยเหลือแรงงานพม่าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่และระนอง โทรมาหาผู้เขียนด้วยน้ำเสียงเศร้าสร้อยในเช้าวันที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา เขาพูดถึงการเสียชีวิตหมู่ของแรงงานพม่าที่ลักลอบเข้ามาทำงานในเมืองไทย จำนวน 54 ศพ เป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อหลายเดือนก่อน…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
  เช้าตรู่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนตื่นขึ้นด้วยเสียงโทรศัพท์ของพี่สาวที่โทรหาด้วยน้ำเสียงห่วงใย กลัวว่าจะอยู่ในที่เกิดเหตุ เนื่องจากเธอยังไม่ได้ออกเวรจากการดูแลคนไข้กะกลางคืน จึงได้เห็นข่าวเช้าของการปราบปรามประชาชนที่หน้ารัฐสภาก่อนที่จะรีบโทรมา คาดว่าด้วยวิสัยของผู้เขียนมักจะร่วมในเหตุการณ์ประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ครั้งนี้เธอคาดผิด แต่กลับเป็นความดีใจของเธอที่น้องสาวไม่ได้อยู่ที่นั่น แต่เป็นความกังวลสำหรับผู้เขียนแทนเพราะพี่สาวคนที่สองของบ้านกลับเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงและติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรตั้งแต่การชุมนุมครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
นักผจญภัยคนหนึ่งซึ่งเลือกนั่งเรือล่องทะเลผ่านประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักข่าวเทมโปสัมภาษณ์เขาเมื่อเดินทางมาถึงอินโดนีเซียเพื่อนำเรื่องราวของเขาลงในนิตยสารเทมโป หนึ่งในคำถามนั้นให้เขาแสดงความคิดเห็นกับประเทศที่เขาล่องเรือผ่าน ซึ่งมีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เขาตอบสิ่งที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด แต่ประเทศที่เขาบอกว่าอยู่แล้วสบายใจที่สุดคือ ประเทศอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศเสรี ผู้คนเป็นมิตร และให้พื้นที่กับคนต่างถิ่นมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่เขาผ่านมา ออกจะเห็นด้วยกับนักผจญภัย ....…
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
ไทยและอินโดนีเซียในระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยอำนาจที่มีความหมายต่อประเทศ ที่มีมายาวนาน และเรารับทราบไม่กว้างขวางมาก เลยลงภาพให้ชมกัน ในแง่ความหลากหลายของศาสนาและชาติพันธุ์นั้น ประเทศอินโดนีเซียยึดเป็นหลักธรรมนูญของประเทศ อินโดนีเซียได้ชื่อว่ามีวัดไทย จำนวนมากตั้งอยู่ทั่วประเทศ ไม่ต่างจากอเมริกา ความเป็นชาตินิยมแบบอินโดนีเซียจึงแตกต่างอย่างมากจากความเป็นชาตินิยมของไทยค่อนข้างมาก  สัญลักษณ์รูปช้างสร้างเป็นที่ระลึกหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินโดนีเซีย
กอแก้ว วงศ์พันธุ์
แค่ตั้งชื่อก็สะดุ้งเอง แต่แน่ใจว่าต้องใช้ชื่อนี้ เพราะเหตุเกิดที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี ค.ศ. 1946 ค่ะ เป็นกลุ่มทหารปฏิวัติหรือกลุ่มกบฎ นำโดย Gusti Ngurah Rai นายทหารผู้ก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยอิสรภาพจากการรุกรานของประเทศอาณานิคมดัทช์ และญี่ปุ่น เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นถอนทัพออกจากบาหลี ก็เป็นโอกาสให้ดัทช์ เจ้าอาณานิคมเก่าเข้ามาครอบครองบาหลีอีกครั้ง โดยครั้งนี้ต้องการรวมบาหลีเข้ากับอินโดนีเซีย ทหารและประชาชนชาวบาหลี ซึ่งมาจากทั่วทั้งเกาะบาหลี จึงพร้อมใจกันเข้าต่อสู้กับกองทัพดัทช์ ผู้ซึ่งมีกองกำลังพร้อมอาวุธทันสมัย แต่ทหารบาหลีมีเพียงอาวุธของชาวญี่ปุ่น…